ขนมเปี๊ยะ
เผยแพร่เมื่อ 14-03-2017 ผู้ชม 3,091
[16.4705612, 99.5283865, ขนมเปี๊ยะ]
ขนมเปี๊ยะเป็นขนมที่มักใช้ประกอบในเทศกาลขนมไหว้พระจันทร์ของชาวจีน ซึ่งความหมายของขนมเปี๊ยะในเทศกาลนี้คือ เป็นขนมแห่งความศิริมงคล สื่อถึงความปรารถนาดีระหว่างผู้รับกับผู้ให้ พร้อมทั้งยังเป็นขนมที่แสดงถึงความสามัคคีกัน เพราะเทศกาลไหว้พระจันทร์ ชาวจีนส่วนใหญ่มักอยู่พร้อมหน้ากันทั้งครอบครัว เพื่อชมพระจันทร์พร้อมทั้งกินขนมเปี๊ยะไปด้วย ปัจจุบันขนมเปี๊ยะในประเทศไทยนั้นมีหลากหลายขนาดละหลากหลายรสชาติตามแต่สูตรเฉพาะของแต่ละพื้นที่บ้างก็เป็นขนมเปี๊ยะแบบดั้งเดิมที่มีขนาดใหญ่ไส้ถั่ว ไส้เค็มและไส้ฟักหวาน แต่ก็มีขนมเปี๊ยะอีกชนิดหนึ่งนั้นคือขนมเปี๊ยะลูกเล็กที่ได้รับความนิยิมไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเนื่องจากมีขนาดที่เหมาะพอดีคำและยังสามารถบริโภคได้หลากหลายไส้ในครั้งเดียว
ส่วนผสม : แป้งชั้นนอก
1. แป้งสาลีตราบัวแดง 190 กรัม แป้งสาลีเอนกประสงค์ 95 กรัม
2. น้ำตาลทราย 60 กรัม
3. น้ำมันพืช 75 กรัม
4. น้ำเย็นจัด 110 กรัม
5. วิปผง 10 กรัม
6. เกลือ 3 กรัม
ส่วนผสม : แป้งชั้นใน
1. แป้งสาลีอเนกประสงค์ 150 กรัม
2. น้ำมันพืช 50 กรัม
3. เนยขาวรำข้าว 25 กรัม
การตกแต่งหน้าขนม :
1. ไข่แดง ผสมสีส้ม สำหรับทาหน้าขนมก่อนเข้าอบ
2. ถ้าใช้ไข่ทั้งฟองทาหน้าขนม….ต้องทาไข่ 2 รอบ คือ อบไปซัก 5 นาที ก็เปิดเตาเอาออกมาทาไข่ซ้ำอีกรอบ
3. น้ำมันพืช และเนยขาว ควรเลือกชนิดที่ทำมาจาก.. รำข้าว เพื่อให้มีอายุการ เก็บรักษาได้นาน และปลอดภัยต่อสุขภาพ และน้ำมันรำข้าว ไม่มีกลิ่นที่รบกวนกับกลิ่นของการอบควันเทียนด้วย
ส่วนผสมไส้ : ถั่วกวน
1. ถั่วทองกวน และอบควันเทียนแล้ว
2. ไข่แดงเค็ม
(สำหรับไข่แดงเค็ม ควรนำเข้าอบให้สุกก่อน ไฟ 180 องศาเซลเซียส นาน 10 -15 นาที
วิธีการทำแป้งชั้นนอก :
ผสมทุกอย่างใส่ในแป้ง นวดให้เนียนเหนียวจนแผ่แป้งเป็นฟิล์มได้ (- หากแป้งแห้งเกินไป เพิ่มน้ำได้ครั้งละ 1 ชต.) พักแป้งไว้ 10 นาที
วิธีการทำแป้งชั้นใน :
นวดแป้ง ผสมกับน้ำมันและเนยขาวนวดจนเนียนพักไว้ ในกรณีที่แป้งแฉะเกินไป เราสามารถเพิ่มแป้งได้ แต่ต้องเพิ่มทั้งสูตรแป้งชั้นในและแป้งชั้นนอก
วิธีการทำแป้งให้แยกเป็นชั้น :
1. แบ่งแป้งชั้นในและแป้งชั้นนอกให้มีจำนวนชิ้นเท่าๆ กัน เช่น ถ้าแบ่งแป้งชั้นนอก 12 ชิ้น ก็ต้องแบ่งแป้งชั้นใน ให้ได้ 12 ชิ้น เป็นจำนวนที่เท่าๆ กัน ในสูตรนี้ แบ่ง: แป้งชั้นนอก 30-35 กรัม และแป้งชั้นใน 10-12 กรัม
2. เอาแป้งชั้นนอกห่อหุ้มแป้งชั้นในให้มิด
3. คลึงแป้งให้เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าบางๆ ขนาดประมาณ 1-2 นิ้ว × 5 นิ้ว แล้วม้วน ทำซ้ำๆแบบเดิมประมาณ 4-5 ครั้ง
