ชนเผ่าม้ง : หนุ่มม้งกับกลางคืน

ชนเผ่าม้ง : หนุ่มม้งกับกลางคืน

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้ชม 260

[16.2581844, 98.9071054, ชนเผ่าม้ง : หนุ่มม้งกับกลางคืน]

 

ชนเผ่าม้ง : หนุ่มม้งกับกลางคืน

       กาลเวลาแปรเปลี่ยนไปพร้อมกับการหมุนของโลกที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งฤดูกาลเริ่มหมุนเวียนไปเรื่อยๆ อย่างไม่สามารถหยุดยั้งได้ฤดูใบไม้ผลิเริ่มแวะเวียนมาอีกครั้ง วันเวลานำพาใบไม้ร่วงโรยไปตามฤดูกาล ..แต่ดูเหมือนบางสิ่งบางอย่างคงเดิมอยู่ตลอดเวลานั่นคือ ขบวนการจีบสาว ของชายม้ง ไม่ว่ากาลเวลาจะแปรเปลี่ยนไปพร้อมกับกระแสของสังคมก็ตามที แต่ขบวนการจีบสาวๆ ยังคงยืนยงคงกระพันอยู่ ไม่มีแนวทางแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้เลย เพราะผู้หลักผู้ใหญ่ต่างคิดว่า นั่นคือ ค่านิยม หรือ ประเพณี ไปแล้ว
       จึงทำให้ไม่สามารถมีทางแก้ไขตรงจุดนี้ได้ ผู้หลักผู้ใหญ่ม้งที่เป็นผู้ชาย มักจะสอนกลวิธีการจีบสาวให้ลูกหลานที่เป็นผู้ชายเสมอ กลวิธีต่างๆ เหล่านี้ เป็นสาเหตุหนึ่งที่เยาวชนม้ง ในสมัยก่อนมักจะแต่งงานตอนอายุยังน้อยมาก บางคู่แต่งงานอายุเพียง11-15 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่น้อยมากและยังอยู่ในวัยที่ี่กำลังจะเจริญเติบโตทางด้าน ร่างกายเท่านั้น ส่วนพัฒนาการทางสมองหรือความมั่นคงด้านจิตใจยังไม่เจริญเติบโตบริบูรณ์ เขาเหล่านี้ต้องมาเรียน รู้ภาระหน้าที่ต่างๆ ที่ต้องรับผิดชอบ ทั้งๆ ที่ยังไม่สามารถดูแลตัวเองได้ ซึ่งเยาวชนม้งบางคู่จะถูกบิดามารดา จับแต่งงานกันตั้งแต่เด็ก และต้องมารับภาระหน้าที่ในครอบครัว คือต้้องออกไปทำไร่ ปลูกข้าว ปลูกข้าวโพด ปลูกฝิ่นเท่านั้น ซึ่งมีหลายต่อหลายครอบครัวม้งที่ต้องทนตรากตรำทำงานหนักในไร่เท่านั้น เพื่อที่จะ นำพืชภัณฑ์ธัญญาหารเหล่านี้มาเลี้ยงครอบครัว เป็นสาเหตุของความยากจนมาก แต่มังก็ยังคงทนอยู่ในสภาพ เช่นนี้เรื่อยๆ มา แต่สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตของเยาวชนม้งแทบทุกคน แม้ว่าปัจจุบันนี้กาลเวลา ได้แปรเปลี่ยนไปพร้อมกับสังคมเปลี่ยนแปลง และความเจริญทางเทคโนโลยีได้คืบคลานเข้ามาแล้วก็ตาม
       ***แต่การจีบกันของเยาวชนม้งยังคงอยู่ในสภาพเดิม โดยที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งที่การศึกษาได้เข้าทั่วถึงแล้ว แต่ค่านิยมเหล่านี้ไม่สามารถที่จะแปรเปลี่ยนไปได้ จะสังเกตเห็นว่า ตอนดึกประมาณสองทุ่มถึงตีหนี่งหรือตีสอง บ้านม้งหลังไหนมีสาว จะมีหนุ่มอยู่นอกบ้านหลังนั้น เหมือนทำหน้าที่เป็นยามในบ้านหลังนั้น หากว่าใครที่ไม่เคยรับรู้ข้อมูลมาก่อน แล้วมาเห็นภาพนี้คงจะนึกว่า ม้งค่อยข้างจะมีฐานะ ต้องมียามประจำบ้านด้วย แต่ความจริงแล้วคือ หนุ่มม้งนิยมการจีบสาวแบบเฝ้าบ้านให้
       โดยที่สามารถได้ไปคุยกับสาวม้งที่ตัวเองชอบ แต่ดูเหมือนว่าผู้หลักผู้ใหญ่จะเห็นพ้องต้องกัน และไม่มีผู้หลักผู้ใหญ่คนไหน ที่จะนำความรู้ใหม่ๆ หรือแม้แต่นำแนวความคิดที่จะพัฒนาเยาวชนให้มีค่ามากขึ้น ให้เยาวชนได้รับการศึกษามากขึ้น โดยลดปัญหาความยากจนของม้งลง ซึ่งดูเหมือน ว่าสังคมของม้งมีมุมมองที่แคบเกินไป เยาวชนอาจจะมีความสุขในการใช้ชีวิตช่วงวัยรุ่นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่พวกเขายังไม่ได้เข้าไปเผชิญกับความเจริญของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอด เวลา ดังนั้นจึงมีกลุ่มเยาวชนบางกลุ่มที่ด้อยโอกาส และไม่สามารถที่จะก้าวทันกระแสของโลกได้
       ฉะนั้นเยาวชนม้งรุ่นใหม่ควรที่จะก้าวออกจากกะลา เพื่อมาเรียนรู้โลกใบกว้างที่รอการเข้าไปสัมผัสกับมันอย่างแท้จริง เพราะโลกสีเขียวใบนี้ ยังมีสิ่งที่มีค่าแก่การเก็บเกี่ยวรออยู่ เราต้องเรียนรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้วยตัวเอง แล้วเราก็จะได้เก็บสิ่งดีๆไป ส่วนสิ่งที่ไม่ดีก็เก็บเอาไว้เป็นประสบการณ์ชีวิต ชีวิตจึงจะีมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น
       แต่อย่างไรก็ตามหากว่าเราไม่เปลี่ยนแปลงตัวเอง แล้วสิ่งแวดล้อมรอบข้างจะเปลี่ยนแปลงตัวเราเอง โดยที่เราไม่สามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ ฉันใดก็ฉันนั้น การจีบสาวม้ง ถึงเวลาแล้วที่เราต้องเปลี่ยนแปลง แต่หากว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเปลี่ยนไปในทางที่ไม่ดี เราก็ไม่ควรเปลี่ยนแปลงมัน แต่หากว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเปลี่ยนแปลงไปทางที่ดีขึ้น ทรงคุณค่ามากขึ้น เราฐานะเยาวชนม้งจำเป็นต้องเปลี่ยน เนื่องจากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป ฐานะทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป วิถีชีวิตความเป็นอยู่ก็เปลี่ยนแปลงไปแล้ว เราจึงควรต้องเปลี่ยนแปลงไปตาม กาลเวลา และยอมรับกับสภาพความเป็นจริงในโลกใบนี้

