เข้าสู่ระบบ

ผู้ใช้งานออนไลน์

We have 2 guests and no members online

สถิติผู้เข้าชม

659386
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
42
162
981
657955
2217
2031
659386

Your IP: 18.217.144.32
Server Time: 2024-04-27 05:08:40

ยาและสมุนไพรพื้นบ้าน

สมุนไพรในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

อ้อยช้าง

ชื่อวิทยาศาสตร์      Lannea coromandelica Merr.

ชื่อวงศ์                ANACARDIACEAE

ชื่ออื่น ๆ  กอกกั่น (อุบลราชธานี) กุ๊ก (เหนือ) ช้าเกาะ, ช้างโน้ม (ตราด) ตะคร้ำ (ราชบุรี กาญจนบุรี) หวีด (เชียงใหม่)

ลักษณะทั่วไป

ต้น        สูงประมาณ 8 - 15 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง ๆ   ตามกิ่งอ่อนมีขนประปราย มีรอยแผลใบและต่อมระบายอากาศทั่วไป เปลือกสีเทา เทาอมเขียว หรือขาวปนเทา เรียบหรือแตกเป็นแผ่น ๆ ห้อยย้อยลง

ใบ         เป็นช่อเรียงสลับเวียนกัน ช่อหนึ่งมีใบย่อย 2-7 คู่ รูปไข่แกมรูปหอก ขนาด 1.0-2.5 ซ.ม. โคนเบี้ยวปลายเป็นติ่งยาวทู่ ๆ เนื้อค่อนข้างหนา หลังใบเกลี้ยงท้องใบ ขอบใบเรียบ

ดอก       มีสีเหลืองอ่อน ๆ กลิ่นหอม มีทั้งดอกสมบูรณ์และดอกแยกเพศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดอกแยกเพศ ออกเป็นช่อตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง กลีบดอกและกลีบรองดอกส่วนมากมี 4 กลีบ ดอกเพศผู้โตกว่าดอกเพศเมีย

ผล         มีขนาดลักษณะคล้ายเมล็ดถั่ว มีเนื้อเยื่อบาง ๆ หุ้ม เมล็ดแข็งมาก

นิเวศวิทยา           เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ขึ้นตามป่าเบญจพรรณชื้น ป่าเบญจพรรณแล้ง ป่าดิบแล้ง ป่าผสม ป่าละเมาะ และป่าหญ้าทั่วไป

การขยายพันธุ์       โดยการใช้เมล็ด

ประโยชน์            ด้านสมุนไพร   เปลือกใช้เป็นยาใส่แผล แก้ปวดฟัน แก่นมีรสหวาน ใช้ปรุงเป็นยาแต่งรสทำให้ชุ่มคอ แก้เสมหะเหนียว แก้กระหายน้ำ

: กมลทิพย์ ประเทศ และคนอื่น ๆ. (2543). การสำรวจพรรณไม้ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อำเภอเมือง  

                         จังหวัดกำแพงเพชร. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร

ฐานข้อมูลท้องถิ่น สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความเป็นมา

         ฐานข้อมูลท้องถิ่น เป็นฐานข้อมูลที่สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ พัฒนาขึ้นโดยรวบรวมสารสนเทศที่เกี่ยวกับท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดตาก เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าและวิจัย

 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อรวบรวมสารสนเทศท้องถิ่นของจังหวัดกำแพงเพชร และตาก

2. เพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่นให้แพร่หลาย และเป็นการทำนุบำรุงและธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของท้องถิ่น

3. เพื่อเป็นแหล่งสารสนเทศท้องถิ่น ประกอบการศึกษาค้นคว้า และวิจัย

4. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ให้เกิดประโยชน์