ชนเผ่าม้ง : การปกครอง

ชนเผ่าม้ง : การปกครอง

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้ชม 54

[16.2581844, 98.9071054, ชนเผ่าม้ง : การปกครอง]

ชนเผ่าม้ง – การปกครอง
       กฏข้อบังคับของม้ง มีลักษณะคล้ายกับกฏหมายอังกฤษ (Common Law) คือ เป็นกฎหมายที่สืบเนื่องจาก จารีตประเพณีได้มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร จะต่างกันตรงที่ม้งนำเอากฎหมายข้อบังคับไปผูกไว้กับภูติผี ม้งเองไม่มีภาษาเขียน ชาวม้งได้ถือหลักปฏิบัติตามจารีตประเพณีอย่างเคร่งครัด ชาวม้งไม่มีหัวหน้าสูงสุด และไม่ได้รวมกันอยู่เป็นที่หนึ่งที่เดียวกัน แต่แยกหมู่บ้านออกไปปกครองกันเองเป็นอิสระไม่ขึ้นอยู่กับสังคม ซึ่งในแต่ละหมู่บ้าน จัดเป็นสังคมที่เล็ก สามารถเรียกว่า ประชุมโดยตรงได้ การกำหนดวิธีการปกครอง ก็ใช้วิธีออกเสียง ซึ่งทุกคนมีสิทธิเท่ากันหมด และถือเสียงข้างมากเช่นเดียวกับหลักสากลทั่วไปแต่ ผู้มีสิทธิออกเสียงในการปกครอง ได้แก่ ผู้ชายเป็นส่วนใหญ่เท่านั้น ผู้หญิง เด็กมีสิทธิเข้าร่วมประชุมรับฟัง และให้ความเห็น แต่ไม่มีสิทธิออกเสียง เพราะถือว่า ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง เชื่อฟัง ปรนนิบัติสามีเท่านั้น สำหรับเด็กนั้น ม้งมิได้ถืออายุเป็นเครื่องวัด หากใช้วัดด้วยการเป็นผู้มีความรับผิดชอบ ความสามารถทำงานตลอดจน ผลงานที่ได้กระทำโดยที่ประชุมหมู่บ้าน จะเป็นผู้พิจารณากำหนดในปัจจุบันนี้ การปกครองของม้งยังคงใช้กฎข้อบังคับนี้อยู่ เฉพาะแต่เรื่องเล็ก ๆ ที่ผู้ใหญ่สามารถตัดสินได้เท่านั้น ส่วนถ้าเป็นปัญหาที่ใหญ่ ๆ นั้นจะนิยมใช้กฎหมายของประเทศนั้น ๆ

       หัวหน้าหมู่บ้าน
       ในอดีตหัวหน้าหมู่บ้านมีฐานะเป็นประมุข และผู้นำหมู่บ้าน หัวหน้าหมู่บ้านได้มาจาก การเลือกตั้ง ซึ่งเป็นตัวแทนในนามของหมู่บ้านนั้น ๆ หัวหน้าหมู่บ้านมีสิทธิแต่งตั้งผู้ช่วยได้ 2 คน ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมู่บ้านไม่มีกำหนดไว้ แต่จะหมดสภาพก็ต่อเมื่อตาย ลาออก อพยพไปอยู่ที่อื่น หรือถูกที่ประชุมหมู่บ้านปลดออกโดยการลงมติไม่ไว้วางใจ ซึ่งเป็นการหมดสภาพทั้งสิ้น หน้าที่ของหัวหน้าหมู่บ้าน ได้แก่ เป็นผู้แทนของหมู่บ้านในการเจรจาติดต่อกับคนภายนอก รับผิดชอบในการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี ตัดสิน ข้อพิพาทระหว่างครอบครัว ตัดสินใจในการโยกย้ายหมู่บ้าน หรือมีอำนาจพิเศษในกรณีฉุกเฉิน เช่น ความปลอดภัยของหมู่บ้าน ในทางปฏิบัติแล้ว การบริหารงานของหัวหน้าหมู่บ้านจะถูกควบคุมโดยผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งเปรียบเสมือนคณะที่ปรึกษาหมู่บ้าน ในทางอ้อมจะเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ ซึ่งหัวหน้าหมู่บ้านไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามเสมอไป แต่มีอิทธิพลต่อหัวหน้าหมู่บ้าน ไม่น้อย เพราะเป็นคณะที่สามารถคุมเสียงข้างมากในการประชุมหมู่บ้านในปัจจุบันนี้ยังคงถือปฎิบัติอยู่

