ตลาดย้อนยุคนครชุม
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้ชม 385
[16.483188, 99.4917312, ตลาดย้อนยุคนครชุม]

นครชุมเป็นชุมชนที่เก่าแก่โบราณได้แก่ โบราณสถาน วรรณกรรมศิลปหัตถกรรม นาฏศิลป์และดนตรี ตลอดจนถึงการดำเนินชีวิตและ คุณค่าทางประเพณีต่างๆอันเป็นผลผลิตร่วมกันของผู้คนในผืนแผ่นดินที่สืบทอดต่อกันมา ตำบลนครชุมแต่เดิมเป็นอาณาจักรนครชุม เมืองใหญ่แห่ง แม่น้ำปิงมีการสันนิษฐานว่าสถาปนาขึ้นในราวพุทธศักราช1700รุ่งเรืองมาจนราว พุทธศักราช2000เนื่องจากถูกน้ำกัดเซาะ เมืองนครชุมจึงกลายเป็นเมืองร้าง ประชาชนจึงงย้ายไปสร้างเมืองใหม่ทางฝั่งตะวันออกคือเมืองกำแพงเพชรในปัจจุบัน นครชุมได้รับ การฟื้นฟูอีกครั้งหนึ่งในสมัยที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โตพรหมรังสี)เสด็จมาที่เมืองกำแพงเพชรและค้นพบจารึกนครชุมทำให้ค้นหา เมืองนครชุมพบจึงได้ฟื้นฟูขึ้นมาใหม่โดยมีวัดพระบรมธาตุนครชุมเป็นศูนย์กลางเมืองนครชุมมีประชาชนหลายชนชาติเข้ามาอาศัยอยู่อาทิ ลาวจากเวียงจันทร์ พม่า กระเหรี่ยงมอญ ไทยใหญ่ เงี้ยว จีน แต่วัฒนธรรมได้กลมเกลื่อนกันกลายมาเป็นตำบลนครชุมในปัจจุบันทำให้ นครชุมมีวัฒนธรรมที่หลากหลายแปลกและน่าสนใจที่เก่าแก่เกือบ 200 ปี ประกอบด้วยบ้านเรือนที่งดงามอายุกว่าร้อยปีหลายหลัง ที่ยังรักษาสภาพไว้ได้ มีประเพณีวัฒนธรรมที่กลมกลืนกัน มีอาหารการกินที่แปลกอร่อยขึ้นชื่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งสาวงามที่นครชุม งามกว่าแห่งใดๆ เพราะมีความงามกิริยามารยาทแบบไทยๆ มีผิวพันธุ์แบบพม่าและมีรูปร่างกำลังงามแบบลาว ประชาชนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพรับจ้างและค้าขายเนื่องจากไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอื่นใดที่จะเอื้ออำนวยให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ประชาชน นอกจากภูมิปัญญาพื้นบ้าน ขนบธรรมเนียมประเพณี มรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นและการค้าขายที่เป็นอาชีพหลักของประชาชน ในชุมชนเห็นได้จากเทศกาลงานประเพณีสำคัญๆของ จังหวัดกำแพงเพชร
ดังนั้นการรื้อฟื้นปรับสภาพวิถีชีวิตของคนในชุมชน อาคารบ้านเรือนโบราณ ตั้งแต่ร้านค้าเก่าแก่ตลาดโบราณซึ่งเคยคึกคักเมื่อร้อยปี ที่ผ่านมา แล้วเงียบเหงามากว่า50ปี ให้กลับมาคึกคักอีกครั้งหนึ่งจึงถือว่าเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวนครชุมเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส ให้ถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นและอาหารพื้นบ้าน ชมวิถีชีวิตของคนในชุมชน อาคารบ้านเรือนโบราณโบราณ ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็น มรดกทางวัฒนธรรม และเหมาะแก่การเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ที่สร้างชื่อเสียงให้จังหวัดกำแพงเพชรทางหนึ่ง
รายละเอียดเพิ่มเติม
สถานที่จัดตลาดย้อยยุคนครชุม จัดบริเวณสามแยกนครชุม โดยจัดวางแคร่ไม่ไผ่เป็นที่วางจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่มและสินค้าต่างๆ ต่อเนื่องบนถนน ซึ่งปิดให้เป็นถนนคนเดิน ความยาวประมาณ 200เมตร เปิดทุกๆศุกร์ เสาร์ อาทิตย์แรกของเดือน ตั้งแต่เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป
แหล่งที่มาของข้อมูล
http://www.paiduaykan.com/province/north/kamphaengphet/nakornchummarket.html
คำสำคัญ : ตลาดย้อนยุค
ที่มา : หมู่ 5
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : นางสาวประวีณา เกตุกลมเกลา
https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=523&code_db=DB0012&code_type=003
ศาลเจ้าพ่อปึงเถ่ากง-ม่า
ผู้ศรัทธาต่อองค์ปึงเถ่ากง-ปึงเถ่าม่า เจ้าพ่อเจ้าแม่กำแพงเพชร องค์เจ้าพ่อเสือ เจ้าแม่ทับทิมและองค์เทพภายในศาลทุกองค์ ผู้ที่ได้มากราบไหว้อธิษฐานจิตต่อศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ปึงเถ่าม่า หากปรารถนาสิ่งใดจะสมหวังตั้งใจ สำเร็จรุ่งเรืองถึงลูกหลาน ร่ำรวยด้วยเงินทอง สมบูรณ์สุขด้วยลาภยศและวาสนา สุขกายใจไร้โรคาเบียดเบียนด้วยผลจากความเพียรที่ผู้กราบไหว้ได้สร้างความดีมาอย่างต่อเนื่อง ตามกำลังแห่งศรัทธาและความมีคุณธรรมอย่างเต็มเปี่ยมในจิตใจ
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 154
นมัสการองค์หลวงพ่อโต
