ประเพณีแล้อุปั๊ดตะก่า
ประเพณีแล้อุปั๊ดตะก่า หรือ แล้อุ๊๊ดตะก่า เป็นประเพณีแห่รับข้าวพระพุทธของคนเชื้อสายไทยใหญ่ในแม่สอด คำว่า “แล้อุปั๊ดตะก่า” เป็นภาษาไทยใหญ่ หมายถึง คณะอุบาสกแห่รับข้าวพระพุทธจากผู้มีจิตศรัทธาถวายพระพุทธเจ้า ซึ่งจะจัดขึ้นในหนึ่งวันก่อนวันเข้าพรรษาของทุกปีประเพณีนี้เป็นประเพณีของคนท้องถิ่นคนไทยใหญ่ (คนไต) กล่าวคือ คนไทยใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างเดียวและยึดเหนี่ยวจิตใจ ในทุกบ้านทุกหลังคาเรือนจะมีหิ้งพระพุทธรูปไว้ในบ้าน บูชาด้วยดอกไม้สด ธูป เทียน เป็นเครื่องสักการะ และในทุกๆเช้าจะถวายข้าวพระพุทธก่อนอื่นเป็นประจำ โดยถือเป็นกิจวัตรและจะสอนให้ลูกหลานได้ถือประพฤติปฏิบัติตามและสืบทอดจนมาถึงทุกวันนี้
16.7557014, 98.4335232
เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 1,827
ประเพณีกาดสวรรค์
ประเพณีกาดสวรรค์หรือ ประเพณีตลาดสวรรค์ จัดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ณ วัดแม่ซอดน่าด่าน (วัดหลวง) ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นประเพณีที่มีมาช้านานแล้ว จากแนวคิดและความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่เล่าต่อกันมาว่า หลังจากออกพรรษาแล้ว พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงมาจากสรวงสวรรค์ โดยเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสอง ซึ่งตรงกับวันลอยกระทง ชาวไทยใหญ่จะจัดทำอาหารหวานคาวแห่ไปรอบๆ หมู่บ้านเพื่อให้ทุกคนมาร่วมงาน แล้วจึงทำทำพิธีถวายอาหารแด่พระพุทธในตอนกลางวัน
16.7557014, 98.4335232
เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 734
ประเพณีกวนข้าวหย่ากุ๊
ประเพณีกวนข้าวหย่ากุ๊ หรือประเพณีกวนข้าวหย่าฮู้ เป็นประเพณีท้องถิ่นที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี มีความผู้กพันกับชุมชนและชาวบ้าน ผู้ที่ทำการเกษตรมาเป็นเวลาช้านาน โดยเชื่อว่าหลังจากทำนาหรือหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าเสร็จ จะต้องมีการระลึกถึงบุญคุณของข้าวหรือพระแม่โพสพ ที่ได้คุ้มครองไร่นาของชาวบ้านให้มีข้าวไว้หล่อเลี้ยงชีวิตและเมื่อได้ข้ามาก็จะนำไปถวายวัดเพื่อความเป็นสิริมงคล และข้างนั้นจะต้องเป็นข้างใหม่ ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ชาวไทยใหญ่จึงจัดประเพณีถวายข้าว สืบต่อกันจนถึงปจุบัน
16.7557014, 98.4335232
เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 1,325
ประเพณีกวนข้าวทิพย์
ประเพณีกวนข้าวทิพย์หรือ "ก๋วนข้าวทิพย์" ประจำปี ณ วัดสักทองวนาราม ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นประเพณีที่มีพุทธศาสนิกชนในพื้นที่เข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก เพื่อสืบสานขนบธรรมเนียมให้ประเพณีดังกล่าวอยู่คู่กับท้องถิ่นสืบทอดต่อกันไปชั่วลูกหลานบนพื้นฐานความเป็นคนไทย ซึ่งผู้ที่จะเป็นคนกวนข้าวนั้น จะต้องแต่งชุดขาวห่มขาว เพื่อให้ข้าวที่จะนำไปแจกจ่ายขาวสะอาดและบริสุทธิ์ เป็นข้าวทิพย์ที่ชาวบ้านจะนำไปแบ่งปันกินกันเพื่อความเป็นสิริมงคลประธานชุมชนสักทอง กล่าวว่า ประเพณีกวนข้าวทิพย์ หรือ ชาวบ้านเรียกว่า "ก๋วนข้าวทิพย์"
