ชนเผ่าม้ง : ของใช้ในชีวิตประจำวัน

ชนเผ่าม้ง : ของใช้ในชีวิตประจำวัน

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้ชม 189

[16.2581844, 98.9071054, ชนเผ่าม้ง : ของใช้ในชีวิตประจำวัน]

ชนเผ่าม้ง : เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน
        อุปกรณ์ เครื่องใช้ของม้งโดยปกติแล้วม้งจะมีการทำงานหนักในไร่หรือในสวนต่าง ๆ ม้งจึงมีการตีมีดให้เหมาะสมกับงานที่ทำเช่น การตัดไม้จะต้องใช้ มีดด้ามยาว (เม้าะจั๊วะ) หรืออาจจะใช้ขวานก็ได้ ส่วนการทำอาหารต่างจะใช้มีดด้ามสั้นหรือมีดปลายแหลม ส่วนงานที่หนักจะต้องใช้มีดที่มีขนาดใหญ่ เหมาะกับการใช้งาน
      1. มีด (เจ๊าะปลึ่อ) มีดด้ามสั้นหรือมีดปลายแหลม (เจ๊าะปลึ่อ) ตัวมีดจะมีความยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตรตรงปลายมีดจะแหลมและคมมาก วิธีการประดิษฐ์ มีดปลายแหลมหรือมีดด้ามสั้นจะนำเส้นเหล็กมาเผาให้แดง เพื่อง่ายต่อการตี แล้วจะตีตามแบบที่มีไว้แล้ว มีดด้ามสั้นนี้จะเป็นมีดที่ใช้ในการประกอบอาหารและใช้พกติดตัว เมื่อออกไปล่าสัตว์ในป่า
      2. มีดด้ามยาว (เม้าจั๊ว) หรือมีดดายหญ้าของม้ง มีความยาวประมาณ 30 -45 เซนติเมตร ตรงปลายมีดจะมีลักษณะงอเข้าหาตัวมีดที่คม มีดด้ามยาวนี้ จะเป็นมีดคู่ชีพของม้งเพราะม้งจะใช้มีดนี้ในการทำไร่ตลอดเวลา เพื่อสะดวกกับการด้ายหญ้า
      3. ขวาน (เต่า) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานหนักเช่น เมื่อไปผ่าฟืน ตัดต้นไม้ที่มีลักษณะคล้ายต้นปาล์ม แล้วเลาะเปลือกออก จากนั้นก็ตัดเป็นท่อนๆ แล้วนำไปสับต้มอาหารหมู หรือไปตัดไม้และเป็นอุปกรณ์ในการตีมีด ทำมาจากเหล็ก ส่วนด้ามนั้นทำจากไม้ซึ่งไม้นั้น จะต้องมีการเหลาทุกครั้ง เพื่อไม่ให้ผิวไม้แทงมือเมื่อใช้
      4. ปืนแก๊สม้ง (ปลอ-ย่าง) เป็นปืนแก๊สม้ง ซึ่งมีลักษณะเหมือนปืนยาว แต่ไม่ได้ใช้กระสุนจริงกระสุนที่ใช้จะเป็นการเอาขลุ่ยไม้ที่เหลามาผสมกับดินปืน ซึ่งม้งทำขึ้นเพื่อใช้ยิงสัตว์ตัวเล็ก เช่น นก ลิง ปลา เป็นต้น