พระที่ศักดิ์สิทธิ์และประชาชนให้ความเคารพศรัทธาเป็นที่เลื่องลือทั้งใกล้และไกล ชาวบ้านเล่าขานกันมามากต่อมากว่าท่านศักดิ์สิทธิ์
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 174
ตลาดย้อนยุคนครชุม
บรรยากาศตลาดแบบย้อนยุคภายในตลาดจะมีพ่อค้า แม่ค้าแต่งกายด้วย ชุดไทยนำอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวนครชุมหรือ ร่วมสมัยวางจำหน่ายรวมถึงศิลปหัตถกรรม อาทิ การจักสานไม้ไผ่ งานผีมือใบตองหรือการวาดรูป ระบายสี มุ่งเน้นการ แต่งกายพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมร่วมสมัยสร้างสำนึกในการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมทั้งสร้างแหล่งเรียนรู้ปลูกฝังจิตสำนึกให้แก่เยาวชนรุ่นลูกๆ หลานๆ
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 385
บ้านปางมะนาว
บ้านปางมะนาว (โครงการคลองลาน 2) หมู่ 11 ตำบลปางมะค่า ห่างจากศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดกำแพงเพชร 25 กิโลเมตร ประกอบด้วยชนเผ่าที่มีขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมต่างจากคนพื้นราบ มีพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดบ้านพักแบบโฮมสเตย์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของหมู่บ้านชาวเขา
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 129
การอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวไทยภูเขา
กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมประเพณีและภาษาพูดเป็นของตนเอง อาศัยอยู่บนภูเขา มีอาชีพและรายได้จากการเกษตรเป็นหลัก ลักษณะด้านครอบครัว เครือญาติและชุมชนระดับหมู่บ้านของแต่ละเผ่า มีเอกลักษณ์ของตน ซึ่งแตกต่างกันทุกเผ่ายังคงนับถือผีที่สืบทอดมาจาก การที่ชาวไทยภูเขาอาศัยอยู่ร่วมกับคนไทยบนผืนแผ่นดินไทยได้ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายบ้านเมือง
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 181
พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่5)
พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่5) ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดจันทาราม หมู่ที่ 1 ตำบลลวังแขม จังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 133
พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม
พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม จ. กำแพงเพชรมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งที่วางไว้คือ เพื่อให้คนตระหนักถึงมรดกวัฒนธรรมท้องถิ่น สังคม การละเล่นพื้นบ้าน ภูมิปัญญาของคนเฒ่าคนแก่ นำไปสู่เศรษฐกิจพอเพียง สนองปรัชญาโรงเรียน ที่มุ่งเน้นความกตัญญูต่อโรงเรียนและท้องถิ่น
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 419
ศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง
สถานที่ศักดิ์สิทธิแสดงถึงความเป็นมาของชาวอำเภอพรานกระต่ายว่า มีชายคนหนึ่งมีอาชีพในทางล่าสัตว์ ตั้งนิวาสสถานอยู่บริเวณเมืองพาน ได้ออกป่ามาล่าสัตว์ถึงบริเวณที่ราบลุ่มแถววัดโพธิ์ปัจจุบัน เพราะบริเวณนี้มีน้ำอุดม หญ้าและต้นไม้เขียวชอุ่มตลอดปี พวกสัตว์ต่างๆ ชอบมาอาศัยหากินอยู่บริเวณนี้
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 417
วัดบาง
หลวงพ่อเพชร ณ วัดบาง ตำบลในเมือง อ.เมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของกำแพงเพชรและเป็นที่เคารพของคนกำแพงเพชรเป็นอย่างมากที่สุดอีกองค์หนึ่ง ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหารที่วัดบาง แต่เดิมไม่ได้เปิดให้คนทั่วไปได้เข้าไปสักการบูชา
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 347
พิพิธภัณฑ์เรือนไทย หรือ พิพิธภัณฑสถานกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ
พิพิธภัณฑ์เรือนไทย หรือ พิพิธภัณฑสถานกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ เป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่อยู่ติดกับพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติกำแพงเพชร ในตัวเมืองครับ ภายในประกอบด้วยหมู่เรือนไทยไม้สักทองขนาดใหญ่ หลายหลัง บรรยากาศภายในร่มรื่นมากครับ ที่สำคัญด้านหลังอาคารเรือนไทย มีกล้วยสายพันธุ์แปลกๆให้ชมกว่า 200สายพันธุ์ทีเดียว เรียกว่าเป็นศูนย์รวมสายพันธุ์กล้วย
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 596