เจดีย์ยุทธหัตถี

เจดีย์ยุทธหัตถี

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้ชม 3,094

[15.5600708, 98.0424764, เจดีย์ยุทธหัตถี ]

        เจดีย์ยุทธหัตถี หรือเจดีย์เฉลิมพระเกียรติพระเจ้ารามคำแหงมหาราช หรือ ชาวบ้านเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เจดีย์ชนช้าง ตั้งอยู่บนดอยช้าง ตำบลเกาะตะเภา ดอยช้างเป็นเนินดินเล็ก ๆ โบราณสถานที่มีอายุอยู่ในสมัยสุโขทัยราว 700 ปีเศษแห่งนี้ ปรากฏความสำคัญในหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ เมืองตาก ชาวบ้านนิยมเรียกเจดีย์แห่งนี้ว่าเจดีย์ชนช้าง ซึ่งดอยช้างนั้นเป็นเนินดินเล็ก ๆ ที่อยู่ทางเหนือของดอยพระธาตุไปเล็กน้อย และองค์เจดีย์ยุทธหัตถีอยู่เยื้องกับวัดพระบรมธาตุประมาณ 200 เมตร ลักษณะของเจดีย์ยุทธหัตถีแห่งนี้เป็นศิลปะแบบสุโขทัยคล้ายกับเจดีย์องค์อื่นในเมืองสุโขทัย ก่ออิฐถือปูนฐานกว้าง 12 เมตร เป็นเรือนธาตุรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมขึ้นไปสูง 16 เมตร เหนือเรือนธาตุทำเป็นลำสี่เหลี่ยมย่อมุมตลอดถึงยอดที่เป็นทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ และบนยอดสุดมีฉัตร ทั้งนี้องค์เจดีย์ผ่านการซ่อมแซมตลอดมา แต่ไม่เสียทรงเดิม ฐานพุ่มมีลายปั้นเป็นรูปหน้าสิงห์สวยงาม หน้าสิงห์บ้านทิศเหนือยังสมบูรณ์บ้านอื่น ชำรุดและมีรอยซ่อมแซมเช่นกัน อย่างไรก็ตาม สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวถึงเรื่องเจดีย์ยุทธหัตถี ในหนังสืออธิบายระยะทางล่องลำน้ำปิงว่า "มีพระเจดีย์องค์หนึ่งบนดอยช้างเหนือดอยพระธาตุ เรียกว่า พระปรางค์ แต่ที่จริงเป็นพระเจดีย์แบบสุโขทัย เหมือนพระเจดีย์องค์กลางที่วัดเจดีย์เจ็ดแถวเมืองศรีสัชนาลัย และพระเจดีย์ที่วัดกระพังเงิน ในเมืองสุโขทัย พระเจดีย์รูปนี้ที่วัดพระธาตุเมืองกำแพงเพชรก็มีอีกองค์หนึ่ง เข้าใจว่าเป็นฝีมือช่างครั้งกรุงสุโขทัยสร้างไว้ ขนาดสูงตลอดยอดประมาณ 20 วา มีผู้ซ่อมแต่ซ่อมดีไม่แก้รูปเดิม ลายหน้าราหูยังปรากฏอยู่ พระเจดีย์องค์นี้สร้างบนยอดดอยที่ต่ำกว่าดอยที่สร้างพระธาตุ ควรเข้าใจว่าสร้างที่หลังพระธาตุ" สำหรับเรื่องศึกชนช้างนั้น จากหลักฐานศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ได้ระบุว่า เมื่อครั้งพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ อันเป็นวงศ์พระร่วงครองกรุงสุโขทัยนั้น ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดได้เข้ามาตีเมือง พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ตกทัพ พ่อขุนรามคำแหงผู้ราชบุตรจึงเข้าชนช้างกับขุนสามชนจนมีชัยชนะ ข้าศึกแตกพ่ายไป น่าสันนิษฐานว่าพระเจดีย์องค์นี้จะสร้างเป็นของเฉลิมพระเกียรติเรื่องชนช้างคราวนั้น และอาจเป็นที่มาของชื่อ เจดีย์เฉลิมพระเกียรติพระเจ้ารามคำแหงมหาราชแต่พระเจ้ารามคำแหงจะสร้างเองหรือจะสร้างในรัชกาลต่อมานั้น ไม่มีหลักฐานที่ระบุไว้ชัดเจน

