วัดศรีภิรมย์
เผยแพร่เมื่อ 11-03-2018 ผู้ชม 336
[16.214757, 99.7175143, วัดศรีภิรมย์]
ประวัติ
ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 2 บ้านคลองขลุง ตำบลคลองขลุง อำเภอคลองขลุง มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 55 ไร่ 3 งาน 44 ตารางวา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เดิมตั้งอยู่เหนือตลาดคลองขลุง อยู่ริมคลองขลุงฝั่งซ้ายปัจจุบัน วัดนี้เดิมชื่อ "วัดพิกุลทอง" พ.ศ.2451 หลวงพ่ออ้วน มีภูมิลำเนาเดิมที่พระตะบอง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา ใด้มาเรียนหนังสือที่วัดจักรวรรดิติราชาวาส กรุงเทพฯ เมื่อเรียนพอมีความรู้บ้างเล็กน้อย ก็เกิดมีโรคประจำตัวเลยต้องออกจากวัด แล้วก็ได้เดินทางขึ้นมาทางจังหวัดกำแพงเพชร ได้ขึ้นมาถึงอำเภอคลองขลุงและได้มาพักที่วัดพิกุลทอง ซึ่งเป็นวัดไทย (วัดพิกุลทองนั้นมี 2 วัด คือ วัดไทยกับวัดพม่า,วัดพม่าอยู่ฝั่งขวา) เมื่อหลวงพ่ออ้วนได้มาพักอยู่ที่วัดพิกุลทอง วัดไทยกำลังเสื่อมลง พระก็ไม่ค่อยมีอยู่
ต่อมาชาวบ้านคลองขลุงที่เป็นฝ่ายไทยซึ่งมีมรรคทายกนำ เป็นหัวหน้าพร้อมด้วยนายเถา นายโกสน ชักชวนชาวบ้านโดยมีหลวงพ่ออ้วนเป็นประธาน ช่วยกันย้ายวัดพิกุลทองซึ่งตั้งอยู่ฝั่งนี้มาตั้งอยู่ที่ท้ายตลาดคลองขลุง อยู่ใต้ที่ว่าการอำเภอคลองขลุงในปัจจุบันนี้ เมื่อย้ายวัดมาแล้วก็ช่วยกันสร้างกุฏิสงฆ์ขึ้น ต่อมาได้ปลูกศาลาการเปรียญขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่บำเพ็ญกุศล เมื่อช่วยปลูกสร้างวัดพอเป็นหลักฐานแล้ว ก็ทะนุบำรุงนิมนต์พระสงฆ์ให้มาจำพรรษามิได้ขาด พ.ศ 2461 ย้ายมาได้ประมาณ 8 ปีเศษ วัดมีความเจริญเป็นหลักฐาน หลวงสรรค์สิทธิกิจ นายอำเภอคลองคลุง มีความศรัทธาได้สละทรัพย์ของตนออกสร้างอุโบสถ โดยชักชวนราษฎรให้เข้าร่วมด้วยกำลังกาย และกำลังทรัพย์บ้างตามสมควรแต่ศรัทธา
เจ้าอาวาส พระครูวิมลวชิรคุณ (พระมหาล้วน)
คำสำคัญ : วัด
ที่มา : 1
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : นักศึกาษา รหัส 5912206
https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=910&code_db=DB0018&code_type=001
วัดศรีภิรมย์
ประวัติ
ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 2 บ้านคลองขลุง ตำบลคลองขลุง อำเภอคลองขลุง มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 55 ไร่ 3 งาน 44 ตารางวา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เดิมตั้งอยู่เหนือตลาดคลองขลุง อยู่ริมคลองขลุงฝั่งซ้ายปัจจุบัน วัดนี้เดิมชื่อ "วัดพิกุลทอง" พ.ศ.2451 หลวงพ่ออ้วน มีภูมิลำเนาเดิมที่พระตะบอง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา ใด้มาเรียนหนังสือที่วัดจักรวรรดิติราชาวาส กรุงเทพฯ เมื่อเรียนพอมีความรู้บ้างเล็กน้อย ก็เกิดมีโรคประจำตัวเลยต้องออกจากวัด แล้วก็ได้เดินทางขึ้นมาทางจังหวัดกำแพงเพชร ได้ขึ้นมาถึงอำเภอคลองขลุงและได้มาพักที่วัดพิกุลทอง ซึ่งเป็นวัดไทย (วัดพิกุลทองนั้นมี 2 วัด คือ วัดไทยกับวัดพม่า,วัดพม่าอยู่ฝั่งขวา) เมื่อหลวงพ่ออ้วนได้มาพักอยู่ที่วัดพิกุลทอง วัดไทยกำลังเสื่อมลง พระก็ไม่ค่อยมีอยู่
