ประวัติอำเภอเมืองตาก

ประวัติอำเภอเมืองตาก

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้ชม 2,881

[16.8784698, 98.8779104, ประวัติอำเภอเมืองตาก]

คำขวัญจังหวัด

ธรรมชาติน่ายล ภูมิพลเขื่อนใหญ่ พระเจ้าตากเกรียงไกร เมืองไม้และป่างาม

คำขวัญอำเภอ                                                                                             

เมืองพระเจ้าตาก ต้านกระบากใหญ่ รวมชาวเขาเผ่าไทย ประทับใจริมปิง

ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ                                                                                     

ถนนมหาดไทยบำรุง ตำบลหนองหลวง อำเภอเมือง จังหวัดตาก 63000

หมายเลขโทรศัพท์                                                                                       0-5551-1007

หมายเลขโทรสาร                                                                                         0-5551-1007

ข้อมูลทั่วไป

1.ประวัติความเป็นมา                                                                                         

เมืองตากเป็นเมืองลูกหลวงประจำทิศตะวันตกของกรุงสุโขทัยตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกตอนหนึ่งว่า "เมื่อกูขึ้นเป็นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด มาที่เมืองตาก พ่อกูไปรบด้วยขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชนขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อเข้าไพร่ฟ้า หน้าใส" การศึกษาในครั้งนั้น ขุนสามชนพ่ายหนี เมืองตากจึงปลอดภัย

         ในอดีตเมืองตาก มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "เมืองระแหง" ตั้งเมืองเดิม

อยู่ในพื้นที่ตำบลเกาะตะเภา อ.บ้านตาก ทางทิศเหนือของตัวเมืองปัจจุบันขึ้นไปประมาณ 24 กิโลเมตร สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ สันนิษฐานไว้ว่า สาเหตุที่มีการย้ายเพราะที่ตั้งเดิมไม่เหมาะสม เพราะในยามศึกไม่เหมาะสมในการตั้งรับหรือถอยทัพ เนื่องจากมีแนวแม่น้ำปิงขวางกั้นอยู่ โดยเฉพาะข้าศึกพม่าซึ่งมาทางทิศตะวันตก จะถึงตัวเมืองก่อน

          สำหรับที่ว่าการอำเภอเมืองตาก ก็มีการย้ายสถานที่มาหลายครั้งแล้วเช่นกัน ครั้งแรกอยู่รวมกับศาลากลางจังหวัดต่อมา พ.ศ.2499 อาคารสถานที่คับแคบไม่เพียงพอกับความเจริญ จึงย้ายไปสร้างที่ริมถนนพหลโยธิน ซึ่งขณะนี้เป็นที่ตั้งด้านป่าไม้ตาก  เมื่อ พ.ศ.2508 เกิดเพลิงไหม้ที่ว่าการอำเภอเมืองตากเสียหายหนัก จึงย้ายไปเช่าบ้านของหลวงสรรค์บุรานุรักษ์ จนกระทั่ง     พ.ศ.2510 ได้สร้างและเปิดใช้ที่ว่าการอำเภอแห่งนี้นับตั้งแต่ได้ตั้งอำเภอเมื่อ

พ.ศ.2429 จนถึงขณะนี้ มีผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอเมืองตากมาแล้ว จำนวน 39 นาย ถึงปัจจุบัน

2.เนื้อที่/พื้นที่                                                                                               1,599.356 ตร.กม.

