ศูนย์พัฒนาราษฏรบนพื้นที่สูงจังหวัดกำแพงเพชร
ศูนย์พัฒนาราษฏรบนพื้นที่สูงจังหวัดกำแพงเพชร สังกัดกองพัฒนาสังคมกลุ่มเป้าหมายพิเศษ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีภารกิจหน้าที่ดังนี้ ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิต ประสานความร่วมมือในการพัฒนาสังคม และจัดสวัสดิการให้พื้นที่รับผิดชอบ ส่งเสริม สนับสนุนโครงการหลวง โครงการพระราชดำริ โครงการพระธรรมจาริก หรือโครงการอื่นที่ได้รับมอบหมาย สำรวจและจัดทำข้อมูลพื้นฐาน และเป็นศูนย์การเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้ การพัฒนาสังคมแลสวัสดิการบนพื้นที่สูงตามภูมิสังคม โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินงาน โดยกลุ่มเป้าหมายราษฏรบนพื้นที่สูงในจังหวัดกำแพงเพชร มีทั้งหมด 6 ชาติพันธุ์ ประกอบด้วย ม้ง เมี่ยน กะเหรี่ยง ลาหู่ ลีซู และลัวะ มีพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 6 อำเภอ คือ อ.คลองลาน อ.ปางศิลาทอง อ.โกสัมพีนคร อ.ขาณุวรลักษบุรี อ.คลองขลุง และ อ.เมืองกำแพงเพชร
16.2587052, 99.0719558
เผยแพร่เมื่อ 20-05-2025 ผู้เช้าชม
ลายผ้าปักชาวลีซอ หรือ ลีซู (Lisu)
เอกลักษณ์และศิลปะการสร้างลวดลายของชนเผ่าลีซู ใช้เทคนิคหลักคือ เป็นการเย็บแถบผ้าเล็ก ๆ สลับสีที่หลากหลาย และการสร้างลวดลายที่ต้องการด้วยการเย็บติดผ้า ตัดปะลงบนผ้าแถบพื้นสีต่าง ๆ เป็นรูปร่างเชิงเรขาคณิต เน้นการตัดกันของรูปทรงที่เป็นเส้นตรง มีการเข้ามุมของลวดลายอย่างชัดเจน ทั้งมุมฉาก มุมแหลม นอกจากนี้ยังเห็นได้ชัดจากการใช้สีสันที่ตัดกันอย่างฉูดฉาด จนเกิดเป็นเอกลักษณ์และกลายเป็นเสน่ห์ของชนเผ่าลีซูที่สะดุดสายตา
16.2587052, 99.0719558
เผยแพร่เมื่อ 20-05-2025 ผู้เช้าชม 1
ลายผ้าปักชาวปกาเกอะญอ หรือกะเหรี่ยง (Karen)
เอกลักษณ์และศิลปะการสร้างลวดลายบนผืนผ้าของผ้าทอกระเหรี่ยง มีลักษณะเป็นผ้าทอหน้าแคบ ลักษณะลายเป็นสีเหลี่ยมขนมเปียกปูน รูปแบบต่าง ๆ ลายดอกไม้ ลายเส้นตรง ลายกากบาท ผสานกันเทคนิคและภูมิปัญญาที่สั่งสมและถูกถ่ายทอดสั่งสอนมาจากบรรพบุรุษ สืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน ทั้งเทคนิคการมัดหมี่ จก ขิด และยกดอก ผ้าทอของชนเผ่ากระเหรี่ยงจึงมีความงดงาม โดดเด่นด้วยสีสันที่หลากหลาย หากเราเห็นผืนผ้าที่มีเอกลักษณ์เช่นนี้เราก็สามารถรับรู้ได้ทันทีว่า นี่คือผ้าทอของชนเผ่ากระเหรี่ยง
16.2587052, 99.0719558
เผยแพร่เมื่อ 20-05-2025 ผู้เช้าชม 1
ลายผ้าปักชาวลั๊วะ หรือ ละว้า (Lua)
