เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์

เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้ชม 3,037

[16.4765142, 99.5057206, เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์]

ประวัติความเป็นมา 
            ด้วยระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี คุณเสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ ผู้เป็นต้นกำเนิดเฉาก๊วยชากังราว แห่งเมืองกำแพงเพชร ได้สร้างชื่อเสียงเฉาก๊วยจนประสบความสำเร็จ โดยมีตัวแทนจัดจำหน่ายไปทั่วประเทศ รวมทั้งยังเป็นที่ยอมรับมากกว่าเฉาก๊วยรายอื่นๆ ในปัจจุบันด้วยจุดเด่นสำคัญคือการสร้างแบรนด์ อย่างเป็นระบบทั้งยังอาศัยการลงแรงมากกว่าการลงทุน
            อดีตคุณเสริมวุฒิ คือเจ้าหน้าที่ขับรถยนต์ของสำนักงานการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) กำแพงเพชร ซึ่งทำให้มีโอกาสเดินทางไปยังที่ต่างๆ ด้วยเหตุนี้เองทำให้คุณเสริมวุฒิได้มีโอกาสเห็นสินค้าต่างๆ มากมายและเกิดความคิดที่จะซื้อสินค้าติดไม้ติดมือเพื่อนำมาจำหน่ายหารายได้จุนเจือครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการขายเฟอร์นิเจอร์ ขายบ้านเรือนเก่า เรียกว่าอะไรที่ทำได้ ทำแล้วไม่ผิดกฎหมาย จะทำทุกอย่าง จนสามารถเก็บหอมรอบริบได้เงินก้อนหนึ่งมาลงทุนเปิดร้านอาหารเล็กๆตามกำลังทรัพย์ที่มีด้วยความสามารถทางด้านการทำกับข้าวซึ่งเป็นทั้งพรสวรรค์และพรแสวงทำให้ร้านเล็กๆแห่งนี้มีลูกค้าประจำมากพอสมควร ทว่าด้วยงานประจำที่เป็นคนขับรถทำให้ไม่มีเวลาดูแลร้านด้วยตนเองประกอบกับปัญหาเรื่องสุขภาพ ซึ่งแม้ว่าจะขายดีมาก แต่ก็เหนื่อยมากเพราะตี 4 ต้องตื่นแล้ว เพื่อเตรียมของให้ลูกน้องขายขายดี แต่เงินไม่ค่อยเหลือเพราะเราไม่ได้ควบคุมการขายเอง เราเตรียม ลูกน้องขาย ช่วงเที่ยงและเสาร์-อาทิตย์เท่านั้นที่เราจะมาช่วยขายได้ ทำได้ประมาณ 1 ปีก็เลิก

จุดเริ่มต้นของเฉาก๊วยชากังราว
            
วันหนึ่งลูกชายของคุณเสริมวุฒิ ที่เพิ่งจบการศึกษาก็มาบอกกับผู้เป็นพ่อว่าจะไปทำงานกับเพื่อนคนหนึ่งซึ่งดำเนินธุรกิจทำเฉาก๊วย  ด้วยความที่เห็นว่าเป็นเรื่องดี คุณเสริมวุฒิ จึงแนะนำให้ลูกทดลองดู และอย่าไปเลือกงาน ทุกงานล้วนเป็นอาชีพถ้าสามารถเข้าใจงานได้อย่างถ่องแท้ ก็จะสามารถนำมาสร้างธุรกิจเองได้ในอนาคต
            จนเวลาผ่านไปสองเดือนพ่อลูกครอบครัวสุวรรณโรจน์จึงไปซื้อเฉาก๊วยมาลองทำกันดู ผลปรากฏว่าก็สามารถทำขายได้แต่รสชาติไม่แตกต่างกับท้องตลาดมากนัก กระทั่งวันหนึ่ง เสริมวุฒิได้รับการแนะนำจากเพื่อนรุ่นพี่ให้อ่านบทความเกี่ยวกับเรื่องเฉาก๊วยในวารสารชมรมเทคโนโลยี ทางอาหารและชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้เขาเริ่มมองเห็นอะไรบางอย่าง ด้วยความรู้จากบทความผสานกับประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดจากลูกชายทำให้เขาลองมาทำเฉาก๊วยด้วยสูตรที่แตกต่างจากของเดิม
            "จากนั้นผมจึงนำเฉาก๊วยชื่อดังจากที่อื่นๆมาใส่ถ้วยโดยไม่บอกใครและให้คนรู้จักลองมากินเพื่อเปรียบเทียบรสชาติโดยไม่บอกว่าทั้งสองถ้วยนี้มาจากไหน ทุกคนที่ได้ชิมก็จะบอกว่าเฉาก๊วยถ้วยที่ผมทำนั้นรสชาติดีกว่า ทำให้เรามั่นใจที่จะนำเฉาก๊วยสูตรใหม่ออกวางตลาด"
            อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะสามารถผลิตเฉาก๊วยสูตรของตัวเองออกมาได้ แต่คุณเสริมวุฒิก็ยังคงทำงานประจำและด้วยหน้าที่ทำให้วันหนึ่งต้องขับรถยนต์ไปงานศิลปหัตถกรรมภาคเหนือ ที่จังหวัดลำพูน จึงขออนุญาตผู้อำนวยการกศน.กำแพงเพชร ที่จะนำสินค้าของตนเองไปวางจำหน่ายในงานซึ่งทางผอ.ก็ยินดีสนับสนุนขอเพียงไม่บกพร่องต่อหน้าที่
            ซึ่งในงานนี้ถือเป็นการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของคุณเสริมวุฒิอย่างเป็นทางการ และได้รับผลตอบลัพธ์ที่ดี ซึ่งคุณเสริมวุฒิ ได้ให้เหตุผลว่า "เราไม่ได้ขายเฉาก๊วยธรรมดาแต่ขายเฉาก๊วยสดเพราะเราเอาเฉาก๊วยไปเคี่ยวในงานให้ทุกคนเห็น หลายคนเห็นก็สนใจว่านี่หรือคือต้นเฉาก๊วย เมื่อทุกคนมั่นใจในวิธีการผลิตผมก็ตักลองให้ลูกค้าลองชิม คุณเชื่อไหมลูกค้าแทบทุกคนติดใจซื้ออีกแก้วทันที ตอนนั้นเราขายแก้วละ 7 บาท วันนั้นก็มีนักข่าวสถานีวิทยุลำพูนมาถ่ายรูปผม ซึ่งเราก็ไม่คิดอะไร วันรุ่งเช้าเขาก็เอาร้านผมซึ่งไปในนามกศน.กำแพงเพชรไปประชาสัมพันธ์ออกเสียงทั่วทั้งจังหวัดทำให้วันที่สองมีลูกค้ามามากขึ้นกว่าเดิม"

