ชนเผ่าม้ง : การฉุด
เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้ชม 179
[16.2581844, 98.9071054, ชนเผ่าม้ง : การฉุด]
ชนเผ่าม้ง : การฉุด
ในอดีตนั้นม้งนิยมการแต่งงานโดยการฉุดเป็นส่วนมาก การฉุดจะกระทำเมื่อหญิงสาวไม่เต็มใจรับรักชายหนุ่ม จะใช้วิธีการฉุด ซึ่งนำไปสู่การแต่งงานในภายหลัง บิดาทางฝ่ายชายจะหาวิธีในการฉุด และจัดหาคนไปช่วยบุตรชายของตนด้วย การฉุดจะกระทำกันนอกบ้านโดยลวงหญิงรักออกจากบ้านพัก เพราะถ้าฉุดในบ้านถือว่าเป็นการผิดผี จะต้องเสียค่าปรับไหม ฝ่ายหญิงสาวจะไม่ยอมให้ความร่วมมือ และกระทำทุกวิธีทางที่จะให้ญาติช่วยเหลือตนเอง ขณะแย่งชิงกันญาติผู้ใหญ่ทาง ฝ่ายชายจะอ้อนวอนญาติทางฝ่ายหญิงให้ปล่อยหญิงสาวไปกับตนเมื่อตัวหญิงสาวไปถึงบ้านฝ่ายชายแล้วจะถูกจัดให้อยู่ ในห้องเดียวกับชายหนุ่มที่ต้องการแต่งงานด้วย ในวันรุ่งขึ้นฝ่ายชายจะส่งผู้แทน 2 คนไปแจ้งให้บิดามารดาฝ่ายหญิงทราบ พร้อมกับอ้อนวอนมิให้มีความกังวลในบุตรสาวของตน ถึงเวลาสมควรจะมาสู่ขอ และแต่งงานในโอกาสต่อไป ผู้แทนที่ไปเจรจาจะต้องมีวาทศิลป์ในการสนทนา เพื่อชักจูงให้บิดามารดาฝ่ายหญิงเห็นชอบกับการฉุดนั้น ขณะเดียวกันก็พยายามแจกยาเส้นให้แก่บิดามารดาฝ่ายหญิง ทำนองเดียวกับการสู่ขอ ถ้ารับยาเส้นก็แสดงว่าเห็นชอบด้วยในฝั่งตรงข้าม หากฉุดหญิง สาวไปแล้วทางฝ่ายชายไม่มาแจ้งให้บิดามารดาทราบ ม้งถือว่าเป็นการผิดธรรมเนียมประเพณีต้องเสียค่าปรับประมาณ 12 มั่ง (ลักษณะนามของเหรียญเงินขนาดใหญ่ชาวม้งใช้กัน) ในทำนองเดียวกัน ถ้าหญิงสาวสามารถกลับบ้านของตนได้หลังจากการฉุดประมาณ 3 วัน ฝ่ายชายจะต้องถูกปรับ แต่บางครั้ง หากบิดาของหญิงสาวไม์ประสงค์ให้บุตรสาวของตนแต่งงานกับชายหนุ่มที่มาฉุดไป ก็อาจไม่ปรับ และให้ส่งตัวลูกสาวคืนเท่านั้น
ในปัจจุบันการฉุดของม้งเริ่มที่จะสูญสลายไป เนื่องจากฝ่ายหญิงที่ถูกฉุดไปนั้น บางคู่มีชีวิตครอบครัวไม่สมบูรณ์ บางคู่อาจทำร้ายตัวเอง แต่บางคู่ก็ประสบความสำเร็จกับชีวิตคู่ ซึ่งสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปบวกกับม้งเริ่มมีการศึกษาเพิ่มขึ้น ทำให้ม้งมีความคิด และวิถีชีวิตที่แตกต่างออกไป จึงได้เลิกวิธีการฉุดไปบ้าง แต่ถ้ากรณีที่จำเป็นจริง เช่นลูกชายของตัวเองรักชอบพอกับหญิงสาวคนนั้นมาก และไม่สามารถที่จะเกลี่ยกล่อม ลูกชายของตัวเองให้ตัดใจได้ ก็จะสามารถที่จะฉุดหญิงสาวคนนั้นได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับว่าหญิงสาวนั้นไม่มีชายหนุ่มในใจเสียก่อนหากว่าหญิงสาว มีชายหนุ่มในใจแล้ว ก็จะไม่สามารถที่จะทำได้เช่นกัน แต่เนื่องจากปัจจุบันเงินเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์ หากว่าชายหนุ่มที่หญิงสาวไม่ได้รักชอบพอกัน แต่ถ้าญาติผู้ใหญ่ของหญิงสาวเห็นดี เห็นงามด้วยแล้ว หญิงสาวจะไม่มีสิทธิ์เรียกร้องสิทธิ์ของตัวเองได้ เนื่องจากญาติผู้ใหญ่จะบังคับให้หญิงสาวแต่งงาน กับชายคนหนุ่มคนนั้นทันทีไม่มีข้อแม้ใด ๆ
การหนีตามกัน
ในอดีตการหนีตามกันจะเกิดขึ้นบ่อยมาก เมื่อชายหนุ่มหญิงสาวมีความรักใคร่ชอบพอกัน แต่ฝ่ายชายไม่สามารถไปสู่ขอฝ่ายหญิงสาวแต่งงานได้ ชายหนุ่มจะชักพาหญิงสาวที่ตนรักให้นำเสื้อผ้า และสิ่งของต่าง ๆ ไปอยู่ที่บ้านของตน วันรุ่งขึ้นจึงส่งผู้แทนไปแจ้งให้บิดามารดาของฝ่ายหญิงทราบ หญิงสาวจะช่วยครอบครัวของสามีทำมาหากิน เมื่อมีเงินทองเพียงพอแล้ว ฝ่ายชายจะไปสู่ขอและจัดพิธีแต่งงานตามประเพณี