3.สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป                                                                       

ลักษณะทางภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม ร้อนจัดในฤดูร้อน หนาวจัดฤดูหนาว

ข้อมูลการปกครอง                                                                                      

1.ตำบล.......10.... แห่ง                                                                                 3.เทศบาล..2.....แห่ง

2.หมู่บ้าน....104.... แห่ง                                                                               4.อบต........9 ... แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ

                                                                                                                   

1.อาชีพหลัก ได้แก่

เกษตรกรรม อ.เมืองตากมีพื้นที่การเกษตรกรรมทั้งสิ้น 890,409.25 ไร่ มีครัวเรือน ทั้งหมด 22,536 ครัวเรือน (รวมครัวเรือนในเทศบาล) เป็นครัวเรือนเกษตรกร 9,218 ครัวเรือน คิดเป็น 40% ของครัวเรือนทั้งหมด แบ่งพื้นที่การเกษตรเป็นพื้นที่ต่าง ๆ จำนวน 8,948 ครอบครัว                                   -

3.จำนวนธนาคาร

 มี 10 แห่ง ได้แก่

ธ.กรุงเทพ โทร.055-512390

ธ.กรุงศรีอยุธยา โทร.055-533781

ธ.ทหารไทย โทร.055-512097

ธ.ไทยพาณิชย์ โทร.055-541430

ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์ โทร.055-511286

ธ.กรุงไทย โทร.055-511116

ธ.กสิกรไทย โทร.055-511111

ธ.นครหลวง โทร.055-511275

ธ.ออมสิน โทร.055-511147

ธ.อาคารสงเคราะห์ โทร.055-515951

4.จำนวนห้างสรรพสินค้า                                                                           

มี 3 แห่ง

ด้านสังคม                                                                                                   

1.โรงเรียนมัธยม ได้แก่  โรงเรียนตากพิทยาคมตาก โทร.055-511134

โรงเรียนผดุงปัญญาตาก โทร.055-511135

โรงเรียนถนอมราษฎร์บำรุง โทร.055-511762

2.มหาวิทยาลัย ได้แก่ วิทยาลัยลุ่มแม่น้ำปิง โทร.055-515141

สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตตาก โทร.055-515900

ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ                                               

  1. ทรัพยากรดิน การใช้ประโยชน์ได้ 3 ด้าน คือ ดินเหมาะสำหรับปลูกพืชไร่ การทำนาและการปลูกผลไม้ และดินที่ไม่เหมาะสมแก่การเกษตร คือ เนื้อดินเป็นทรายมีชั้นหินศิลาแลง ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเนินเขา และเทือกเขาสูง
  2. ทรัพยากรน้ำ แม่น้ำปิง มีต้นน้ำอยู่ในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ไหลผ่านตลอดแนวอำเภอ เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของอำเภอเมืองตาก
  3. ทรัพยากรป่าไม้ อำเภอมีพื้นที่ป่าไม้สำคัญ ได้แก่ ไม้สัก ไม้กระยาเลย และไม้เบญจพรรณ คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 80%
  4. ทรัพยากรแร่ธาตุ อำเภอเมืองตากมีแร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ แร่เฟลด์สปาร์พบในตำบลวังประจบ แร่ผลูออไรด์ พบในตำบลวังหิน หินอ่อน พบในตำบลบัวเหนือ หินปูน พบในตำบลป่ามะม่วง และตำบลแม่ท้อ

ด้านประชากร                                                                                             

1.จำนวนประชากรทั้งสิ้น                                                                            รวม 99,977  คน

2.จำนวนประชากรชาย                                                                                รวม 49,770  คน

3.จำนวนประชากรหญิง                                                                              รวม 50,207 คน

4.ความหนาแน่นของประชากร                                                                   62 คน/ตร.กม.

ด้านการคมนาคม                                                                                        

1.ทางบก                                                                                                     - รถยนต์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  1 (ถนนพหลโยธิน)

- สถานีขนส่ง หมายเลขโทรศัพท์  0-5551-2786

2.ทางน้ำ- ท่าเรือขนส่งโดยสาร 

- ท่าแพขนานยนต์       

3.ทางอากาศ- ท่าอากาศยาน             หมายเลขโทรศัพท์  0-5551-2603 , 0-5551-4057

ด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม                                                                

1.ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่                                                      

ข้าว ลำไย ข้าวโพด อ้อย ฯลฯ

2.ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่

      (แม่น้ำ/บึง/คลอง)   แม่น้ำปิง

3.โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่                                                       

โรงงานผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน)