16.7557014, 98.4335232
เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 1,439
ค่าว วรรณศิลป์พื้นถิ่น ในย่านคนลาว(ยวน) ที่หัวเดียด
ค่าว คือ กลอน คำประพันธ์พื้นบ้าน ที่ต้องอาศัยความชาญฉลาดของผู้แต่งในด้านคำสัมพันธ์ เสียงเสนอะ และต้องมีความเชี่ยวชาญในด้านภาษาถิ่นด้วย ชุมชนหัวเดียด เป็นชุมชนคนลาวที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของเมืองตาก เคยเป็นย่านที่มีบริษัทค้าไม้ของฝรั่งถึงสองแห่ง จึงทำให้คนลาวย่านหัวเดียดเก่งในด้านกิจการป่าไม้ การล่องซุงไม้สัก และ ทำการทางเรือ ด้วยการนำสินค้าจากภายในย่านและชุมชนโดยรอบ ขนลงเรือชะล่าล่องลงไปขายย่านตลาดลาวที่เมืองปากน้ำโพ เราเรียกพ่อค้าที่ทำกิจการจนมีฐานะว่า "นายฮ้อยเรือ"
16.7557014, 98.433518
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 557
ประเพณีตานก๋วยสลาก
ประเพณีตานก๋วยสลาก เป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลได้มีการปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนาน เรื่องมีอยู่ว่ามีนางยักษิณีตนหนึ่งมักจะเบียดเบียน ผู้คนอยู่เสมอ ครั้นได้ฟังธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว นางก็บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธานิสัยใจคอที่โหดร้ายก็กลับเป็นผู้เอื้ออารีแก่คนทั่วไปจนผู้คนต่างพากันซาบซึ้งในมิตรไมตรีของนางยักษิณีตนนั้น ถึงกับนำสิ่งของมาแบ่งปันให้ แต่เนื่องจากสิ่งของที่ได้รับมีจำนวนมาก นางยักษิณีจึงนำสิ่งของเหล่านั้นมาทำเป็นสลากภัต แล้วให้พระสงฆ์/สามเณร จับสลากด้วยหลักอุปโลกนกรรม คือสิ่งของที่ถวาย มีทั้งของของมีราคามากและมีราคาน้อยแตกต่างกันไปตามแต่โชคของผู้ได้รับ การถวายแบบจับสลากของนางยักษิณีจึงนับเป็นครั้งแรกของประเพณีทำบุญสลากภัตในพุทธศาสนา
16.7557014, 98.4335232
เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 1,684
ประเพณีกินข้าวใหม่ม้ง
ชาวไทยภูเขาเผ่าม้งปลูกข้าวในช่วงฤดูฝน ได้ออกผลผลิตและทำการเก็บเกี่ยวแล้ว และจะต้องมีการเชิญผู้ที่ชาวม้งเคารพรักนับถือไปร่วมการสืบสานประเพณี “กินข้าวใหม่ ดื่มเหล้าเขาวัว” ในช่วงข้าวใหม่ออกผลผลิต ในช่วงที่เรียกว่า ปลายฝน ต้นหนาว ปลายเดือนตุลาคม-ต้นเดือนพฤศจิกายนของทุก ๆ ปี โดยผู้นำชาวม้งจะมีการนำข้าวใหม่ไปเชิญผู้ที่เคารพนับถือในท้องถิ่นหลายๆท่านเพื่อให้ไปร่วมงานประเพณีดังกล่าว
16.7557014, 98.4335232
เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 2,493
งานประเพณีลอยกระทงสองแผ่นดินที่ริมแม่น้ำเมย
เทศบาลตำบลท่าสายลวด จะจัดงานประเพณีลอยกระทงมิตรภาพสองฝั่งเมยไทย-พม่า เป็นประจำทุกปี โดยใช้สถานที่บริเวณหน้าเชิงสะพานมิตรภาพไทย-พม่า ศูนย์การค้าแม่เมยซิตี้ หมู่ 2 ตำบลท่าสายลวด ซึ่งภายในงานชมการแสดงซื้อสินค้า OTOP นานาชนิดและสินค้าราคาถูกต้อนรับฤดูหนาว ชมการแสดงการประกวดร้องเพลงลูกทุ่งไทยเทิดองค์ราชันย์พร้อมหางเครื่อง การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย 4 ภาค ชมมวยไทยปะทะมวยพม่า ตระการตาและตื่นใจกับไฟกระทงไหลขึ้นเหนือ การประกวดนางนพมาศ ไทย-พม่า การแสดงวงโปงลางต่าง ๆ