ต่อมาชาวบ้านคลองขลุงที่เป็นฝ่ายไทยซึ่งมีมรรคทายกนำ เป็นหัวหน้าพร้อมด้วยนายเถา นายโกสน ชักชวนชาวบ้านโดยมีหลวงพ่ออ้วนเป็นประธาน ช่วยกันย้ายวัดพิกุลทองซึ่งตั้งอยู่ฝั่งนี้มาตั้งอยู่ที่ท้ายตลาดคลองขลุง อยู่ใต้ที่ว่าการอำเภอคลองขลุงในปัจจุบันนี้ เมื่อย้ายวัดมาแล้วก็ช่วยกันสร้างกุฏิสงฆ์ขึ้น ต่อมาได้ปลูกศาลาการเปรียญขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่บำเพ็ญกุศล เมื่อช่วยปลูกสร้างวัดพอเป็นหลักฐานแล้ว ก็ทะนุบำรุงนิมนต์พระสงฆ์ให้มาจำพรรษามิได้ขาด พ.ศ 2461 ย้ายมาได้ประมาณ 8 ปีเศษ วัดมีความเจริญเป็นหลักฐาน หลวงสรรค์สิทธิกิจ นายอำเภอคลองคลุง มีความศรัทธาได้สละทรัพย์ของตนออกสร้างอุโบสถ โดยชักชวนราษฎรให้เข้าร่วมด้วยกำลังกาย และกำลังทรัพย์บ้างตามสมควรแต่ศรัทธา
เผยแพร่เมื่อ 11-03-2018 ผู้เช้าชม 336
วัดสว่างอารมณ์
ประวัติ
ตั้งอยู่ที 217/1 หมู่ที่ 2 ตำบลแสนตอ อำเภอขาณุวรลักษบุรี นมัสการหลวงพ่อโตวัดสว่างอารมณ์ เป็นพระพุทธรูปปางสะดุ้งมาร มีเกศเป็นเปลวเพลิง หน้าตักกว้าง 4 ศอก ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวอำเภอขาณุวรลักษบุรี
วัดสว่างอารมณ์ ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.2275 โดยมีนายสว่าง นางรมณ์ เป็นผู้บริจาคทที่ดินให้สร้างวัด จึงมีนามวัดอย่างนั้น เดิมมีแม่น้ำปิงผ่านหน้าวัด ต่อมาแม่น้ำปิงเปลี่ยนทิศทาง ทำให้หน้าวัดตื้นขึ้นเป็นที่ดนงอกออกไปประมาณ 350 เมตร สำหรับอุโบสถได้สร้างขึ้นมาถึง 3 ครั้ง ชาวบ้านเรียกว่าแสนตอ ตามชื่อหมู่บ้าน
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 211
วัดเขาวังเจ้า
ประวัติ
ประวัติความเป็นมาของวัดเขาวังเจ้า วัดเขาวังเจ้า ได้เริ่มสร้างมาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๘ หรือ ๒๕๑๙ เนื่องด้วย พระครูนาควัชราธร (หลวงพ่อวิชัย ปสนฺโน ) อดีตเจ้าอาวาสวัดนาควัชรโสภณ ( ว้ดช้าง ) เจ้าคณะอำเภอเมือง กำแพงเพชร -พิจิต (ธ) ได้เห็นสถานที่ของเขาวังเจ้านี้ ว่ามีภูมิศาสตร์ที่ดี สมควรที่จะสร้างเป็นวัดใว้ให้เป็นที่บำเพ็ญสมณะธรรมของพระภิกษุ และเป็นศูญรวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน ใว้เป็นที่บำเพ็ญกุศลต่อไปในอนาคตภายหน้า จึงได้เชิญชวนศิษยานุศิษย์ ชาวบ้าน และผู้มีจิตศรัทธา ดำเนินการก่อสร้างวัดบริเวณเชิงเขาวังเจ้า ติดถนนทางหลวงหมายเลข ๑ ระหว่างเขตรอยต่อ จ.กำแพงเพชร และ จ.ตาก ติดหมู่บ้านวังเจ้า จึงได้ตั้งเชื่อวัดว่า (วัดเขาวังเจ้า) เพราะเดิมชาวบ้านเขาเรียกว่าบ้านวังเจ้าทั้งสองเขต
โดยมีนายฝอ เลาหพิบูลรัตนา เป็นผู้ซื้อที่ดินถวายให้สร้างเป็นวัด มีเนื้อที่ดินจำนวน ๖๓ ไร่ ๒ งาน ระหว่างการสร้างวัดอยู่นั้น หลวงพ่อวิชัยก็ได้ดำเนินการขอใช้พื้นที่กับทางหน่วยราชการไปพร้อมๆกัน ได้ขออนุญาติสร้างวัดในปี พ.ศ.๒๕๑๙ และได้รับการตั้งเป็นวัดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานวิสุงคามสีมา ในปี พ.ศ. ๒๕๒๑