        การประชุมหมู่บ้าน
        การประชุมหมู่บ้านนี้ มีหน้าที่ออกกฎระเบียบข้อบังคับกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ไม่ขัดแย้งกับจารีตประเพณี เพื่อบังคับใช้ภายในหมู่บ้าน การประชุมไม่จำกัดจำนวนเพศ วัย ทั้งไม่ระบุว่ามีเท่าใด จึงจะครบองค์ประชุม การออกเสียงถือหลัก 1 เสียง 1 คน หัวหน้าหมู่บ้านจะเป็นประธาน ในกรณีคะแนนเสียงเท่ากัน ประธานมีอำนาจชี้ขาดให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะและในกรณีที่มีการเลือก ตั้งหัวหน้าหมู่บ้านขึ้นใหม่ ที่ประชุมจะเลือกผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีอาวุโสทำหน้าที่เป็นประธาน 

        กระบวนการยุติธรรม
        ในอดีตเมื่อเกิดกรณีพิพาท หรือเหตุการณ์ร้ายแรงในหมู่บ้าน ม้งจะไม่ยินยอมให้เจ้าหน้าที่รัฐบาลไทย เข้าไปดำเนินการ ตามกระบวนการยุติธรรมแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
        1. คณะผู้เฒ่าผู้แก่ของสกุล ตัดสินข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีที่อยู่ในสกุลเดียวกัน ผู้เสียหายนำความไปร้องเรียนเพื่อให้คณะผู้เฒ่าผู้แก่ในสกุลเดียวกันตัดสิน และจะถือว่าคำตัดสินนั้นเป็นการตัดสินที่เด็ดขาด ในกรณีเช่นนี้หัวหน้าหมู่บ้านจะไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะถือว่าเป็นเรื่องภายในครอบครัว
        2. คณะกรรมการกลางตัดสินข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีต่างสกุลกัน ผู้เสียหายนำความไปร้องเรียนต่อหัวหน้าหมู่บ้าน หัวหน้าหมู่บ้านจะเรียกคู่กรณีมาสอบถาม และจะแต่งตั้งคณะกรรมการกลางตัดสินข้อพิพาทดังกล่าว ซึ่งมีวิธีการแต่งตั้ง 2 วิธี
            2.1 หัวหน้าหมู่บ้านเป็นผู้แต่งตั้งโดยการยินยอมของคู่กรณี หัวหน้าหมู่บ้านจะแต่งตั้งบุคคลใดมาปฏิบัติหน้าที่ก็ได้ ยกเว้นคนที่อยู่ในสกุลเดียวกันกับคู่กรณี
            2.2 คู่กรณีสมัครใจแต่งตั้งเอง คู่กรณีจะต้องเลือกบุคคลซึ่งจะมาเป็นกรรมการฝ่ายละเท่า ๆ กัน จะเลือกคนในสกุลของฝ่ายตรงข้ามมาเป็นกรรมการฝ่ายตนก็ได้ แต่ห้ามเลือกคนในกลุ่มเดียวกัน จำนวนกรรมการทั้งสองกรณีนี้ไม่จำกัด โดยปกติจะมีประมาณ 6-10 คน การพิจารณาตัดสินคดีจะกระทำที่บ้านพักของหัวหน้าหมู่บ้าน ซึ่งประธานและคณะกรรมการจะซักถามข้อเท็จจริงจากทุกฝ่ายแล้ว คณะกรรมการจะตัดสินโดยการออกเสียงถือเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน หัวหน้าหมู่บ้านในฐานะประธานกรรมการจะเป็นผู้ชี้ขาด จะเห็นได้ว่าหัวหน้าหมู่บ้านนอกจากจะมีอำนาจบริหาร แล้วยังมีอำนาจในทางตุลาการอีกด้วย สำหรับบทลงโทษจะอาศัยจารีตประเพณีเป็นเกณฑ์ ถ้าเป็นกรณีใหม่คณะกรรมการก็จะพิจารณา บทลงโทษขึ้นใหม่และให้ถือเป็นหลักปฏิบัติต่อ ๆไปด้วย ปัจจุบันนี้ยังยึดถือปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้

