ประเพณีปีใหม่ม้ง

ประเพณีปีใหม่ม้ง

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้ชม 899

[16.4547997, 98.6764546, ประเพณีปีใหม่ม้ง ]

ประเพณีปีใหม่ม้งนี้ชาวม้งเรียกกันว่า “น่อเป๊โจ่วฮ์”  แปลตรงตัวได้ว่า “กินสามสิบ” สืบเนื่องจากชาวม้งจะนับช่วงเวลาตามจันทรคติ โดยจะเริ่มนับตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ   ไปจนถึง 30 ค่ำ (ซึ่งตามปฏิทินจันทรคติจะแบ่งออกเป็นข้างขึ้น 15 ค่ำ และข้างแรม 15 ค่ำ) เมื่อครบ 30 ค่ำ จึงนับเป็น 1 เดือน   ดังนั้นในวันสุดท้าย (30 ค่ำ) ของเดือนสุดท้าย(เดือนที่ 12) ของปีจึงถือได้ว่าเป็นวันส่งท้ายปีเก่า   ช่วงวันฉลองปีใหม่ส่วนใหญ่จะตกอยู่ประมาณช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม ในวันดังกล่าวหัวหน้าครัวเรือนของแต่ละบ้าน  จะประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เพื่อความเป็นสิริมงคลของครัวเรือน  ถัดจากวันส่งท้ายปีเก่าไป 3 วัน คือวันขึ้น 1 ค่ำ 2 ค่ำและ 3 ค่ำของเดือนหนึ่ง จัดเป็นวันฉลองปีใหม่อย่างเป็นทางการ  ซึ่งทุกคนจะหยุดหน้าที่การงานทุกอย่างในช่วงวันดังกล่าวนี้ และจะมีการจัดการละเล่นต่าง ๆ ในงานขึ้นปีใหม่ เช่น  การโยนลูกช่วง  การตีลูกข่าง  การร้องเพลงม้ง   การเต้นรำต่างๆ

คำสำคัญ : ประเพณีปีใหม่ม้ง

ที่มา : http://123.242.165.136/?module=acticle&pages=acticle_detail&acti_code=A0000317

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ประเพณีปีใหม่ม้ง . สืบค้น 20 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=676&code_db=DB0016&code_type=001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=676&code_db=610004&code_type=TK003

Google search

Mic

ประเพณีปีใหม่ม้ง

ประเพณีปีใหม่ม้ง

ประเพณีปีใหม่ม้ง  เป็นงานรื่นเริงของชาวเขาเผ่าม้งโดยมีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกๆ ปี  หลังจากได้เก็บเกี่ยวผลผลิตในรอบปีเรียบร้อย และเป็นการฉลองถึงความสำเร็จในการเพาะปลูกของแต่ละปี ซึ่งจะต้องทำพิธีบูชาถึงผีฟ้า- ผีป่า – ผีบ้าน  ที่ให้ความคุ้มครอง  และดูแลความสุขสำราญตลอดทั้งปี  รวมถึงผลผลิตที่ได้ในรอบปีด้วย ซึ่งแต่ละหมู่บ้านจะทำการฉลองกันอย่างพร้อมเพรียงกัน  หรือตามวัน  และเวลาที่สะดวกของแต่ละหมู่บ้าน  ซึ่งโดยมากจะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี  

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 899

ปีใหม่ปว่ากะญอ

ปีใหม่ปว่ากะญอ

ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง หรือเผ่าปว่ากะญอ หรือบางที่ออกเสียงว่า ปากะญอ บ้าง ซึ่งมีที่อยู่อาศัยอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย โดยเฉพาะทางภาคเหนือของไทย จะมีชาวเขาเผ่าปว่ากะญออาศัยอยู่เกือบทุกจังหวัด และอำเภอพบพระ จังหวัดตาก ก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งทีมีชาวเขาเผ่าปว่ากะญออาศัยก่อตั้งหมู่บ้านอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ มีจำนวนมากถึง 12 หมู่บ้าน  

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 996