ชื่อเสียงเริ่มมากขึ้น
            
ชื่อเสียงเริ่มโด่งดังก็มีพ่อค้าที่เพชรบูรณ์โทร.มาติดต่อซื้อเฉาก๊วยของเขาไปขายถึง 2,000 ถุงซึ่งถือว่ามากในขณะนั้นเพราะต้องใช้แรงงานภายในครอบครัวเป็นหลักทำให้เขาต้องไปช่วยลูกค้าขายในงานอุ้มพระดำน้ำซึ่งเป็นงานประจำปีที่เพชรบูรณ์ที่มี ซึ่งมี สมศักดิ์ เทพสุทิน อดีตส.ส.สุโขทัย เป็นประธานเปิดงาน
            "คุณสมศักดิ์เขาก็มาดูแต่ละร้านขายของ พอมาถึงผมๆก็ยื่นเฉาก๊วยให้ท่าน รู้เลยว่าท่านรับแบบเสียมิได้จากนั้นท่านก็เดินไปยังที่อื่นๆผมก็ยังมองตามเลย แต่พอท่านลองได้ชิมเฉาก๊วยแล้วคุณรู้หรือเปล่าท่านเดินกลับมาที่ร้านผมทันทีแล้วเอ่ยปากชมว่าเฉาก๊วยอร่อยมาก ทำให้ผมกับท่านได้มีโอกาสพูดคุยกันสักเพียงเท่านี้แหละเฉาก๊วยเราขายดีเสมือนกับแจกฟรีเพราะทั้งข้าราชการ ผู้ติดตาม ประชาชนต่างก็มาอุดหนุนที่ร้านเพียง 3 ชั่วโมงก็ขายหมด 2,000 ถุง"

เลือกทางเดินสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจ
            
จากผลตอบลัพธ์ที่ดีทำให้คุณเสิรมวุฒิ เชื่อว่าได้เดินมาถูกทางแล้วและธุรกิจนี้แหละที่จะสร้างฐานะของตนเองให้ดีขึ้นอย่างแน่นอน แม้ว่าทุกวันนี้เวลาออกงานทุกอย่างล้วนมาจากการหยิบยืมไม่เฉพาะแต่เงินทุน กระทั่งคูลเลอร์น้ำ หม้อ อุปกรณ์ต่างๆล้วนแต่อาศัยเครดิตที่ตนเองเป็นคนดีน่าเชื่อถือ จึงคิดที่จะจริงจังในการทำธุรกิจ เพราะไม่อยากให้เสียทั้งสองงาน ซึ่งขณะนั้นรายได้จากการขายเฉาก๊วยเดือนนึงรวมกันแล้วมากกว่ารายได้จากการรับราชการ จนกระทั่งปลายปี 2544 เขาก็มาถึงจุดที่ต้องเลือกว่าจะรับราชการ หรือจะทำเฉาก๊วยขายสุดท้ายเขาก็ตัดสินใจลาออกจากราชการ เพื่อมาทำธุรกิจ “เฉาก๊วยชากังราว” ของตนเองอย่างเต็มเขาเริ่มต้นชีวิตใหม่ในฐานะนายของตนเองด้วยการเข็นเฉาก๊วยขายในตลาด แต่เมื่อเห็นว่ายอดขายก็ยังไม่สูงมากส่วนหนึ่งเพราะคู่แข่งก็เยอะ จึงหาตลาดใหม่พร้อมปรับกลยุทธ์การนำเสนอที่แตกต่างจากรายอื่นๆ
            "ผมเป็นข้าราชการมาก่อนย่อมรู้จักหน่วยงานราชการมากตรงนี้เป็นจุดแข็งของเรา ผมก็มานั่งวิเคราะห์ว่าจะทำอย่างไรต่อไปก็มาได้คำตอบว่าเราก็นำตรงนี้มาเป็นฐานข้อมูลในการเข้าหาลูกค้าโดยผมเลือกวันไปประมาณ 3-4 วันก่อนสิ้นเดือน เมื่อไปหาลูกค้าเราก็นำเสนอสินค้าให้กับเขาโดยเสนอครั้งละแพ็ก (หนึ่งแพ็กจะมี10 ถุง ราคา 50 บาท)จากนั้นก็บอกเขาว่าเราจะมาเก็บเงินช่วงสิ้นเดือน ส่วนใหญ่ก็ยินดีช่วยซื้อ จนสิ้นเดือนเราก็มาเก็บเงินลูกค้าในหน่วยงานราชการ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมีการสั่งซ้ำพร้อมจ่ายเงินสดเนื่องจากทุกคนที่ได้ชิมแล้วก็ติดใจในรสชาติ แต่ไม่สะดวกในการเข้ามาซื้อในตลาดจึงรอให้เราเข้ามาส่งจะดีกว่า"
            เมื่อมีฐานลูกค้ามากขึ้นเขาจึงสร้างชื่อให้เฉาก๊วยสูตรใหม่ว่า "เฉาก๊วยชากังราว" ถ้าเสริมวุฒิพอใจกับยอดขายในตลาดหรือในหน่วยงานราชการแบรนด์ชากังราวก็คงจะไม่โด่งดังจนถึงทุกวันนี้

 บททดสอบเจ้าของธุรกิจ
            
คุณเสริมวุฒิมีคติในการทำงาน คือ ความซื่อสัตย์และจริงใจกับคู่ค้าทุกคน แต่บ่อยครั้งพบว่าคู่ค้าที่ทำธุรกิจกับเขาปราศจากความซื่อสัตย์ ครั้งหนึ่งมีพ่อค้าเชื้อสายเวียดนามมาติดต่อขายเฉาก๊วยให้ เขาจึงนำตัวอย่างเฉาก๊วยจากพ่อค้าคนนั้นมาทดลองทำ ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จึงสั่งพ่อค้าคนนั้นให้นำเฉาก๊วยมาส่งให้ 1 ตัน มูลค่าสินค้ากว่า 100,000 บาท พอนำมาใช้จริงปรากฏว่าเฉาก๊วยให้ยางดีมาก แต่ยางไม่เหนียว กวนแล้วเฉาก๊วยเละเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้คุณเสริมวุฒิเครียดไปหลายวัน เมื่อสอบถามกลับไปยังพ่อค้าๆ บอกว่าเฉาก๊วยที่ส่งมาให้เป็นคนละเกรดกับที่ส่งไปให้ทดลองในครั้งแรก คุณเสริมวุฒิจึงให้พ่อค้าส่งของมาให้ใหม่ โดยเอาเกรดเดียวกับที่นำมาให้ทดลอง พอพ่อค้านำของมาส่งเสร็จเรียบร้อย คุณเสริมวุฒิก็ให้พ่อค้ายกของเดิมกลับไป โดยจ่ายเงินส่วนต่างเพิ่มให้อีกนิดหน่อย เขาบอกว่าที่ต้องทำอย่างนี้ดีกว่าต้องมาแบกภาระค่าใช้จ่ายกับของที่ซื้อมาแล้วใช้ไม่ได้ หลังจากนั้นเขาก็ไม่สั่งเฉาก๊วยกับพ่อค้ารายนี้อีกเลย เพราะถือว่าไม่มีความซื่อสัตย์ในการทำธุรกิจร่วมกั ซึ่ง คุณภาพ…คือหัวใจของการผลิต การผลิตเฉาก๊วยให้มีคุณภาพดีอย่างสม่ำเสมอนั้น กระบวนการผลิตต้องเริ่มจากการคัดเลือกต้นพันธุ์เฉาก๊วยคุณภาพ นำมาเคี่ยวเอายาง ถ้านำต้นเฉาก๊วยที่มีคุณภาพไม่ดีมาใช้ในการผลิต นอกจากจะได้ยางเฉาก๊วยที่ไม่ดีแล้ว กระบวนการผลิตเฉาก๊วยในครั้งนั้นก็จะเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์อีกด้วย 