         กลุ่มการเมือง
         ในอดีตการปกครองของม้ง ถือหลักเสียงข้างมาก ม้งจึงรวมพลังกันได้เป็นกลุ่มเป็นก้อน เหมือนระบบพรรคการเมือง แต่ไม่ได้ถืออุดมการณ์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวสมาชิก หากแต่ถือสายสัมพันธ์ทางสกุลเป็นเครื่องรวมพลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฉะนั้นสกุลใดใหญ่มีสมาชิกมากก็จะมีเสียงข้างมาก ในการดำเนินงานทั้งปวง แต่ก็อาจมีสกุลเล็ก ๆ แต่รวมกันได้ จนได้เสียงข้างมากมาบริหารงานของกลุ่ม แต่ละกลุ่มขึ้นอยู่กับผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีอาวุโสของสกุลดัง เช่น ในกรณีเลือกตั้งหัวหน้าหมู่บ้าน ผู้อาวุโสของแต่ละสกุลจะเรียกสมาชิกของสกุลมาประชุมเพื่อคัดเลือกผู้แทนเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าหมู่บ้าน ซึ่งก่อนออกเสียงส่วนใหญ่ แล้วมีมติให้สมาชิกทุกคนทำตามมติที่วางไว้ และสมาชิกทุกคนจะต้องไปออกเสียงตามมติของกลุ่มของหมู่บ้านอย่างพร้อมเพรียงกัน หากพิจารณาการปกครองของชาวม้งอาจเรียกได้ว่าเป็นประชาธิปไตย เพราะมีอำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุด ชาวม้งได้ใช้อำนาจนี้ในการตัดสิน และกำหนดวิธีการปกครองหรือกิจกรรมต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองในปัจจุบันการปกครองของม้งเริ่มจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นกว่าเดิมคือ วิธีการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย ผู้ที่จะได้เป็นผู้นำนั้นจะต้อมีความรู้ความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับสังคมภายนอกได้

คำสำคัญ : ชนเผ่าม้ง การปกครอง

ที่มา : มูลนิธิกระจกเงา. (2559). โครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขาออนไลน์. https://www.openbase.in.th/node/951

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2567). ชนเผ่าม้ง : การปกครอง. สืบค้น 6 พฤศจิกายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2240&code_db=610004&code_type=05

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2240&code_db=610004&code_type=05

Google search

Mic

พิธีเรียกขวัญของชาวเขา

พิธีเรียกขวัญของชาวเขา

เป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการเรียกขวัญ เมื่อประชาชนอาข่าไปในป่าหรือสถานที่ที่ใดที่หนึ่ง แล้วไปสะดุ้งกลัวและเกิดความไม่สบายขึ้นมา เช่น ตัวร้อน ปวดหัว ฯลฯ เมื่อผู้ประสบเหตุกลับมาถึงบ้านก็บอกสมาชิกในครัวครอบให้ประกอบพิธีกรรมนี้ การคัดเลือกฤกษ์ยามในการทำพิธี ต้องไม่ตรงกับวันเกิดและวันตายของสมาชิกในครอบครัว จึงนับว่าเป็นวันดี แต่ถ้าเป็นวันเกิดของผู้ที่ประสบเหตุสะดุ้งนั้นได้ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,034