คำสำคัญ : เจดีย์ยุทธหัตถี

ที่มา : https://thailandtourismdirectory.go.th/attraction/1764

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). เจดีย์ยุทธหัตถี . สืบค้น 29 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=699&code_db=DB0010&code_type=003

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=699&code_db=610002&code_type=TK005

Google search

Mic

ดอยหลวง

ดอยหลวง

ดอยหลวงตากอยู่ที่ตำบลทุ่งกระเซาะ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ยอดดอยมีความสูง 1,175 เมตรจากระดับน้ำทะเล เส้นทางการเดินมีระยะทาง 11 กม. (ไปกลับ 22 กม.) มีทั้งเดินเลาะ และข้ามลำห้วย เดินในป่า เดินตามสันเขา ตลอดเส้นทางจะพบเจอความหลายหลายทางธรรมชาติ มีทั้งป่าเต็งรัง ป่าสน ทุ่งหญ้า ดงป่ากล้วย เส้นทางมีทั้งช่วงที่เป็นทางราบและทางชัน ส่วนใหญ่ไม่ชันมาก มีจุดที่ชันที่สุดคือจุดก่อนถึงเนินสน คือชันมาก 60-70 องศา ซึ่งจากเนินสนนี้เดินไปไม่ไกลเป็นเนินเขาชมวิว จะเห็นวิวภูเขากว้างมากโดยด้านซ้ายเป็นดอยหลวงตากกับโล้นหลวง ส่วนด้านขวาคือผานางพญา

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 864

วัดพระบรมธาตุบ้านตาก

วัดพระบรมธาตุบ้านตาก

วัดพระบรมธาตุบ้านตาก อยู่ที่ตำบลเกาะตะเภา อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง เดิมวัดแห่งนี้เป็นเมืองตากเก่า ก่อนที่จะมีการย้ายตัวเมืองไปอยู่ที่ตำบลระแหง ตัวเมืองตากในปัจจุบัน ห่างไปทางทิศใต้ประมาณ 30 กิโลเมตร อันมีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ล่องเรือเสด็จไปเมืองลำพูนหยุดพักบริเวณแห่งนี้ พบว่าเป็นเมืองร้าง จึงได้สั่งให้มีการฟื้นฟูบูรณะเมืองแห่งนี้ จนกลายเป็นชุมชนเมืองตาก วัดพระบรมธาตุบ้านตาก ยังปรากฏในศิลาจารึของพ่อขุนรามคำแหง ที่ทรงกระทำยุทธหัตถี ชนะศึกเจ้าเมืองฉอด บนเนินเขาใกล้กับพระบรมธาตุ ประมาณ 500 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 891

เจดีย์ยุทธหัตถี

เจดีย์ยุทธหัตถี

เจดีย์ยุทธหัตถี หรือเจดีย์เฉลิมพระเกียรติพระเจ้ารามคำแหงมหาราช หรือ ชาวบ้านเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เจดีย์ชนช้าง ตั้งอยู่บนดอยช้าง ตำบลเกาะตะเภา ดอยช้างเป็นเนินดินเล็ก ๆ โบราณสถานที่มีอายุอยู่ในสมัยสุโขทัยราว 700 ปีเศษแห่งนี้ ปรากฏความสำคัญในหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ เมืองตาก ชาวบ้านนิยมเรียกเจดีย์แห่งนี้ว่าเจดีย์ชนช้าง ซึ่งดอยช้างนั้นเป็นเนินดินเล็ก ๆ ที่อยู่ทางเหนือของดอยพระธาตุไปเล็กน้อย และองค์เจดีย์ยุทธหัตถีอยู่เยื้องกับวัดพระบรมธาตุประมาณ 200 เมตร ลักษณะของเจดีย์ยุทธหัตถีแห่งนี้เป็นศิลปะแบบสุโขทัยคล้ายกับเจดีย์องค์อื่นในเมืองสุโขทัย