      5. ธนูม้ง (เน่ง) neeg เป็นธนูม้ง ซึ่งทำมาจากไม้และเส้นหวายหรือด้ายหวาย วิธีการประดิษฐ์ คือจะนำไม้มาเหลาให้เรียบร้อย แล้วดัดให้งอเล็กน้อยเพื่อเป็นธนู ส่วนคั้นทำมาจากไม้หรือเส้นเหล็กก็ได้ แล้วนำมาประกอบกันเป็นธนู หัวธนูจะใช้ท่อยึดเพื่อให้คงทน แล้วพันแถบด้วยเทปกาวใส จากนั้นนำเส้นเชือกหรือ เส้นหวายที่ม้วนให้มีขนาดเล็กมาก เพื่อทนกับการใช้งาน ส่วนมากธนูจะใช้ยิงสัตว์ที่มีขนาดเล็กเช่น นก ลิง กระรอก เป็นต้น
      6. กระบุง (เกอะ) kawm เป็น ภาชนะของม้งซึ่งทำจากไม้ไผ่โดยนำไม้ไผ่มา สานเป็นลวดลายต่างๆ ประกอบกันเป็นกระบุงหรือเกอะ กระบุงของม้งนั้นมีหลายลักษณะโดยที่ กระบุงจะแตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของม้ง ถ้าเป็นกระบุงที่ม้งดำทำจะมีลักษณะลวดลายที่แตกต่าง จากม้งขาวคือ ลวดลายของม้งขาวจะละเอียด กว่าม้งดำและตัวกระบุงจะมีขนาดเล็กกว่าม้งดำ แต่ที่เหมือนกันคือวิธีการใช้ คือจะใช้เมื่อต้อง ออกไปทำงานในไร่และนำสัมภาระไปด้วย
      7. กระด้งม้ง (ว้าง) เป็นอุปกรณ์ที่ม้งใช้ในการล่อนข้าวหรือตากเมล็ดพันธุ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังใช้รองในการทำขนม ตัวกระด้งทำมาจากไม้ไผ่ และในการสานกระด้งนั้นจะสานจากส่วนกลางให้เรียบร้อยก่อน แล้วจากนั้นจะทำการตัดขอบและดัดให้โค้งเป็นวงกลมเพื่อที่จะทำสันกระดังหรือ ขอบกระด้ง ซึ่งการทำขอบกระด้งนั้นเพื่อให้กระด้งแข็งแรงทนทานกับการใช้งาน ส่วนมากม้งจะนำไปผิงไฟไว้ เพื่อให้เนื้อไม้ไผ่แห้งสนิท สีสวย
      8. กระชอนม้ง (ซัวะจี้) เป็นอุปกรณ์ที่ม้งใช้ในการกรองข้าวหรือใช้ในการกรองน้ำมันต่างๆเช่น น้ำมันหมูเป็นต้น เป็นอุปกรณ์ที่ทำจากไม้ไผ่ วิธีการประดิษฐ์คือนำไม้ไผ่มีขนาดหนา 3-5 ซ.ม เพื่อประกอบกันเป็นวงกลมแล้วนำไม้ไผ่ที่มีความหนา 2-3 ซม.มาทำเป็นเส้นที่วางอยู่ในแนวตั้ง จากนั้นนำไม้ไผ่ที่มีขนาดของเส้นเล็กหนา 1 ซม. เพื่อใช้เป็นตัวสาน ตามขวางถ้าเส้นไม้ไผ่หมดก็สามารถที่ต่อตามรอยเดิมได้ ซัวะจี้หรือกระชอนนี้ ม้งจะประดิษฐ์เพื่อใช้งานในการหุงข้าว กับการกรองน้ำมันหมูเป็นต้น
      9. หม้อข้าวม้ง (จู่) เป็นอุปกรณ์ม้งที่ใช้ในการหุงข้าว ใช้สำหรับครอบครัวที่มีสมาชิกครอบครัวหลายสิบคน หม้อข้าว (จู่) ทำมาจากไม้ไผ่ วิธีการประดิษฐ์คือ จะนำไม้ไผ่ที่เรียบมาไว้ข้างใน จากนั้นก็จะนำไม้ไผ่ที่จะสานไว้ข้างนอก จากนั้นเริ่มสานข้างนอกก่อน แล้วนำไม้ไผ่ที่เรียบ เป็นชิ้นมาประกอบไว้ข้างใน
