บ้านโบราณสมัยรัชกาลที่ 5

บ้านโบราณสมัยรัชกาลที่ 5

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2018 ผู้ชม 5,866

[16.4838832, 99.4916676, บ้านโบราณสมัยรัชกาลที่ 5]

             บ้านที่สวยที่สุดในอดีตของคลองสวนหมาก เห็นจะได้แก่บ้านพะโป้ หรือที่ชาวกำแพงเพชรเรียกกันติดปากในปัจจุบันนี้ว่า “บ้านห้าง ร.5”  ตั้งอยู่ริมคลองสวนหมาก คลองเล็กๆ ที่ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปิง บริเวณวัดพระบรมธาตุ  เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง รูปแบบไทยผสมตะวันตก ประดับด้วยไม้ฉลุลายอย่างประณีต เป็นบ้านของ พะโป้ คหบดีชาวพม่า ซึ่งมีอาชีพค้าไม้ที่บริเวณปากคลองสวนหมาก เมืองนครชุม ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยได้ซื้อบ้านมาจากพระยาราม ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จประพาสต้น เมืองกำแพงเพชร เมื่อปี พ.ศ. 2449 ได้เสด็จเยือนบ้านพะโป้ จนเป็นที่มาของชื่อ บ้านห้าง ร.5 ตามประวัติกล่าวว่า มองสุภอ หรือ พระยาตะก่า พี่ชายพะโป้ ได้เข้ามาขอรับเช่าทำการค้าไม้ จากพระยากำแพงเพชร (อ่อง) ในราวปลายรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2418 จนถึงปี พ.ศ. 2418 ได้ถึงแก่กรรม
             พะโป้ เป็นพ่อค้าไม้และเป็นคหบดีใหญ่ชาวกระเหรี่ยง ผู้ปฏิสังขรณ์เจดีย์โบราณพระบรมธาตุ ตำบลนครชุม ต่อจากแซงพอ หรือพญาตะก่า ผู้เป็นพี่ชาย ได้รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ คราวเสด็จประพาสต้นวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๙   ดังมีชื่อในพระราชนิพนธ์เรื่องเสด็จประพาสต้นครั้งที่ ๒ และมีภาพตัวบ้านในอัลบั้มภาพทรงถ่าย เคยมีชื่ออยู่ในนิยายอิงบรรยากาศจริงเรื่อง “ทุ่งมหาราช” ของ “เรียมเอง” หรือมาลัย ชูพินิจ นักเขียน ผู้ถือกำเนิดจากชุมชนปากคลองสวนหมากโดยตรง
             จากถนนพหลโยธินเลี้ยวเข้าตลาดนครชุม ขับรถผ่านบ้านเรือนและตลาดเล็กๆ ที่น่ารักไม่กี่ร้อยเมตรก็ถึงวัดสว่างอารมณ์ นั่งดื่มโอเลี้ยงอร่อยๆ ได้ต้นไม้อันร่มรื่นบริเวณหน้าวัด แล้วเดินเลียบคลองสวนหมากต่อไปเพียงเล็กน้อยก็ถึงบ้านพะโป้ ทันทีที่เห็นบ้านสองชั้นสูงตระหง่านตรงหน้า เราจะรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตของบ้านหลังนี้ได้โดยไม่มีใครต้องบอกเลย มันสูงใหญ่มาก สูงกว่าบ้านสองชั้นปกติทั่วไป มันตั้งอยู่บนเสาสูงเหนือพื้นและมีความกว้างถึง ๗ คูหา ข้างบนมีระเบียงไม้เป็นแนวยาว ทั้งเสาหลักและ ตัวราวกันตกกลึงเกลาอย่างบ้านฝรั่ง บนเชิงชายประดับด้วยลายลูกไม้ตามธรรมเนียมนิยม  ในยามน้ำลดหน้าแล้ง หากเดินออกไปยืนดูวิวจากระเบียง จะมองเห็นลำคลองและหาดทรายแสนสวยคั่นระหว่างบ้านและตัวตลาด เป็นภาพที่งดงามยากยิ่งที่จะลืมเลือน
             รูปทรงกลิ่นยุโรปของชาวบ้านให้นึกถึงคฤหาสน์แสนสวยที่เคยมีผู้คนพลุกพล่านอยู่ข้างใน มีนาย  มีบ่าว มีเครื่องใช้ราคาแพง สมฐานะพ่อค้าไม่ผู้ร่ำรวย ยิ่งผู้ใดได้อ่านหนังสือทุ่งมหาราชอันหมายถึงท้องถิ่นแถบคลองสวนหมาก ที่พระปิยะมหาราช (รัชกลาที่ ๕) เคยสะเด็จประพาสต้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ ก็จะยิ่งจินตนาการเห็นภาพลึกเข้าไปราวเดินอยู่ในบรรยากาศเมื่อครั้งกระโน้นอย่างสดใสเกินบรรยาย
             พะโป้ถึงแก่กรรมราว พ.ศ.๒๔๖๐ หลังจากนั้นกิจการทำไม้ของพะโป้ก็ตกเป็นของบริษัททำไม้แห่งหนึ่ง   (ไม่ระบุชื่อ) จนเมื่อไม้มีไม่พอทำแล้ว บริษัทก็ปิดที่ทำการนี้ลงและบ้านห้างก็ถูกทิ้งนับตั้งแต่นั้น
             พะโป้ มีบุตรหลานหลายคน เช่น นางแกล นางทับทิม และนายทองทรัพย์ รัตนบรรพต นายทองทรัพย์ คนหลังเป็นพ่อของอาจารย์กัลยา รัตนบรรพต ที่คณะวารสารเมืองโบราณและคณะอาจารย์ชาวกำแพงเพชรเคยสัมภาษณ์  แม้บ้านพะโป้ในโลกปัจจุบันจะทรุดโทรมและเรือนบริวารก็ไม่มีให้เห็นเหมือนเมื่อครั้งเก่าก่อน แต่ก็คงประทับใจบ้านหลังนี้มาก เกิดความซาบซึ้งและอยากหวนกลับไปอีก