ชนเผ่าม้ง : หนุ่มม้งกับกลางคืน

ชนเผ่าม้ง : หนุ่มม้งกับกลางคืน

กาลเวลาแปรเปลี่ยนไปพร้อมกับการหมุนของโลกที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งฤดูกาลเริ่มหมุนเวียน ไปเรื่อยๆ อย่างไม่สามารถหยุดยั้งได้ฤดูใบไม้ผลิเริ่มแวะเวียนมาอีกครั้ง วันเวลานำพาใบไม้ร่วงโรยไปตามฤดูกาล แต่ดูเหมือนบางสิ่งบางอย่างคงเดิมอยู่ตลอดเวลานั่นคือ ขบวนการจีบสาวของชายม้ง ไม่ว่ากาลเวลาจะแปรเปลี่ยนไปพร้อมกับกระแสของสังคมก็ตามที แต่ขบวนการจีบสาวๆ ยังคงยืนยงคงกระพันอยู่ ไม่มีแนวทางแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้เลย เพราะผู้หลักผู้ใหญ่ต่างคิดว่านั่นคือ ค่านิยม หรือ ประเพณี ไปแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 60

การแต่งกายของชาวเขา

การแต่งกายของชาวเขา

ลักษณะการแต่งกายของชาวเขา จังหวัดกำแพงเพชร จะมีตัวเสื้อจะเป็นผ้ากำมะหยี่ เสื้อแขนยาวจรดข้อมือ ชายเสื้อจะยาวคลุมเอว ด้านหน้ามีสาบเสื้อสองข้างลงมาตลอดแนว สายเสื้อลงไปยังชายเสื้อ ด้านหลัง มักจะปักลวดลายสวยงามด้วย ปัจจุบันนิยมใส่ซิปลงขอบ สาบเสื้อ เพื่อสะดวกในการใส่ ส่วนกางเกงจะสวมใส่กางเกงขาก๊วย หรือกางเกงจีนเป้าตื้นขาบาน มีลวดลายน้อย และใส่ผ้าพันเอวสีแดง คาดทับกางเกง และอาจมีเข็มขัดเงินคาดทับอีกชั้นหนึ่งด้วยเหมือนกัน

เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 13,235

ชนเผ่าม้ง : การหมั้น การแต่งงาน

ชนเผ่าม้ง : การหมั้น การแต่งงาน

ในอดีตการหมั้นของม้ง จะนิยมหมั้นระหว่างญาติลูกพี่ลูกน้องต่างแซ่กัน กล่าวคือ ลูกของพี่ หรือน้องชาย กับลูกของพี่ หรือน้องสาว การหมั้นจะกระทำตั้งแต่บุตรของทั้งสองฝ่ายมีอายุประมาณ 1 เดือน ทางฝ่ายชายเป็นผู้ไปหมั้น โดยนำสิ่งของตาม ธรรมเนียมไปมอบให้บิดามารดาของฝ่ายหญิง โดยทั้งสองฝ่ายให้คำมั่นสัญญาต่อกันว่า ถ้าบุตรโตเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้วจะให้แต่งงานกัน ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิด สัญญาจะต้องเสียค่าปรับให้คู่สัญญาตามธรรมเนียมการหมั้น ปัจจุบันม้งยังคงยืดถือปฏิบัติกันอยู่ แต่พบน้อยมาก