คำสำคัญ : ชนเผ่าม้ง กลางคืน

ที่มา : มูลนิธิกระจกเงา. (2559). โครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขาออนไลน์. https://www.openbase.in.th/node/1010

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2567). ชนเผ่าม้ง : หนุ่มม้งกับกลางคืน. สืบค้น 27 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2244&code_db=610004&code_type=05

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2244&code_db=610004&code_type=05

Google search

Mic

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ หรือเดิมเรียกกันว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐานกระจายไปทั่วประเทศไทย และส่วนหนึ่งได้มาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งจากการสำรวจ มี 2 หมู่บ้าน คือ 1) หมู่ 3 บ้านคลองน้ำไหลใต้ ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มีจำนวนประมาณ 80 หลังคาเรือน อาชีพหลัก คือ รับจ้างทำไร่มันสำปะหลัง 2) หมู่ 18 บ้านกะเหรี่ยงน้ำตก ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มีจำนวนประมาณ 100 หลังคาเรือน อาชีพหลัก คือ ทำไร่มันสำปะหลังและหาของป่าขาย

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,879

ชนเผ่าปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยง ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยง ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ หรือเดิมเรียกกันว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง สะกอ หรือยางขาว เรียกตัวเองว่า ปกากะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุดกะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่จัดได้ว่ามีหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา มีการนับถือศาสนาที่ต่างกัน แต่กะเหรี่ยงดั้งเดิมจะนับถือผี เชื่อเรื่องต้นไม้ป่าใหญ่ ภายหลังหันมานับถือพุทธ คริสต์ เป็นต้น กะเหรี่ยง มีถิ่นฐานตั้งอยู่ที่ประเทศพม่า แต่หลังจากถูกรุกรานจากสงคราม จึงมีกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ประเทศไทย กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย กะเหรี่ยงสะกอ หรือที่เรียกนามตัวเองว่า ปากะญอ หมายถึงคน หรือมนุษย์นั้นเอง กะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยมีมิชชันนารีเป็นผู้คิดค้นดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่า ผสมภาษาโรมัน