ภาพโดย : http://nakhonchum.go.th/index.php?options=travel&mode=detail&id=196

คำสำคัญ : บ้านห้าง ร.5, บ่้านพระโป้

ที่มา : http://nakhonchum.go.th/index.php?options=travel&mode=detail&id=196

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). บ้านโบราณสมัยรัชกาลที่ 5. สืบค้น 26 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=314&code_db=DB0013&code_type=F001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=314&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดท่าหมัน

วัดท่าหมัน

วัดท่าหมัน บ้านปากคลอง เคยเป็นวัดที่เก่าแก่และเคยเจริญรุ่งเรือง บ้านปากคลองเหนือ ที่เรียกว่าวัดท่าหมัน เพราะมีต้นหมันขนาดใหญ่ขึ้นเป็นร่มเงาของท่าน้ำ ที่มีการคมนาคมทางน้ำ มีการค้าขายทุกชนิดมีสินค้าออกจากป่า ได้หวาย น้ำมันยาง ไม้ท่อน ไม้แผ่นที่ขายเป็นยก สีเสียด น้ำผึ้ง หนังสัตว์ เนื้อสัตว์ทุกชนิดมาขึ้นซื้อขายกันที่ท่าหมันแห่งนี้ คือบริเวณตลาดนครชุมปัจจุบัน ท่าน้ำที่มีในตอนนี้ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีผู้คนมาใช้มากที่สุดแห่งหนึ่งที่บ้านปากคลองสวนหมาก ร้านผัดไทยแม่สุภาพปากคลอง ก็เคยเป็นที่ตั้งของวัดท่าหมันเช่นกัน ที่คนปากคลองรู้จักกันดี

