ประวัติอำเภอคลองขลุง

ประวัติอำเภอคลองขลุง

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้ชม 2,867

[16.2349931, 99.4048103, ประวัติอำเภอคลองขลุง]

               อำเภอคลองขลุง เป็นอำเภอที่อุดมสมบูรณ์มาก เพราะมีคลองขลุงไหลผ่าน บรรจบกับแม่น้ำปิงที่ตำบลคลองขลุง ....เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2464 เรียกอำเภอนี้ว่า อำเภอขาณุ ต่อมาได้เปลี่ยนอำเภอเป็นคลองขลุง" เนื่องจากบริเวณที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอมีลำน้ำคลองขลุงไหลผ่าน ในปี พ.ศ.2482 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งกิ่งอำเภอแสนตอแยกจาก อำเภอคลองขลุง ประกอบด้วยตำบลแสนตอ ตำบลยางสูง ตำบลระหาน ตำบลสลกบาตร และตำบลบ่อถ้ำ และในปีพ.ศ. 2490 กิ่งอำเภอแสนตอได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอ โดยเปลี่ยนชื่อใหม่ว่าอำเภอขาณุวรลักษบุรี
               กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะพื้นที่ของอำเภอคลองขลุงจัดตั้งเป็นอำเภอเพิ่มขึ้นอีก 2 อำเภอ คือ อำเภอทุ่งทราย จัดตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2535 มีเขตการปกครอง 3 ตำบล 30 หมู่บ้าน ประกอบด้วยตำบลทุ่งทราย ตำบลทุ่งทอง และตำบลถาวรวัฒนา ในปีต่อมาจัดตั้ง อำเภอปางศิลาทองเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2536 มีเขตการปกครอง 3 ตำบล 27 หมู่บ้าน ประกอบด้วยตำบลโพธิ์ทอง ตำบลหินดาต และตำบลปางตาไว
               อำเภอคลองขลุง ตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด อาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
                              ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอเมืองกำแพงเพชร
                              ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอทรายทองวัฒนา และ อำเภอบึงสามัคคี
                              ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอขาณุวรลักษบุรี และ อำเภอปางศิลาทอง
                              ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอเมืองกำแพงเพชร
               เหตุที่เรียกว่าอำเภอคลองขลุงเพราะสันนิษฐานว่ามีที่ มา สามทางคือ
               ๑. น้ำจากคลองวังไทร ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปิงที่ ตำบลคลองขลุงเรียกกันว่าบ้านคลองคลุ้ง บ้านท้องคลุ้ง บ้านท้องคุ้ง กลายมาเป็นคลองขลุงในที่สุด
               ๒. บริเวณลำน้ำคลอง บ้านคลองขลุง เดิมมีการเลี้ยงช้างกันจำนวนมาก ช้างมาเล่นน้ำในลำคลอง จึงเรียกกันกว่าคลองช้างโขลง คลองโขลง และเป็นคลองขลุง
               ๓. ในลำน้ำคลองขลุง มีจระเข้ ชนิดหนึ่งจำนวนมาก ชาวบ้านเรียกว่าตะโขง เรียกตลองนี้กันว่า คลองตะโขง คลองโขง และกลายเป็นคลองขลุงในปัจจุบัน
               อำเภอคลองขลุงแบ่งเขตการปกครองย่อย 10 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลคลองขลุง ตำบลวังไทร ตำบลวังแขม ตำบลวังบัว ตำบลหัวถนน ตำบลคลองสมบูรณ์ ตำบลท่ามะเขือ ตำบลท่าพุทรา ตำบลวังยางและตำบลแม่ลาด