4. ตัดแบ่งแป้ง เป็น 3 ชิ้นต่อแป้ง 1 ก้อน คลึงแป้งให้เป็นแผ่นกลม ขอบบางตรงกลางหนา
5. นำแป้งมาห่อจับจีบหุ้มไส้ให้มิด วางด้านที่จับจีบลงด้านล่าง บนถาดที่รองแผ่นกระดาษรองอบ ควรอบไส้ถั่วกวน ด้วยควันเทียนก่อน และอบไข่แดงเค็มให้สุกก่อน
6. ทาไข่แดงที่หน้าขนม แล้วนำเข้าเตาอบ ใช้ไฟบนล่าง 180 องศาเซลเซียส ไม่เปิดพัดลม อบนาน 10-15 นาที ดูว่าแป้งกลายเป็นสีขาวนิ่มก็สุกแล้ว ถ้าอบนานขนมเปี๊ยะจะกรอบแห้ง และเหลืองกว่า ( ขึ้นอยู่กับความชอบ )
บางคนก็อบด้วยไฟ 150-160 องศาเซลเซียส นาน 20 -25 นาที ซึ่งการใช้ไฟในการอบนั้น ขึ้นอยู่กับเตาอบของแต่ละบ้าน มากกว่าการกำหนดตายตัวลงไป
7. อบขนมเปี๊ยะด้วยควันเทียนอีกครั้งหนึ่ง ก่อนเก็บขนมไว้ในภาชนะที่ปิดสนิท
ใช้น้ำมันมะพร้าวหีบเย็น
ถั่วทองดิบ 500 กรัม
น้ำมันมะพร้าวหีบเย็น 110 กรัม
น้ำตาลทราย 330 กรัม
เนยสดเค็ม 80 กรัม
กลิ่นมะลิ 2 ฝา
ภาพโดย : https://tuksirinyapat.wordpress.com
คำสำคัญ : ขนมเปี๊ยะ
ที่มา : ตลาดไนท์พลาซ่า
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ขนมเปี๊ยะ. สืบค้น 13 ธันวาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=602&code_db=610008&code_type=01
Google search
แกงบวดฟักทอง เป็นขนมไทยพื้นบ้านของชาวไทย ที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยเนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ปลูกผักผลไม้ ไว้รับประทานเอง จึงนำอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำขนมรับประทานเองภายในครอบครัว หรือนำไปทำบุญที่วัด และใช้รับรองแขก ปัจจุบันหลายครอบครัวเริ่มเลิกราห่างหายกันไปเนื่องจากเห็นว่ามีขั้นตอนที่ยุ่งยาก เสียเวลา และสามารถซื้อหาได้ง่ายตามตลาดทั่ว ๆ แต่ก็ยังคงเหลือเป็นบางครอบครัวที่สานต่อ รักษาสืบทอดการทำขนมแกงบวดฟักทอง คงไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ อนุรักษ์สืบสานต่อไป
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 5,729
แกงเห็ดเผาะปลาย่าง เป็นอาหารพืื้นถิ่นของคนนครชุม ที่สืบทอดวิถีแห่งการกินมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยเครื่องปรุงส่วนผสมหาได้ตามท้องถิ่น ทำง่ายนำโดยนำหัวกะทิตั้งไฟ เคี่ยวจนแตกมันเผ็ดผัดในน้ำกะทิผัดต่อจนมีกลิ่นหอม ใส่หมูสามชั้นลงในกระทะที่ผัดพริกแกง ผัดให้สุก ใส่น้ำปลา น้ำตาลปิ๊บ เติมหางกะทิลงในกระทะ เคี่ยวต่อจนเดือด ใส่เห็ดเผาะ เคี่ยวต่อประมาณ 5 นาที ใส่ปลาย่าง ชะอม รอจนดือดและชะอมสุก พร้อมเสิร์ฟ
เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 2,961
