มะพร้าวเสวย

มะพร้าวเสวย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 2,499

[16.634969, 99.8092375, มะพร้าวเสวย]

ประวัติความเป็นมา
        บ้านทรายทอง ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2526 พื้นที่เดิมเป็นป่าดิบเบญจพรรณ มีไม้ที่มีค่าหลายชนิด ที่มีมาก คือไม้ยาง ซึ่งมีลำต้นใหญ่แต่ไม่สูง ชาวบ้านเข้าไปหาของป่าในสมัยนั้น เรียกว่าดงยางเตี้ย พื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่บ้าน เป็นดินทราย มองเห็นเป็นสีเหลืองทอง ชาวบ้านเลยตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านทรายทอง

มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ
        1. ผ่านการรับรองจนได้รับเครื่องหมาย อย.
        2. ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มผช. จากสำนักงานอุตสาหกรรม จังหวัด
        3. ผลิตภัณฑ์มะพร้าวเสวยได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ระดับสองดาว เมื่อปีพุทธศักราช 2547
        4. ผลิตภัณฑ์มะพร้าวเสวยได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ระดับสามดาว เมื่อปีพุทธศักราช 2549
        5. ผลิตภัณฑ์มะพร้าวเสวยได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ระดับห้าดาว เมื่อปีพุทธศักราช 2553
        6. หนังสือสำคัญการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจ
        7. ใบอนุญาตการใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานระบบการผลิตสินค้าเกษตรชุมชนแปรรูป 

ความสัมพันธ์กับชุมชน
        ผลิตภัณฑ์มะพร้าวเสวย สดจากการรวมกลุ่มของคนในหมู่บ้านซึ่งเป็นการแปรรูปวัตถุดิบให้มีราคาและคุณค่าทำให้คนในชุมชนมีรายได้เสริม
ผลิตภัณฑ์มะพร้าวเสวยสามารถเก็บไว้ได้นานอีกทั้งกลุ่มมะพร้าวเสวยยังเป็นแหล่งเรียนรู้ของบุคคล กลุ่ม/องค์การต่าง ๆ ที่สนใจ รวมทั้งยังสอนวิธีการทำให้นักเรียนที่อยู่ในชุมชนเพื่อจะได้สืบทอดภูมิปัญญาทางด้านนี้ต่อไป

วัตถุดิบและส่วนประกอบ
        1. มะพร้าว
        2. นมข้นหวาน
        3. น้ำตาลปีบ
        4. โอวัลติน
        5. แบะแซ
        6. นมสด
        7. เกลือ
        8. พลาสติกห่อ ถุงพลาสติก
        9. กระดาษแก้ว

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
       1. มะพร้าวที่จะนำมาทำต้องไม่แก่และอ่อนเกินไป
       2. เพิ่มรดชาดให้อร่อยโดยการใส่นมสด
       3. ควบคุมความร้อนของไฟระดับปานกลาง
       4. ขั้นตอนที่ 4 ต้องใช้ความชำนาญเป็นพิเศษ

ภาพโดย : http://www.otoptoday.com/wisdom/8033

 

คำสำคัญ : มะพร้าวเสวย

ที่มา : http://www.otoptoday.com/wisdom/8033

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). มะพร้าวเสวย. สืบค้น 29 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=571&code_db=DB0015&code_type=1

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=571&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

แกงหยวก

แกงหยวก

อาหารพื้นบ้าน "แกงหยวก” มีความสำคัญสำหรับครอบครัวชนบทในพื้นตำบลนครชุมมาก เพราะเป็นวิถีชีวิตที่คนรุ่นบรรพบุรุษในอดีตได้ทำอาหารแกงหยวกรับประทานกับข้าวมาแต่ดั้งเดิมแสดงถึงความรักความสามัคคีการอยู่การกินที่เรียบง่าย ประหยัดเพราะใช้ทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ตามธรรมชาติปลูกขึ้นในสวนใกล้บ้าน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายรับประทานได้ทั้งครอบครัว แสดงถึงคุณค่าทางสังคมที่รักสงบ มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง หยวกหรือต้นกล้วย ส่วนที่นำมาแกง คือใจกลางต้นที่ยังอ่อนอยู่ นิยมแกงใส่ไก่บ้าน และวุ้นเส้น บ้างแกงใส่ปลาแห้ง มีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงอ่อมเนื้อต่างๆ อีกแบบหนึ่งมีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงผักหวาน สูตรที่แกงแบบเดียวกับแกงอ่อมเนื้อต่างๆ นั้น นิยมใช้เลี้ยงแขกในงานบุญต่างๆ หรืองานอื่นๆ เมื่อทำหม้อใหญ่ ไม่นิยมใส่วุ้นเส้น

