ชนเผ่าม้ง - ธรรมเนียม มารยาท

ชนเผ่าม้ง - ธรรมเนียม มารยาท

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้ชม 494

[16.2581844, 98.9071054, ชนเผ่าม้ง - ธรรมเนียม มารยาท]

ชนเผ่าม้ง : มารยาททางสังคมของม้ง
       มารยาททางสังคมที่ชาวเขาเผ่าม้งพึงมีต่อกันเพื่อสร้างความเข้าใจ และความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่บ้านเดียวกัน ส่วนมากเป็นข้าปฏิบัติที่ได้รับแนวคิดมาจากค่านิยมเบื้องต้นในวัฒนธรรมประจำเผ่า มารยาทที่สำคัญ ได้แก่
       1. มารยาทในการเยี่ยมบ้าน
       แขกที่มาเยี่ยมบ้านแม้วหรือม้งนั้นจะต้องเรียนรู้วัฒนธรรมของม้งให้รู้ก่อนที่จะไปเยี่ยมบ้านแม้วหรือม้ง เพื่อจะได้ไม่เสียมารยาท แขกที่ต้องการเข้าไปเยี่ยมบ้านม้งนั้นเมื่อเข้าไปถึงบ้านที่ท่านต้องเข้าไปสนทนาด้วยนั้นจะต้องปฏิบัติ เมื่อแขกเดินไปถึงหน้า ประตูบ้านม้งนั้น ถึงแม้จะเห็นว่าประตูบ้านจะปิดหรือเปิด ก็ต้องตะโกนถามคนในบ้านก่อนว่า “ไจ๊จือไจ๊” เป็นการถามเพื่อขอ อนุญาตเข้าบ้านม้ง (คำว่า ไจ๊จือไจ๊ นั่นมีความหมายว่า ขออนุญาตให้เข้าไปได้หรือไม่) ถ้ามีเสียงตอบในบ้านมาว่า “จือไจ๊” แสดงว่าเจ้าของบ้านม้งยอมอนุญาตให้เข้าบ้านได้ (คำว่า จือไจ๊ นั้นหมายความว่า อนุญาตให้เข้าบ้านได้) แต่ถ้ามีเสียงตอบรับว่า ไจ๊ ดังนั้นแขกที่มาเยี่ยมบ้านไม่ควรเข้าไปเพราะอาจทำให้ผิดผี เพราะบ้านม้งนั้นอาจจะประกอบพิธีกรรมอยู่ก็ได้ในขณะนั้น แต่ถ้าบ้านหลังนั้นเปิดประตูไว้แต่ไม่มีเสียงตอบรับ ไม่ควรถือสิทธิ์เข้าในบ้านม้งควรจะฝากข้อความไว้กับคนบ้านใกล้เคียง ถ้าในกรณีที่แขกมาเยี่ยมบ้านนั้นแล้วเจอกัน แล้วบ้านไม่ไจ๊ ม้งจะมีการต้อนรับอย่างดีโดยถ้า เป็นแขกที่ไม่ใช่ญาติกันม้งจะมีการตอบ รับ โดยรับด้วยน้ำชา หรือเหล้า ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างแขกคนนั้นกับคนในครอบครัวนั้น ถ้าเป็นญาติกันก็จะมีการต้อนรับโดยฝิ่น มารยาทในการรับเครื่องรับรองจากเจ้าของบ้าน แขกจะต้องดื่ม หรือลงมือรับประทานอาหารหลังจากที่เจ้าของบ้านให้ พร้อมกับเจ้าของบ้านมารยาทแขกที่จะต้องค้างคืนกับเจ้าของบ้านม้ง จะต้องปฏิบัติดังนี้ แขกจะต้องนอนในที่เจ้าของบ้านจัดเตรียมให้เท่านั้น คือม้งจะมีการจัดเตรียมที่นอนให้กับแขกไว้ใกล้กับเตาไฟเล็กให้กับแค่นอนเพื่อที่จะพักผ่อนแขกที่ค้างคืน ในบ้านม้งนั้นจะต้องไม่มีเพศสัมพันธ์กันในระหว่างที่    