ลายผ้าปักชาวลั๊วะ มีเอกลักษณ์และศิลปะการสร้างลวดลายบนผืนผ้าของเผ่าลั้วะ มีลักษณะเด่น คือ ทอแน่น และหนา เหมาะสำหรับการนุ่งในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น นอกจากนี้ยังสามารถช่วยป้องกันอันตรายจากของมีคมได้ นอกจากนี้ยังมีการการทอด้วยลวดลายตกแต่งสวยงาม มีการปักเข้ามาผสมผสานเมื่อมีการตัดเป็นเสื้อ ผ้าทอผู้ชาย มักจะใช้สีแดงเป็นหลัก ส่วนผู้หญิงมักจะใช้สีดำ แดง เหลืองเป็นหลัก แต่ปัจจุบันมีการใช้สีเคมีมากขึ้น ทำให้มีการใช้สีอื่น ๆ เข้ามาแทรกร่วมด้วย จึงมีสีสันที่สดใสร่วมสมัยมากขึ้น
16.2587052, 99.0719558
เผยแพร่เมื่อ 20-05-2025 ผู้เช้าชม 1
ลายผ้าปักชาวม้ง หรือ แม้ว (Hmong)
ผ้าปักชาติพันธุ์ม้งหรือแม้ว (HMONG) เอกลักษณ์และศิลปะการสร้างลวดลายบนผืนผ้าของเผ่าม้ง ลวดลายบนผืนผ้าม้ง และเทคนิคการสร้างสรรค์ลวดลายประกอบด้วย 3 เทคนิคหลัก ๆ ได้แก่ส การปัก การเย็บติด และการเขียนเทียน โดยทั้ง 3 เทคนิคนั้นแม้จะมีอุปกรณ์ ขั้นตอน หรือวิธีทำที่แตกต่างกัน แต่หลักสำคัญที่ปรากฏให้เห็นจนเป็นเอกลักษณ์เดียวกันในม้งทุกกลุ่ม คือ ความละเอียดของชิ้นงาน การปัก การเย็บ หรือการเขียนลวดลายต่อเนื่องจนเต็มแน่นตลอดผืนผ้า ประกอบด้วยลายหลัก ลายประกอบเล็กน้อย ต่างสีสันลดหลั่นกันไปจนเต็มตลอดผืนผ้า รวมทั้งงานปักม้งไม่นิยมการเว้นที่ว่างโล่งบนผืนผ้าอย่างไร้ความหมาย กลายเป็นเอกลักษณ์ศิลปะลวดลายที่มีเส้นลวดลายงดงามที่สะดุดตา
16.2587052, 99.0719558
เผยแพร่เมื่อ 20-05-2025 ผู้เช้าชม
ลายผ้าปักชาวลาหู่ หรือ มูเซอ (Lahu)
ลายผ้าปักลาหู่ จะมีเอกลักษณ์และศิลปะการสร้างลวดลายบนผืนผ้าของเผ่าลาหู่ (มูเซอ) มักนิยมตกแต่งลวดลายบนเครื่องแต่งกาย ด้วยการปักเส้นด้ายสีสันต่าง ๆ เป็นลวดลายที่เป็นเอกลายค่อนข้างหลากหลาย และมีการปักผสมผสานลวดลายจากชนเผ่าอื่นเข้ามาด้วย ทำให้สะดุดตา สีที่นิยมมากเป็นพิเศษคือ สีแดง และสีเขียว
16.2587052, 99.0719558
เผยแพร่เมื่อ 20-05-2025 ผู้เช้าชม
ลายผ้าปักชาวเมี่ยน หรือ เย้า (Yao)
เอกลักษณ์และศิลปะการสร้างลวดลายบนผืนผ้าของเผ่าเมี่ยน (เย้า) ศิลปะการสร้างสรรค์ลวดลายงานปักแต่ละลายที่ปรากฏบนผืนผ้าแทบทุกผืนยังคงเป็นลวดลายโบราณ เอกลักษณ์ดั้งเดิมที่สืบทอดต่อมาจากบรรพบุรุษตั้งแต่สมัยโบราณ การใช้สีในลวดลายปักก็ ยังคงยืดถือด้วยการใช้สีเส้นด้ายที่ไม่น้อยกว่า 7 สี โดยสี 7 สีหลักของชาวเมี่ยนตามตำนาน ได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน สีเขียว สีม่วง สีดำ และสีขาว ผ้าปักของชาวเมี่ยนบางผืนอาจพบลวดลายมากกว่า 10 ลวดลายรวมกันอยู่ในผืนเดียว ลวดลายเหล่านี้เป็นลวดลายโบราณดั้งเดิมที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษของชนเผ่าเมี่ยนนับหลายร้อยปีที่ต้องอยู่ในผืนผ้าเมี่ยน แทบทุกผืน
16.2587052, 99.0719558
เผยแพร่เมื่อ 20-05-2025 ผู้เช้าชม
กาดนั่งยอง คล้องย่าม
