แวนด้าเดียรีอิ
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้ชม 539
[16.270447, 99.7046403, แวนด้าเดียรีอิ]
ชื่อไทย แวนด้าเดียรีอิ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Vanda dearei
ลักษณะทั่วไป จัดเป็นแวนด้าประเภทใบแบน มีลักษณะของลำต้นอ้วนใหญ่ ใบกว้างและบิดเล็กน้อย ช่อดอกสั้นมีดอกน้อย กลีบนอกและกลีบในกว้าง แข็งหนา เนื้อละเอียด ดอกสีเหลืองนวลสะอาด หูปากสองข้างเล็กขาว โคนแผ่นปากสีขาว ปลายสีเหลือง ดอกมีกลิ่นหอม แวนด้าชนิดนี้มีบทบาทสำคัญในการผสมปรับปรุงพันธุ์ที่ให้ลูกผสมไปทางสีเหลือง โดยใช้ผสมพันธุ์ควบคู่กับแวนด้าแซนเดอเรียน่า
ช่วงออกดอก ไม่มีข้อมูล
แหล่งที่พบและการกระจายพันธุ์ เป็นกล้ายไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะบอเนียว
สถานภาพ ไม่มีข้อมูล
แหล่งที่มา https://mahasan2535.wordpress.com
คำสำคัญ : กล้วยไม้ แวนด้าเดียรีอิ
ที่มา : 23 หมู่ 6
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : นางสาวปิยธิดา ก้อนจำปา
https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=511&code_db=DB0013&code_type=F002
แซนเดอเรียน่า
แซนเดอเรียน่า เป็นกล้วยไม้ พันธุ์แท้ที่สวยงามที่สุดชนิดหนึ่ง ของประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีชื่อท้องถิ่นเรียกว่า วาล์ลิง-วาล์ลิง(Waling-Waling) กล้วยไม้ชนิดนี้มีลักษณะเป็น แวนดาใบแบน มีต้นขนาดใหญ่ ดอกใหญ่ กลม หนา สีสรรสวยงาม กล้วยไม้พื้นเมืองของประเทศฟิลิปปินส์ชนิดนี้ ได้ถูกนำมาใช้ผสมและพัฒนาพันธุ์กล้วยไม้ สกุลแวนดามากที่สุด ชนิดหนึ่งของโลก
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 385
เอื้องสามปอยแพะ
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 354
แอสโค
(Ascocenda) เป็นกล้วยไม้ที่เจริญเติบโตแบบลำต้นเดี่ยวหรือโมโนโพเดียล เกิดจากการผสมข้ามสกุลระหว่างกล้วยไม้สกุลเข็ม(Ascocentrum) กับสกุลแวนดา (Vanda)
เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 290
บางขุนเทียนโกลด์
แวนด้าเป็นกล้วยไม้ประเภทโมโนโพเดี้ยล ไม่แตกกอ เจริญเติบโตไปทางยอด รากเป็นรากอากาศ ใบมีลักษณะกลม แบนหรือร่อง ใบซ้อนสลับกัน ช่อดอกจะออกด้านข้างของลำต้นสลับกับใบ ช่อดอกยาวและแข็ง กลีบนอกและกลีบในมีรูปร่างคล้ายคลึงกัน โคนกลีบแคบ และไปรวมกันที่โคนเส้าเกสร กลีบดอกในล่างด้านใต้มีเดือยแหลมยื่นออกมาเป็นส่วนท้ายของปากกระเป๋า ปากกระเป๋าของแวนด้าเป็นแบบธรรมดาแบนเป็นแผ่นหนาแข็ง และพุ่งออกด้านหน้า รูปลักษณะคล้ายช้อน หูกระเป๋าทั้งสองข้างแข็งและตั้งขึ้น สีดอกมีมากมายแตกต่างกันตามแต่ละชนิด
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2017 ผู้เช้าชม 167
แวนด้าเดียรีอิ
เป็นกล้ายไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะบอเนียว จัดเป็นแวนด้าประเภทใบแบน มีลักษณะของลำต้นอ้วนใหญ่ ใบกว้างและบิดเล็กน้อย ช่อดอกสั้นมีดอกน้อย กลีบนอกและกลีบในกว้าง แข็งหนา เนื้อละเอียด ดอกสีเหลืองนวลสะอาด หูปากสองข้างเล็กขาว โคนแผ่นปากสีขาว ปลายสีเหลือง ดอกมีกลิ่นหอม แวนด้าชนิดนี้มีบทบาทสำคัญในการผสมปรับปรุงพันธุ์ที่ให้ลูกผสมไปทางสีเหลือง โดยใช้ผสมพันธุ์ควบคู่กับแวนด้าแซนเดอเรียน่า
