ประวัติอำเภอแม่สอด

ประวัติอำเภอแม่สอด

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้ชม 4,846

[16.7557014, 98.4335232, ประวัติอำเภอแม่สอด]

 คำขวัญจังหวัด                                                                                           

ธรรมชาติน่ายล ภูมิพลเขื่อนใหญ่ พระเจ้าตากเกรียงไกร เมืองไม้และป่างาม

คำขวัญอำเภอ                                                                                             

เจ้าพ่อพะวอ องอาจ ธรรมชาติแสนสวย ร่ำรวยอัญมณี ชมของดีริมเมย

ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ                                                                                     

ถนนปราสาทวิถี อ.แม่สอด จ.ตาก 63110

หมายเลขโทรศัพท์     0-5553-1077 ต่อ 13

หมายเลขโทรสาร      0-5553-1077 ต่อ 11

 

ข้อมูลทั่วไป

1.ประวัติความเป็นมา                                                                                      

มีหลักฐานว่า เมื่อประมาณ 140 ปีที่ล่วงมา บริเวณที่ตั้งตัวอำเภอแม่สอดปัจจุบันนี้ ได้มีชาวกระเหรี่ยงมาตั้งภูมิลำเนาอยู่เรียกชื่อหมู่บ้านว่า "หมู่บ้านพะหน่อเก" ต่อมามีคนไทยจากจังหวัดต่าง ๆ ในภาคเหนือพากันอพยพมา

ทำมาหากินในบริเวณนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนชาวกะเหรี่ยงเจ้าของถิ่นเดิมได้อพยพไปอยู่ที่อื่น เพราะไม่ชอบอยู่ปะปนกับชนเผ่าอื่นนาน ต่อมาเมื่อประชาชนเพิ่มขึ้นจำนวนมากและมีความเจริญตามลำดับ ทางราชการจึงได้มาตั้งด่านเก็บภาษีอากรขึ้นที่หมู่บ้านพะหน่อเกนี้       โดยย้ายมาจากหมู่บ้านแม่ละเมาซึ่งเป็นเป็นด่านเก็บภาษีดั้งเดิม

       เมื่อปี พ.ศ.2441 ทางราชการจึงได้ยกฐานะหมู่บ้านขึ้นเป็นอำเภอเรียกว่า

"อำเภอแม่สอด" ให้อยู่ในเขตปกครองของมณฑลนครสวรรค์  ต่อมาเมื่อมีการแก้ไขการปกครองใหม่ อำเภอแม่สอดจึงได้เปลี่ยนมาขึ้นกับจังหวัดตาก อำเภอแม่สอดจึงเป็นอำเภอหนึ่งในจำนวน 8 อำเภอ กับ 1 กิ่งอำเภอ

        สำหรับประวัติความเป็นมาของชื่ออำเภอแม่สอดนั้น สันนิษฐานไว้เป็น 3 นัย คือ

  1. กล่าวกันว่า อำเภอแม่สอด เป็นเมืองเดียวกับ "เมืองฉอด" ที่เป็นเมืองหนึ่งซึ่งยังประชิดชายแดนราชอาณาจักรสุโขทัย เมืองฉอดมีเจ้าเมืองปกครองชื่อ "พ่อขุนสามชน" คำว่าเมืองฉอดเรียกกันมานานเข้าอาจกลายมาเป็น "แม่สอด" ก็เป็นได้
  2. อำเภอแม่สอดอาจได้ชื่อมาจากลำห้วยสายสำคัญคือ "ห้วยแม่สอด" ที่ไหลคดเคี้ยว (สอดไปสอดมา) ผ่านหมู่บ้านนี้
  3. แม่สอด อาจมาจากคำว่า "เหม่ช็อค" ในภาษามอญ ซึ่งแปลว่าพม่าตาย

2.เนื้อที่/พื้นที่                                                                                              

1,986.116 ตร.กม.