การตลาดเริ่มต้น : เครือข่ายที่แข็งแรง
            
คุณเสริมวุฒิสร้างรถเข็นเฉาก๊วยชากังราวขึ้นมาพร้อมกับความตั้งใจที่จะแสวงหาตัวแทนขายใน 17 จังหวัดภาคเหนือตอนบนและตอนล่างโดยการเข็นขายไปในทุกๆจังหวัดยกเว้นแม่ฮ่องสอนนับระยะทางในการเดินทางแล้วไปกว่า 1 พันกิโลเมตรโดยใช้ระยะเวลาในการเดินทางหลายเดือนเพื่อที่จะได้เห็นพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างถ่องแท้ในแต่ละจังหวัด
            ที่สำคัญยังเป็นการเปิดตัวเฉาก๊วยชากังราวให้เป็นที่รู้จักกันในภาคเหนือโดยเขาจะเข้าไปขายในเขตชุมชนแต่ละจังหวัดเพื่อหาตัวแทนขายซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าวประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในแต่ละจังหวัด นอกจากกำไรที่ตัวแทนเหล่านี้จะได้รับแล้วโดยวางเป้าหมายยอดขายเดือนละ3 แสนบาทเขาจะได้ทองหนัก 1 บาทเป็นรางวัลทำให้ทุกคนต่างมีกำลังใจที่จะสร้างยอดขายให้สูงมากขึ้น
            "ผมจะมีการประชุมกับเครือข่ายของเราอย่างต่อเนื่องและพยายามถ่ายทอดความรู้ทางการตลาดและการขายที่มีประสิทธิภาพให้กับเขาซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้ผมได้พิสูจน์ด้วยตนเองแล้วว่าสามารถใช้ได้จริง เช่น ไปเช่าพื้นที่ในร้านอาหารนำเฉาก๊วยไปวางจำหน่ายในร้านอาหารช่วงแรกลูกค้าไม่รู้จักเราก็ต้องให้เขาชิมฟรีก่อน สมมติลูกค้ามานั่ง 2 คน เราก็ต้องนำเฉาก๊วยใส่ถ้วยไปให้เขาลองชิมฟรีเชื่อว่าทุกคนก็ต้องชิมเพราะกำลังหิว และส่วนใหญ่ก็จะติดใจพอกินข้าวเสร็จก็สั่งเฉาก๊วยเรามาเป็นของหวาน เทคนิคเหล่านี้ที่ผมใช้สอนเครือข่ายของเรา"
            เมื่อประสบความสำเร็จในภาคเหนือ เขาก็เริ่มทำตลาดในภาคอีสานแต่ในขณะนั้นชื่อเสียงของเฉาก๊วยชากังราวก็โด่งดังเป็นที่รู้จักโดยผ่านหลายๆสื่อที่ได้มีโอกาสมาชิมรสชาติแสนอร่อยของเฉาก๊วยที่นี่การทำตลาดในอีสานจึงไม่เป็นเรื่องยากเช่นเดียวกับการทำตลาดในภาคกลาง 

สร้างแบรนด์ผ่านรสชาติ
            
สำหรับเคล็ดลับในสร้างแบรนด์ของเฉาก๊วยชากังราว เสริมวุฒิ กล่าวไว้ว่า "การตลาดของผมยึดหลักที่ว่าผมจะไปในที่ที่ไม่มีใครดัง และจะเด่นในที่ไม่มีใครเด่น" ด้วยเหตุนี้การตลาดของเสริมวุฒิก็คือการเข้าไปวางสินค้าในจุดเล็กที่ทุกคนเข้าไปแล้วเห็นสินค้า จากนั้นเขาจะเป็นผู้แนะนำสินค้าด้วยตนเองให้ลูกค้าได้รู้จักโดยมุ่งเน้นเทคนิคการนำเสนอเช่นการเคี่ยวยางเฉาก๊วยโชว์ในงานแฟร์ต่างๆ หรือ การนำต้นเฉาก๊วยมาให้ลูกค้าได้เห็นเพื่อตอกย้ำความเป็นมืออาชีพในด้านนี้
            "ผมให้ความสำคัญกับการตลาดและเรื่องของแบรนด์ก็จะตามมาเพราะถ้าเราประสบความสำเร็จทางการตลาดชื่อเสียงของแบรนด์ย่อมได้รับการยอมรับไปด้วย เฉาก๊วยชากังราวเริ่มต้นจากวัตถุดิบที่มีคุณภาพ สินค้าที่มีเอกลักษณ์และแตกต่างกับคู่แข่งอย่างที่ลูกค้าทุกคนรู้สึกได้ ถ้าเขาเคยชิมของเราจะรู้เลยว่านี่คือเฉาก๊วยชากังราวและถ้าต้องการเฉาก๊วยรสชาติเช่นนี้ก็มีแบรนด์เดียวคือของเราเท่านั้น"
            สำหรับการสร้างแบรนด์ในสายตาของเสริมวุฒิก็คือเรื่องของชื่อเสียง ถ้ารักษาชื่อเสียงให้ดีก็จะสามารถครองใจลูกค้าได้ ฉะนั้นสิ่งสำคัญในการรักษายอดขายและสร้าง Brand Royalty ของเสริมวุฒิก็คือการทำทุกอย่างให้มีคุณภาพนับตั้งแต่เรื่องวัตถุดิบ การผลิต และการตลาดเพื่อสร้างการยอมรับจากลูกค้าทุกคนทั้งในเรื่องรสชาติและคุณภาพของสินค้า 