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 2,020

ขนมทองม้วน

ขนมทองม้วน

เริ่มต้นจากสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับชาวต่างชาติ อย่างกลุ่มทวีปทางตะวันออกและตะวันตก ทำให้ประเทศไทยได้รับวัฒนธรรมในด้านต่างๆ เข้ามา สิ่งหนึ่งที่ได้รับมานั่นคือ ขนมและของหวาน รวมทั้ง “ทองม้วน” เมื่อรับเอามาแล้วจึงนำมาดัดแปลง เพิ่มเติม เพื่อให้เหมาะสมกับวัฒนธรรม การดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ วัตถุดิบ ข้าวของเครื่องใช้ เอกลักษณ์ รสนิยม และอุปนิสัยในการบริโภคอาหารของประเทศไทยเราเอง และคนสมัยก่อนส่วนใหญ่จะทำขนมชนิดนี้ใส่โหลแก้วหรือปี๊บเก็บไว้ในบ้านสำหรับต้อนรับลูกหลาน ญาติรวมทั้งผู้ที่ไปมาหาสู่ การก่อตั้งกลุ่มรวมกลุ่มแม่บ้านที่ว่างงาน รวมกลุ่มกันทำขนมทองม้วน ได้จัดตั้งชื่อกลุ่มว่ากลุ่มอาชีพแม่บ้านโนนใน ภายใต้ผลิตภัณฑ์ที่ชื่อว่าเอื้องนาค

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 8,931

ขนมฝักบัว

ขนมฝักบัว

ขนมฝักบัว ขนมพื้นบ้านนครชุม หลากหลายวัฒนธรรม สืบทอดผ่านวิถีแห่งการกิน โดยการนำส่วนผสมทั้ง 5 อย่างรวมกันแล้วนวดแป้งให้เข้ากันเติมน้ำให้แป้งละลาย พอได้ที่ นำกระทะตั้งไฟใส่น้ำมัน พอร้อนนำแป้งที่เตรียมไว้หยอดลงในกระทะแล้วใช้ช้อนตักน้ำมันลาดตรงแป้งที่กำลังทอด แป้งก็จะฟูตรงกลาง ทำให้เหมือน ฝักบัว (แต่จะทอดได้ครั้งละ 1 ชิ้น เท่านั้น )

 

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,504

แกงบอน

แกงบอน

อาหารพื้นบ้าน ที่นับวันจะหารับประทานได้ยากขึ้นทุกวัน เพราะมีผู้ทำได้น้อยคน ประกอบกับกลวิธีในการทำอาหารค่อนข้างยาก มีเคล็ดลับมากมาย และมีอาหารประเภทถุงพลาสติกขายเกลื่อนบ้านเกลื่อนเมือง จึงทำให้หาคนทำอาหารและปรุงรสได้ยากยิ่งมากขึ้น อาหารที่กล่าวถึงและหารับประทานได้ยาก คือ แกงบอน บอนเป็นพืชที่มีพิษ ใครถูกเข้าจะคัน ถ้าแพ้จะมีอาการปวดแสบปวดร้อนมาก แต่ด้วยภูมิปัญญาไทยได้นำมารับประทานได้อย่างน่าพิศวง และเป็นอาหารจานโปรดของคนไทยเกือบทุกภาค

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 4,304

ขนมถั่วกวน

ขนมถั่วกวน

"ถั่วกวน" หรือ "ถั่วอัด" เป็นอีกหนึ่งขนมไทยโบราณที่หาทานอร่อยได้ยาก ในสมัยก่อนขนมไทยจะทำเฉพาะเวลามีงานสำคัญเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นในงานเทศกาล งานประเพณี งานทางศาสนา หรือการประกอบพิธีกรรมต่างๆ แต่ที่เห็นมีขนมหลากหลายกินทุกวัน หลังสำรับคาวหวานหรือกินเป็นของว่าง ก็ล้วนแต่คิดประดิดประดอยขึ้นภายหลังแล้วทั้งสิ้น รวมถึงขนมจากต่างชาติที่เข้ามาโดยผ่านความสัมพันธ์ทางการเมือง ก็ถูกดัดแปลง ให้มีรูปรส ลักษณะเป็นแบบไทยๆจนบางทีนึกกันไปว่าเป็นขนมไทยแท้ดั้งเดิมก็มี

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 6,422

แมงอีนูน

แมงอีนูน

ฤดูเก็บแมงอีนูนมาถึงแล้ว เมื่อฝนเริ่มตกชุก ครูมาลัย ชูพินิจ ได้รจนานวนิยาย เรื่องทุ่งมหาราช เพื่อสะท้อนชีวิตและภูมิปัญญาของชาวกำแพงเพชร เมื่อ 150 ปีที่แล้วไว้ว่า “ทุก ๆ เย็นเกาะใหญ่กลางลำน้ำปิง ซึ่งไร่เริ่มร้างและพกเริ่มรก เซ็งแซ่ไปด้วยชาวปากคลองใต้และบ้านไร่ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เสียงเพลงเก่าและแอ่วลาวล่องมาในอากาศ ท่ามกลางแมงอีนูนที่ออกมาจากรู บินว่อนขึ้นไปแน่นฟ้า เกาะอยู่ตามกอพงต่ำลงมา และศีรษะของผู้เก็บสำหรับจะยัดลงไปไต่ยั๊วเยี๊ยอยู่ในข้องหรือหม้อ ตามแต่ละคนจะหากันได้ เพื่อนำมาเป็นอาหารคาวหรือหวานกันต่อไป