และต่อมา หลวงพ่อวิชัย ก็ส่งให้ลูกศิษย์คนสำคัญที่เป็นพระหลานชายของท่านเอง ให้มาอยู่เพื่อมาพัฒนาวัดเขาวังเจ้า พระภิกษุรูปนั้นก็คือ พระครูอรุณธรรมพิลาส (หลวงพ่ออาทิตย์ อรุโณ )นั่นเอง ...เมื่อหลวงพ่ออาทิตย์ท่านมาอยู่แล้วก็ได้มาพัฒณาวัดเขาวังเจ้าให้มีความเจริญรุ่งเรืองจนเป็นบึกแผ่นดีแล้ว ท่านก็ได้ ระสังขาร มรณะภาพ ไปในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ส่วนข้าพเจ้าเองที่เป็นลูกศิษย์ท่าน แค่มาสานต่อในสิ่งที่พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านได้ทำเข้าใว้
เผยแพร่เมื่อ 14-03-2018 ผู้เช้าชม 672
วัดถ้ำเขาตะล่อมกวาง
วัดถ้ําเขาตะล่อมกวาง ตั้งอยู่ที่บ้านเขาสว่างอารมณ์ หมู่ที่ ๑ ตําบลพรานกระต่าย
อําเภอพรานกระต่าย จังหวัดกําแพงเพชร สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๑๖ ไร่
กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งเป็นวัดนับตั้งแต่วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ เดิม
แรกเริ่มสร้างวัดเรียก “วัดเขาตะล่อมกวางทอง” โดยมีนายรวย ฟองเทพ ร่วมกับชาวบ้าน ได้
จัดสร้างตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้รับพระราชทานวิสุงคสีมา วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๒
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 809
วัดบาง
โบสถ์วัดบาง วัดแห่งนี้อยู่ท่ามกลางย่านเศรษฐกิจของกำแพงเพชร ด้านหนึ่งติดถนนราชดำเนิน 1 ด้านหนึ่งติดถนนเจริญสุข เมื่อเข้ามาในวัดจะมีบรรยากาศโล่งกว้าง ประกอบด้วยอาคาร (เสนาสนะ) ต่างๆ กระจายกันไป โดยมีเขตสังฆาวาสอยู่แยกออกไปอีกด้านหนึ่งอย่างชัดเจน โบสถ์หรืออุโบสถอยู่ตรงกลางของพื้นที่ มีวิหารหลวงพ่อเพชรอยู่เยื้องออกไปด้านข้าง มุขด้านหลังของอุโบสถล้อมด้วยกระจกใสรอบด้าน ก่อนที่จะเข้าไปไหว้พระกันอยากจะกล่าวถึงประวัติของวัดบางแห่งนี้กันก่อนดังนี้
วัดบางเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในตัวเมืองกำแพงเพชร สันนิษฐานว่าที่ชื่อวัดบางคงเป็นเพราะที่ตั้งวัดอยู่ใกล้กับคลองน้ำ ซึ่งแยกจากแม่ปิงไปสู่ "หนองรี" คลองน้ำดังกล่าวเรียกว่า "บาง" เมื่อวัดมาตั้งอยู่ ณ ที่แห่งนี้ จึงตั้งชื่อ "วัดบาง"
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 118
วัดแก้วสุริย์ฉาย
ประวัติ
เจ้าอาวาสวัดแก้วสุริย์ฉาย และเจ้าคณะตำบลลานกระบือ เล่าประวัติวัดแก้วสุริย์ฉายว่า ได้สร้างราวพุทธศักราช 2400 ในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ผู้ที่ยกที่ดินให้สร้างวัดคือ นายแก้ว และนางฉาย ประชาชนจึงร่วมกันสร้างวัดขึ้น ณ ที่ดินแห่งนี้และขนานนามวัดแห่งนี้ว่า “วัดแก้วสุริย์ฉาย”
