Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

วิทยานิพนธ์/Thesis

เลขทะเบียน

20241001084732

ชื่อเรื่อง

รูปแบบการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนเขตพื้นที่สูง จังหวัดตาก

ชื่อเรื่องรอง

A MODEL FOR DEVELOPMENT OF LIFE SKILLS OF SECONDARY SCHOOL STUDENTS IN A HIGH SCHOOL AREA OF TAK PROVINCE

ผู้แต่ง

ภูรินท์ ชนิลกุล

ปี

2563

หัวเรื่อง

การพัฒนาทักษะชีวิต

สถานศึกษา - การบริหาร

ทักษะชีวิต

การจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง

โรงเรียนเขตพื้นที่สูง

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียด

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนเขตพื้นที่สูง จังหวัดตาก ศึกษาสภาพและปัญหาการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนเขตพื้นที่สูง จังหวัดตาก พัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษา ในโรงเรียนเขตพื้นที่สูง จังหวัดตาก และประเมินรูปแบบการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนเขตพื้นที่สูง จังหวัดตาก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ แบบเจาะลึก การวิเคราะห์เอกสาร การประชุมเชิงปฏิบัติการและการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนมีทักษะชีวิตด้านการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น ด้านการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านการจัดการกับอารมณ์และความเครียด และด้านการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ อยู่ในระดับน้อย 2. สภาพและปัญหาการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนเขตพื้นที่สูง จังหวัดตาก 2.1 สภาพการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนเขตพื้นที่สูงจังหวัดตาก พบว่า ด้านการสอนโดยตรงและการบูรณาการการสอนในหลักสูตร 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนมีการวางแผนการสอนตามเนื้อหาสาระ วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดในการสอนทักษะชีวิตตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 การปฏิบัติมีการสอนสอดแทรกทักษะชีวิตโดยบูรณาการไปใช้ใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้และมีการประเมินการเรียนรู้ตามเนื้อหา สาระ วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดตลอดจนมีการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาโดยนำผลการประเมินการสอนทักษะชีวิตและการบูรณาการสอนในหลักสูตรมาปรับปรุง ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนมีการวางแผนการสอนทักษะชีวิต ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในด้านลูกเสือ ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ มีการน าระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนไปปฏิบัติและมีการประเมินการน าแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในทางด้านการแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตผู้เรียนลงในหลักสูตรสถานศึกษาและยังมีปรับปรุงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้านทักษะชีวิตในด้านลูกเสือ ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์จากผลการประเมิน ด้านการดำเนินโครงการพิเศษต่างๆ โรงเรียนมีการวางแผนปฏิบัติการในการด าเนินโครงการพิเศษ เพื่อการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนและมีการด าเนินโครงการในการพัฒนาทักษะชีวิตโดยที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ครู ผู้ปกครองมีส่วนในการจัดกิจกรรม การเรียนมีการนำผลการสอนทักษะชีวิตและการบูรณาการไปใช้ปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานโครงการในการพัฒนาทักษะชีวิต 2.2 ปัญหาการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนอยู่ในระดับมากโดยปัญหาในด้านการดำเนินโครงการพิเศษต่างๆ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าด้านอื่น แต่ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าด้านอื่น 3. รูปแบบการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนเขตพื้นที่สูงจังหวัดตาก มีรายละเอียดประกอบด้วย 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะชีวิต ประกอบด้วย ปัจจัยภายใน ได้แก่ 1. ผู้บริหาร 2. ครูผู้สอน 3. ครูที่ปรึกษา 4. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 5. แผนกลยุทธ์6. งบประมาณ 7. สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ปัจจัยภายนอก ได้แก่ 1. ชุมชน 2. ครอบครัว 3. เทคโนโลยีและนวัตกรรม 4. เครือข่ายการเรียนรู้ 5. นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ 4) กระบวนการพัฒนาทักษะชีวิต ประกอบด้วยขั้นตอน 1. การวางแผน (Plan: P) 2. การน าไปปฏิบัติ (Do: D) 3. การประเมินตรวจสอบ (Check: C) 4. การปรับปรุงและพัฒนา (Action: A) และวิธีการประกอบด้วย 1. การบูรณาการการเรียนการสอนในหลักสูตร 8 กลุ่มสาระ 2. การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3. การดำเนินการโครงการพิเศษต่างๆ 5) ผลผลิตของรูปแบบ 6) ผลลัพธ์ของรูปแบบ 7) แนวทางของการน ารูปแบบไปสู่การปฏิบัติ 1. แนวทางในการน ารูปแบบการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนเขตพื้นที่สูงจังหวัดตาก ลงสู่การปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย แนวทางเชิงนโยบายและแนวทางเชิงปฏิบัติ 2. เงื่อนไขในการน ารูปแบบการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนเขตพื้นที่สูง จังหวัดตากไปใช้ 4. ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนเขตพื้นที่สูง จังหวัดตาก พบว่ามีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ระดับมากและมากที่สุด

 

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

T68-49.pdf