น้อยหน่า
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 671
[16.3195807, 99.4823672, น้อยหน่า]
วิธีการปลูก
1. ควรปลูกในช่วงฤดูฝน
2. ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้าง ยาวและลึกประมาณ 50 เซนติเมตร
3. ผสมดิน ปุ๋ยคอกจำนวน 5 กิโลกรัม และปุ๋ยร็อคฟอสเฟตจำนวน 5 กิโลกรัม ประมาณ 500 กรัม เข้าด้วยกันในหลุมสูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
4. ยกถุงกล้าต้นไม้วางในหลุม โดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย
5. ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากถุงทั้ง 2 ด้าน (ซ้ายและขวา)
6. ดึงถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก
7. กลบดินที่เหลือลงในหลุม
8. กดดินบริเวณโดนต้นให้แน่น
9. ปักไม้หลักและผูกเชือกยึด เพื่อป้องกันลดพัดโยก
10. หาวัสดุคลุดดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง
11. รดน้ำให้ชุ่ม
12. ทำร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดด
การให้ปุ๋ย
1. ต้นที่ยังไม่ให้ผลผลิตใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 0.5 กิโลกรัม/ต้น/ปี แบ่งใส่ 2 - 3 ครั้ง
2. ต้นที่ให้ผลผลิตแล้ว แบ่งการใส่ปุ๋ยดังนี้
- บำรุงต้น ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15
- ระยะสร้างตาดอก ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24
- บำรุงผล ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15
- ปรับปรุงคุณภาพ ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21
การให้น้ำ
ในระยะปลูกใหม่ จำเป็นต้องให้น้ำสม่ำเสมอ จะช่วยให้น้อยหน่าเจริญเติบโตได้เร็ว จำนวนรอดตายสูง น้อยหน่าเริ่มติดผลได้ในปีที่ 2 การให้น้ำแก่ต้นน้อยหน่าสม่ำเสมอจะทำให้ขนาดของผลและคุณภาพผลดี
การปฏิบัติอื่น ๆ
น้อยหน่าที่ให้ผลในระยะ 2 - 3 ปีแรก ไม่จำเป็นต้องตัดแต่งกิ่ง เพราะยังให้ผลขนาดใหญ่อยู่จะต้องตัดแต่งบ้างก็เป็นกิ่งที่สูงเกินไป กิ่งฉีกหัก กิ่งแก่ กิ่งไม่สมบูรณ์ ส่วนการตัดแต่งกิ่งครั้งใหญ่ จะเริ่มตัดแต่งกิ่งเมื่อน้อยหน่าอายุประมาณ 4 - 8 ปี ซึ่งต้นจะเริ่มเสื่อมโทรม ผลเล็ก รูปร่างไม่ดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ความสมบูรณ์ของต้นและการบำรุงรักษาเป็นสำคัญ
การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
1. ระยะแตกใบอ่อน ศัตรูพวกหนอนกินใบ ป้องกันโดยพ่นคาร์บาริล
2. ระยะออกดอก ศัตรูหนอนกัดกินดอกอ่อน ป้องกันโดยพ่นสารคาร์บาริล
3. ระยะติดผล โรคมั่นมี่ ป้องกันโดยพ่นสาร แคบแทน ไดเทนเอ็ม 45 โฟลิดอลและเพลี้ยแป้ง ป้องกันโดยพ่นสารคลอไพริฟอส ผสม ไซเปอร์เมทริน
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
1. ดัชนีการเก็บเกี่ยว ผลน้อยหน่าจะเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 110 - 120 วัน จากดอกบานโดยสังเกตร่องตาน้อยหน่าเริ่มห่างและสีร่องตาเข้ม ผิวจะเปลี่ยนจากสีเขียวอมเหลือง สำหรับน้อยหน่า-หนัง สำหรับพันธุ์สีครั้งจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง
2. การเก็บเกี่ยว โดยใช้มือปลิดผลติดขั้ว ถ้าอยู่สูงจะใช้ไม่ง่ามสอย ลงมาปลดผล ใส่ตะกร้า นำมาคัดขนาด และบรรจุผลใส่ภาชนะบรรจุ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ตะกร้าสานด้วยไม้ไผ่ โดยรองด้วยใบตอง
3. อายุการเก็บรักษา หลังจากขนส่งน้อยหน่าส่งตลาดผลผลิตจะเริ่มสุก ขึ้นอยู่กับความแก่ของผลผลิตที่เก็บเกี่ยวปกติอายุการวางขยายผลผลิต จะอยู่ระหว่าง 3 - 5 วัน
คำสำคัญ : น้อยหน่า
ที่มา :
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : นางสาวอาทิมา ชายยินดี
https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=336&code_db=DB0014&code_type=F002
บวบ
บวบอยู่ในตระกูลเดียวกันกับมะระและใช้ผลมารับประทานเป็นอาหาร โดยนำมา ผัด ต้ม แกง ในขณะที่ผลยังอ่อนอยู่ บวบขึ้นได้ดีในแถบร้อน ดังนั้น จึงปลูกกันมากใน จีน อินเดีย ฮ่องกง บวบเป็นพืชเถาเลื้อย มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกัน แต่อยู่ในต้นเดียวกัน
