สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วน
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้ชม 335
[16.2358785, 99.3145572, สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วน]
ชื่อเรื่อ : สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วน
วันที่จัดทำ : วันที่ 13 มิถุนายน 2563
ประวัติ
เริ่มต้นจากการต่อตั้งศูนย์วิสาหกิจชุมชน สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วนเริ่มจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน มา 3 ปีแล้ว โดยร่วมกันปลูกผักและสมุนไพรเข้าร่วมโครงการปลูกป่า กับบ้านนาโคก มีการปลูกป่า 10 ไร่ เพื่อทำเป็นแปลงสมุนไพรและผู้นำกลุ่มได้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเรียนแพทย์แผนไทยเอาความรู้ที่ได้มาส่งเสริมกลุ่มสมุนไพร มีแปลงสาธิตสมุนไพร 200 ชนิด
ข้อมูลทั่วไป
จุดเด่น : เป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่แปรรูปจัดจำหน่ายเองมีความปลอดภัย
รายละเอียด : ส่วนใหญ่แล้วที่มีคนสนใจมาก จะเป็นผู้ที่สนใจเรื่องของการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคต่างๆ และมีการแปรรูปสมุนไพรหลากหลายชนิดจัดจำหน่าย มีทั้งการรับสั่งออเดอร์จากลูกค้า มาการขายตามงานเกษตรและจำหน่ายที่หน้าเฟสบุ๊ค
ผลผลิตภัณฑ์และการแปรรูป : สมุนไพรหญ้าเอ็นยืด หญ้ารางจืด โด่ไม่รู้ล้ม แปรรูปเป็นชา และเป็นต้นกล้า แบบแห้ง แบบสด เมล็ดภัณฑ์
ผู้ให้ข้อมูล : นางสาววาสนา แก้วชา (น้อย)
ที่อยู่ : สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วน ตำบลคลองน้ำไหล อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
เบอร์ติดต่อ : 097-979-1190
เว็บไซต์ : สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วน
Facebook : สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วน
ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ : Latitude 16.2358785 Longitude 99.3145572
ปัญหา
ปัญหาที่พบตัวสินค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนองค์การอาหารและยา
ที่มา : นางสาววาสนา แก้วชา (น้อย)
รวบรวมและจัดทำข้อมูล :
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วน. สืบค้น 3 กรกฎาคม 2565, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1819&code_db=630001&code_type=05
Google search
ศูนย์หัตถกรรมชาวเขาคลองลานตั้งอยู่หมู่บ้านบ้านคลองลาน ตำบลคลองลานพัฒนา บริเวณปากทางเข้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองลานห่างจากตัวจังหวัดกำแพงเพชร 55 กิโลเมตร ศูนย์นี้จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวเขาเผ่าต่างๆ อันได้แก่เผ่าม้ง เย้า ลีซอ มูเซอและกะเหรี่ยง ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตอำเภอคลองลานและอำเภอคลองขลุง มีรายได้และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นตลอดจนเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวสู่แหล่งท่องเที่ยวในเขตอำเภอคลองลาน โดยนำสินค้าของที่ระลึกและผลิตภัณฑ์ของแต่ละเผ่ามาจำหน่ายเช่น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของชาวเขา เครื่องประดับประเภทต่างๆ ที่ทำจากเงิน มีการสาธิตการทำเครื่องประดับจากเงินให้นักท่องเที่ยวได้ชมด้วยศูนย์นี้อยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 278
เป็นคนมาจากต่างถิ่น มีเพื่อนแนะนำมาเลยมาเปิดร้านที่นี้ เปิดร้านมาประมาน 4 ปี มาแล้ว ของที่รับทำส่วนใหญ่แก้วขนเหล็กลูกค้าจะเป็นคนนำมาเองส่วนทางร้านจะมีช่างคอยออกแบบตามที่ลูกค้าต้องการและ ส่วนใหญ่จะเป็นการรอรับออเดอร์จากลูกค้า
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 145