กาดนั่งยองคล้องย่าม เป็นถนนสายวัฒนธรรมที่ช่วยอนุรักษ์ฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น และ ภูมิปัญญาของคนเมืองตาก ท่ามกลางบรรยากาศริมแม่น้ำปิงตลอดความยาวหลายร้อยเมตร โดยที่มาของชื่อ “กาดนั่งยอง คล้องย่าม” มาจากการที่กาดหรือตลาดแห่งนี้ ตั้งร้านด้วยแคร่ไม้ไผ่ ด้วยความสูงประมาณเข่า ทำให้เวลาซื้อหรือเลือกชมสินค้า ต้องนั่งย่องๆ
16.8859237, 98.4874929
เผยแพร่เมื่อ 10-01-2025 ผู้เช้าชม 64
พิธีทำบุญยุ้งข้าว
พิธีทำบุญยุ้งข้าว เป็นพิธีกรรมสำคัญของชาวกะเหรี่ยงในชุมชนบ้านกุยเลอตอ จังหวัดตาก ที่สะท้อนถึงความเคารพและขอบคุณต่อพระแม่โพสพและข้าว ซึ่งถือเป็นแหล่งอาหารหลักของชุมชน โดยเฉพาะข้าวเหนียวที่มีความสำคัญอย่างมากในการดำรงชีวิตประจำวัน พิธีทำบุญยุ้งข้าวถือเป็นการแสดงความขอบคุณต่อธรรมชาติและพระแม่โพสพ ที่คอยปกป้องและให้ผลผลิตที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสที่ชุมชนจะได้มารวมตัวกัน เพื่อสร้างความสามัคคีและเคารพต่อข้าวซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิต
15.7827979, 97.5949713
เผยแพร่เมื่อ 12-12-2024 ผู้เช้าชม 154
ผ้าทอกี่เอว
ผ้าทอกี่เอว เป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีความสำคัญและเป็นเอกลักษณ์ของชาวปะกาญอ ในบ้านกุยเลอตอ ซึ่งสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน การทอผ้ากี่เอวนี้เป็นการทอผ้าด้วยมือโดยใช้เครื่องมือพื้นฐานที่เรียกว่า “กี่เอว” ซึ่งเป็นกี่ทอผ้าขนาดเล็กที่ต้องผูกติดกับเอวผู้ทอ ทำให้สามารถพกพาไปทอได้ทุกที่ โดยไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่เหมือนกับการทอผ้าแบบกี่ใหญ่
15.7827979, 97.5949713
เผยแพร่เมื่อ 12-12-2024 ผู้เช้าชม 294
Google search
-
ฐานข้อมูล - 153 ประวัติความเป็นมา
- 171 แหล่งท่องเที่ยว
- 37 บุคคลสำคัญ
- 190 ประเพณีและวัฒนธรรม
- 122 พระเครื่อง
- 57 วรรณกรรมพื้นบ้าน
- 113 ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- 107 อาหารพื้นบ้าน
- 141 โบราณสถาน
- 445 สมุนไพรพื้นบ้าน
- 154 ร้านอาหารและเครื่องดื่ม
- 56 โบราณวัตถุ
- 102 หน่วยงานราชการ
- 171 โรงแรมและที่พัก
- 45 ของฝาก
เป็นเขตรักษาพันธุ์ที่มีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอแม่ระมาด และอำเภอสามเงา จังหวัดตาก โดยมีเนื้อที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 733, 125 ไร่ ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นทิว
วัดสุนทรีกาวาส ตั้งอยู่เลขที่ 92 บ้านป่าใหม่ ถนนชิดวะนา ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 6 ไร่ 3 งาน
ขนมเบื้องเป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีลักษณะเป็นแผ่นแป้ง มีไส้รสต่างๆ ขนมเบื้อง หอม กรอบ อร่อย