      10. ขัน (ฝึ๋กเต้า) เป็นอุปกรณ์ที่ม้งใช้ในการตักข้าวขณะหุงอยู่และใช้ตักน้ำ นอกจากนี้แล้วยังจะใช้ตักอาหารให้กับสัตว์เลี้ยงด้วย ตัวขันทำมาจากน้ำเต้า วิธีการประกอบคือ นำฝึกเต้า ที่แก่เต็มมาตัดหรือแบ่งเป็นสองข้างแล้ว ขุดเมล็ดที่อยู่ข้างในออกให้เรียบร้อย เพื่อความสะอาดและสามารถใช้งานได้ จากนั้นก็จะนำไปผิงไฟไว้เพื่อให้แห้งเต็มที่อีกครั้งหนึ่ง ผิงไว้ 1-2อาทิตย์ ก็สามารถนำมาใช้ได้เลย
      11. กะทะ (เยีย) เยียเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ทำกับข้าว ใช้ในเวลาทอด หรือคั่ว ส่วนใหญ่จะใช้ในการต้มอาหารให้สัตว์เลี้ยง แต่จะไม่ใช้ร่วมกับการต้มอาหารให้กับคน เพราะม้งถือว่าสัตว์เป็นสัตว์ที่สกปรก ฉะนั้นจะใช้เยียแยกกัน
      12. หม้อเล็กม้ง (เล่าเก๋ว) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการหุงข้าวใช้สำหรับครอบครัวขนาดเล็ก การหุงคือ จะนำน้ำมาต้มให้เดือดแล้วนำข้าวสารที่ล้างเรียบร้อยมาเทลงไปในหม้อเล็ก รอให้น้ำเดือดและข้าวนวลมือก็จะ เทน้ำออก นำหม้อพิงไฟไว้ข้างๆกองไฟ
      13. ดั้งจั่ว หรือหม้อตำขนมม้ง (ดั้งจั่ว) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการตำขนมม้ง วิธีการทำหม้อตำขนมม้งคือ หาท่อนไม้ที่มีขนาดที่ใหญ่มาก จากนั้นนำท่อนไม้มาผ่าครึ่งแล้วทำการเจาะ ให้เป็นรูป สี่เหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้าก็ได้ จากนั้นก็จะนำไปแช่น้ำ 1 วันหลังจากแช่น้ำเสร็จสามารถนำมาใช้ได้เลย วิธีการทำขนมม้งคือ จะนำข้าวเหนียวที่หุงให้สุกเรียบร้อยแล้ว นำมาเทลงไปในหม้อดั้งจั่ว จากนั้นก็จะนำไม้มาตำให้ข้าวเหนียวเหลว จากนั้นก็นำกระด้ง (ว้าง) มารอง ไว้ข้างๆหม้อ (ดั้งจั่ว) เพื่อที่จะนำขนมออกจากดั้งจั่ว แล้วนำไข่แดงมาทากระด้ง (ว้าง) ให้เรียบร้อย ก่อนที่จะนำขนมลงจากกระด้งเพื่อไม่ให้ขนมติดกระด้ง (ว้าง) จากนั้นดึงข้าวเหนียวที่ตำแล้ว มาเป็นก้อนๆ แล้วเอาใบกล้วยมาห่อไว้เป็นลูกๆ เก็บไว้กินนาน ๆ ปัจจุบันนี้การทำขนมจากดั๊งจั่วยังมี และจะทำในเทศกาลปีใหม่เท่านั้น
