พระพุทธรูปทรงเครื่องปางเสวยมธุปายาส
เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้ชม 2,089
[16.4880015, 99.520214, พระพุทธรูปทรงเครื่องปางเสวยมธุปายาส ]
ชื่อโบราณวัตถุ : พระพุทธรูปทรงเครื่องปางเสวยมธุปายาส
แบบศิลปะ : ศิลปะรัตนโกสินทร์
ชนิด : สำริด
ขนาด : สูงพร้อมฐาน 20.5 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 7 เซนติเมตร
อายุสมัย : พุทธศตวรรษที่ 23 - 24
ลักษณะ : พระพุทธรูปปางเสวยมธุปายาสเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบ ประคองถาดข้าวมธุปายาส เป็นเหตุการณ์ภายหลังจากพระสิทธัตถะทรงเลิกบำเพ็ญทุกกิริยา ในตอนเช้าวันเพ็ญวิสาขะ 15 ค่ำ เดือน 6 นางสุชาดา บุตรีของเสนคหบดีแห่งบ้านเสนานิคม เมืองอุรุเวลา หุงข้าวมธุปายาส (ข้าวสุกหุงด้วยน้ำนมโค) จัดลงในถาดทองคำเพื่อบวงสรวงเทวดาที่ต้นไทรใหญ่ ครั้นเห็นพระโพธิสัตว์ประทับอยู่บังเกิดจิตศรัทธา จึงถวายข้าวมธุปายาสถาดนั้นแก่พระโพธิสัตว์ เมื่อพระโพธิสัตว์ทรงรับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดาแล้ว พระองค์ทรงถือถาดข้าวมธุปายาสเสด็จสู่แม่น้ำเนรัญชรา ทรงแบ่งข้าวมธุปายาสเป็น 49 ส่วน แล้วปั้นเป็นก้อน 49 ก้อน และเสวยข้าวนั้นจนหมด
ประวัติ : พระครูวิมลวชิรคุณ เจ้าอาวาสวัดคูยาง จังหวัดกำแพงเพชร มอบให้
สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
ภาพโดย : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/kamphaengphet
คำสำคัญ : พระพุทธรูปทรงเครื่องปางเสวยมธุปายาส
ที่มา : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/kamphaengphet
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระพุทธรูปทรงเครื่องปางเสวยมธุปายาส . สืบค้น 16 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=333&code_db=DB0012&code_type=0012
Google search
ตะเกียงเผา ศิลปะทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 15-16) พบที่เมืองไตรตรึ่งษ์ อำเภอเมือง จังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 3,353
หลวงพ่ออุโมงค์ พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน องค์มหึมา พบที่วัดสว่างอารมณ์ กำแพงเพชร หลวงพ่ออุโมงค์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร ศิลปะเชียงแสน สิงห์สาม สร้างราวพุทธศักราช 1700-1800 มีข้อสันนิษฐานมากมาย ว่าท่านเสด็จมาอยู่ในกำแพงเพชรได้อย่างไร เพราะกำแพงเพชร มิได้อยู่ในสมัยเชียงแสน ข้อสันนิษฐานที่พิสดาร คือ เมื่อคราวพระเจ้าชัยศิริ โอรสของพระเจ้าพรหมมหาราช อพยพผู้คน มาตั้งเมืองแปบ เขตเมืองกำแพงเพชร ในราวพุทธศักราช 1600 อาจจะนำหลวงพ่ออุโมงค์มาเป็นมิ่งขวัญด้วย แต่พุทธลักษณะน่าจะเป็นเชียงแสนสิงห์หนึ่ง (อาจจะบูรณปฏิสังขรณ์ภายหลัง ทำให้พุทธลักษณะเปลี่ยนไป)
เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 2,527
บาลีดินเผา ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-21) พบที่จังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 1,276
ท้าวกุเวร กรุทุ่งเศรษฐี ศิลปะสมัยพระยาลิไท ปลายสมัยสุโขทัย สันนิษฐานกันว่า พระเจ้าแผ่นดินทรงฉลองปีพุทธชยันตี พ.ศ.1900 พบที่ทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2017 ผู้เช้าชม 6,122
ท่อนองค์เทวสตรี ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21) เดิมประดิษฐานในเมืองกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 2,744
แผ่นลวดลายกลีบบัวดินเผาประดับโบราณสถาน ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21) พบที่วัดช้างล้อม จังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 2,207
กระปุกดินเผา ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21-23) พบที่จังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 3,182
ตามประวัติเดิมหลวงพ่อเพชรประดิษฐานอยู่ที่วัดจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เมื่อครั้งสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ยกทัพไปปราบหัวเมืองเหนือ ขณะเสด็จกลับผ่านเมืองพิจิตร พระพิจิตรเจ้าเมืองได้กราบบังคมทูลว่าตนต้องการพระพุทธรูปประจำเมือง เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จพระราชดำเนินกลับมาจากเชียงใหม่จึงทรงอัญเชิญหลวงพ่อเพชร ล่องแพมาทางลำน้ำปิง แล้วอัญเชิญหลวงพ่อเพชรประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรก่อน และทรงแจ้งให้เจ้าเมืองพิจิตรทราบ พระพิจิตรได้รับทราบจึงนำชาวบ้านจำนวนมากไปเมืองกำแพงเพชร เพื่อทำการสักการะแล้วอัญเชิญ หลวงพ่อเพชรแห่แหน มาประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถวัดนครชุม เมืองพิจิตร(เก่า) ส่วนหลวงพ่อเพชรที่อยู่วัดปราสาทเป็นพระเนื้อสำริด
เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 1,030
อิฐสลักภาพม้าเเละพันธ์พฤกษา ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-21) พบที่จังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 1,155
เศียรครุฑปูนปั้น ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21) พบในจังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,216