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 89

ความเชื่อที่ปรากฏจากอาหารในพิธีกรรมเสนเรือนของชาวไททรงดำ

ความเชื่อที่ปรากฏจากอาหารในพิธีกรรมเสนเรือนของชาวไททรงดำ

พิธีเสนเรือน เป็นพิธีสำคัญของลาวโซ่ง ซึ่งจะขาดหรือละเลยไม่ได้ เนื่องจากเชื่อว่าเป็นการกระทำที่เพิ่มความเป็นสวัสดิมงคลแก่ครอบครัว จะต้องจัดปีละครั้งเป็นอย่างน้อย คำว่า เสน แปลว่า เซ่น หรือสังเวย เสนเรือน หมายถึงการเซ่นไหว้ผีเรือน ได้แก่ การเซ่นไหว้ ปู่ย่า ตายาย รวมทั้งบรรพบุรุษทุกคน ตามปกติพิธีเสนเรือนจะปฏิบัติกันทุกครอบครัวเป็นประจำ 2-3 ปีต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะและความพร้อมของครอบครัว เพื่อคุ้มครองบุตรหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข ทำมาหากินเจริญก้าวหน้า ผู้ประกอบพิธีกรรมคือ “หมอเสน” ส่วนผู้ร่วมพิธีได้แก่บรรดาลูกหลานและญาติ ๆ รวมทั้งแขกเชิญ ญาติที่มาร่วมงาน

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 7,155

ความเชื่อเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของชีวิตชาวม้ง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร

ความเชื่อเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของชีวิตชาวม้ง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร

พิธีศพที่ครบถ้วนถูกต้องส่งวิญญาณผู้ตายไปสู่สุคติ และควรที่จะตายในบ้านของตน หรือบ้านญาติก็ยังดี เมื่อทราบแน่ชัดว่าบุคคลนั้นใกล้เสียชีวิตแล้ว บรรดาญาติสนิทจะมาชุมนุมพร้อมเพียงกัน เพื่อที่จะได้มาดูแล คนที่ใกล้จะเสียชีวิต ม้งมีความเชื่อว่าการตายในบ้านของตนเองนั้น เป็นผู้มีบุญมาก เพราะได้เห็นลูกหลานของ ตนเองก่อนตาย ผู้ตายจะได้นอนตายตาหลับพร้อมกับหมดห่วงทุกอย่าง เมื่อแน่ใจว่าสิ้นลมหายใจแล้ว ญาติจะยิงปืนขึ้นไปบนฟ้า 3 นัด เป็นสัญญาณบอกว่ามีการตายเกิดขึ้นในบ้านหลังนั้น

เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้เช้าชม 49

ชนเผ่าม้ง : การจีบ

ชนเผ่าม้ง : การจีบ

หลังจากว่างงานหลังฤดูเก็บเกี่ยว หนุ่มสาวม้งจะหาโอกาสเกี้ยวพาราสีในเวลาค่ำคืน หนุ่มสาวม้งมีข้อห้ามที่จะไม่ไม่เกี้ยวพาราสีกับคนแซ่เดียวกัน หรือตระกูลเดียวกัน เพราะถือว่าเป็นพี่น้องกัน สำหรับโอกาสที่ดีที่สุด คือเทศกาลปีใหม่ ม้งทั้งชายหนุ่ม และหญิงสาวจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสวยสดงดงามที่ได้รับการจัดเตรียมมาตลอดทั้งปี ชายหนุ่มและหญิงสาวจะจับคู่โยนลูกบอล หญิงสาวที่ยังไม่มีคู่จะเป็นคนเข้าไปทักชายหนุ่มที่ตนรู้จัก หรือชอบพอ และยื่นลูกบอลให้เป็นการขอเล่นโยนลูกบอลด้วย หากชายหนุ่มคนใดไม่ชอบพอหญิงสาวคู่โยนของตน ก็จะหาทางปลีกตัวออกไปโดยมิให้เสียมารยาท ระหว่างเล่นโยนลูกบอลไปมาจะสนทนาไปด้วย หรืออาจเล่นเกม โดยตกลงกันว่าใครรับลูกบอลไม่ได้ต้องเสียค่าปรับเป็นสิ่งของ หรือเครื่องประดับให้กับฝ่ายตรงข้าม