       14. เครื่องรีดน้ำอ้อย เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการรีดน้ำอ้อย ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำมาจากไม้ วิธีการ ประดิษฐ์จะนำเสาไม้ 2 ต้นมาฝังในพื้นที่ๆต้องการ จากนั้นนำแผ่นไม้สองแผ่นมาเจาะรู เพื่อที่จะนำเข้าประกบกับเสาไม้ทีตั้งไว้ ระหว่างแผ่นไม้สองแผ่นนั้นจะมีแผ่นเหล็กที่สามารถเคลื่อนที่ได้ แผ่นไม้ที่อยู่ด้านบนเจาะรูแล้วนำท่อนเหล็กที่มีขนาดใหญ่มาวางไว้ด้านบน และล็อคเอาซึ่งท่อนเหล็กสามารถที่จะเคลื่อนที่ได้ เพราะทุกครั้งที่จะมีการรีดน้ำอ้อยนั้นจะมีคนอยู่ 2 คน ที่เป็นคนหมุนท่อนเหล็กด้านบนเพื่อบังคับให้แผ่น ไม้ หรือแผ่นเหล็กที่อยู่ในช่องกลาง มีการเคลื่อนที่ เพื่อหนีบอ้อยให้น้ำออก 
       15. ซุ้มไก่ (เต้อะคาร์) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนไก่ ซึ่งทำจากไม้ไผ่ วิธีการทำคือจะนำไม่ไผ่มาผ่าเป็นซีกๆ แล้วเหลาให้เรียบร้อย เพื่อมิให้ซีกไม้ไผ่บาดมือ จากนั้นจะนำไม้ไผ่ที่มีขนาดให็ไว้เป็นสันหรือเป็นรูปทรงไว้ จากนั้นนำไม้ไผ่ที่บางกว่ามาสานตามรูปทรงที่ เตรียมไว้ เวลาสานให้สลับสีของไม้ไผ่ รูปทรงจะมีสีสันที่สวยงาม เมื่อสานได้แล้วจะทำประตูให้กับซุ้มไก่เพื่อใช้สำหรับปิดเปิด ไม่ให้ไก่ออกจากซุ้มไก่ได้ และสามารถที่จะนำเคลื่อนที่ได้อีก
       16. รูปแยะ (yeb) เครื่องโม่ข้าวโพด (แยะ-yeb) เป็นอุปกรณ์ที่ม้งใช้ในการโม้ข้าวโพดให้มีขนาดเล็กลง เพื่อใช้เป็นอาหารให้กับสัตว์เลี้ยง ลักษณะของอุปกรณ์เครื่องโม่ (แยะ) จะทำจากหินอัคนีที่มีความแข็งแรงมาก ตัดให้เป็นรูปทรงกลม 2 ข้างไว้ทับกัน ส่วนข้างที่อยู่ข้างบนจะเจาะรูตรงกลาง ของหินทรงกลม และด้านข้างของหินจะทำเป็นที่จับแต่ต้องเจาะรูเพื่อที่ใส่ด้ามให้ เพื่อจะได้หมุนเวลาโม่ข้าวโพดต่างๆหรือว่าจะเป็นเมล็ดพันธุ์อย่างอื่นที่ต้องการ
       17. ครกกระเดื่อง (จู่-cug) เป็นอุปกรณ์ของม้งที่ใช้ในการตำข้าวเปลือกไว้สำหรับบริโภค ลักษณะของอุปกรณ์มีดังนี้ จู่ทำจากท่อนไม้ที่มีขนาดใหญ่ โดยเจาะรูให้มีขนาดใหญ่ แต่ต้องไม่ให้รั่ว แล้วฝังไว้ในบ้านหรือนอกตัวบ้านก็ได้ แล้วจะทำเสาไว้ยึด แล้วนำ ท่อนไม้อีกท่อนหนึ่งที่มีขนาดเล็กลงที่มีลักษณะเป็นรูปตัวที เพื่อที่จะใช้ในการเหยียบ