เป็นรูปแบบหนึ่งของการถนอมและแปรรูปอาหาร โดยวิธีการเพิ่มปริมาณน้ำตาลในผลไม้ และใช้ความร้อนทำให้สุก เพื่อให้เก็บไว้ได้นานและมีรสชาติอร่อย ผลไม้ที่คนในชุมชนนิยมนำมาเชื่อม ได้แก่ สาเก มะยม มะตูม พุทรา สับปะรด จาวตาล กล้วย มะละกอ และเปลือกผลไม้บางชนิดที่พบมากในชุมชน เช่น เปลือกส้มโอ เปลือกมะนาว เปลือกแตงโม เป็นต้น ลักษณะของผลไม้เชื่อมที่มีคุณภาพดี ต้องมีผิวตึงสวยเป็นมันเงา ไม่เหี่ยว น้ำตาลไม่ตกผลึก สีสันตามความเป็นจริงของผลไม้นั้นๆ
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 10,046
จังหวัดกำแพงเพชรเป็นจังหวัดที่อยู่ในบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบนทำให้ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตได้รับการผสมผสานจากทั้งภาคเหนือ (ล้านนา) และภาคกลาง (อยุธยาและสุโขทัย) ซึ่งแสดงออกในหลาย ๆ อย่าง อาทิ ประเพณี วัฒนธรรม โดยเฉพาะอาหาร อย่างเมี่ยงคำหรือเมี่ยงลาว เป็นต้น เมี่ยงเป็นอาหารที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษโดยการย้ายถิ่นฐานของผู้คนที่มาจากภาคเหนือและภาคอีสาน แต่เมื่อย้ายถิ่นมาอยู่กำแพงเพชรเป็นเวลานานก็เริ่มผสมผสานความเป็นภาคกลางเข้าไปในอาหารหรือแม้แต่วิธีการกิน รวมถึงส่วนประกอบที่นำมาใช้ในการทำเมี่ยง นอกจากเมี่ยงแล้วเมื่อมาจังหวัดกำแพงเพชร คนส่วนใหญ่จะนึกถึงกล้วยไข่กำแพงเพชร เนื่องจากกล้วยไข่ของจังหวัดกำแพงเพชรนั้น มีลักษณะเด่นที่ลูกเล็กกำลังดี มีกลิ่นหอมและรสชาติหวาน แขกบ้านแขกเมืองจึงนิยมนำกล้วยไข่ไปเป็นของฝาก สืบเนื่องมาจากในสมัยก่อนพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรมีการปลูกกล้วยไข่อยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อมีกล้วยสุกเป็นจำนวนมากชาวบ้านจึงคิดหาวิธีที่จะนำกล้วยมาทำเป็นอาหารประเภทต่าง ๆ เพื่อให้คนในครอบครัวไม่เกิดความเบื่อหน่ายจากการรับประทานอาหารชนิดเดิมซ้ำ ๆ ก่อเกิดเป็นแกงหยวกกล้วยไข่ในปัจจุบัน
เผยแพร่เมื่อ 07-06-2022 ผู้เช้าชม 1,063
มันรังนก เป็นขนมท้องถิ่นอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ส่วนผสมประกอบด้วย มันเทศ น้ำมันสำหรับทอด น้ำตาลปี๊บ แบะแซ งาคั่ว เกลือป่น เริ่มจากการปอกเปลือกมันเทศแล้วรีบแช่ลงในน้ำผสมน้ำมะนาว แล้วจึงหั่นมันเป็นเส้นสี่เหลี่ยมขนาดก้านไม้ขีด ใส่กระด้งผึ่งจนหมาด ตั้งกระทะให้ร้อน ใส่น้ำมันลงไป พอน้ำมันร้อนแบ่งมันลงทอดทีละน้อย จนกรอบเหลืองแล้วช้อนขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน ตั้งกระทะทองใส่น้ำ 2/3 ถ้วยตวง ใส่น้ำตาลแบะแซและเกลือเคี่ยวไปจนเหนียวเหมือน “ยางมะตูม” จึงใส่มันทอดลงไปเคล้าให้ทั่วโดยเร็ว โรยงาคั่ว ให้ติดประปรายทั่วไป แล้วจึงยกกระทะลง ใช้ช้อนตักให้เป็นก้อนกลมๆ บางบ้านหยอดลงในถ้วยกระดาษเล็กๆ หรือบางบ้านเพียงแต่ตะล่อมเป็นก้อนกลมๆ โดยไม่ใส่ถ้วยก็ได้ ผึ่งไว้ให้เย็นจึงเก็บเข้าขวดแก้ว