ถ.พหลโยธิน ต.หนองบัวใต้ อ.เมือง จ.ตาก

คำสำคัญ : ประวัติอำเภอเมืองจังหวัดตาก

ที่มา : http://www.amphoe.com/menu.php

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ประวัติอำเภอเมืองตาก. สืบค้น 18 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=658&code_db=DB0006&code_type=R001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=658&code_db=610001&code_type=TK001

Google search

Mic

ซิ่นต๋า งามเหนือกาลเวลาที่ วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง

ซิ่นต๋า งามเหนือกาลเวลาที่ วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง

วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง เป็นวัดโบราณที่อยู่คู่ชุมชนริมแม่น้ำปิงที่เมืองตากมาช้านาน ดังปรากฏจากพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระวชิรญาณวโรรส ที่เสด็จขึ้นมายังหัวเมืองตาก ในคราวนั้นทรงกล่าวถึงความงามของพระอุโบสถวัดพร้าว และวัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง ว่างานสถาปัตยกรรมพื้นที่งดงาม ซึ่งในระยะต่อมาอุโบสถวัดพร้าว ได้ผาติการามไปสร้างที่เมืองโบราณ จังหวัดสุมทรปราการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เหลือสถาปัตยกรรมพื้นที่ที่ยังคงยืนยงเหนือกาลเวลาเพียงแห่งเดียวที่เมืองตาก คือ วัดโบสถมณีศรีบุญเรือง ภายในพระวิหารยังปรากฏภาพเขียนที่งดงามเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับทศชาติของพระพุทธเจ้า ตลอดจนสอดแทรกวิถีชีวิตของชาวเมืองตากเมื่อราวร้อยปีมาแล้วให้ระลึกถึงบรรพบุรษคนเมืองตากที่เกิดแรงบันดาลสร้างสรรค์งานศิลปกรรมชิ้นเอกคู่ท้องถิ่นของเรา

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 499

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

นักประวัติศาสตร์ชี้ชัดว่า ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญที่สุดของกระบวนการสร้างชาติจนสามารถพัฒนามาเป็นประเทศไทยในทุกวันนี้ได้คือ ช่วงเวลาหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองในปี พ.ศ.2310 ขณะนั้นอาณาจักรได้เกิดการแตกแยกออกเป็นสี่ส่วนใหญ่ๆ ตามภาค คือ พิษณุโลกคุมภาคเหนือ นครศรีธรรมราชมีอำนาจในภาคใต้ทั้งหมด นครราชสีมาและพิมาย มีอิทธิพลครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จันทบุรีเป็นหัวเมืองใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันออก ส่วนเชียงใหม่ตกเป็นของพม่าเรียบร้อยแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 1,011

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 3) “ศึกอะแซหวุ่นกี้”

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 3) “ศึกอะแซหวุ่นกี้”

หลังจากเมืองเชียงใหม่แตก พระเจ้ามังระ ทรงเดือดดาลเป็นอย่างยิ่ง แผนการรวบแผ่นดินไทยให้เป็นส่วนหนึ่งของพม่าต้องพังทลายลง ทรงบัญชาให้อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพมือหนึ่ง ยกทัพเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เมืองตาก แต่การบุกจากด้านเหนือจะต้องผ่านหัวเมืองสำคัญหลายเมือง และเมืองที่เป็นอุปสรรคต่อทัพพม่ามากที่สุด ก็คือพิษณุโลก