16.7557014, 98.4335232
เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 540
งานประเพณีลอยกระทงสองแผ่นดินที่ริมแม่น้ำเมย เชิงสะพานมิตรภาพไทย- พม่า
งานประเพณีลอยกระทงสองแผ่นดินที่ริมแม่น้ำเมย เชิงสะพานมิตรภาพไทย- พม่า ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก สำหรับประเพณีลอยกระทงมิตรภาพสองฝั่งเมยไทย-พม่า เทศบาลตำบลท่าสายลวด จะลอยกระทงแปลกกว่าจังหวัดอื่นๆ โดยจะลอยกระทงจากทิศใต้ไหลขึ้นไปทางทิศเหนือซึ่งเป็นขนบประเพณียาวนานของสองฝั่งเมยของชาวไทยและชาวพม่า
16.7550438, 98.4335198
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2018 ผู้เช้าชม 1,645
ประเพณีแหล่สางลอง (แห่ลูกแก้ว)
ประเพณีแหล่ส่างลอง หรือพิธีกรรม “แหล่” เป็นคำภาษาไทยใหญ่ แปลว่า แห่ “ส่างลอง” หมายถึง ลูกแก้ว ชาวไทยใหญ่ และชาวไทยใหญ่ผู้นับถือพระพุทธศาสนา ในเขตอำเภอแม่สอด มักจะทำการบวชเณร ซึ่งเป็นลูกแก้วหรือหลานของตนเองในช่วงปิดภาคเรียน ระหว่างเดือนมีนาคม – เดือนเมษายนของทุก ๆ ปี
16.7550438, 98.4335198
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 3,690
Google search
-
ฐานข้อมูล - 152 ประวัติความเป็นมา
- 171 แหล่งท่องเที่ยว
- 37 บุคคลสำคัญ
- 190 ประเพณีและวัฒนธรรม
- อำเภอเมืองกำแพงเพชร
- อำเภอคลองขลุง
- อำเภอคลองลาน
- อำเภอขาณุวรลักษบุรี
- อำเภอพรานกระต่าย
- อำเภอปางศิลาทอง
- อำเภอบึงสามัคคี
- อำเภอลานกระบือ
- อำเภอเมืองตาก_ตาก
- อำเภออุ้มผาง_ตาก
- อำเภอพบพระ_ตาก
- อำเภอวังเจ้า_ตาก
- อำเภอบ้านตาก_ตาก
- อำเภอแม่สอด_ตาก
- อำเภอแม่ระมาด_ตาก
- 122 พระเครื่อง
- 57 วรรณกรรมพื้นบ้าน
- 107 ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- 107 อาหารพื้นบ้าน
- 141 โบราณสถาน
- 445 สมุนไพรพื้นบ้าน
- 154 ร้านอาหารและเครื่องดื่ม
- 56 โบราณวัตถุ
- 102 หน่วยงานราชการ
- 171 โรงแรมและที่พัก
- 45 ของฝาก
ต้นเถาพันซ้าย จัดเป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยพันขนาดใหญ่ มีความยาวได้ถึง 20 เมตร ลำต้นมีลักษณะกลม มักขดเป็นวง มีขนสีเทา ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้น
สะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี
สะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี หรือที่เรียกว่า "สะพานแขวน" สร้างเมื่อ พุทธศักราช 2525 โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก เพื่อสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร
บุนนาค มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา อินโดจีน พม่า ไทย คาบสมุทรมาเลเซีย และสิงค์โปร์ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงปร
องค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำกระต่ายทอง
นายพรานป่าสำรวจเส้นทางไปสร้างเมืองหน้าด่านของกรุงสุโขทัย วันหนึ่งได้พบกระต่ายป่าสีเหลืองเปล่งปลั่งดั่งทองสวยงามมาก นายพรา