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 539
เข็มขาว
เข็มขาวเป็นกล้วยไม้แวนด้าใบแบน มีถิ่นกำเนิดทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคกลางตอนบน ใบรูปแถบเรียงสลับ ปลายใบหยักเป็นฟัน ออกดอกที่ข้างลำต้น มีหลายช่อ ยาว 12-15 ซม. ช่อดอกค่อนข้างโปร่ง ดอกขนาด 1.5-2 ซม. กลีบดอกสีขาวรูปแถบแกมรูปไข่กลับ กลีบปากมีลักษณะเป็นถุงขนาดเล็ก ปลายแผ่เป็นแผ่นสั้นผายออก มีจุดขนาดเล็กสีม่วงหนาแน่น ปลายเส้าเกสรสีเหลือง ออกดอกเดือนมกราคม-เมษายน
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 582
เอื้องโมก
เอื้องโมก เป็นกล้วยไม้ที่มีต้นขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ ชอบขึ้นทอดลำต้นเลื้อยขึ้นไปตามต้นไม้ขนาดใหญ่ กล้วยไม้ที่ชอบแสงแดดจัดชนิดนี้ อาจมีลำต้นสูงได้หลายเมตร แตกกอและหน่อแขนงได้ง่าย มีลักษณะต้นและใบ กลม เรียวเล็ก ตั้งตรง หรือ อาจโค้งได้ ในบางครั้ง เอื้องโมก จะแทงตาดอกออกตามข้อ ลำต้นช่วงข้อที่ใกล้กับส่วนยอดของต้น ดอกมีขนาดใหญ่ประมาณ ๔ นิ้ว ในช่อมีดอกได้มากจำนวน ๓-๕ ดอก กลีบดอกสีชมพูขาว กลีบปากมีสีชมพู
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,310
แวนด้าอินซิกนิส
เป็นกล้วยไม้พื้นเมืองของเกาะโมลูกัส จัดเป็นแวนด้าประเภทใบแบน ใบยาวประมาณ 15–20 เซนติเมตร ช่อดอกไม่ยาว มีดอกประมาณ 4–7 ดอก มีกลีบนอกและกลีบในห่างสีเหลืองอมเขียว มีจุดสีช๊อกโกแลต หูปากเล็กสีขาว แผ่นปากกว้างสีม่วงกุหลาบขนาดโตประมาณ 6 เซนติเมตร
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 440
ทับทิมวิลเลจxรอเร็นเซีย
กล้วยไม้สกุลแวนด้าพบในป่าตามธรรมชาติประมาณ 40 ชนิด มีกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเชีย ตั้งแต่อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย อินโดนีเซีย จนถึงฟิลิปปินส์ แวนด้าได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์ขึ้นอีกหลายพันธุ์
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2017 ผู้เช้าชม 171
ฟ้ามุ่ย
ฟ้ามุ่ย (Vanda coerulea) จัดเป็นราชินีของกล้วยไม้ตระกูลแวนด้า ชื่อฟ้ามุ่ย หมายถึงสีฟ้าอมม่วง คำว่า. ‘มุ่ย’แปลว่าม่วง ดังนั้น จึง เป็นกล้วยไม้ของไทยชนิดเดียวในโลก ที่มีสีน้ำเงินฟ้า อมม่วง สดใส ซึ่งเป็นสีที่หายากในกล้วยไม้ และดอกที่มีขนาดใหญ่เป็นช่อตั้งสวยงามสะดุดตา ถึงแม้ว่า เราจะพบฟ้ามุ่ย ในบางส่วนของประเทศอินเดีย พม่า ก็ตาม แต่ได้มีการยืนยันจากนักกล้วยไม้ ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ต่างก็ยอมรับว่าฟ้ามุ่ยจากป่าเมืองไทยเป็นฟ้ามุ่ยที่มีดอกใหญ่ สีเข้มและลายสมุกชัด กว่าแหล่งกำเนิดอื่นใดในภูมิภาค
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 685