ดินแดนหลวงพ่อปลอดภัย
               หลวงพ่อปลอดภัย "  พระเกจิที่โด่งดังที่สุดของกำแพงเพชร พระวิบูลวชิรธรรม หลวงพ่อสว่าง อุตตโร (สว่าง เจริญศรี) หลวงพ่อปลอดภัย ณ วัดคฤหบดีสงฆ์ ( วัดท่าพุทรา) หลวงพ่อสว่าง เป็นบุตรของขุนเจริญสวัสดิ์ (เจริญ เจริญศรี) กำนันตำบลท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ กับคุณแม่หอม เจริญศรี เกิดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2426 ตรงกับขึ้น 12 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม เป็นบุตรคนสุดท้ายที่เป็นชายส่วนคนก่อนๆ ล้วนเป็นหญิง ท่านเป็นพระเกจิที่โด่งดังที่สุดของกำแพงเพชร ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์รุ่นราวคราวเดียวกับ #หลวงพ่อทบ วัดชนแดน จ.เพชรบูรณ์ #หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ท่านเกิด 17 มิถุนายน 2426 ตรงกับขึ้น 12 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม มรณภาพ 1 กุมภาพันธ์ 2520 รวมสิริอายุ94 ปี 7 เดือน 25 วัน 74 พรรษา
               หลวงพ่อปลอดภัย ท่านได้สร้างเหรียญปลอดภัยไว้หลายรุ่น แต่ละรุ่นทรงอิทธิปาฏิหาริย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแคล้วคลาด กล่าวกันว่า ถ้ามีหลวงพ่อปลอดภัยไว้กับตัว จะไม่มีวันตายโหง มีอภินิหารมากมาย จนได้นามว่าหลวงพ่อปลอดภัย เป็นที่ปรารถนาของผู้คนอย่างมาก ที่อยากจะเป็นเจ้าของเหรียญปลอดภัย จนมาเป็นคำขวัญวรรคที่หนึ่งของอำเภอคลองขลุง ว่าดินแดนหลวงพ่อปลอดภัย

ผลไม้รสดี
               คลองขลุงมีผลไม้หลากหลายชนิด อาทิ กล้วยไข่ ผลไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร จะเริ่มออกสู่ตลาด ตั้งแต่เดือนกรกฏาคม และจะออกสู่ตลาดมากที่สุด ในช่วงเดือน กันยายน - ตุลาคม การซื้อขาย จะใช้หน่วย "ตั้ง" เป็นเกณฑ์ กล้วยไข่ ๑ ตั้ง หมายถึง กล้วยไข่หวีที่มีผลสมบูรณ์ ๖ หวี ในแต่ละเครือ แหล่งเพาะปลูกกล้วยไข่ที่สำคัญในจังหวัดกำแพงเพชร คือ อำเภอเมืองกำแพงเพชร อำเภอไทรงาม อำเภอคลองขลุง และอำเภอ พรานกระต่าย อำเภออื่นๆ ตลาดบริโภคภายในประเทศแล้ว กล้วยไข่ยังเป็นสินค้าออก ทางเกษตรอีกด้วยตลาดกล้วยไข่ ในต่างประเทศที่สำคัญ คือ ตลาดฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เดนมาร์ก บัตตาเรีย และแคนนาดา นอกจากนี้ที่อำเภอคลองขลุงจะมีผลได้ประจำฤดูจำนวนมาก อาทิฝรั่งไร้เมล็ด(พันธุ์ เพชรกำแพง) กระท้อน ชมพู่ มะปราง ละมุดน้ำผึ้ง พุทรา ขนุน มะพร้าว มะไฟ มะม่วงเขียวใหญ่ ส้มเขียวหวาน ส้มโอ ส้มโชกุน
               ถ้าจะรับประทานมะปราง ในเดือนมีนาคม ถึงพฤษภาคม บนถนนพหลโยธิน ช่วง “คลองขลุง-กำแพงเพชร” ระหว่างกม.317-320 ชาวบ้านเอามะยง-มะปราง ตั้งขายข้างทาง หลายสิบร้าน รสชาติอร่อยมากราคาไม่สูง นำรายได้มาสู่ชาวคลองขลุง จำนวนมาก
               กระท้อน เป็นผลไม้ที่มีมาก ในอำเภอคลองขลุง ในฤดูจะวางขายอยู่ข้างถนนพหลโยธินเช่นเดียวกับมะปราง เป็นจัดเป็นไม้ผลรับประทานที่รับประทานได้ทั้งเปลือกผลที่ให้รสเปรี้ยวอมหวาน และเนื้อผลที่ให้รสหวาน ซึ่งนิยมทั้งรับประทานผลสด ทำอาหาร นำมาแปรรูปเป็นผลไม้ดองหรือของหวาน ราคาดี คู่กับอำเภอคลองขลุงมาตลอด
               มะม่วง อีกหลากหลายพันธุ์ วางเรียงรายตลอดเส้นทางคลองขลุง กำแพงเพชร มีมะม่วงและผลไม้อื่นๆตามฤดูกาล ทำให้กำแพงเพชร มีคำขวัญวรรคทึ่ ๒ว่า ผลไม้รสดี