การส่งต่อความสำเร็จ
            
ปัจจุบันคุณเสริมวุฒิหันมาลุยงานด้านการขยายตลาดเฉาก๊วยชากังราวอย่างเต็มที่ และได้มอบหมายให้ลูกสาวคนเดียว-คุณสุวนิตย์ สุวรรณโรจน์ เป็นผู้ดูแลการผลิตแทน ปัจจุบันโรงงานผลิตเฉาก๊วยสามารถผลิตเฉาก๊วยชากังราวได้ถึง 3,000-4,000 ถุง ภายในเวลาชั่วโมงเศษๆ และเฉาก๊วยแต่ละถุงก็จะมีคุณภาพดีเท่ากันทุกถุงด้วยสร้างเครือข่าย ขยายธุรกิจคุณเสริมวุฒิกระจายสินค้าเฉาก๊วยชากังราวไปทั่วประเทศด้วยการสร้างเครือข่ายธุรกิจ โดยตั้งศูนย์กระจายสินค้าที่สถานีขนส่งหมอชิต เพื่อบริหารจัดการส่งเฉาก๊วยให้กับเครือข่ายที่สั่งสินค้าเข้ามาเฉาก๊วยที่คุณเสริมวุฒิผลิตมีรูปแบบเดียว คือเฉาก๊วยในน้ำเชื่อมพร้อมบริโภค สินค้ามีอายุการเก็บรักษาอยู่ในตู้เย็นได้นาน 7 วัน โดยเขาจะผลิตใหม่สดทุกวัน ผลิตเสร็จก็จะส่งเข้ากรุงเทพฯ ไม่ว่าเครือข่ายธุรกิจจะอยู่ที่จังหวัดไหน คนของเขาก็สามารถจัดส่งให้ได้ทุกวัน“คนที่จะมาเป็นเครือข่ายธุรกิจเฉาก๊วยชากังราว ขอให้มาแต่ตัวกับหัวใจ เราจัดส่งให้ทุกอย่าง แต่ขอให้คิดดี ทำดีต่อกัน…ใน 1 จังหวัดจะมีเครือข่าย1 ราย เราจะไม่ส่งสเปะสะปะแต่เราจะดูความสามารถในการขยายธุรกิจของเครือข่ายด้วย ถ้าไม่ไหวก็อาจต้องเพิ่มลูกข่าย”ที่บอกอย่างนี้เพราะมีเครือข่ายบางคนรับสินค้าไปขายแล้ว ไม่ยอมส่งเงินค่าสินค้ากลับมาให้เขา เขาจึงตั้งเงื่อนไขการสั่งสินค้าว่า ให้ชำระเงินสดค่าสินค้าเข้ามาก่อนจึงจะส่งสินค้าให้ ขณะที่เครือข่ายบางรายก็ผลิตเฉาก๊วยเลียนแบบเฉาก๊วยชากังราวขายเองแทนที่จะสั่งจากเขา กรณีนี้หากเขารู้ก็จะเตือนให้เลิกการกระทำที่ไม่ดีนั้นเสีย ก่อนที่เขาจะดำเนินการตามกฎหมายสร้างระบบการทำงานเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเฉาก๊วยชากังราวเริ่มได้รับความนิยมจากผู้บริโภค ทำให้การผลิตไม่ทันกับความต้องการของลูกค้า คุณเสริมวุฒิจึงจ้างชาวบ้านในพื้นที่มาช่วยทำการผลิต แต่แรงงานชาวบ้านซึ่งรับค่าจ้างเป็นเงินเดือนก็มักติดปัญหาเรื่องการขาดงาน โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลซึ่งเป็นช่วงที่เฉาก๊วยน่าจะขายดี แต่กำลังการผลิตไม่มี เพราะคนงานลากลับบ้านเขาแก้ปัญหาโดยจ่ายค่าจ้างเป็นเปอร์เซ็นต์ตามสัดส่วนการทำงาน ไม่ใช่ทำบ้างไม่ทำบ้างพอสิ้นเดือนคนงานก็รอรับเงินเดือน คุณเสริมวุฒิบอกว่าพอปรับเปลี่ยนมาใช้วิธีนี้ทำให้คนงานมีความขยันและมีความตั้งใจในการทำงานมากขึ้น อย่างการกรอกเฉาก๊วยบรรจุถุง เขาให้ค่าจ้างคนงานร้อยละ 12 ซึ่งบางคนมีรายได้เดือนนึงเกือบ 20,000 บาท เรียกว่าทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย แถมให้ทำงานในห้องแอร์ด้วย คนงานบางคนก็มารอทำงานตั้งแต่ตี 4 เลยก็มีปัจจัยความสำเร็จคิดรูปแบบการทำตลาดเพื่อสร้างความสนใจคุณเสริมวุฒิบอกว่าเฉาก๊วยเป็นเพียงของหวานธรรมดาชนิดหนึ่ง ซึ่งจากการประเมินเขาคิดว่าคนไทยรู้จักเฉาก๊วย แต่หลายคนยังไม่รู้ว่าเฉาก๊วยหน้าตาเป็นอย่างไร ดังนั้นการทำตลาดจึงต้องหารูปแบบที่แปลกใหม่ เพื่อสร้างจุดสนใจให้กับผู้บริโภคในการไปออกบูธตามงานต่างๆ เขาจะใช้เฉาก๊วยเป็นสื่อ โดยนำต้นเฉาก๊วยไปตกแต่งที่บูธ และนำเฉาก๊วยไปเคี่ยวในงาน เพื่อให้ผู้บริโภครู้จักหน้าตาของต้นเฉาก๊วยและเป็นสื่อในการแนะนำผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราวด้วย คุณเสริมวุฒิบอกว่าวิธีนี้ล่ะ…งานไหนงานนั้นตัดเฉาก๊วยขายแทบไม่ทันนอกจากนี้การทำตลาดต้องใจกล้า หน้าด้าน ในการขายของด้วย คุณเสริมวุฒิเคยนำเฉาก๊วยไปเดินแจกในตลาดให้ชิมฟรี บางร้านก็รับ บางร้านก็ไม่รับ ใครผ่านมาเขาแจกให้ชิมหมด พอวันต่อมาก็ให้คนงานเอาเฉาก๊วยใส่รถเข็นขายตามเส้นทางที่แจกให้ชิมฟรี ผ่านไปทางไหนก็ให้คนงานร้องถามผู้คนในย่านนั้นว่า…รับเฉาก๊วยมั้ย…ปรากฏว่าวันนั้นเขาขายเฉาก๊วยได้หมดเลย ลุยตลาดด้วยตัวเอง เพื่อฟังเสียงติชมแม้คุณเสริมวุฒิจะขยายตลาดเฉาก๊วยชากังราวด้วยการสร้างเครือข่ายธุรกิจไปทั่วประเทศ แต่หากที่ไหนมีงานประจำปี หรืองานเทศกาลต่างๆ แล้วเครือข่ายต้องการให้เขาไปช่วย เขาก็ยินดีเข้าไปช่วยเครือข่ายนั้นทำตลาด“การออกตลาดเองทำให้เราทราบเสียงติชมของผู้บริโภค ตลอดจนปัญหาอุปสรรคในส่วนต่างๆทุกจังหวัดในภาคเหนือที่มีงานผมไปเข็นเฉาก๊วยขายมาแล้ว งานเหล่านี้เราต้องไปติดต่อผู้จัดงานเพื่อหาวิธีเข้าไปในงานให้ได้