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 1,997

โทรเลข

โทรเลข

การสื่อสารที่แสนทันสมัยในยุครัชกาลที่ 5 จังหวัด ตากเป็นเมืองที่มีอาณาเขตทางฝั่งตะวันตกในอำเภอแม่สอดติดกับประเทศพม่าสามารถเดินทางต่อไปยังเมืองท่ามะละแหม่ง ตากจึงเป็นชุมทางโทรเลขที่สำคัญมากที่สุดในการติดต่อกับชาติตะวันตกในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ภายหลังความนิยมใช้โทรเลขก็ลดบทบทลงตามสมัยนิยม เหลือไว้เพียงชื่อหมู่บ้านที่เป็นชุมทางโทรเลข เช่น ในเมืองตากย่านตรอกบ้านจีน ยังเคยเป็นชุมทางไปรณีย์ที่สำคัญในเมืองตาก เป็นที่ตั้งของเสาโทรเลขชาวตากจึงเรียกย่านนั้นว่า บ้านเสาสูง

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 396

ปี่พาทย์รามัญ ลมหายใจรามัญแห่งลุ่มแม่น้ำปิงที่เมืองตาก

ปี่พาทย์รามัญ ลมหายใจรามัญแห่งลุ่มแม่น้ำปิงที่เมืองตาก

เมืองตากมีความใกล้ชิดกับเมืองพม่าอันเป็นเมืองท่าของมอญส่งผลให้เกิดการอพยพโยกย้ายเข้ามาของมอญ เมื่อมอญอพยพเข้ามาจึงมาอพยพโยกย้ายเข้ามาของกลุ่มนักดนตรีมอญด้วย หรือวงปีพาทย์รามัญ หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างชุมชนต่าง ๆ ในเมืองตาก ยังมีปรากฏจากจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 5 ที่วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง ที่แสดงให้เห็นร่องรอยของผู้คนในเมืองตากที่สัมพันธ์กัน ในปัจจุบันยังคงพบวงดนตรีปีพาทย์มอญที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษหลงเหลืออยู่เป็นประจักษ์พยานการตั้งถิ่นฐานย่านชุมชนมอญที่เมืองตาก

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 859

พระเจ้าเลียบโลก กับนามภูมิสถานที่บ้านเรา

พระเจ้าเลียบโลก กับนามภูมิสถานที่บ้านเรา

ที่มาชื่อ หมู่บ้าน ภูเขา ห้วยหนอง ลำคลองบึง เป็นเครื่องบ่งชี้การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธ์ บ่งชี้ระบบนิเวศวิทยา บางทียังโยงกับเรื่องทางพุทธศาสนาอีกด้วย ในจังหวัดของเรามีตำนานพระเจ้า(พระพุทธเจ้า)เสด็จมาโปรดฯ หลายแห่ง ซึ่งส่วนมากล้วนผูกโยงกับพุทธศาสนา ดังเช่น ตำนานการสร้างเจดีย์ แห่งวัดพระบรมธาตุ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก (เมืองตากเดิมในสมัยสุโขทัย - อยุธยาต้อนต้น) ในส่วนเมืองตากปัจจุบัน (ฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิง) พบตำนานพระเจ้าเลียบโลกเช่นเดียวกัน ผ่านทางตำนานที่มาของชื่อภูเขาลูกหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของตัวเมืองตาก เราเรียกกันว่า "เขาพระเมิน"

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 510

รถคอกหมู หมุดหมายการเปลี่ยนผ่านของเมืองตาก

รถคอกหมู หมุดหมายการเปลี่ยนผ่านของเมืองตาก

รถโดยสารที่มีตัวถังของรถสร้างด้วยไม้ด้านในกรุพื้นด้วยไม้ด้านบนในห้องผู้โดยสารทำไม้เป็นระแนง เป็นรถยอดนิยมที่ขนถ่ายผู้คนจากนอกเมืองตากเพื่อเข้ามายังย่านการค้าแห่งใหม่ย่านตลาดริมน้ำ ผู้คนเรียกขานตามรูปลักษณ์ที่พบเห็นว่า "รถคอกหมู" ปัจจุบันยังคงพอจะเห็นรถคอกหมูวิ่งไปมาในย่านตัวเมืองอยู่บ้าง เพื่อให้ระลึกถึงช่วงการเปลี่ยนผ่านของเมืองเป็นหมุดหมายกาลเวลาที่อีกไม่นานคงเหลือให้ชมจากภาพก็น่าจะเป็นได้