มีชื่อไม้ดอกไม้ประดับ
               คลองขลุงมีไม้ดอกไม้ประดับจำนวนมาก อาทิ ฟาร์มกล้วยไม้ หมู่ 6 บ้านแหลมยาง ตำบลวังบัว อำเภอคลองขลุง ผลิตและจำหน่ายกล้วยไม้ตัดออก กล้วยไม้หายาก เป็นแหล่งผลิตกล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือตอนล่าง
               สวนกล้วยไม้รักษพร1-2 สวนกล้วยไม้ภัสนันท์ และสวนกล้วยไม้ชัยพงศ์รัตนา โดยเน้นผลิตกล้วยไม้ประเภทรองเท้านารี และเป็นศูนย์ รวมพันธุ์กล้วยไม้กว่า 50 สายพันธุ์ มีกล้วยไม้จำหน่ายตลอดทั้งปีเป็นแหล่งส่งกล้วยไม้ออกต่างประเทศอีกแหล่งหนึ่งนำรายได้เข้าประเทศได้ไม่น้อย
               หมู่บ้านไม้ดอกไม้ประดับ หมู่ 5 บ้านวังน้ำแดง ตำบลท่ามะเขือ และหมู่ 2 ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง ผลิตและจำหน่ายกล้วยไม้ดอกไม้ประดับประเภทสนทุกชนิด จั๋ง อินทผาลัม มะนาวโห่ พญาสัตบรรณ ชาทอง ปาล์มทุกชนิด โมก ปีบ บานบุรีม่วง และกล้วยไม้ป่า เป็นแหล่งต้นไม้แบบขุดล้อมทุกชนิด น่าจะใหญ่ที่สุด ในภาคเหนือ มีทุกขนาด เป็นแหล่งใหญ่ตลอดแนวถนนวังแดงเลยทีเดียว

วัดสำคัญในอำเภอคลองขลุง
               วัดศรีภิรมย์ เป็นวัดเก่าแก่ มีอุโบสถหลังเก่าที่งดงามมากอยู่ในตัวอำเภอคลองขลุง
               วัดจันทาราม ตำบลวังแขม หลวงพ่อศรีมงคลที่ศักดิ์สิทธิ์. และมีวิหารหลวงพ่อศรีมงคลที่อายุร้อยกว่าปี และโบสถ์ที่วัดอัมพาพนาราม ที่ตำบลวังไทร คลองขลุง งดงามน่าไปชมอย่างยิ่ง
แม่น้ำปิง ในช่วงอำเภอคลองขลุงกว้างใหญ่ไพศาลและงดงามมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเจริญของอำเภอคลองขลุง ข้ามฝากมาฝั่งตำบลท่ามะเขือจนหมดสิ้น แต่โชคดีที่ยังมีสะพานเชื่อมตัวอำเภอคลองขลุงกับตำบลท่ามะเขือ จึงทำให้ติดต่อกันอย่างง่ายดาย
               โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญของอำเภอคลองขลุงคือ บริษัท เบียร์ไทย (1991) จำกัด สาขากำแพงเพชร
               เสน่ห์ของอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ยังฝังแน่นกับคำขวัญประจำอำเภอคลองขลุง ที่ว่า ดินแดนหลวงพ่อปลอดภัย ผลไม้รสดี มีชื่อไม้ดอกไม้ประดับ .....อยู่เสมอมานานแสนนาน