ปัจจุบันนี้ ม้งนิยมแต่งงานด้วยวิธีนี้ เพราะไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก การมีภรรยาคนที่สองของม้งมักเกิดขึ้นโดยวิธีหนีตามกันนี้ เพราะเป็นการกระทำของบุคคลสองคนเท่านั้นไม่มีญาติ หรือผู้ใหญ่เป็นพยานในการใช้ชีวิตคู่ หากว่าเกิดความล้มเหลว ในการใช้ชีวิตคู่ฝ่ายชายสามารถที่จะหาหญิงสาวมาแต่งงานใหม่ได้อีก
ที่มา : มูลนิธิกระจกเงา. (2559). โครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขาออนไลน์. https://www.openbase.in.th/node/759
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2567). ชนเผ่าม้ง : การฉุด. สืบค้น 21 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2236&code_db=610004&code_type=05
Google search
กาลเวลาแปรเปลี่ยนไปพร้อมกับการหมุนของโลกที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งฤดูกาลเริ่มหมุนเวียน ไปเรื่อยๆ อย่างไม่สามารถหยุดยั้งได้ฤดูใบไม้ผลิเริ่มแวะเวียนมาอีกครั้ง วันเวลานำพาใบไม้ร่วงโรยไปตามฤดูกาล แต่ดูเหมือนบางสิ่งบางอย่างคงเดิมอยู่ตลอดเวลานั่นคือ ขบวนการจีบสาวของชายม้ง ไม่ว่ากาลเวลาจะแปรเปลี่ยนไปพร้อมกับกระแสของสังคมก็ตามที แต่ขบวนการจีบสาวๆ ยังคงยืนยงคงกระพันอยู่ ไม่มีแนวทางแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้เลย เพราะผู้หลักผู้ใหญ่ต่างคิดว่านั่นคือ ค่านิยม หรือ ประเพณี ไปแล้ว
เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 123
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,576
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,115
ชาวเมี่ยน เป็นชนชาติเชื้อสายจีนเดิม ชนเผ่านี้เรียกตัวเองว่า เมี่ยน ซึ่งแปลว่า มนุษย์ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เย้า ถิ่นเดิมของเมี่ยนอยู่ทางตะวันออกของมณฑลไกวเจา ยูนนาน หูหนาน และกวางสีในประเทศจีน ต่อมาการทำมาหากินฝืดเคืองและถูกรบกวนจากชาวจีนจึงได้อพยพมาทางใต้เข้าสู่เวียดนามเหนือ ตอนเหนือของลาว และทางตะวันออกของพม่าบริเวณรัฐเชียงตุงและภาคเหนือของไทย ชาวเมี่ยนที่ี่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย อพยพมาจากประเทศลาวและพม่า ปัจจุบันมีชาวเมี่ยนอาศัยอยู่มากในจังหวัดเชียงราย พะเยา และน่าน รวมทั้งในจังหวัดกำแพงเพชร เชียงใหม่ ตาก เพชรบูรณ์ ลำปาง สุโขทัย
เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 18,615
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,240
ในอดีตนั้นม้งนิยมการแต่งงานโดยการฉุดเป็นส่วนมาก การฉุดจะกระทำเมื่อหญิงสาวไม่เต็มใจรับรักชายหนุ่ม จะใช้วิธีการฉุด ซึ่งนำไปสู่การแต่งงานในภายหลัง บิดาทางฝ่ายชายจะหาวิธีในการฉุด และจัดหาคนไปช่วยบุตรชายของตนด้วย การฉุดจะกระทำกันนอกบ้านโดยลวงหญิงรักออกจากบ้านพัก เพราะถ้าฉุดในบ้านถือว่าเป็นการผิดผี จะต้องเสียค่าปรับไหม ฝ่ายหญิงสาวจะไม่ยอมให้ความร่วมมือ และกระทำทุกวิธีทางที่จะให้ญาติช่วยเหลือตนเอง ขณะแย่งชิงกันญาติผู้ใหญ่ทาง ฝ่ายชายจะอ้อนวอนญาติทางฝ่ายหญิงให้ปล่อยหญิงสาวไปกับตนเมื่อตัวหญิงสาวไปถึงบ้านฝ่ายชายแล้วจะถูกจัดให้อยู่ในห้องเดียวกับชายหนุ่มที่ต้องการแต่งงานด้วย
เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 179