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 9,871

ชนเผ่าลีซอ (ลีซู) ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าลีซอ (ลีซู) ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ลีซอ หมายถึง ผู้ใฝ่รู้แห่งชีวิต มีภาษาพูดในกลุ่มหยี (โลโล) ตระกูลธิเบต-พม่า 30% เป็นภาษาจีนฮ่อ ต้นกำเนิดของลีซูอยู่ที่ต้นน้ำสาละวิน และแม่น้ำโขงทางตอนเหนือของธิเบต และทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของมณฑลยูนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ชาวลีซูได้อพยพเข้าสู่เขตประเทศไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2464 กลุ่มแรกมี 4 ครอบครัว มาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนครั้งแรกอยู่ที่บ้านห้วยส้าน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ต่อมามีอีก 15 ครอบครัวอพยพตามมาด้วยในปีเดียวกัน ลีซูไม่มีภาษาเขียนของตนเอง แต่สำหรับลีซูที่นับถือเป็นคริสเตียน กลุ่มมิชชั่นนารีได้ใช้อักษรโรมันมาดัดแปลงเป็นภาษาเขียนของชนเผ่าลีซู อยู่ได้โดยประมาณ 5-6 ปี ก็มีการแยกกลุ่มไปอยู่หมู่บ้านดอยช้าง ทำมาหากินอยู่แถบ ตำบลวาวี ออำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 18,501

กะเหรี่ยง (KAREN)

กะเหรี่ยง (KAREN)

นามของชาวเขาเผ่าใหญ่ที่สุดในไทยนั้นเรียกขานกันว่า "กระเหรี่ยง" ในภาคกลาง ส่วนทางเหนือ (คำเมือง) เรียกว่า "ยาง" กะเหรี่ยงในไทยจำแนกออกเป็นพวกใหญ่ๆ ได้สองพวกคือสะกอ และโปว และพวกเล็กๆซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่แถบแม่ฮ่องสอนคือ ป่าโอ และค่ายา ซึ่งเราจะไม่กล่าวถึง ณ ที่นี้ เพราะมีจำนวนเพียงประมาณร้อย ละหนึ่งของประชากรกะเหรี่ยงทั้งหมดในไทย พลเมืองกะเหรี่ยวตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่าและไทย ส่วนใหญ่คือ ร่วมสี่ล้านคนอยู่ในพม่าในไทยสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อปี ๒๕๒๖

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 6,646

ชนเผ่าม้ง : การปกครอง

ชนเผ่าม้ง : การปกครอง

กฏข้อบังคับของม้ง มีลักษณะคล้ายกับกฏหมายอังกฤษ (Common Law) คือ เป็นกฎหมายที่สืบเนื่องจาก จารีตประเพณีได้มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร จะต่างกันตรงที่ม้งนำเอากฎหมายข้อบังคับไปผูกไว้กับภูติผี ม้งเองไม่มีภาษาเขียน ชาวม้งได้ถือหลักปฏิบัติตามจารีตประเพณีอย่างเคร่งครัด ชาวม้งไม่มีหัวหน้าสูงสุด และไม่ได้รวมกันอยู่เป็นที่หนึ่งที่เดียวกัน แต่แยกหมู่บ้านออกไปปกครองกันเองเป็นอิสระไม่ขึ้นอยู่กับสังคม ซึ่งในแต่ละหมู่บ้านจัดเป็นสังคมที่เล็ก สามารถเรียกว่า ประชุมโดยตรงได้ การกำหนดวิธีการปกครอง ก็ใช้วิธีออกเสียง ซึ่งทุกคนมีสิทธิเท่ากันหมด และถือเสียงข้างมากเช่นเดียวกับหลักสากลทั่วไปแต่ ผู้มีสิทธิออกเสียงในการปกครอง ได้แก่ ผู้ชายเป็นส่วนใหญ่เท่านั้น ผู้หญิง เด็กมีสิทธิเข้าร่วมประชุมรับฟัง และให้ความเห็น แต่ไม่มีสิทธิออกเสียง เพราะถือว่า ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง ต้องเชื่อฟัง ปรนนิบัติสามีเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 313