          - การพักค้างคืนอยู่ในบ้าน ระหว่างที่อยู่ในบ้านพักม้งนั้น แขกควรจะหลีกเลี่ยงอาหารที่ต้องห้ามดังนี้ และจะต้องไม่กระทำอะไรที่เป็นอันขัดแย้งกับความคิดเห็นของเจ้าของบ้าน เช่น ม้งกลุ่มแซ่ “ลี หรือ รี” จะไม่บริโภคม้ามของสัตว์ทุกชนิด ม้ง กลุ่มแซ่ “ย่าง” จะไม่บริโภคหัวใจของสัตว์ทุกชนิด ม้งกลุ่มแซ่ “ว่าง” จะต้องไม่นำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวที่ขึ้นเองตามธรรมชาติในป่า มารับประทานในบ้าน สิ่งเหล่านี้เป็นความเชื่อและเป็นมารยาทของม้งที่ปฏิบัติต่อกันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้    
          - ข้อควรสังเกตในการเยี่ยมบ้านม้ง หากแขกไปเยี่ยมบ้านม้งแล้วพบประตูปิดแล้วมีไม้หรือกิ่งไม้ หรือตะแหลวแขวนอยู่ชายคาหน้าบ้านแขกก็ไม่ควรเข้าไปรบกวนเรียกเจ้าของบ้าน เพราะเจ้าของบ้านม้งกำลังอยู่กรรม หรือ “ไจ๊” อยู่ การไจ๊หรืออยู่กรรมของม้งนั้น ม้งถือว่าเป็นการหลีกเลี่ยงการเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง ถ้าหากว่า เจ้าของบ้านมีบุคคลใดคนหนึ่งเกิดไม่สบายขึ้นมา ม้งถือว่า ขวัญ หรือ ปลี่ อยู่ไม่ครบ ดังนั้นจึงต้องมีการทำผี หรือ อั๊วเน้งเพื่อเป็นการรักษาคนป่วยในครอบครัวนั้น ดังนั้นเมื่อหมอผีจะอั๊วเน้งหรือทำผีเรียบร้อยแล้ว หมอผีจะเป็นคนที่บอกว่าควรจะ อยู่กรรม หรือ ไจ๊ จะกำหนดระยะเวลาของการอยู่กรรม หรือ ไจ๊ เลือกวันที่ควรจะอยู่กรรมด้วย เมื่อบ้านนั้นอยู่กรรมบ้านนั้นจะมีไม้ หรือกิ่งไม้แขวนไว้ที่หน้าประตูเพื่อเป็นการเตือนหรือบอกให้ผู้อื่นรับรู้ หากว่าแขกที่มาเยี่ยมบ้านนั้นไม่ทราบ เกิดไปตะโกนถามคนในบ้านนั้นจะทำให้ผีเอาขวัญของคนป่วยในบ้านนั้นไป และจะต้องมีการทำผีหรืออั๊วเน้งใหม่อีกครั้ง โดยจะปรับแขกที่มาเรียกนั้นเป็นค่าปรับหรือเป็นสัตว์ที่จะต้องมาทำผีหรืออั๊วเน้งอีกครั้ง
       2. มารยาทในการร่วมพิธีกรรม
       ม้งมีข้อกำหนดในเรื่องการประกอบพิธีกรรมที่แตกต่างกันตามความเชื่อของแต่ละแซ่สกุลย่อย พิธีกรรมหนึ่งๆที่มีชื่อเหมือนกันและมีจุดประสงค์อย่างเดียวกัน อาจจะมีรูปแบบการประกอบพิธีกรรมแตกต่างกันในสกุล ฉะนั้นถ้ามีการเข้าร่วมในพิธีกรรมใดๆ ก็ตาม ถ้าเป็นพิธีกรรมต่างแซ่ต่างสกุลต่างกันคนที่เป็นเจ้าของงาน หรือเจ้าของพฺธีกรรมนั้นจะต้องอธิบายถึงการวางตัวที่เหมาะสมให้กับแขกที่มาร่วมพิธีกรรมนั้นให้ทราบโดยทั่วกัน             
