Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

วิทยานิพนธ์/Thesis

เลขทะเบียน

20241001092030

ชื่อเรื่อง

แนวทางพัฒนาภาวะผู้นํายุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3

ชื่อเรื่องรอง

Guidelines for Development of Digital Leadership for School Administrators under Suphanburi Primary Educational Service Area Office 3

ผู้แต่ง

สุภาวดี ศรีมูลผา

ปี

2566

หัวเรื่อง

แนวทางพัฒนา

สถานศึกษา - การบริหาร

ภาวะผู้นํายุคดิจิทัล

ผู้บริหารสถานศึกษา

การบริหารการศึกษา

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียด

การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค6 (1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นํายุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 (2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นํายุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา จําแนกโดยเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทํางาน ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 และ (3) เพื่อหาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นํายุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ปีการศึกษา 2565 จํานวน 298 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบกําหนดคําตอบให้เลือก และแบบสัมภาษณ6แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหาแบบ t-test, F-test และการแจกแจงความถี่ ผลการศึกษาพบว่า (1) ภาวะผู้นํายุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีระดับ สูงที่สุด คือ ด้านการสร้างรากฐานของการศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ด้านที่มีระดับน้อยที่สุด คือ ด้านการสร้างความรู้ใหม่ และทําลายความรู้เก่า (2) เปรียบเทียบภาวะผู้นํายุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา จําแนกโดย เพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ6ในการทํางาน ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 พบว่า โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) แนวทางพัฒนาภาวะผู้นํายุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า กระทรวงศึกษาธิการควรส่งเสริมการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษามีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มีเป้าหมายในการบริหารงานที่ชัดเจน มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้สื่อ พัฒนาทักษะและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง มีการจัดโครงสร้างพื้นฐาน ด้านสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เพียงพอและทันสมัย มีระบบบริหารจัดการเชิงคุณภาพ มีการกํากับ ติดตาม และประเมินผล และนําผลย้อนกลับมาใช้ในการปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาต่อไป

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

T68-38.pdf