ศาสนาความเชื่อและพิธีกรรมของชาวเขา

ศาสนาความเชื่อและพิธีกรรมของชาวเขา

ชาวม้งมีการนับถือวิญญาณบรรพบุรุษ สิ่งศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่อยู่บนฟ้า ในลำน้ำ ประจำต้นไม้ ภูเขา ไร่นา ฯลฯ ชาวม้งจะต้องเซ่นสังเวยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เหล่านี้ปีละครั้ง โดยเชื่อว่าพิธีไสยศาสตร์เหล่านี้จะช่วยให้วินิจฉัยโรคได้ถูกต้องและทำการรักษาได้ผล เพราะความเจ็บป่วยทั้งหลาย ล้วนแต่เป็นผลมาจากการผิดผี ทำให้ผีเดือดดาลมาแก้แค้นลงโทษให้เจ็บป่วย จึงต้องใช้วิธีจัดการกับผีให้คนไข้หายจากโรค

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 9,991

พิธีเรียกขวัญของชาวเขา

พิธีเรียกขวัญของชาวเขา

เป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการเรียกขวัญ เมื่อประชาชนอาข่าไปในป่าหรือสถานที่ที่ใดที่หนึ่ง แล้วไปสะดุ้งกลัวและเกิดความไม่สบายขึ้นมา เช่น ตัวร้อน ปวดหัว ฯลฯ เมื่อผู้ประสบเหตุกลับมาถึงบ้านก็บอกสมาชิกในครัวครอบให้ประกอบพิธีกรรมนี้ การคัดเลือกฤกษ์ยามในการทำพิธี ต้องไม่ตรงกับวันเกิดและวันตายของสมาชิกในครอบครัว จึงนับว่าเป็นวันดี แต่ถ้าเป็นวันเกิดของผู้ที่ประสบเหตุสะดุ้งนั้นได้ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,568

ประเพณีตำข้าวเหนียว ชาวม้ง จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีตำข้าวเหนียว ชาวม้ง จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้ง เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ไม่เพียงเฉพาะชาวม้งในจังหวัดกำแพงเพชรเท่านั้นที่ยังคงรักษาประเพณีนี้ไว้ แต่ยังรวมถึงชาวม้งในจังหวัดอื่นๆ หรือประเทศอื่นๆ อีกด้วย ประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้งมักจะจัดขึ้นในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 2 ซึ่งจะตรงกับช่วงเดือนธันวาคม – มกราคมของทุกปี ในการจัดประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้งนั้นเป็นประเพณีที่สืบเนื่องหรืออยู่ในช่วงเดียวกับงานประเพณีปีใหม่ม้ง ซึ่งการจัดงานดังกล่าวเป็นงานประเพณีที่สืบทอดและแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นชาติพันธุ์ม้งเป็นอย่างดี การตำข้าวเหนียวของชาวม้งนั้นบางที่อาจจะตำเพื่อไหว้ผีป่า ผีบรรพบุรุษหรือสิ่งที่ตนเองนับถือแต่เพียงอย่างเดียว บางที่ก็นำข้าวเหนียวที่ผ่านการไหวผีมาทำเป็นอาหารคาวและอาหารหวานเพื่อยืดอายุของข้าวเหนียวอีกด้วย ประวัติความเป็นมาของประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้ง หรือแม้แต่ความเชื่อของประเพณี

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 3,928

ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง

ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง

ชาวเขาเผ่าม้งจังหวัดกำแพงเพชร สืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน จัดกิจกรรมการละเล่นลูกช่วง บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนานรื่นเริงที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร นายสุรพล วาณิชเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานในพิธีเปิดงานสืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน โดยมี พันเอกพิเศษหญิง ศินีนาถ วาณิชเสนี นายกเหล่ากาชาด จังหวัดกำแพงเพชร นายสุนทร รัตนากร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร ประชาชน นักท่องเที่ยว และชาวม้งในอำเภอคลองลาน เข้าร่วมพิธีอย่างคับคั่ง

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,723

การขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชนของชาวเขา

การขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชนของชาวเขา

เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี ซึ่งจะตรงกับช่วงที่พืชพันธุ์ที่ปลูกลงไปในไร่มีผลผลิต และเริ่มที่จะเก็บเกี่ยวได้แล้ว อาทิเช่น แตงโม แตงกวา พืชผักต่างๆ เป็นต้น เทศกาลนี้จัดขึ้นมาเพื่อขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชน เช่น ภูตผีปีศาจที่มาอาศัยอยู่ในชุมชน อาข่าเรียกว่า “แหนะ” รวมไปถึงโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยมีการแกะสลักไม้เนื้ออ่อนเป็นดาบ หอก ปืน อาข่าเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ว่า “เตาะมา”

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,668