Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

งานวิจัย/Research report

เลขทะเบียน

20190915201520

ชื่อเรื่อง

การสร้างบทเรียนท้องถิ่นและศูนย์การเรียนรู้ในท้องถิ่นจากฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชน : กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในเขตเทศบาลตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชื่อเรื่องรอง

A creation of local lessons and local learning centers from biodiversity,local knowledge, cultu re and community life: in case study of ethnic groups in the municipalityof Khlonglan Phattana subdistrict, Khlonglan district, Kamphaeng Phet province.

ผู้แต่ง

จำเนียรน้นอย สิงหะรักษ์

อิสสราพร อ่อนบุญ

วิยุดา ทิพย์วิเศษ

โอกามา จ่าแกะ

วรรณิศา สุโสม

ธวชินี ลาลิน

ปี

2558

หัวเรื่อง

การสร้างบทเรียนท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ศูนย์การเรียนรู้ในท้องถิ่น

กลุ่มชาติพันธุ์ - การเรียนรู้

ควมหลากหลายทางชีวภาพ ; 

วิถีชีวิตชุมชน

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียด

https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=436618

การสร้างบทเรียนท้องถิ่นและศูนย์การเรียนรู้ในท้องถิ่นจากฐานความหลากหลาย ทางชีวภาพ ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม และวิถีชีวิตชุมชน กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในเขตเทศบาลตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทชุมชนและสร้างบทเรียนท้องถิ่นความหลากหลายทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตเทศบาลตำบลคลองลานพัฒนา และเพื่อค้นหารูปแบบที่เหมาะสมในการสร้างศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่นความหลากหลายทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า เทศบาลตำบลคลองลานพัฒนาเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นแห่งหนึ่งของประเทศไทย โดยพบกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสิ้นจำนวน 6 กลุ่ม คือ ม้ง เมี่ยน ลัวะ ปกาเกอะญอ ลาหู่ และลีซู ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญของกลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าว ประกอบด้วย ภูมิปัญญาการทำเก้าอี้และขันโตกของชนเผ่าลาหู่ การทำเครื่องเงินและผ้าปักชนเผ่าเมี่ยน การทอผ้าและเย็บผ้าชนเผ่าลีซู การทำผ้าลายขี้ผึ้งและตีมีดโบราณชนเผ่าม้ง การทอผ้าและจักสานชนเผ่ากะเหรี่ยง โดยที่มาหรือประวัติความเป็นมาของภูมิปัญญา พบว่าส่วนใหญ่ได้มาจากการสืบทอดต่อจากบรรพบุรุษ ตั้งแต่ครั้งยังอาศัยอยู่บนพื้นที่สูง ด้านวิธีการและรูปแบบการทำภูมิปัญญาพบว่า เป็นการสืบทอดตามวัฒนธรรมของแต่ละชนเผ่า โดยเป็นการสืบทอดต่อๆ กันมาแบบไม่เป็นทางการในครัวเรือนและชุมชน ด้านความสำเร็จของการทำ ภูมิปัญญาพบว่า เกิดจากการสั่งสมความรู้ ทักษะ ประสบการณ์จนเกิดความชำนาญ รวมถึง มีความสามารถในการปรับประยุกต์ เพิ่มเติม ลดทอนเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพสังคม ที่เปลี่ยนแปลงไป ด้านสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำภูมิปัญญา ส่วนใหญ่เป็นปัญหาเกี่ยวกับภูมิปัญญาของชนเผ่าเริ่มสูญหาย และขาดการสืบทอดจากเยาวชน ด้านประโยชน์ของการทำ ภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นกับชุมชนท้องถิ่น ได้แก่ การพัฒนาภูมิปัญญาไปสู่การประกอบอาชีพ การใช้ประโยชน์จากการทำภูมิปัญญาในชีวิตประจำวัน และภูมิปัญญาก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางสังคมที่แน่นแฟ้นเพิ่มมากขึ้น ส่วนบทเรียนท้องถิ่นความหลากหลายทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการให้มีตลาดเพื่อการจำหน่ายสินค้าชนเผ่าหลายๆ แหล่ง เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ที่ไม่มีพื้นที่ทำกิน ต้องการให้คนกลุ่มนี้มีงานทำและมีรายได้ นอกจากนี้ผลการศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบที่เหมาะสมในการสร้างศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่นความหลากหลายทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ประกอบด้วย ด้านบุคลากร ประจำศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่นควรเป็นคนในพื้นที่ มีความรู้เรื่องราวที่รอบด้านเกี่ยวกับชนเผ่า ควรมีอัธยาศัยดี บุคลิกดี สามารถอ่านออกเขียนได้ ไม่ควรกำหนดวุฒิการศึกษา และควรมีความใฝ่เรียนรู้ ในการพัฒนาศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ ด้านงบประมาณ ควรมีงบประมาณที่มาจากภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ด้านอุปกรณ์และอาคารสถานที่ ควรมีการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ให้เพียงพอและทั่วถึง มีการบำรุงรักษาอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ ด้านการบริหารจัดการ ควรจัดทำโครงสร้างการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ โดยให้ชุมชนหรือท้องถิ่นร่วมบริหารจัดการผ่านตัวแทนของชุมชน ในลักษณะโครงสร้างการบริหารของศูนย์การเรียนรู้ชุมชน