Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

งานวิจัย/Research report

เลขทะเบียน

20190915201137

ชื่อเรื่อง

การสร้างบทเรียนท้องถิ่นจากฐานความหลากหลายทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในตำบลคลองน้ำไหล อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชื่อเรื่องรอง

Local Lessons in Multicultural Community: A Case Study of Ethic Groups in Klongnamlai Suddistrict Municipality, Klonglan District, Kamphaeng Phet Province.

ผู้แต่ง

สิริวรรณ สิรวณิชย์

วรพรรณ ขาวประทุม

ปี

2559

หัวเรื่อง

บทเรียนท้องถิ่น

ความหลากหลายทางชีวภาพ

ความหลากหลายทางวัฒนธรรม

การเรียนการสอนในชั้นเรียน

แหล่งเรียนรู้

องค์ความรู้ชุมชน

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียด

https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=504081

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทและสังเคราะห์องค์ความรู้ชุมชนจากฐานความหลากหลายทางวัฒนธรรมและนามาพัฒนาเป็นบทเรียนท้องถิ่นที่เหมาะสมกับผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับชุมชน เพื่อให้สอดรับกับความจริงของท้องถิ่น โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มชาติพันธุ์ในเทศบาลตาบลคลองน้าไหล จานวน 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดา (หมู่ที่ 4 บ้านท่าช้าง) กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ (หมู่ที่ 16 บ้านสามัคคีธรรม) และกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเมืองเหนือ (หมู่ที่ 3 บ้านแม่สอด) และหน่วยงานที่ให้บริการด้านการศึกษาในพื้นที่ โดยเลือกโรงเรียนในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาจานวน 4 โรงเรียน มีวิธีการดาเนินการวิจัย 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การค้นคว้าทบทวนเอกสารงานและวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 ลงพื้นที่วิจัยเพื่อสารวจ เก็บข้อมูลจากการเอกสาร และสัมภาษณ์บุคคลในพื้นที่เพื่อสารวจความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยสอบถามและสัมภาษณ์ผู้รู้ในท้องถิ่นและปราชญ์ชาวบ้าน ขั้นตอนที่ 3 สังเคราะห์องค์ความรู้ความจากฐานความหลากหลายทางวัฒนธรรมและนามาพัฒนาบทเรียนท้องถิ่นที่เหมาะสมกับผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับชุมชน ขั้นตอนที่ 4 การค้นหารูปแบบที่เหมาะสมในการคืนความรู้ในชุมชน และขั้นตอนที่ 5 การนาบทเรียนท้องถิ่นที่เหมาะสมไปพัฒนากับผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า บริบทองค์ความรู้ชุมชนจากฐานความหลากหลายทางวัฒนธรรม ในชุมชนคลองน้าไหลมีความหลากหลาย โดยมีประเพณี วัฒนธรรมเป็นจุดเชื่อมต่อความสัมพันธ์ของคนในชุมชน ซึ่งสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างดี ในส่วนของบทเรียนท้องถิ่นที่มีความเหมาะสมกับผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับชุมชนนั้น จากการระดมเวทีความคิดเห็นได้จัดทาคู่มือการเรียนรู้ฉบับพกพา และนาไปขยายผลให้กับสถานศึกษาในชุมชนโดยให้นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูจัดทาแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อใช้จัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน จากการวิจัยในครั้งนี้ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นและการพัฒนาเครือข่ายการดาเนินงานแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ เพื่อนาไปสู่การพัฒนาแหล่งเรียนรู้หรือสามารถจัดทาศูนย์การเรียนรู้ได้ในอนาคต