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 3,094

ดอยห้วยทู่

ดอยห้วยทู่

ดอยห้วยทู่ เป็นยอดดอยที่เพิ่งเปิดให้ท่องเที่ยวได้ไม่นาน จึงยังคงมีความเป็นธรรมชาติอยู่มาก และด้วยความสูงราว ๆ 1,200-1300 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ทำให้ยอดดอยแห่งนี้มีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี ตลอดเส้นทางก็จะได้พบกับไร่ข้าวโพด ป่ากล้วย และสวนกาแฟของชาวบ้าน พอขึ้นไปด้านบนระดับสันเขาแล้ว ก็จะเป็นยอดเขาที่มีเพียงทุ่งหญ้า ไม่ค่อยมีต้นไม้ใหญ่ ทำให้สามารถมองเห็นวิวสวย ๆ รอบด้านได้แบบ 360 องศา ส่วนด้านบนบริเวณจุดชมวิวดอยห้วยทู่จะมองเห็นวิวของเทือกเขาน้อยใหญ่ ได้เห็นพระอาทิตย์ตกดินสวยงามสุด ๆ หากโชคดีในช่วงเช้า ๆ ก็อาจจะได้เห็นทะเลหมอกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2021 ผู้เช้าชม 850

ดอยสอยมาลัย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น

ดอยสอยมาลัย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น

ดอยสอยมาลัย เป็นยอดเขาสูงที่สุดของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น ยอดดอยอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 1,600 เมตร จากยอดดอยสามารถมองเห็นอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลได้ และมีสิ่งที่น่าสนใจ คือ สลาแมนเดอร์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จิ้งจกน้ำ เป็นสั ตว์น้ำดึกดำบรรพ์ที่หายาก ลักษณะคล้ายจิ้งจก ลำตัวสีชมพู สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าสนเมืองหนาว มีจุดชมวิวทะเลหมอกในยามเช้า ช่วงปลายฝนต้นหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคมเป็นช่วงที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวที่สุด นักท่องเที่ยวสามารถกางเต็นท์พักแรมได้บริเวณที่ทำการฯ โดยจะต้องขออนุญาตที่หน่วยพิทักษ์ป่ากิ่วสามล้อก่อนขึ้นดอยสอยมาลัยทุกครั้ง 

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 1,099

วัดพระพุทธบาทดอยโล้น

วัดพระพุทธบาทดอยโล้น

เป็นวัดป่าสายปฎิบัติ ภายในวัดบรรยากาศร่มรื่นด้วยป่าเขา มีสิ่งที่น่าสนใจ คือพระมหาสากะยะมุณีศรีสรรเพชร เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่มีพุทธลักษณะงดงามอย่างยิ่ง หน้าตักกว้าง 20 เมตร สูง 38 เมตร ประดิษฐานอยู่บนเนินเขามองเห็นแต่ไกล และรอยพระพุทธบาทที่อยู่บนเขาสูงชันโดยมีมณฑปสร้างครอบไว้ และบริเวณเดียวกันมีบ่อน้ำธรรมชาติที่ชาวบ้านมีความเชื่อถือว่าเป็นบ่อน้ำทิพย์ มีเรื่องเล่าว่าหากผู้หญิงไปตักน้ำในบ่อนี้น้ำจะแห้ง แต่ผู้ชายตักเท่าไรน้ำก็ไม่หมด ดังนั้นเมื่อถึงเดือนเมษายนของทุกปี หลังงานประเพณีสงกรานต์ ชาวบ้านในเขตตำบลท้องฟ้า และชาวอำเภอบ้านตาก จะจัดงานประเพณีเดินขึ้นเขาเพื่อไปไหว้รอยพระพุทธบาท

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 908