ร้านแก้วขนเหล็กตั้งอยู่ที่ ต.คลองน้ำไหล อ.คลองลาน เริ่มเปิดตั้งแต่ปี 2558 หรือประมาณ 5 ปี เริ่มต้นทำเนื่องจากเมื่อก่อนไปรับจ้างขุดแก้วขนเหล็กในหมู่บ้านแล้วเห็นว่ามีเยอะเลยสนใจที่จะมาเปิดร้านทำเป็นของตนเอง ช่วงแรกไปจ้างคนมาเจียระไนแก้วขนเหล็ก คิดค่าจ้างเม็ดละ 50 บาท เลยมาทดลองหัดเจียระไนเองแล้วจึงได้มาเปิดร้านรับเจียระไนพอร้านเริ่มดีขึ้นก็ซื้อเครื่องเจียระไน แก้วขนเหล็กที่เจียระไนแล้วจะขายในราคาที่แตกต่างกันตามลักษณะของแต่ละเม็ดมีราคาตั้งแต่ 50 – 1000 บาท
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 262
มีการก่อตั้งกลุ่มขึ้นมาเป็นกลุ่มของพลังงานกลุ่มหนึ่งจะมีสมาชิกอยู่ประมาณ 20-30 คนแต่จะแบ่งแยกการศึกษาตามฐานเรียนรู้หลายฐานโดยจะมีฐานผลิตน้ำส้มควันไม้ เตาเผาถ่าน เตาพลังงาน เตาเศรษฐกิจ เตาย่างไร้ควัน น้ำหมักรกหมู
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 313
เป็นศูนย์เรียนรู้ของคลองน้ำไหลเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เริ่มทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 โดยมีโครงการปิดทองหลังพระ ของ รัชกาลที่ 9 ลงมาที่หมู่ 16 บ้านสามัคคีธรรม และได้เข้าอบรมเรียนรู้การทำสมุนไพร เป็นโครงการหลวงที่สามารถนำมาช่วยลดรายจ่ายภายในครัวเรือนได้ เลยเริ่มรวมกลุ่มกันทำ น้ำยาอเนกประสงค์ เบอร์กลุ่มมีสมาชิกประมาณ 20 คนหรือ 30 ครัวเรือน โดยจะแบ่งเป็นหมู่ หมู่ละ 10 ครัวเรือน 3 หมู่ หมู่ที่ 1 จะเลี้ยงหมูหลุม หมู่ที่ 2 จะทำน้ำยาเอนกประสงค์ หมู่ที่ 3 การเลี้ยงไส้เดือนดินของพ่อหลวง
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 204
เริ่มมาจากมีการก่อตั้งกลุ่มรวมใจเพชรน้ำหนึ่ง ที่เกิดจากการที่ป้าบังอรได้ไปสอนให้กับ นักศึกษาการศึกษานอกระบบ เพื่อฝึกให้เป็นอาชีพเสริม
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 265
เริ่มสานไม้ไผ่ได้ 30 ปี ทำตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ แล้วส่งต่อมาให้นางเกษร นางเกษรได้เริ่มทำตั้งแต่อายุ 40 จนถึงปัจจุบันอายุได้ 70 แล้ว จักสานเป็นทุกอย่าง นอกจากนี้นางเกษรยังเป็นวิทยากรให้ตามโรงเรียนต่างๆ ที่ได้เชิญไปให้ความรู้ในเรื่องของการจักสานไม้ไผ่เสมอ และได้จัดตั้งกลุ่มจักสานไม้ไผ่ขึ้นมาเพื่ออนุรักษ์การจักสานไม้ไผ่อีกด้วย
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 653
เริ่มทำโฮมสเตย์แม่บังอรทำมาหลายปีแล้ว ส่วนใหญ่จะจะมีนักท่องเที่ยวมาพักตามฤดูกาล หากมาในฤดูหนาวจะมีอากาศดี นักท่องเที่ยวนิยม ปัจจุบันปรับปรุงที่พัก
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 138
เริ่มต้นจาก ตอนที่ป้าดำได้ไปช่วยงานพี่สาวที่ทุ่งโพธิ์ทะเล แล้วไปเห็นคนที่นั่น กำลังสานตะกร้ายางพาราอยู่ เลยเกิดความสนใจ จึงเรียนรู้ จากการได้ศึกษาจากบ้านทุ่งโพธิ์ทะเลแล้วประมาณ 5-6 วัน ได้ขอซื้อโครงจักสานมา กลับมาลองฝึกเองที่บ้าน พอสานเป็นก็เริ่มหาซื้อโครงมากขึ้น และเริ่มสอนในหมู่บ้านโดยการสอนไม่คิดค่าใช้จ่าย และเมื่อปี พ.ศ. 2552 ได้มีองค์การบริหารส่วนตำบลมาลงพื้นที่ จึงได้ให้ป้าดำเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่ม จักสานยางพาราขึ้นมา เพื่อสอน ให้คนในชุมชนมีอาชีพ
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 216
กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ หรือเดิมเรียกกันว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐานกระจายไปทั่วประเทศไทย และส่วนหนึ่งได้มาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งจากการสำรวจ มี 2 หมู่บ้าน คือ 1) หมู่ 3 บ้านคลองน้ำไหลใต้ ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มีจำนวนประมาณ 80 หลังคาเรือน อาชีพหลัก คือ รับจ้างทำไร่มันสำปะหลัง 2) หมู่ 18 บ้านกะเหรี่ยงน้ำตก ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มีจำนวนประมาณ 100 หลังคาเรือน อาชีพหลัก คือ ทำไร่มันสำปะหลังและหาของป่าขาย
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 253