           - มารยาทในการร่วมงานพิธีศพ เป็นพิธีกรรมที่ม้งให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ หากว่าเจ้าของบ้านมีงานศพขึ้น ม้งที่เป็นเครือญาติจะต้องมีการแบ่งหน้าที่ในการประกอบพิธีกรรมให้สมบูรณ์ เรียบร้อยดังนั้นแขกที่จะมาร่วมพิธีกรรมในงานศพนั้นจะต้องปฏิบัติดังนี้ จะต้องไม่แสดงพฤติกรมรังเกียจสภาพศพที่เห็น เพราะม้งจะนิยมไม่นำศพใส่ในโลงศพ ทำให้แขกที่มาร่วมงานจะเห็นสภาพศพที่ขึ้นอืดจนน่าเกลียดมาก ศพบางศพจะเน่า และลิ้นจะโผล่ออกมาให้เห็นเลย ดังนั้นแขกที่มาร่วมจะต้องไม่แสดงพฤติกรรม เหล่านี้ออกไป             
           - มารยาทในการร่วมงานปีใหม่ งานปีใหม่เป็นเทศกาลอย่างหนึ่งของชนเผ่าม้งที่จัดขึ้นในทุกๆรอบปี ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่าง ขึ้น 1 ค่ำเดือน หนึ่งของทุกปี ซึ่งตรงกับเดือนธันวาคมของทุกปีม้งทุกหลังคาเรือนจะต้องมี การฆ่าหมูเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองงานปีใหม่ร่วมกัน การฆ่าหมูนั้นเป็นการสรรสันต์ร่วมกัน และเป็นการเซ่นไหว้บรรพบุรุษด้วย ดังนั้นแขกที่มาเยี่ยมบ้านม้งนั้นม้งจะมีการต้อนรับเป็น อย่างดีและม้งจะมีการต้อนรับโดยเอาเหล้ามารับแขก ซึ่งแก้วที่นำมาใส่เหล้านั้นจะเรียกว่า แก้วแม่วัว กับแก้วลูกวัว ดังนั้นหากว่าเจ้าของบ้านเอาแก้วแม้วัวให้กับแขกดังนั้นแขกจะ ต้องดื่มก่อนและต้องดื่มให้หมด ถ้าไม่หมดม้งถือว่าเป็นการรังเกียจกัน ดังนั้นถ้าแขก ดื่มไม่หมดม้งถือว่าแขกคนนั้นไม่อยากมีความสัมพันธ์กับตน หรือไม่ให้เกียรติกับเจ้าของบ้านดังนั้นจึงถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างแขกกับเจ้าของบ้านขาดจากกัน แต่ถ้าเจ้าของบ้านเอาแก้วลูกวัวให้แขก แขกได้รับแก้วลูกวัวแล้วจะต้องดื่มแก้วเหล้าให้หมด แต่ถ้าไม่ สามารถที่จะดื่มหมดก็สามารถที่จะให้คนอื่นมาช่วยดื่มแก้วเหล้าลูกวัวนี้แทนตัวเองได้ และความสัมพันธ์ระหว่างแขกกับเจ้าของบ้านยังคงเหมือนเดิมหรือแน่นเฟ้นยิ่งขึ้นมารยาท ระหว่างผู้น้อยกับผู้ใหญ่
       มารยาทเป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยสร้างการยอมรับซึ่งกันและกันระหว่างผู้น้อยกับผู้ใหญ่ ม้งมีรูปแบบหรือพื้นฐานของมารยาทที่สำคัญคือ
       1. ผู้น้อยจะต้องยอมรับฟังความคิดเห็น คำชี้แนะและแสดงความเคารพต่อผู้ใหญ่
       2. ผู้น้อยหรือสมาชิกในหมู่บ้านจะได้รับการดูแล หรืออุปถัมภ์จากผู้อาวุโสหรือผู้ใหญ่
       3. ให้สิทธิ์ในการตัดสินเด็ดขาดแก่ผู้ใหญ่เท่านั้น