ในวัดประดิษฐาน หลวงพ่อขำ หลวงพ่อกลับ ซึ่งมีรูปหล่อของท่านทั้งสอง อยู่ในศาลา กลางวัด ว่าท่านทั้งสองเป็นพระอาจารย์ของ เจ้าอธิการยี้ และได้รับการถ่ายถอดวิทยาคุณ จากพระอาจารย์ของท่าน คือหลวงพ่อขำ เป็นอาจารย์ของหลวงพ่อกลับ หลวงพ่อกลับเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อไสว (พระครูวินิจวชิรคุณ) หลวงพ่อไสวเป็นอาจารย์ของเจ้าอธิการยี้ ท่านเป็นพระสงฆ์ที่ทรงวิทยาคุณทางคาถาอาคมยิ่ง เป็นที่พึ่งหลักทั้งทางธรรมะ และทางโลก พระเจดีย์โบราณ สององค์ ซึ่งเป็นที่เก็บอัฐิของเจ้าอาวาสและผู้ที่มีพระคุณต่อวัด และพระอุโบสถ ซึ่งเป็นโบสถ์สมัยโบราณที่ถมดินขึ้นมาสูงมากทำให้ อาคารพระอุโบสถและพระวิหารเสียรูปทรงไป ในโบสถ์มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ เป็นพระประธาน เมื่อสังเกตโดยละเอียด พบว่า ได้นำปูนไปฉาบพระองค์ไว้ จึงอาจสันนิษฐานได้ว่ามี พระที่เป็นโลหะชนิดใดชนิดหนึ่งที่มีคุณค่ามาก มีพระวิหารอยู่หลังพระอุโบสถ เป็นวิหารเก่า ที่ได้รับการบูรณะเปลี่ยนรูปทรงไป แต่ก็ยังดูงดงามตามแบบสถาปัตยกรรมกำแพงเพชร ในสมัยรัตนโกสินทร์ ในศาลาใหญ่มีชมรมผู้สูงอายุ มาชุมนุมจำนวนมาก ได้จัดกิจกรรมร่วมกัน ทั้งการออกกำลังกาย และกิจกรรมบันเทิง นับว่าเป็นการจัดตั้งได้อย่างงดงามมาก
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 147
วัดป่าเขาเขียว (หลวงพ่อถัง)
ประวัติ
วัดป่าเขาเขียว (หลวงพ่อถัง) ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 10 บ้านปางใหม่พัฒนา ตำบลปางตาไว อำเภอปางศิลาทอง เป็นวัดที่มีชื่อเสียงโด่งดังในด้านความเชื่อและศรัทราของประชาชนในจังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดใกล้เคียง โดยมีเจ้าอาวาสชื่อ พระครูสังฆรักษ์ ปัญญาสีลโชโต (ธ) หรือเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ "หลวงพ่อถัง" ชาวบ้านมีความเชื่อว่าท่านเจ้าอาวาสมีความสามารถพิเศษในการลงยันต์ และเสกคาถาอาคมลงบนถังตวงข้าวสาร หากใครนำไปบูชาแล้วจะทำมาค้าขายดี
นอกจากนี้ภายในวัดป่าเขาเขียว จัดให้มีพิพิธภัณฑ์ถังตวงข้าวแบบโบราณ และแบบสมัยใหม่หลายขนาดมากกว่า 1,000 ถัง เพื่อนักท่องเที่ยวจะได้เรียนรู้วิวัฒนาการการใช้มาตรการตวงทั้งในอดีตและปัจจุบัน
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 134
วัดเสด็จ
เป็นวัดมหานิกาย (ธรรมยุต) ที่เก่าแก่ไม่ปรากฏชื่อและหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่พอจะสันนิษฐานว่าในสมัยเมืองกำแพงเพชรโบราณ ประชาชนในละแวกนี้ร่วมใจกันสร้างขึ้น วัดเสด็จมีรอยพระพุทธบาทจำลองแต่โบราณ เคยเป็นที่เก็บศิลาจารึก และตำนานพระเครื่อง อีกทั้งสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆังพร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เคนเสด็จมายังวัดนี้ทำให้หลักฐานดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่น เรื่องราวพระเครื่องจากตำนาน การทำบุญไหว้พระธาตุ ไหว้พระพุทธบาทที่มีในจารึกนครชุม ซึ่งถือเป็นประเพณีการทำบุญกันสืบมาจนปัจจุบัน ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ทำบุญเพ็ญเดือน 3 มีการทำบุญไว้พระธาตุที่ตำบลนครชุม