3.สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป                                                                       

มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และ ฤดูหนาว (อยู่ในเขตอิทธิพลมรสุมเขตร้อนจากทะเลอันดามัน)

 ข้อมูลการปกครอง                                                                                     

1.ตำบล.......10.... แห่ง                                                                                 3.เทศบาล..3.....แห่ง

2.หมู่บ้าน....88.... แห่ง                                                                                 4.อบต........9 ... แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ                                                                                    

1.อาชีพหลัก ได้แก่  ทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ รับจ้าง ค้าขาย ทำสวน

2.อาชีพเสริม ได้แก่-หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

3.จำนวนธนาคาร

 มี 10 แห่ง ได้แก่

ธนาคารกรุงไทย  จำกัด (มหาชน) โทร.055-531193,055-531600

ธนาคารอาคารสงเคราะห์

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำกัด โทร.055-531870

ธนาคารออมสิน โทร.055-531084

ธนาคารนครหลวงไทย  จำกัด (มหาชา) โทร.055-533311,055-533320

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โทร.055-531088,055-531639

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) โทร.055-531020,055-531860

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) โทร.055-531212

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด  (มหาชน) โทร.055-533781-82

ธนาคารทหารไทย จำกัด  (มหาชน) โทร.

4.จำนวนห้างสรรพสินค้า  มี 4 แห่ง

 ด้านสังคม                                                                                                   

1.โรงเรียนมัธยม ได้แก่                                                                               

 - สรรพวิทยาคม

 - แม่ปะวิทยาคม

 - แม่กุวิทยาคม

2.มหาวิทยาลัย ได้แก่                                                                                 

มหาลัยราชภัฎกำแพงเพชรศูนย์อุดมศึกษาแม่สอด โทร.055-531061

วิทยาลัยการอาชีพแม่สอด

ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ                                               

มีแร่สังกะสี 

ด้านประชากร                                                                                             

1.จำนวนประชากรทั้งสิ้น                                                                            รวม 71,522  คน

2.จำนวนประชากรชาย                                                                                รวม 36,881  คน

3.จำนวนประชากรหญิง                                                                              รวม 34,641 คน

4.ความหนาแน่นของประชากร                                                                   คน/ตร.กม.

ด้านการคมนาคม                                                                                        

1.ทางบก                                                                                                    

- รถยนต์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  105 /

- สถานีขนส่ง หมายเลขโทรศัพท์  055-533920,055-532864

- สถานีรถไฟ  หมายเลขโทรศัพท์  -

2.ทางน้ำ                                                                                                     

- ท่าเรือขนส่งโดยสาร 

- ท่าแพขนานยนต์       

3.ทางอากาศ  หมายเลขโทรศัพท์  055 - 563620

ด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม                                                                

1.ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่                                                      

ข้าว/อ้อย/ข้าวโพด/ถั่ว

2.ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่

(แม่น้ำ/บึง/คลอง)                                                                                         -

 แม่น้ำเมย / ห้วยแม่สอด / ห้วยแม่ปะ / ห้วยหินฝน

3.โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่                                                         

บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) สำนักงานเหมืองแม่สอด

 

คำสำคัญ : ประวัติอำเภอแม่สอด

ที่มา : http://www.amphoe.com/menu.php

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ประวัติอำเภอแม่สอด. สืบค้น 24 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=669&code_db=DB0016&code_type=001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=669&code_db=610001&code_type=TK007

Google search

Mic

มะหน่อ ดรุณีแห่งลุ่มน้ำสาละวิน

มะหน่อ ดรุณีแห่งลุ่มน้ำสาละวิน

จังหวัดตากมีพื้นที่ติดต่อกับประเทศพม่า ทางด้านอำเภอฝั่งตะวันตกของเมือง และมีการติดต่อสังพันธ์กันมายาวนานทั้งในด้านการค้ากองคาราวาน และเมืองตากยังตั้งอยู่ใกล้เมืองมะละแหม่ง ซึ่งเป็นเมืองท่าที่สำคัญของรัฐมอญในอดีตอีกด้วย จึงทำให้คนตากใกล้ชิดกับชาวพม่ามากทีเดียว โดยเฉพาะในช่วงหลังมานี้ ชาวพม่าทยอยอพยพเข้ามาเป็นแรงงานในตัวอำเภอแม่สอด และยังลงมายังตัวเมืองตากอีกด้วย คนตากมักเรียกสาว ๆ ดรุณีชาวเมียวดี ที่เข้ามาเป็นลูกจ้างทำงานในเมืองตาก ด้วยสรรพนามเฉพาะถิ่นว่า มะหน่อ บ้าง หน่อบ้าง ซึ่งคำสรรพนามนี้ไม่เห็นเมืองอื่นเขาใช้กันนอกจากที่บ้านเรา นี้อาจจะเป็นเอกลักษณ์ทางภาษาถิ่นก็เป็นไปได้