คำสำคัญ : ชนเผ่าม้ง ธรรมเนียม มารยาท

ที่มา : มูลนิธิกระจกเงา. (2559). โครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขาออนไลน์. https://www.openbase.in.th/node/762

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2567). ชนเผ่าม้ง - ธรรมเนียม มารยาท. สืบค้น 19 มิถุนายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2242&code_db=610004&code_type=05

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2242&code_db=610004&code_type=05

Google search

Mic

ชนเผ่าม้ง : การจีบ

ชนเผ่าม้ง : การจีบ

หลังจากว่างงานหลังฤดูเก็บเกี่ยว หนุ่มสาวม้งจะหาโอกาสเกี้ยวพาราสีในเวลาค่ำคืน หนุ่มสาวม้งมีข้อห้ามที่จะไม่ไม่เกี้ยวพาราสีกับคนแซ่เดียวกัน หรือตระกูลเดียวกัน เพราะถือว่าเป็นพี่น้องกัน สำหรับโอกาสที่ดีที่สุด คือเทศกาลปีใหม่ ม้งทั้งชายหนุ่ม และหญิงสาวจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสวยสดงดงามที่ได้รับการจัดเตรียมมาตลอดทั้งปี ชายหนุ่มและหญิงสาวจะจับคู่โยนลูกบอล หญิงสาวที่ยังไม่มีคู่จะเป็นคนเข้าไปทักชายหนุ่มที่ตนรู้จัก หรือชอบพอ และยื่นลูกบอลให้เป็นการขอเล่นโยนลูกบอลด้วย หากชายหนุ่มคนใดไม่ชอบพอหญิงสาวคู่โยนของตน ก็จะหาทางปลีกตัวออกไปโดยมิให้เสียมารยาท ระหว่างเล่นโยนลูกบอลไปมาจะสนทนาไปด้วย หรืออาจเล่นเกม โดยตกลงกันว่าใครรับลูกบอลไม่ได้ต้องเสียค่าปรับเป็นสิ่งของ หรือเครื่องประดับให้กับฝ่ายตรงข้าม

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 690

ชนเผ่าม้ง : ของใช้ในชีวิตประจำวัน

ชนเผ่าม้ง : ของใช้ในชีวิตประจำวัน

อุปกรณ์ เครื่องใช้ของม้งโดยปกติแล้วม้งจะมีการทำงานหนักในไร่หรือในสวนต่าง ๆ ม้งจึงมีการตีมีดให้เหมาะสมกับงานที่ทำเช่น การตัดไม้จะต้องใช้ มีดด้ามยาว (เม้าะจั๊วะ) หรืออาจจะใช้ขวานก็ได้ ส่วนการทำอาหารต่างจะใช้มีดด้ามสั้นหรือมีดปลายแหลม ส่วนงานที่หนักจะต้องใช้มีดที่มีขนาดใหญ่ เหมาะกับการใช้งาน

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 962

การแต่งกายของชาวเขา

การแต่งกายของชาวเขา

ลักษณะการแต่งกายของชาวเขา จังหวัดกำแพงเพชร จะมีตัวเสื้อจะเป็นผ้ากำมะหยี่ เสื้อแขนยาวจรดข้อมือ ชายเสื้อจะยาวคลุมเอว ด้านหน้ามีสาบเสื้อสองข้างลงมาตลอดแนว สายเสื้อลงไปยังชายเสื้อ ด้านหลัง มักจะปักลวดลายสวยงามด้วย ปัจจุบันนิยมใส่ซิปลงขอบ สาบเสื้อ เพื่อสะดวกในการใส่ ส่วนกางเกงจะสวมใส่กางเกงขาก๊วย หรือกางเกงจีนเป้าตื้นขาบาน มีลวดลายน้อย และใส่ผ้าพันเอวสีแดง คาดทับกางเกง และอาจมีเข็มขัดเงินคาดทับอีกชั้นหนึ่งด้วยเหมือนกัน

เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 14,955

ชนเผ่าม้ง : ไสยศาสตร์ การรักษาโรค

ชนเผ่าม้ง : ไสยศาสตร์ การรักษาโรค

ม้งมีความเชื่อว่าพิธีไสยศาสตร์เหล่านี้จะช่วยให้วินิจฉัยโรคได้ถูกต้องและทำการรักษาได้ผล เพราะความเจ็บป่วยทั้งหลาย ล้วนแต่เป็นผลมาจากการผิดผี ทำให้ผีเดือดดาลมาแก้แค้นลงโทษให้เจ็บป่วย จึงต้องใช้วิธีจัดการกับผีให้คนไข้หายจากโรค หากว่าคนทรงเจ้ารายงานว่าคนไข้ที่ล้มป่วยเพราะขวัญหนี ก็จะต้องทำพิธีเรียกขวัญกลับเข้าสู่ร่างของบุคคลนั้น แต่การที่จะเรียกขวัญกลับมานั้น จะต้องมีพิธีกรรมในการปฎิบัติมากมาย บางครั้งบางพิธีกรรมก็มีความยุ่งยากในการปฎิบัติ แต่ม้งก็ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคเหล่านั้น ม้งเชื่อว่าการที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง โดยไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียน นั่นคือความสุขอันยิ่งใหญ่ของม้ง 

เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้เช้าชม 577

ชนเผ่าม้ง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าม้ง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าม้ง (Hmoob/Moob) เป็นสาขาหนึ่งของชนชาติจีน  มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในมณฑลไกวเจา มณฑลฮูนาน และอพยพเข้าอยู่ในมณฑลกวางสีและมณฑลยูนนานกว่า 500 ปีมาแล้ว เล่ากันว่าชนเผ่าม้งอาศัยอยู่บนเขาทางทิศใต้ของมองโกเลีย และเคลื่อนย้ายเข้ามายังแผ่นดินตอนกลางของประเทศจีนมีอาณาจักรและกษัตริย์ปกครองเป็นของตนเอง ชาวจีนเคยเรียกว่าชนชาติฮั่น ชาวจีนตอนใต้ได้แบ่งชนชาติที่ไม่ใช่ชาวจีนออกเป็น 3 ชาติ คือ พวกโล-โล, ฉาน (ไทย) กับ ชนเผ่าม้ง ชนเผ่าม้งแถบแม่น้ำแยงซีเกียงสร้างโรงเรือนคร่อมที่ดินฝาก่อด้วยดินดิบ มีเตาไฟกลางห้องปลูกข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวไร่ ถั่ว ฯลฯ เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เวลารับประทานอาหารนั้นจะใช้ตะเกียบมีกระบะไม้ใส่ข้าวตั้งไว้บนโต๊ะ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกันได้พบปะกับชนเผ่าม้ง, ชาวโล-โล และชาวปายีเป็นจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 4,758

การขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชนของชาวเขา

การขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชนของชาวเขา

เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี ซึ่งจะตรงกับช่วงที่พืชพันธุ์ที่ปลูกลงไปในไร่มีผลผลิต และเริ่มที่จะเก็บเกี่ยวได้แล้ว อาทิเช่น แตงโม แตงกวา พืชผักต่างๆ เป็นต้น เทศกาลนี้จัดขึ้นมาเพื่อขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชน เช่น ภูตผีปีศาจที่มาอาศัยอยู่ในชุมชน อาข่าเรียกว่า “แหนะ” รวมไปถึงโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยมีการแกะสลักไม้เนื้ออ่อนเป็นดาบ หอก ปืน อาข่าเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ว่า “เตาะมา”

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,706

พิธีเรียกขวัญของชาวเขา

พิธีเรียกขวัญของชาวเขา

เป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการเรียกขวัญ เมื่อประชาชนอาข่าไปในป่าหรือสถานที่ที่ใดที่หนึ่ง แล้วไปสะดุ้งกลัวและเกิดความไม่สบายขึ้นมา เช่น ตัวร้อน ปวดหัว ฯลฯ เมื่อผู้ประสบเหตุกลับมาถึงบ้านก็บอกสมาชิกในครัวครอบให้ประกอบพิธีกรรมนี้ การคัดเลือกฤกษ์ยามในการทำพิธี ต้องไม่ตรงกับวันเกิดและวันตายของสมาชิกในครอบครัว จึงนับว่าเป็นวันดี แต่ถ้าเป็นวันเกิดของผู้ที่ประสบเหตุสะดุ้งนั้นได้ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,680