คำสำคัญ : คลองขลุง

ที่มา : สันติ อภัยราช. (2559). สารคดีโทรทัศน์ วัฒนธรรม จังหวัดกำแพงเพชร : ตอน อำเภอคลองขลุง. กำแพงเพชร: ม.ป.พ.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ประวัติอำเภอคลองขลุง. สืบค้น 25 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=8&code_db=DB0001&code_type=001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=8&code_db=610001&code_type=03

Google search

Mic

พระพุทธเจ้าหลวง เสด็จประพาสต้น ตำบลแม่ลาด กำแพงเพชร

พระพุทธเจ้าหลวง เสด็จประพาสต้น ตำบลแม่ลาด กำแพงเพชร

"ประพาสต้น" หมายถึง การเสด็จเยือนราษฎรเป็นการส่วนพระองค์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำอย่างเงียบๆ ไม่กระโตกกระตากให้รู้ว่าพวกเขากำลังเข้าเฝ้าเจ้าชีวิต เพื่อจะได้ทรงสนทนาปราศรัยทำความคุ้นเคย และล่วงรู้ทุกข์สุขของราษฎรได้โดยตรง ไม่ผ่านข้าราชการปกครอง บางครั้งเมื่อทรงทราบถึงความเดือดร้อนของชาวบ้านก็มีพระบรมราชโองการให้เจ้าเมืองรับไปจัดการ หรือแม้แต่ทรงเปลี่ยนตัวข้าราชการปกครองเสียเองก็มี ส่วนชาวบ้านเหล่านั้นก็มิได้ทรงละเลยในภายหลังทรงขนามนามพวกเขาว่า "เพื่อนต้น" และพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณอย่างสม่ำเสมอจนตลอดรัชกาล

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 1,208

ประวัติอำเภอคลองขลุง

ประวัติอำเภอคลองขลุง

ดินแดนหลวงพ่อปลอดภัย  ผลไม้รสดี  มีชื่อไม้ดอกไม้ประดับ อำเภอคลองขลุง เป็นอำเภอที่อุดมสมบูรณ์มาก เพราะมีคลองขลุงไหลผ่าน บรรจบกับแม่น้ำปิงที่ตำบลคลองขลุง เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2464 เรียกอำเภอนี้ว่า อำเภอขาณุ ต่อมาได้เปลี่ยนอำเภอเป็นคลองขลุง" เนื่องจากบริเวณที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอมีลำน้ำคลองขลุงไหลผ่าน

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้เช้าชม 2,867

คลองขลุง

คลองขลุง

“คลองขลุง” สาเหตุที่เรียกว่า “คลองขลุง” สืบเนื่องมาจาก 3 สาเหตุ คือ สาเหตุแรก ในสมัยก่อนน้ำจากคลองวังไทรไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปิง จึงเรียกตรงจุดที่น้ำมาบรรจบกันว่า “คลองคลุ้ง” ชาวบ้านเรียกว่า “บ้านคลองคลุ้ง” สาเหตุที่สองของชื่อ “คลองขลุง” สืบเนื่องมาจากบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านคลองขลุงสมัยก่อนจะมีกรเลี้ยงช้างไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อชักลากซุง ชาวบ้านจึงเรียกชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านคลองโขลง” และอีกสาเหตุหนึ่งที่เป็นที่มาของชื่อ “คลองขลุง” คือ บริเวณที่น้ำคลองวังไทรไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปิงสมัยก่อนจะมีจระเข้ และตะโขงเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกหมู่บ้านว่า “บ้านคลองโขง” จากชื่อเรียกตามแหล่งกำเนิดต่างๆ ว่า คลองคลุ้ง, คลองโขลง, คลองโขง ต่อมาจึงเรียกเป็น “คลองขลุง” จนถึงปัจจุบันนี้

เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้เช้าชม 1,097