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 738

ประวัติอำเภอแม่สอด

ประวัติอำเภอแม่สอด

อำเภอแม่สอดเป็นอำเภออยู่ทางซีกตะวันตก (ของแม่น้ำปิง) ของจังหวัดตาก ประวัติความเป็นมามีหลักฐานว่าเมื่อประมาณ 120 ปีที่ล่วงมา (ประมาณปี พ.ศ. 2404 – 2405) บริเวณที่ตั้งอำเภอหรือชุมชนใหญ่ของอำเภอในปัจจุบันนี้ ได้มีชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงตั้งถิ่นฐานทำมาหากิจอยู่ เรียกชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านพะหน่อแก” ต่อมามีคนไทยจากถิ่นอื่นหลายท้องที่ทางภาคเหนือ พากันอพยพลงมาทำมาหากิจในบริเวณหมู่บ้านนี้เป็นจำนวนมาก และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ชาวกะเหรี่ยงเจ้าของถิ่นฐานเดิมซึ่งไม่ชอบอยู่ปะปนกับชนเผ่าอื่นต้องพากันอพยพไปอยู่ที่อื่น หมู่บ้านแห่งนี้ได้เจริญขึ้นตามลำดับ จนทางราชการได้ย้ายด่านเก็บภาษีอากรจากบ้านแม่ละเมา มาอยู่ที่หมู่บ้านพะหน่อแกแห่งนี้ จนถึงปี พ.ศ. 2441 ทางราชการจึงได้ยกฐานะหมู่บ้านขึ้นเป็นอำเภอ เรียกชื่อว่า “อำเภอแม่สอด” ให้อยู่ในเขตปกครองของมณฑลนครสวรรค์ ต่อมาเมื่อมีการมีการ ปรับปรุงแก้ไขระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค อำเภอแม่สอดจึงได้เปลี่ยนมาขึ้นกับจังหวัดตาก

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 4,846

ศาลเจ้าขุนสามชน

ศาลเจ้าขุนสามชน

ศาลเจ้าขุนสามชน กล่าวกันว่าเหตุที่สร้างศาลแห่งนี้สืบเนื่องจากคหบดีผู้หนึ่งได้เจ็บป่วยด้วยโรคอัมพาตมาช้านาน จนมีผู้มาเข้าฝันบอกให้สร้างศาลแห่งนี้ขึ้นตรงพื้นที่ในปัจจุบัน ท่านจึงได้สร้างศาลถวาย และเรียกว่าศาลเจ้าพ่อขุนสามชน นับแต่นั้นมา อาการของคหบดีผู้นั้นก็หายเป็นปลิดทิ้ง เมื่อเรื่องราวนี้ได้แพร่กระจายออกไป ชาวบ้านจึงพากันเดินทางเข้ามาสักการะ และให้ความเคารพศาลนี้กันอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง อย่างไรก็ตาม ศาลเจ้าพ่อขุนสามชนแห่งนี้ มีที่มาที่เกี่ยวพันกับตำนานพ่อขุนสามชน เจ้าเมืองฉอดในอดีตซึ่งก็คืออำเภอแม่ระมาดในปัจจุบัน 

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 1,166

วีรบุรุษพระวอ

วีรบุรุษพระวอ

พะวอ เป็นชื่อของชนชาติกะเหรี่ยง คำนำหน้าว่า พะ ก็คือ นาย คำว่า วอ อาจจะแผลงมาจาก วา แปลว่า ขาว หรือ นายขาว พะวา อาจจะเพี้ยนเสียงมาเป็น พะวอ เมา เป็นขุนเขาที่มีรูโหว่เป็นโพลง รูปจำลองของท่านเจ้าพ่อพะวอ บ่งบอกถึงลักษณะของชายชาตินักรบ ชุดแต่งกายที่สมเกียรติศักดิ์ศรี จากบุคลิกภาพของท่าน แสดงถึงเอกลักษณ์ของนักรบโบราณ ใบหน้าเครียดขึงขังดุดัน เรือนกายกำยำสูงใหญ่ ถือง้าวเป็นอาวุธคู่กาย แต่แววตาแฝงด้วยความเมตตาปรานี ด้วยเหตุที่ท่านเป็นนักรบโบราณ จึงชอบเสียงปืนและประทัดมาก จึงมีผู้ยิงปืนและจุดประทัดถวายทุกครั้ง หรือไม่ก็จะบีบแตร แสดงความคารวะเมื่อสัญจรผ่านไปมา

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 5,221