ภาพโดย : https://www.sentangsedtee.com/news_detail.php?rich_id=3349&section=1

คำสำคัญ : บุคคลสำคัญ

ที่มา : ธวัชชัย บัววัฒน์. (2555). รายงานการวิเคราะห์ศักยภาพของเจ้าของสถานประกอบการที่ดำเนินธุรกิจด้วยตนเองจนประสบความสำเร็จ. กำแพงเพชร: ม.ป.พ.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์. สืบค้น 25 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=621&code_db=DB0016&code_type=001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=621&code_db=610003&code_type=01

Google search

Mic
เชียง แซ่แต้

นายเชียง แซ่แต้  มีภูมิกำเนิดที่อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2454  เป็นบุตรของนายจุง นางฮวย แซ่แต้ บิดามารดาเป็นคนจีนอพยพมาจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ นายเซียงจึงเป็นผู้มีเชื้อสายจีนแต่สัญชาติไทยด้วยถือกำเนิดในประเทศไทย   ขณะเมื่ออายุได้ไม่ถึงขวบ ต้องอพยพไปประเทศจีนแผ่นดินใหญ่อีกครั้งหนึ่งและดำเนินชีวิตอยู่ในประเทศจีนเป็นเวลา 8 ปี และเมื่อจำความได้ ได้พบเห็นการดำรงชีวิตที่ยากจนและเป็นทุกข์ของชาวจีน ครอบครัวของเด็กชายเซียง แซ่แต้ ก็ไม่อาจทดความทุกข์ยากในประเทศจีนได้จึงต้องพากันอพยพมาประเทศไทย ต่อมาไม่นานบิดาของเด็กชายเซียงก็เสียชีวิต เด็กชายเซียงจึงอยู่ในความดูแลของนางฮวยผู้เป็นมารดาและพี่น้องอีกแปดคน 