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 2,151

กล้วยฉาบ

กล้วยฉาบ

กล้วยฉาบ เป็นขนมประเภทของว่าง รับประทานเล่นในชุมชนมานานแล้ว เนื่องจากกล้วยเป็นต้นไม้ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน โดยเฉพาะกล้วยไข่ เป็นต้นไม้ที่พบมากในพื้นที่ของเมืองกำแพงเพชร ผู้อาวุโสของชุมชนหนองรี สันนิษฐานว่าน่าจะมีมาตั้งแต่ตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว กล้วยฉาบ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ต้องการนำผลไม้ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก มาแปรรูปเพื่อจะได้เก็บไว้รับประทานได้นานๆ และไว้รับรองญาติมิตรหรือผู้มาเยี่ยมเยียน 

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 15,602

ไส้กรอกถั่ว

ไส้กรอกถั่ว

ไส้กรอกถั่ว ขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นถิ่นนครชุม หลากหลายวัฒนธรรม สืบทอดผ่านวิถีแห่งการกิน โดยล้างไส้หมูให้สะอาด และใส่เกลือเพื่อดับความคาวของไส้ นำหมูสับ ถั่วเขียวต้มสุก พริกแกงเผ็ด ผสมให้เข้ากัน เติมน้ำปลา น้ำตาลปี๊บ ใบมะกรูด คลุกเคล้าให้เข้ากันอีกรอบ นำส่วนผสมที่คลุกเคล้าใส่ไส้หมูที่จัดเตรียมไว้ให้เต็มและมัดหัวและท้ายของไส้ นำไส้กรอกที่ได้ ย่างไฟอ่อนๆบนเตาถ่าน จนสุกโดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ให้รับประทานกับผัก เช่น ผักชีฝรั่ง ผักกาดหอม แตงกวา พริกขี้หนู เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 4,364

กระยาสารท

กระยาสารท

ขนมกระยาสารท ในสมัยก่อนเป็นขนมทีทำขึ้นในช่วงทำบุญวันสารทไท ช่วงเดือนตุลาคม เป็นการทำบุญอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และจะมีการตักบาตรด้วยกระยาสาทร มีความเชื่อว่า หากไม่ใส่บาตรด้วยกระยาสาทรผู้ที่ล่วงลับไปแล้วก็จะไม่ได้รับส่วนบุญ กุศลที่ทำในวันนี้ เมื่อทำบุญกันเสร็จแล้วก็จะมีการแบ่งกระยามสาทรที่ทำ เป็นการแลกเปลี่ยนกันเหมือนกับอวดฝีมือขแงกระยาสาทรแต่ละบ้าน กระยาสาทรจะกินคู่กับกล้วยไข่ เหตุผลก็เพราะว่าช่วงนั้นเป็นช่วงทึ่กล้วยไข่ออกผลนั้นเอง และรสชาติของกล้วยไข่จะช่วยท่อนรสหวานของกระยาสาทรได้ดี เสริมให้กินอร่อยหวานมันกำลังดี

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 2,471

เมี่ยงโบราณ/เมี่ยงชากังราว

เมี่ยงโบราณ/เมี่ยงชากังราว

เมี่ยงโบราณ เป็นของว่างของคนนครชุมในอดีต มี 2 รสคือ เมี่ยงหวาน และเมี่ยงเปรี้ยว เครื่องปรุงประกอบด้วย มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นๆ ตามแนวยาว ถั่วลิสง น้ำตาล กระเทียมปอกเปลือก ใบเมี่ยง วิธีทำเริ่มจากการตั้งกระทะให้ร้อน นำมะพร้าวที่หั่นแล้ว ถั่วลิสง น้ำตาล กระเทียม ใส่ลงในกระทะ ผัดจนเข้ากัน ใบเมี่ยงที่หมักครบกำหนดแล้ว จะมีรสเปรี้ยวอมฝาด และอมหวาน สามารถเก็บไว้ได้นานปี เมี่ยงเป็นอาหารว่างที่คนเมืองนิยมรับประทานใช้รับแขกบ้านแขกเมือง โดยจะนำใบเมี่ยงที่ผ่านการหมักแล้ว ดึงเส้นใบออก เอามาห่อเกลือ น้ำตาล มะพร้าวคั่ว ขิง เป็นเมี่ยงส้ม (เปรี้ยว) หรือเมี่ยงหวานตามชอบ เรียกว่าเมี่ยงอม หรือเอาใบเมี่ยงมาห่อเกลือ จะทำให้รสชาติอร่อยไปอีกแบบหนึ่ง การรับประทานเมี่ยงจะใช้การอม หลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 3,313