และไหว้พระพุทธบาทจำลองที่วัดเสด็จ ซึ่งจัดพร้อมกันมาเป็นประจำทุกปี พระพุทธบาทจำลองนี้มีมาแต่ดั้งเดิม ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2450 พระครูธรรมาทิมุตมุณี (กลึง) ได้สร้างมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทจำลองไว้ และมีการบูรณะอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2512 นอกจากนี้ที่วัดยังมีพระอุโบสถและศาลาการเปรียญ ซึ่งแต่เดิมเป็นการก่อสร้างด้วยไม้ ต่อมาได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างใหม่ให้งดงามกว่าเดิม
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 131
วัดศรีโยธิน
ประวัติ
ที่วัดศรีโยธิน ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นวัดที่สร้างโดยรอ.ทำนอง โยธินธนสมบัติ ต่อมาท่านได้บวชและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส นาม หลวงพ่อทำนอง คุณังกะโร เมื่อท่านสร้างวัด ท่านนิมิตว่า มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งมาเข้านิมิตและจะมาช่วยสร้างวัด เมื่อท่านตื่นขึ้นก็ไปเที่ยวหาพระตามนิมิต และพบพระพุทธรูป โกลนศิลาแลง ขนาดหน้าตักกว้าง 6 เมตร จมดินอยู่บริเวณหลัง ฌาปนสถานของเทศบาล ในลักษณะฝังดินอยู่ ได้ทำพิธี อัญเชิญขึ้นมามีชิ้นส่วนหลายชิ้น ตามหลักการสร้างพระโกลนศิลาแลงขนาดใหญ่ เมื่ออัญเชิญขึ้นมาเกิดพายุใหญ่ ลมหมุน มืดครึ้มไปทั่วบริเวณ ได้ยกขึ้นมาพบแมงป่องจำนวนมาก อยู่ใต้ฐานพระ ยกมาประดิษฐานเป็นพระประธานในวัดศรีโยธิน ได้ตกแต่งให้เป็นองค์พระที่งดงาม เดิมเรียกกันว่าหลวงพ่อศิลาแลงภายหลังขนานนามท่านว่าหลวงพ่อศรีสรรเพชญ์
เมื่อนำผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดีมาตรวจสอบพบว่า หลวงพ่อศรีสรรเพชญ์องค์นี้ น่าจะเป็นพระพุทธรูปที่วัดพระแก้วภายในกำแพงเมืองกำแพงเพชรที่ถูกเคลื่อนย้ายไป และนำไปซ่อนไว้ที่พบพระและไม่สามารถนำไปได้ด้วยเหตุผลหลายประการ เมื่อหลวงพ่อทำนองมาพบและนำไปประดิษฐานเป็นพระประธานในโบสถ์วัดพระศรีสรรเพชญ์ เกิดเหตุการณ์แปลกประหลาดมหัศจรรย์หลายประการต่อมามีผู้โชคดีจากการถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลที่นำเงินที่ได้มาส่วนหนึ่งมาสร้างวัด ทำให้วัดศรีโยธินเจริญอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นความเชื่อของผู้คนในยุคสมัย หลวงพ่อศรีสรรเพชญ์ วัดศรีโยธิน จึงเป็นสิ่งมหัศจรรย์สิ่งหนึ่งที่พบในเมืองกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 381
วัดปางมะค่า
ประวัติความเป็นมาของวัดปางมะค่า