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 630

ศาลากลางเมืองตาก ความทรงจำสีจางๆ ของอาคารเก่าที่เราคิดถึง

ศาลากลางเมืองตาก ความทรงจำสีจางๆ ของอาคารเก่าที่เราคิดถึง

ภาพศาลากลางจังหวัดตากปี พ.ศ.2479 ภายหลังมีการย้ายศูนย์ราชการไปพร้อมกับการตัดถนนพหลโยธิน ส่งผลให้ศาลากลางหลังเดิม ถูกเปลี่ยนเป็นเทศบาลเมืองตาก ภายหลัง อาคารหลังนี้ถูกรื้อไปแล้วน่าเสียดายอาคารมาก เนื่องจากเป็นอาคารไม้สัก ทั้งอาคารหลังนี้เคยรับเสด็จรัชกาลที่ 6 ด้วย สมัยดำรงพระอิสริยศเป็นมงกุฎราชกุมารในสมัยรัชกาลที่ 5 และน่าจะเคยรับเสด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพด้วย เพราะยังพบหลักฐานนาฬิกาโบราณที่มีชื่อพระนามสลักติดไว้ ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์เมืองตากจวนผู้ว่าเก่า น่าเสียดายที่กระแสการอนุรักษ์อาคารโบราณเพิ่งจะได้รับความสนใจเมื่อไม่นานมานี้เอง มิเช่นนั้นคงจะมีท่างออกที่ดีในด้านการอนุรักษ์

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 990

มังรายศาสตร์ ฉบับวัดไม้งามหลวง มรดกวัฒนธรรมเมืองชายขอบแห่งล้านนา

มังรายศาสตร์ ฉบับวัดไม้งามหลวง มรดกวัฒนธรรมเมืองชายขอบแห่งล้านนา

กฎหมายมังรายศาสตร์เป็นการกล่าวถึงวิธีพิจารณาความและตัดสินความในแง่มุมต่าง ๆ ของคนในล้านนา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการสั่งสม ถ่ายทอด และเกิดเป็นวัฒนธรรมที่มีรูปแบบอันเป็นอัตลักษณ์ของตนเอง และกระจายแนวคิดดังกล่าวไปยังเมืองโดยรอบที่รับวัฒนธรรมล้านนา จึงส่งผลให้เมืองตากมีความเป็นเมืองลูกผสมระหว่างวัฒนธรรมลุ่มน้ำปิงตอนบนและวัฒนธรรมปิงตอนล่างที่รับวัฒนธรรมขั้นใหญ่มาจากลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่แสดงให้เห็นวัฒนธรรมเมืองชายตะเข็บแห่งล้านนาที่เห็นได้ง่ายคือ การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชนลาว วัฒนธรรมอาหาร วัฒนธรรมการพูด(ปากลาว) ประเพณีที่เป็นแบบไทย ๆ ลาว ๆ และการถ่ายทอดด้านภาษาเขียนหรือตัวธรรมล้านนา

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 794

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2)

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2) "สงครามรวมชาติ"

สงครามรวมชาติครั้งแรกของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เริ่มต้นด้วยการเลือกตีเมืองที่แข็งแกร่งที่สุด คือพิษณุโลกก่อน ด้วยมีพระราชดำริว่า ถ้าทำสำเร็จ การรวมหัวเมืองอื่นๆ ต่อจากนั้นก็น่าจะเป็นการง่ายขึ้น แต่เจ้าพระยาพิษณุโลกมีความสามารถทางการรบสูง ส่งทัพมาดักรอโจมตี บริเวณปากน้ำโพนครสวรรค์ และเกิดการปะทะกันขึ้น สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จออกนำหน้า และทรงถูกกระสุนปืนได้รับบาดเจ็บ ทำให้ต้องถอนทัพกลับกรุงธนบุรีโดยด่วน การชิงเมืองครั้งแรกล้มเหลว

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 2,043