คำสำคัญ : ชนเผ่าม้ง ของใช้ในชีวิตประจำวัน

ที่มา : มูลนิธิกระจกเงา. (2559). โครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขาออนไลน์. https://www.openbase.in.th/node/765

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2567). ชนเผ่าม้ง : ของใช้ในชีวิตประจำวัน. สืบค้น 2 ธันวาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2241&code_db=610004&code_type=05

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2241&code_db=610004&code_type=05

Google search

Mic

ชนเผ่าม้ง : การจีบ

ชนเผ่าม้ง : การจีบ

หลังจากว่างงานหลังฤดูเก็บเกี่ยว หนุ่มสาวม้งจะหาโอกาสเกี้ยวพาราสีในเวลาค่ำคืน หนุ่มสาวม้งมีข้อห้ามที่จะไม่ไม่เกี้ยวพาราสีกับคนแซ่เดียวกัน หรือตระกูลเดียวกัน เพราะถือว่าเป็นพี่น้องกัน สำหรับโอกาสที่ดีที่สุด คือเทศกาลปีใหม่ ม้งทั้งชายหนุ่ม และหญิงสาวจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสวยสดงดงามที่ได้รับการจัดเตรียมมาตลอดทั้งปี ชายหนุ่มและหญิงสาวจะจับคู่โยนลูกบอล หญิงสาวที่ยังไม่มีคู่จะเป็นคนเข้าไปทักชายหนุ่มที่ตนรู้จัก หรือชอบพอ และยื่นลูกบอลให้เป็นการขอเล่นโยนลูกบอลด้วย หากชายหนุ่มคนใดไม่ชอบพอหญิงสาวคู่โยนของตน ก็จะหาทางปลีกตัวออกไปโดยมิให้เสียมารยาท ระหว่างเล่นโยนลูกบอลไปมาจะสนทนาไปด้วย หรืออาจเล่นเกม โดยตกลงกันว่าใครรับลูกบอลไม่ได้ต้องเสียค่าปรับเป็นสิ่งของ หรือเครื่องประดับให้กับฝ่ายตรงข้าม

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 137

ปีใหม่ลูกข่าง

ปีใหม่ลูกข่าง

เป็นประเพณีเปลี่ยนฤดูกาลทำมาเลี้ยงชีพ จัดขึ้นประมาณเดือนธันวาคมของทุกปี ตรงกับเดือนอาข่า คือ “ท้องลาบาลา” คนทั่วไปนิยมเรียกประเพณีนี้ว่า ปีใหม่ลูกข่าง ประเพณีนี้มีประวัติเล่ากันมาว่า เป็นประเพณีที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลทำมาหากิน ซึ่งภายหลังจากที่มีการเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์จากท้องไร่นา เสร็จแล้วก็จะเข้าสู่ฤดูแห่งการพักผ่อน ถือเป็นประเพณีของผู้ชาย โดยผู้ชายทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จะมีการทำลูกข่าง “ฉ่อง” 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,940

ชนเผ่าม้ง : ข้อห้าม

ชนเผ่าม้ง : ข้อห้าม

ชาวเขาเผ่าม้งมีความยึดมั่นในข้อปฏิบัติเฉพาะประจำกลุ่ม ประจำแซ่สกุลของตนเอง ม้งแต่ละสกุลหรือแต่ละแซ่มาอยู่ร่วมกัน เป็นชุมชนหมู่บ้านม้ง ทุกคนต่างก็จะตระหนักถึงข้อปฏิบัติให้อยู่ในกรอบ ซึ่งข้อกำหนดหรือข้อปฏิบัติ อาทิ สมาชิกม้งที่มีนามสกุลเดียวกัน จะแต่งงานด้วยกันไม่ได้ ถ้าจำเป็นต้องแต่งงงานกันจริง ๆ จะต้องให้หญิงและชายคู่กรณี ทำพิธีตัดญาติก่อน แล้วจึงจะแต่งงานกันได้ ชายหญิงม้งจะต้องไม่แสดงพฤติกรรมที่แสดงถึงความรู้สึกชอบพอกันต่อหน้าพ่อ-แม่ของฝ่ายหญิงเด็ดขาด หรือในที่สาธารณะ เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 163

ประเพณีกินข้าวใหม่ของม้ง

ประเพณีกินข้าวใหม่ของม้ง

เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยรุ่นทวด-รุ่นปู่ ซึ่งม้งจะมีความเชื่อว่าจะต้องเลี้ยง ผีปู่-ผีย่า เพราะช่วงเวลาในหนึ่งรอบปีหรือในหนึ่งปีที่ผ่านมานั้นผีปู่-ผีย่า ได้ดูแลครอบครัวของแต่ละครอบครัวเป็นอย่างดี ดังนั้นจึงมีการปลูกข้าวใหม่เพื่อจะเซ่นบูชา คุณผีปู-ผีย่ากับเจ้าที่ทุกตน ซึ่งการกินข้าวใหม่จะทำกันในเดือน ตุลาคมของทุกปี ข้าวใหม่คือข้าวที่ปลูกขึ้นมาเพื่อที่จะเซ่นถวายให้กับผีปู่-ผีย่า