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 312
กล้วยน้ำว้า
กล้วยน้ำว้า (Klui Namwa) จัดเป็นกล้วยพื้นเมืองที่พบได้ทั่วไปในทุกภาค เป็นกล้วยที่นิยมปลูกไว้ในทุกครัวเรือนเพื่อการรับประทานผลสุก และแปรรูปผลดิบ รวมถึงการนำส่วนต่างๆมาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะใบตองที่ใช้สำหรับห่ออาหารหรือประกอบอาหาร ปลีกล้วย และหยวกกล้วยสำหรับนำมาปรุงอาหาร
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 328
พริกขี้หนู
พริกขี้หนู (Hot chilli) ถือเป็นพริกที่นิยมนำมารับประทานหรือนำมาใช้ประโยชน์มากในบรรดาพริกทั้งหลาย เนื่องด้วยเป็นพริกที่มีรสเผ็ดจัด สีแดงสดสวยงามเหมาะสำหรับการปรุงอาหารหรือนำมาแปรรูปเป็นพริกป่นสำหรับการประกอบอาหาร
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 631
มะเขือเทศ
การปลูกมะเขือเทศ โดยทั่วไปไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิมหรือในพื้นที่ปลูกพืชในตระกูลเดียวกันกับมะเขือเทศมาก่อน เช่น พริก มะเขือและยาสูบ เป็นต้น เพราะอาจมีเชื้อโรคต่างๆ สะสมอยู่ในดิน ซึ่งเป็นโอกาสให้มะเขือเทศเป็นโรคได้ง่าย
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 371
มะนาวแป้นดกพิเศษ
มะนาวชนิดนี้ เกิดจากการนำเอาเมล็ดของ มะนาวแป้นรำไพ จำนวนหนึ่งไปขยายพันธุ์จนแตกต้นขึ้นมาปลูกเลี้ยงจนต้นโตและติดผล ปรากฏผลมีขนาดใหญ่กว่าผลของมะนาวแป้นรำไพที่เป็นพันธุ์แม่อย่างชัดเจน ผู้ขยายพันธุ์จึงคัดเอาเฉพาะต้นดีที่สุดไปขยายพันธุ์ตอนกิ่งปลูกทดสอบหลายครั้งจนแน่ใจว่าเป็นมะนาวกลายพันธุ์ถาวรอย่างแน่นอนแล้ว จึงตั้งชื่อว่า “มะนาวแป้นดกพิเศษกำแพงเพชร” พร้อมตอนกิ่งออกจำหน่ายได้รับความนิยมจากผู้ปลูกอย่างแพร่หลายเรื่อยมานานกว่า 3-4 ปีแล้ว
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 138
แตงกวา
แตงกวาเป็นพืชที่นำผลมาใช้เป็นอาหาร มนุษย์เริ่มบริโภคแตกวามานากว่า 3,000 ปีเลยทีเดียว ชาวจีนเป็นผู้เผยแพร่พันธุ์แตงกวาไปสู่ประเทศต่างๆ ผลของแตงกวานำมาประกอบอาหารได้ในลักษณะดิบและสุก นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในอุตสาหกรรมทำอาหารดอง แตงกวาเป็นพืชที่ปลูกง่าย อายุสั้น การเจริญเติบโตเป็นพุ่มและมีเถาเลื้อย
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 490
ผักบุ้งจีน
ผักบุ้งจีน เป็นผักที่คนไทยนิยมรับประทานเนื่องจากเป็นผักที่หาซื้อได้ขายตามท้องตลาด และเกษตรกรนิยมปลูกผักบุ้งจีนเนื่องจากเป็นผักที่ปลูกได้ง่าย เจริญเติบโตไว ระยะเวลาการปลูกเพียง 25-30วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว และเป็นผักสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 524
มะเขือยาว
มะเขือยาว เป็นพืชข้ามปี สามารถเจริญ เติบโตในดิน ทุกสภาพ ดินมีความเป็น กรดเป็นด่าง อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ปลูก ได้ ตลอดปี และทั่วทุกภาค ของไปประเทศไทย มะเขือยาว เป็นพืชที่เรา ใช้ส่วนผล ในการบริโภค ใช้เป็นผักสด หรือประกอบ อาหารได้หลายชนิด
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 239
พริกหยวก
พริกหยวกมีอยู่หลายพันธุ์ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นพันธุ์ที่เราเห็นๆ กันอยู่ในตลาด ลูกสีเขียวอ่อน มีรสเผ็ดนิดหน่อยเอามาผัดเปรี้ยวหวานก็ได้ ผัดกับอะไรที่เราชอบก็ได้ สุกง่ายและหวานกรอบ บางคนชอบเอาไปใส่ในเต้าเจี้ยวหลน ในกะปิคั่ว ก็อร่อยไปอีกแบบหนึ่ง
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 240
ฟัก
ฟักเป็นพืชตระกูลเดียวกับแตง บวบ นอกจากใช้ผลทั้งอ่อนและแก่มารับประทานเป็นอาหารแล้ว ยังสามารถใช้ใบอ่อน ยอดอ่อน มาต้มรับประทานได้ด้วย ผลของฟักนำไปประกอบอาหารคาวและหวานได้ มีการปลูกกันมากในประเทศจีนและปลูกกันมามากกว่า 2,000 ปีมาแล้ว
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 758