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 80

การแต่งงานของชาวเขา

การแต่งงานของชาวเขา

เมื่อฝ่ายชายและฝ่ายหญิงรู้จักกันและเกิดรักกัน ทั้ง2 คนอยากใช้ชีวิตร่วมกัน ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะกลับมาบ้านของตนเอง และฝ่ายชายค่อยมาพาฝ่ายหญิงจากบ้านของฝ่ายหญิง โดยผ่านประตูผีบ้านของฝ่ายหญิง เพราะคนม้งถือและเป็นวัฒนธรรมของคนม้ง หลังจากที่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงกลับมาถึงบ้านของฝ่ายชาย พ่อ แม่ของฝ่ายชาย จะเอาแม่ไก่มาหมุนรอบศีรษะทั้งสองคน 3 รอบเรียกว่า “หรือข๊า” 

 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 3,957

วัฒนธรรมการทำผ้าลายขี้ผึ้ง (โอโต๊ะจ๊ะ) ของชนเผ่าม้ง

วัฒนธรรมการทำผ้าลายขี้ผึ้ง (โอโต๊ะจ๊ะ) ของชนเผ่าม้ง

ชาวม้งมีบรรพบุรุษโบราณอาศัยอยู่ในดินแดนอันหนาวเย็น หิมะตกหนัก มีกลางคืนและฤดูหนาวที่ยาวนาน อาจอพยพมาจากที่ราบสูงทิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย ประเทศจีน ชาวม้งอพยพหนีการปกครองของจีน ในเขตที่ราบสูงของหลวงพระบาง ราวพุทธศักราช 2443 กลุ่มม้งอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ในจังหวัดกำแพงเพชร ที่อำเภอคลองลาน มีแม่เฒ่าชาวม้งท่านหนึ่งชื่อว่า นางจื่อ แซ่กือ อายุ 64 ปี อาศัยอยู่ หมู่ 1 ตำบลคลองลานพัฒนา ซึ่งเดิมอยู่บนเขาน้ำตกคลองลาน อพยพมาอยู่พื้นราบมาประมาณ 20 ปี งานที่สำคัญและภูมิใจที่สุดของนางจื่อ แซ่กือ คือ การทำผ้าลายขี้ผึ้ง (โอโต๊ะจ๊ะ) เพื่อนำมาตัดเย็บชุดชาวเขาเผ่าม้งของแม่เฒ่า

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 1,967

ชนเผ่าม้ง : การปกครอง

ชนเผ่าม้ง : การปกครอง

กฏข้อบังคับของม้ง มีลักษณะคล้ายกับกฏหมายอังกฤษ (Common Law) คือ เป็นกฎหมายที่สืบเนื่องจาก จารีตประเพณีได้มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร จะต่างกันตรงที่ม้งนำเอากฎหมายข้อบังคับไปผูกไว้กับภูติผี ม้งเองไม่มีภาษาเขียน ชาวม้งได้ถือหลักปฏิบัติตามจารีตประเพณีอย่างเคร่งครัด ชาวม้งไม่มีหัวหน้าสูงสุด และไม่ได้รวมกันอยู่เป็นที่หนึ่งที่เดียวกัน แต่แยกหมู่บ้านออกไปปกครองกันเองเป็นอิสระไม่ขึ้นอยู่กับสังคม ซึ่งในแต่ละหมู่บ้านจัดเป็นสังคมที่เล็ก สามารถเรียกว่า ประชุมโดยตรงได้ การกำหนดวิธีการปกครอง ก็ใช้วิธีออกเสียง ซึ่งทุกคนมีสิทธิเท่ากันหมด และถือเสียงข้างมากเช่นเดียวกับหลักสากลทั่วไปแต่ ผู้มีสิทธิออกเสียงในการปกครอง ได้แก่ ผู้ชายเป็นส่วนใหญ่เท่านั้น ผู้หญิง เด็กมีสิทธิเข้าร่วมประชุมรับฟัง และให้ความเห็น แต่ไม่มีสิทธิออกเสียง เพราะถือว่า ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง ต้องเชื่อฟัง ปรนนิบัติสามีเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 54