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,165

วัฒนธรรมการทำผ้าลายขี้ผึ้ง (โอโต๊ะจ๊ะ) ของชนเผ่าม้ง

วัฒนธรรมการทำผ้าลายขี้ผึ้ง (โอโต๊ะจ๊ะ) ของชนเผ่าม้ง

ชาวม้งมีบรรพบุรุษโบราณอาศัยอยู่ในดินแดนอันหนาวเย็น หิมะตกหนัก มีกลางคืนและฤดูหนาวที่ยาวนาน อาจอพยพมาจากที่ราบสูงทิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย ประเทศจีน ชาวม้งอพยพหนีการปกครองของจีน ในเขตที่ราบสูงของหลวงพระบาง ราวพุทธศักราช 2443 กลุ่มม้งอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ในจังหวัดกำแพงเพชร ที่อำเภอคลองลาน มีแม่เฒ่าชาวม้งท่านหนึ่งชื่อว่า นางจื่อ แซ่กือ อายุ 64 ปี อาศัยอยู่ หมู่ 1 ตำบลคลองลานพัฒนา ซึ่งเดิมอยู่บนเขาน้ำตกคลองลาน อพยพมาอยู่พื้นราบมาประมาณ 20 ปี งานที่สำคัญและภูมิใจที่สุดของนางจื่อ แซ่กือ คือ การทำผ้าลายขี้ผึ้ง (โอโต๊ะจ๊ะ) เพื่อนำมาตัดเย็บชุดชาวเขาเผ่าม้งของแม่เฒ่า

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 1,996

ชนเผ่าล่าหู่ (LAHU)

ชนเผ่าล่าหู่ (LAHU)

ตามประวัติศาสตร์ของชนชาติ “ลาหู่” มีมานานไม่ต่ำกว่า 4,500 ปี โดยชาวลาหู่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในธิเบต และอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ต่อมาได้ทยอยอพยพลงมาอยู่ทางตอนใต้ของจีน โดยแบ่งออกเป็นสองสาย คือส่วนหนึ่งอพยพเข้ามาในแคว้นเชียงตุง ประเทศพม่า เมื่อพ.ศ. 2383 และราว พ.ศ. 2423 ได้เข้ามาอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย โดยตั้งรกรากที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแห่งแรก อีกส่วนหนึ่งได้อพยพเข้าไปในประเทศลาวและเวียดนาม ทั้งนี้ชนเผ่าลาหู่ได้แบ่งเป็นเผ่าย่อยอีกหลายเผ่า อาทิ ลาหู่ดำ ลาหู่แดง ลาหู่เหลือง ลาหู่ขาว ลาหู่ปะกิว ลาหู่ปะแกว ลาหู่เฮ่กะ ลาหู่ลาบา ลาหู่เชแล ลาหู่บาลา เป็นต้น 

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 23,553

ความเชื่อ ความศรัทธาจากชาวจีนโพ้นทะเลสู่คลองลาน กำแพงเพชร

ความเชื่อ ความศรัทธาจากชาวจีนโพ้นทะเลสู่คลองลาน กำแพงเพชร

ชาวจีนโพ้นทะเล หรือชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบันนั้นได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพในประเทศไทยเป็นเวลานาน โดยมีการผสมผสานกลมกลืนระหว่างวัฒนธรรมของชนทั้งสองกลุ่ม ความเชื่อ ความศรัทธารวมถึงเอกลักษณ์กลายเป็นวัฒนธรรมผสม แต่ถึงอย่างไรก็ตามชาวจีนโพ้นทะเลยังคงรักษา ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ของตนไว้เป็นอย่างดี อย่างที่เราจะเห็นได้ในทุกพื้นที่ที่มีคนจีนอาศัยอยู่ จะมีเทศกาลปีใหม่จีน(ตรุษจีน) สารทจีน ให้อยู่ในทุกพื้นที่ เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจที่ครบถ้วนเกี่ยวกับที่มาที่ไปของความเชื่อ ความศรัทธาของชาวไทยเชื้อสายจีน ผู้ศึกษาขอพาไปรู้จักกับประเพณีในรอบ 1 ปีของชาวจีนดังในหัวข้อ “ประเพณีที่ถือปฏิบัติในรอบปี”