ในอดีตการหมั้นของม้ง จะนิยมหมั้นระหว่างญาติลูกพี่ลูกน้องต่างแซ่กัน กล่าวคือ ลูกของพี่ หรือน้องชาย กับลูกของพี่ หรือน้องสาว การหมั้นจะกระทำตั้งแต่บุตรของทั้งสองฝ่ายมีอายุประมาณ 1 เดือน ทางฝ่ายชายเป็นผู้ไปหมั้น โดยนำสิ่งของตาม ธรรมเนียมไปมอบให้บิดามารดาของฝ่ายหญิง โดยทั้งสองฝ่ายให้คำมั่นสัญญาต่อกันว่า ถ้าบุตรโตเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้วจะให้แต่งงานกัน ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิด สัญญาจะต้องเสียค่าปรับให้คู่สัญญาตามธรรมเนียมการหมั้น ปัจจุบันม้งยังคงยืดถือปฏิบัติกันอยู่ แต่พบน้อยมาก
เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 484
วิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรมของชาวไทยกะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) ในหมู่บ้านวุ้งกะสัง ตําบลโป่งน้ําร้อน อําเภอคลองลาน จังหวัดกําแพงเพชร พบว่า ชุมชนบ้านทุ่งกะสังเป็นชุมชน ที่มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นในหลายด้าน เช่น อาหาร การแต่งกาย ภาษา ความเชื่อ ประเพณี วิถีวัฒนธรรม บ้านเรือน ชาวไทยกะเหรี่ยงในหมู่บ้านรุ้งกะสังให้ความสําคัญกับการเกิดและการแต่งงานเป็นอย่างมาก สะท้อนได้จากจํานวนวันที่ยาวนานซึ่งในบางครั้งตั้งแต่การสู่ขอไปจนถึงการออกหาอาหาร ใช้เวลายาวนานถึง 21 วัน นอกจากจํานวนวันในการจัดพิธีต่างๆ จะกินเวลายาวนานแล้วขั้นตอนพิธีการใน วันงานยังมีความละเอียดซับซ้อน
เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้เช้าชม 82
หลังจากว่างงานหลังฤดูเก็บเกี่ยว หนุ่มสาวม้งจะหาโอกาสเกี้ยวพาราสีในเวลาค่ำคืน หนุ่มสาวม้งมีข้อห้ามที่จะไม่ไม่เกี้ยวพาราสีกับคนแซ่เดียวกัน หรือตระกูลเดียวกัน เพราะถือว่าเป็นพี่น้องกัน สำหรับโอกาสที่ดีที่สุด คือเทศกาลปีใหม่ ม้งทั้งชายหนุ่ม และหญิงสาวจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสวยสดงดงามที่ได้รับการจัดเตรียมมาตลอดทั้งปี ชายหนุ่มและหญิงสาวจะจับคู่โยนลูกบอล หญิงสาวที่ยังไม่มีคู่จะเป็นคนเข้าไปทักชายหนุ่มที่ตนรู้จัก หรือชอบพอ และยื่นลูกบอลให้เป็นการขอเล่นโยนลูกบอลด้วย หากชายหนุ่มคนใดไม่ชอบพอหญิงสาวคู่โยนของตน ก็จะหาทางปลีกตัวออกไปโดยมิให้เสียมารยาท ระหว่างเล่นโยนลูกบอลไปมาจะสนทนาไปด้วย หรืออาจเล่นเกม โดยตกลงกันว่าใครรับลูกบอลไม่ได้ต้องเสียค่าปรับเป็นสิ่งของ หรือเครื่องประดับให้กับฝ่ายตรงข้าม
เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 327
ตามประวัติศาสตร์ของชนชาติ “ลาหู่” มีมานานไม่ต่ำกว่า 4,500 ปี โดยชาวลาหู่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในธิเบต และอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ต่อมาได้ทยอยอพยพลงมาอยู่ทางตอนใต้ของจีน โดยแบ่งออกเป็นสองสาย คือส่วนหนึ่งอพยพเข้ามาในแคว้นเชียงตุง ประเทศพม่า เมื่อพ.ศ. 2383 และราว พ.ศ. 2423 ได้เข้ามาอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย โดยตั้งรกรากที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแห่งแรก อีกส่วนหนึ่งได้อพยพเข้าไปในประเทศลาวและเวียดนาม ทั้งนี้ชนเผ่าลาหู่ได้แบ่งเป็นเผ่าย่อยอีกหลายเผ่า อาทิ ลาหู่ดำ ลาหู่แดง ลาหู่เหลือง ลาหู่ขาว ลาหู่ปะกิว ลาหู่ปะแกว ลาหู่เฮ่กะ ลาหู่ลาบา ลาหู่เชแล ลาหู่บาลา เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 24,338