กะเหรี่ยง (KAREN)

กะเหรี่ยง (KAREN)

นามของชาวเขาเผ่าใหญ่ที่สุดในไทยนั้นเรียกขานกันว่า "กระเหรี่ยง" ในภาคกลาง ส่วนทางเหนือ (คำเมือง) เรียกว่า "ยาง" กะเหรี่ยงในไทยจำแนกออกเป็นพวกใหญ่ๆ ได้สองพวกคือสะกอ และโปว และพวกเล็กๆซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่แถบแม่ฮ่องสอนคือ ป่าโอ และค่ายา ซึ่งเราจะไม่กล่าวถึง ณ ที่นี้ เพราะมีจำนวนเพียงประมาณร้อย ละหนึ่งของประชากรกะเหรี่ยงทั้งหมดในไทย พลเมืองกะเหรี่ยวตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่าและไทย ส่วนใหญ่คือ ร่วมสี่ล้านคนอยู่ในพม่าในไทยสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อปี ๒๕๒๖

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 6,762

พิธีกรรมซ้อนขวัญ บ้านคลองไพร ต.โป่งน้ำร้อน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร

พิธีกรรมซ้อนขวัญ บ้านคลองไพร ต.โป่งน้ำร้อน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร

พิธีกรรมซ้อนขวัญบ้านคลองไพร ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มี 12 หมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายทางภาคเหนือที่อพยพมาตั้งถิ่นฐาน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนไทยภาคเหนือที่อพยพมาจากอำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง จึงได้นำพิธีกรรมซ้อนขวัญนี้มาใช้ที่บ้านคลองไพรด้วย ซึ่งพิธีกรรมซ้อนขวัญนี้เป็นพิธีกรรมที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ปู่ย่า โดยจะเป็นพิธีกรรมที่ใช้เฉพาะผู้หญิงเป็นผู้ประกอบพิธีกรรม ซึ่งจะใช้ในกรณีที่คนในครอบครัวประสบอุบัติเหตุ เมื่อคนในครอบครัวประสบอุบัติเหตุ เช่น รถล้ม รถชน แม่หรือ ย่ายาย จะเป็นผู้ไปซ้อนขวัญ ถ้าหากคนในครอบครัวไม่สามารถทำได้ ก็จะให้ผู้หญิงผู้เฒ่าผู้แก่ท่านอื่นที่เคารพและสามารถประกอบพิธีกรรมได้เป็นผู้กระทำให้

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 1,164

ชนเผ่าเมียน (MIEN)

ชนเผ่าเมียน (MIEN)

ชาวเมี่ยน เป็นชนชาติเชื้อสายจีนเดิม ชนเผ่านี้เรียกตัวเองว่า เมี่ยน ซึ่งแปลว่า มนุษย์ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เย้า ถิ่นเดิมของเมี่ยนอยู่ทางตะวันออกของมณฑลไกวเจา ยูนนาน หูหนาน และกวางสีในประเทศจีน ต่อมาการทำมาหากินฝืดเคืองและถูกรบกวนจากชาวจีนจึงได้อพยพมาทางใต้เข้าสู่เวียดนามเหนือ ตอนเหนือของลาว และทางตะวันออกของพม่าบริเวณรัฐเชียงตุงและภาคเหนือของไทย ชาวเมี่ยนที่ี่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย อพยพมาจากประเทศลาวและพม่า ปัจจุบันมีชาวเมี่ยนอาศัยอยู่มากในจังหวัดเชียงราย พะเยา และน่าน รวมทั้งในจังหวัดกำแพงเพชร เชียงใหม่ ตาก เพชรบูรณ์ ลำปาง สุโขทัย

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 21,291