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 1,500

การแต่งงานของชาวเขา

การแต่งงานของชาวเขา

เมื่อฝ่ายชายและฝ่ายหญิงรู้จักกันและเกิดรักกัน ทั้ง2 คนอยากใช้ชีวิตร่วมกัน ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะกลับมาบ้านของตนเอง และฝ่ายชายค่อยมาพาฝ่ายหญิงจากบ้านของฝ่ายหญิง โดยผ่านประตูผีบ้านของฝ่ายหญิง เพราะคนม้งถือและเป็นวัฒนธรรมของคนม้ง หลังจากที่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงกลับมาถึงบ้านของฝ่ายชาย พ่อ แม่ของฝ่ายชาย จะเอาแม่ไก่มาหมุนรอบศีรษะทั้งสองคน 3 รอบเรียกว่า “หรือข๊า” 

 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,025

ชนเผ่าลีซอ (ลีซู) ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าลีซอ (ลีซู) ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ลีซอ หมายถึง ผู้ใฝ่รู้แห่งชีวิต มีภาษาพูดในกลุ่มหยี (โลโล) ตระกูลธิเบต-พม่า 30% เป็นภาษาจีนฮ่อ ต้นกำเนิดของลีซูอยู่ที่ต้นน้ำสาละวิน และแม่น้ำโขงทางตอนเหนือของธิเบต และทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของมณฑลยูนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ชาวลีซูได้อพยพเข้าสู่เขตประเทศไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2464 กลุ่มแรกมี 4 ครอบครัว มาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนครั้งแรกอยู่ที่บ้านห้วยส้าน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ต่อมามีอีก 15 ครอบครัวอพยพตามมาด้วยในปีเดียวกัน ลีซูไม่มีภาษาเขียนของตนเอง แต่สำหรับลีซูที่นับถือเป็นคริสเตียน กลุ่มมิชชั่นนารีได้ใช้อักษรโรมันมาดัดแปลงเป็นภาษาเขียนของชนเผ่าลีซู อยู่ได้โดยประมาณ 5-6 ปี ก็มีการแยกกลุ่มไปอยู่หมู่บ้านดอยช้าง ทำมาหากินอยู่แถบ ตำบลวาวี ออำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 15,163

ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อและข้อห้ามของหมู่บ้านวุ้งกะสัง ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อและข้อห้ามของหมู่บ้านวุ้งกะสัง ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

วิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรมของชาวไทยกะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) ในหมู่บ้านวุ้งกะสัง ตําบลโป่งน้ําร้อน อําเภอคลองลาน จังหวัดกําแพงเพชร พบว่า ชุมชนบ้านทุ่งกะสังเป็นชุมชน ที่มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นในหลายด้าน เช่น อาหาร การแต่งกาย ภาษา ความเชื่อ ประเพณี วิถีวัฒนธรรม บ้านเรือน ชาวไทยกะเหรี่ยงในหมู่บ้านรุ้งกะสังให้ความสําคัญกับการเกิดและการแต่งงานเป็นอย่างมาก สะท้อนได้จากจํานวนวันที่ยาวนานซึ่งในบางครั้งตั้งแต่การสู่ขอไปจนถึงการออกหาอาหาร ใช้เวลายาวนานถึง 21 วัน นอกจากจํานวนวันในการจัดพิธีต่างๆ จะกินเวลายาวนานแล้วขั้นตอนพิธีการใน วันงานยังมีความละเอียดซับซ้อน 

เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้เช้าชม 55