เผยแพร่เมื่อ 12-03-2018 ผู้เช้าชม 1,315

 พระยาวิเชียรปราการ

พระยาวิเชียรปราการ

พระยาวิเชียรปราการเดิมชื่อ (ฉาย อัมพเศวต) เจ้าเมืองกำแพงเพชรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2447-2454 เดิมเป็นหลวงสรรค์บุรารักษ์ นายอำเภอสรรค์บุรี เมืองชัยนาทต่อมาได้เลื่อนเป็นพระวิเชียรปราการ ผู้ช่วยราชการเมืองกำแพงเพชร ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร และได้เลื่อนเป็นพระยาวิเชียรปราการ พระยาวิเชียรปราการเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรอยู่ 7 ปีได้ทำประโยชน์แก่เมืองกำแพงเพชรมาก ความดีของพระยาวิเชียรปราการ เด่นชัดตอนรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จเมืองกำแพงเพชร ในปีพ.ศ. 2449 ตามที่ปรากฏในหนังสือเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5 ได้นำเสด็จฯ ชมโบราณสถานด้วยความสันทัดจัดเจน 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,951

สันติ อภัยราช : ปราชญ์ท้องถิ่น แผ่นดินเมืองกำแพงเพชร

สันติ อภัยราช : ปราชญ์ท้องถิ่น แผ่นดินเมืองกำแพงเพชร

นายสันติ อภัยราช เป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ในด้านของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา วรรณกรรมท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้องกับเมืองกำแพงเพชร ด้วยกระบวนการศึกษาค้นคว้าที่เป็นระบบ จัดทำเป็นข้อมูลองค์ความรู้ จึงทำให้เป็นผู้ที่ได้รับเชิญให้มีบทบาทในเรื่องดังกล่าวของทางจังหวัด อีกทั้งยังมีปณิธานในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและยังมีความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านั้นให้เป็นองค์ความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ผ่านทางการเป็นวิทยากรบรรยาย ทั้งยังเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางสื่อออนไลน์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสในการเข้าศึกษาอย่างทั่วถึง

เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 1,965

พระยาราม

พระยาราม

พระยาราม นามเต็ม พระยารามรณรงค์ เดิมเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร ครั้นเมื่อสมเด็จพระมหินทราธิราชขึ้นครองราชย์ ได้เรียกพระยารามไปไว้กรุงศรีอยุธยาและให้เลื่อนเป็นพระยาจันทบุรี สมเด็จพระมหินทราธิราชได้ทรงไว้วางพระทัยพระยารามมาก กรณียกิจที่สำคัญของพระองค์ต้องปรึกษาหารือพระยารามทุกครั้ง เช่น คราวที่ออกอุบายจะไปดีเมืองพิษณุโลก ซึ่งพระมหาธรรมราชาที่ 2 ครองอยู่ด้วยความแค้นพระทัยก็ปรึกษากับพระยารามเป็นความลับ แต่ทำไม่สำเร็จเพราะพระมหาธรรมราชาที่ 2 รู้ตัวก่อน โดยพระยาสีหราชเดโซบอกความลับให้ทราบ ดังนั้น พระยารามจึงเป็นไม้เบื่อไม้เมากับพระมหาธรรมราชาที่ 2 ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งสิ้นรัชสมัยของสมเด็จพระมหินทราธิราช

เผยแพร่เมื่อ 14-11-2023 ผู้เช้าชม 184

รุ่งธรรม ศรีวรรธนศิลป์

รุ่งธรรม ศรีวรรธนศิลป์

 นายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์  เป็นอาจารย์วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร มีผลงานทางด้านศิลปะประดิษฐ์มากมาย เป็นผู้นิยมความเป็นไทย และรักษาศิลปวัฒนธรรมประเพณีของไทยตลอดมา ผู้ริเร่ิมก่อตั้งศูนย์บริรักษ์ไทยวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร รวบรวมผลงานศิลปะประดิษฐ์ที่นักศึกษาจัดทำขึ้นไว้เป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษา เยาวชน และผู้ที่สนใจทั่วไปได้ศึกษา เป็นแหล่งเรียนรู้ ศูนย์บ่มเพาะงานศิลปะประดิษฐ์ ประณีตศิลป์ มีผลงานดีเด่นด้านศิลปะหัตถศิลป์มากกว่าหนึ่งพันชิ้น ศูนย์บริรักษ์ไทยจัดขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาจนถึงปัจจุบัน และจะยังดำเนินการเรียนการสอนต่อไปในอนาคต