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,052
ขนมเบื้องเป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีลักษณะเป็นแผ่นแป้ง มีไส้รสต่างๆ ขนมเบื้อง หอม กรอบ อร่อย
เผยแพร่เมื่อ 15-03-2017 ผู้เช้าชม 2,373
อาหารพื้นบ้าน ที่นับวันจะหารับประทานได้ยากขึ้นทุกวัน เพราะมีผู้ทำได้น้อยคน ประกอบกับกลวิธีในการทำอาหารค่อนข้างยาก มีเคล็ดลับมากมาย และมีอาหารประเภทถุงพลาสติกขายเกลื่อนบ้านเกลื่อนเมือง จึงทำให้หาคนทำอาหารและปรุงรสได้ยากยิ่งมากขึ้น อาหารที่กล่าวถึงและหารับประทานได้ยาก คือ แกงบอน บอนเป็นพืชที่มีพิษ ใครถูกเข้าจะคัน ถ้าแพ้จะมีอาการปวดแสบปวดร้อนมาก แต่ด้วยภูมิปัญญาไทยได้นำมารับประทานได้อย่างน่าพิศวง และเป็นอาหารจานโปรดของคนไทยเกือบทุกภาค
เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 5,216
ลอดช่อง เป็นขนมไทยแท้โบราณชนิดดั้งเดิม โดยที่ใครๆพากันคิดว่ามันคือขนม ที่มาจากเกาะสิงคโปร์นู้นแต่แท้จริงแล้วต้นกำเนิดไม่ได้มาจากประเทศสิงคโปร์ แต่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยเรานี่เอง ที่ได้นำแป้งมันสำปะหลังมาปั้น และนวดให้เหนียว รับประทานกับกะทิสด และน้ำเชื่อม น้ำแข็งป่น ก็เพิ่มความสดชื่นให้กับผู้บริโภคได้แล้ว
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 6,356
ฤดูเก็บแมงอีนูนมาถึงแล้ว เมื่อฝนเริ่มตกชุก ครูมาลัย ชูพินิจ ได้รจนานวนิยาย เรื่องทุ่งมหาราช เพื่อสะท้อนชีวิตและภูมิปัญญาของชาวกำแพงเพชร เมื่อ 150 ปีที่แล้วไว้ว่า “ทุก ๆ เย็นเกาะใหญ่กลางลำน้ำปิง ซึ่งไร่เริ่มร้างและพกเริ่มรก เซ็งแซ่ไปด้วยชาวปากคลองใต้และบ้านไร่ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เสียงเพลงเก่าและแอ่วลาวล่องมาในอากาศ ท่ามกลางแมงอีนูนที่ออกมาจากรู บินว่อนขึ้นไปแน่นฟ้า เกาะอยู่ตามกอพงต่ำลงมา และศีรษะของผู้เก็บสำหรับจะยัดลงไปไต่ยั๊วเยี๊ยอยู่ในข้องหรือหม้อ ตามแต่ละคนจะหากันได้ เพื่อนำมาเป็นอาหารคาวหรือหวานกันต่อไป
เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 2,554
ข้าวแตน หรือ นางเล็ดเป็นอาหารว่างที่คนในชุมชนรู้จักกันดี อุปกรณ์ ได้แก่ กระด้ง ตะแกรง กะละมัง เตาไฟ หวดไม้ ที่พิมพ์รูปวงกลม กระทะ เตาอบ ถุง และผ้าขาวบาง เครื่องปรุงประกอบด้วย ข้าวเหนียวนึ่งให้สุก แล้วปั้นเป็นแผ่น เดิมนิยมทำเป็นแผ่นใหญ่ๆ และปัจจุบันนิยมปั้นเป็นแผ่นขนาดพอคำ แล้วจึงนำมาตากแดดให้แห้ง ก่อนนำมาทอดจนกรอบ เคี่ยวน้ำตาลน้ำอ้อยให้เหนียวแล้วราดบนแผ่นนางเล็ด บางบ้านโรยหน้าด้วยเมล็ดทานตะวัน งาดำ หรือเมล็ดแตงโม เพื่อเพิ่มรสชาติกรอบ หอม หวาน เหมาะสำหรับรับประทานเป็นของว่าง
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 5,035