เดิมทีที่ตั้งวัดปางมะค่าเมื่อก่อนเป็นป่าไม้ มีต้นมะค่าขึ้นเยอะ เป็นที่ของนายพัน พรนิคม เป็นที่ขึ้นของไม้นาๆชนิดเพราะติดกับแม่น้ำแม่วงศ์ และยังเป็นที่ขึ้นน้ำยางของพวกทำน้ำมันยางโดยขึ้นทางหลังวัด ปัจจุบันเป็นถนนคอนกรีตซอยเข้าวัดปางมะค่าลงไปถึงแม่น้ำ และเมื่อก่อนก็เป็นปางไม้ที่คนนำไม้มาเก็บและแปรรูป คนที่สร้างวัดทีแรกก็คือนายพัน พรนิคม ได้ร่วมมือกับนายสนิท อิทรานุสรซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านและเป็นลูกเขยของนายพัน พรนิคมอีกด้วย และยังมีนายทองหล่อศรียันต์ นายทองใบ พวงสมบัติ เริ่มแรกสร้างศาลาไม้ ๑ หลังโดยมีกุฎีอยู่ในศาลาพระองค์แรกที่มาอยู่นี้สืบค้นไม่ได้ เพราะเริ่มสร้างวัดทีแรกนั้นประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๒-๒๕๐๗คนเก่าแก่ก็ได้เสียชีวิตไปหมดแล้วที่เหลืออยู่ก็จำไม่ได้ หลวงพ่อองค์แรกที่มาอยู่ก็อยู่ได้ไม่กี่ปีก็จากไปต่อมาก็หลวงพ่อจันที ก็มาอยู่สร้างศาลาหลังใหม่ซึ่งเป็นศาลาไม้แต่ยังไม่ทันเสร็จก็ไปอยู่ที่หนองแสงซึ่งอยู่ติดกับปางมะค่าโดยอยู่ที่วัดปางมะค่านี้ประมาณ ๒ ปีต่อมาก็หลวงพ่อฟอง มาอยู่ก็สร้างศาลาที่หลวงพ่อจันที สร้างค้างไว้มาสร้างจนเสร็จแต่อยู่ดูแลวัดปางมะค่าได้ประมาณ ๕ ปีก็จากไปอีกต่อมาก็มีพระมาอยู่อีกหลายองค์แต่ก็อยู่ได้ไม่นานที่สืบได้ก็คือมหาภาดี องค์เดียวเมื่อมหาภาดีจากไปก็มีหลวงพ่อสุทิน ฐิตวุธฺโธมาอยู่ซึ่งหลวงพ่อสุทินองค์นี้มาอยู่นานและได้สร้างเสนาสนะมากมายสร้างความเจริญให้แก่วัดปางมะค่าเป็นอย่างมากเช่น อุโบสถกลางน้ำ วิหารหลวงพ่อเพ็ชร หอระฆัง ศาลาการเปรียญหลังใหญ่ รอยพระพุทธบาท แต่น่าเสียดายที่หลวงพ่อต้องมาจากไปในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ด้วยโรคประจำตัวและข่าวร้ายที่ได้รับคือ ศาลาการเปรียญหลังใหญ่ที่กำลังก่อสร้างอยู่ได้พังทลายลงมาเมื่อแต่ก่อนที่ศาลาจะพังลงมาอุโบสถกลางน้ำก็ถูกน้ำท่วมพัดพาไปให้เสียหายก็ทีหนึ่ง ปัจจุบันจึงเหลือแต่ วิหารหลวงพ่อเพ็ชร หอระฆัง และรอยพระพุทธบาท
ต่อมาก็มีอาจารย์เทพ ฐิตสวโร มาอยู่สร้างกำแพงวัดทางด้านทิศเหนือและตะวันตกเสร็จมาอยู่ได้ ๒ ปีก็ลาสิกขาไป ต่อมาก็อาจารย์น้อย มาอยู่สร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ยังไม่ทันเสร็จก็ลาสิกขาออกไปรวมแล้วมาอยู่ได้ประมาณ ๓ ปี ก็มีมาอยู่อีกองค์หนึ่งแต่อยู่ไม่ถึงปีก็จากไปต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ก็ได้ พระอธิการประจักษ์ ขนฺติธโร มาอยู่โดยได้เป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดปางมะค่า โดยถูกต้องตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์เพราะได้รับตราตั้งวัดที่ถูกต้องในวันที่ ๒๖
ตุลาคม ๒๕๓๗ พระอธิการประจักษ์ ขนฺติธโร มาอยู่ก็ได้สร้างศาลาการเปรียญจนแล้วเสร็จและสร้างศาลาธรรมสังเวศ เมรุ และกำลังสร้างวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช แต่ยังไม่แล้วเสร็จก็ลาสิกขาไปในปีพ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นเจ้าอาวาสได้ ๕ ปี ต่อมาก็มีพระอนุวัต อนุวตฺตโกมาอยู่ได้ปีเดียวก็ลาสิกขาไป แล้วก็ว่างเจ้าอาวาสไปสองปีในปีพ.ศ. ๒๕๕๒ หลวงพ่อเจ้าคณะตำบลก็แต่งตั้งพระสุทัศน์ ปิยสีโล รักษาการเจ้าอาวาสวัดปางมะค่าจนถึงปัจจุบัน ตอนนี้ทางวัดปางมะค่ากำลังก่อสร้างอุโสถอยู่ยังไม่แล้วเสร็จ
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 524