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 1,743

กชกร ด้วงเงิน

กชกร ด้วงเงิน

ข้าราชการบำนาญ (ครู) สอนวิชาจริยศึกษา และวิชาพระพุทธศาสนา จนเกษียณ สอนเด็กนั่งพับเพียบ สวดมนต์ไหว้พระ กราบคุณครูก่อนเร่ิมการเรียนการสอน ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมให้นักเรียน รู้จักกตัญญูต่อบิดามารดา รู้จักนำหลักคำสอนทางศาสนาไปใช้ในชีวิตประจำวัน สอนให้เด็กศึกษาคุณค่าศิลปวัฒนธรรมอนุรักษ์มรดกโลก

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 1,083

พระศรีวชิราภรณ์ (วีระ วรปญโญ)

พระศรีวชิราภรณ์ (วีระ วรปญโญ)

สถานะเดิม ชื่อ วีระ นามสกุล ภูมิเมือง เกิด ๒ ฯ๑ ๘ ปีกุน วันที่ ๖ เดือน กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๒ นามบิดา นายทวี ภูมิเมือง นามมารดา นางบาง ภูมิเมือง บ้านเลขที่ ๖๐ หมู่ที่ ๕ ตำบลวังควง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร อุปสมบท วัน ๗ ฯ ๕ ปีกุน วันที่ ๒๒ เดือน มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๒ ณ พัทธสีมา วัดสุวรรณาราม ตำบลวังควง อำเภอพราน กระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร  นามพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการประสิทธิ์ เตชวโร (ปัจจุบัน พระครูวชิรวราภรณ์ เจ้าคณะอำเภอ ลานกระบือ) วัดราษฎร์บูรณะ ตำบลวังตะแบก อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2018 ผู้เช้าชม 1,737

บุญมี บานเย็น

บุญมี บานเย็น

สมุนไพรเป็นพืชสำคัญของชาวไทยอยู่คู่กับชาวไทยมานานหลายร้อยปี แต่ในปัจจุบันคนไทยกลับลืมเลือนไปสิ้น เราหาคนไทยที่เข้าใจเรื่องสมุนไพรไทยยากยิ่งนัก แต่ไม่น่าเชื่อมีคนไทยในกำแพงเพชรศึกษาสมุนไพรอย่างจริงจังอยู่ท่านหนึ่ง ท่านนั้นคือนายบุญมี บานเย็น (นายโบ๊ะ) เจ้าพ่อสมุนไพรกำแพงเพชร ที่รายการโทรทัศน์วัฒนธรรมยกย่อง
สวนสมุนไพรจังหวัดกำแพงเพชรตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 1 บ้านวังยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อเข้าไปชมแล้วชื่นชมนายโบ๊ะ หรือลุงโบ๊ะอย่างยิ่งที่รวบรวมสมุนไพรไทยไว้หลายร้อยชนิด จัดเป็นระบบ มีป้ายบอกชื่อสมุนไพรแต่ละชนิดอย่างชัดเจน

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 1,074

มาณพ  ศิริไพบูลย์

มาณพ ศิริไพบูลย์

นายมาณพ  ศิริไพบูลย์  เกิดวันที่ 18 กันยายน 2487 บุตรนายมานิตย์  ศิริไพบูลย์ และนางวิมล  ศิริไพบูลย์ สถานที่เกิด ณ บ้านเลขที่ 080 หมู่ที่ 5 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร การศึกษา จบชั้นประถมปีที่ 4 ที่โรงเรียนบ้านนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร  เมื่อ พ.ศ.  2498  จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) ที่โรงเรียนกำแพงเพชร “วัชรราษฎรวิทยาลัย” ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร  จังหวัดกำแพงเพชร พ.ศ. 2504

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,834

พระกำแหงสงคราม(ฤกษ์ นุชนิยม)

พระกำแหงสงคราม(ฤกษ์ นุชนิยม)

พระกำแหงสงคราม(ฤกษ์ นุชนิยม) เกิดเมื่อวันที่ 8 กรกฏาคม พ.ศ. 2399 วันอังคารขึ้น หกค่ำ เดือนแปด ปีมะโรง ณ จวนเก่า จังหวัดกำแพงเพชร เป็นบุตรของพระกำแหงสงคราม(เหลี่ยม นุชนิยม) สืบสกุลโดยตรงมาจากพระยาเกียรติ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของพระเจ้านันทบุเรง(พระเจ้าหงสาวดี) ได้สามิภักดิ์ติดตามสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พร้อมกับพระยารามและพระมหาเถรคันฉ่อง ในคราวประกาศอิสระภาพ ณ เมืองแกลง ได้พึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา กาลล่วงมาจนถึงปู่ทวด คือพระยารามรณรงค์สงครามรามภักดีอภียพิริยะพาหะ(นุช)

เผยแพร่เมื่อ 14-11-2023 ผู้เช้าชม 220