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 1,131

วัดพระนอน

วัดพระนอน

วัดพระนอน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ (พ.ศ. ๒๑๐๐ – พ.ศ. ๒๒๙๙) เป็นวัดขนาดใหญ่ที่มีแผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งอยู่นอกเมืองทางทิศเหนือ หรือบริเวณที่เรียกว่าอรัญญิก หันหน้าไปทางทิศตะวันออก กำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลงเฉพาะด้านทิศตะวันออกและด้านทิศใต้ หน้าวัดมีศาลา บ่อน้ำ และห้องน้ำ ภายในวัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๒ ส่วน คือ เขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาส มีกำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลง สิ่งก่อสร้างสำคัญในเขตพุทธาวาสประกอบด้วย พระอุโบสถ วิหารพระนอน เจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ และมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย เขตสังฆาวาสตั้งอยู่ด้านเหนือของเขตพุทธาวาส เป็นบริเวณที่พักอาศัยของสงฆ์ มีกุฏิ ศาลา บ่อน้ำ และเว็จกุฎิ (ห้องส้วม) และได้พบใบเสมาหินชนวนจำหลักลวดลาย ปัจจุบันนำไปแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 6,059

วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ

วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ

วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นที่ตั้งของตลาดท่องเที่ยว 3 วิถี แต่ก่อนจะไปเดินเล่นที่ตลาด แวะมาชมความงดงามของตัวพระวิหาร รวมทั้งเสาและประตูวิหารที่แกะสลักอย่างอ่อนช้อยสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ของวิถีภาคเหนือ พร้อมกราบสักการะหลวงพ่อโตองค์ใหญ่ พระพุทธรูปศิลปะล้านนาในวิหารวัด เดินเข้าไปภายในวิหารรู้สึกได้ถึงความร่มเย็นและเงียบสงบ วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ เป็นวัดในท่าขุนราม ที่มีสถาปัตยกรรมโดดเด่นตามแบบฉบับล้านนาทางเหนือ ที่ไม่ควรพลาดมาเยี่ยมชม

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 816

วัดบ่อเงิน

วัดบ่อเงิน

วัดบ่อเงิน ตั้งอยู่เลขที่ 264 หมู่ที่ 12 ตำบลเทพนคร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชรโดยสำนักพุทธศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ อนุญาตให้ตั้งเป็นวัดบ่อเงิน ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2525 หลักฐานที่ดินในการตั้งวัดบ่อเงิน เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เล่มที่ 13 (3) หน้า 53 จากที่ดินอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เดิมวัดบ่อเงิน ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 7 ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 1,145

วัดช้างรอบ

วัดช้างรอบ

"วัดช้างรอบ" ซึ่งเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร วัดช้างรอบ เป็นวัดใหญ่ตั้งอยู่บนเนินสูง มีพระเจดีย์ใหญ่ตั้งอยู่กลางลานสี่เหลี่ยมที่ฐานเป็นรูปช้างครึ่งตัวเห็นแต่ 2 ขาหน้า หันศรีษะออกจากฐานรายรอบเจดีย์ เป็นช้างทรงเครื่อง จำนวน 68 เชือก

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 9,617

วัดป่ามืดนอก

วัดป่ามืดนอก

วัดป่ามืดนอก คือพระโกลนศิลาแลง ซึ่งธรรมดาจะไม่มี หูตา จมูก ปาก และรายละเอียด ของพระ จะเป็นพระที่มีปูนฉาบอยู่ และรายละเอียด จะตกแต่งจากปูน มากกว่าศิลาแลง แต่พระพุทธรูปทุกองค์ ในวัดนี้ มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า ศิลาแลง มิใช่โกลน แต่ เป็นศิลาแลงที่ตกแต่ง รายละเอียดของพระพักตร์ ..มี พระเนตร พระกรรณ พระนาสิก พระโอษฐ์ ที่ชัดเจน

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,464

วัดอาวาสใหญ่

วัดอาวาสใหญ่

เป็นวัดที่ก่อสร้างใหญ่โต มีเจดีย์และวิหารมาก อยู่ริมถนนไปอำเภอพรานกระต่าย ห่างจากประตูโคมไฟไปทางเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร กำแพงวัดเป็นศิลาแลง กลางวัดมีฐานพระเจดีย์แปดเหลี่ยมใหญ่กว้างด้านละ 16 เมตร ด้านหน้าวัดอาวาสใหญ่ ริมถนนมีบ่อสี่เหลี่ยมใหญ่ขุดลงไปในพื้นศิลาแลงกว้าง 9 เมตร ยาว 17 เมตร ลึก 7-8 เมตร เรียกว่า “บ่อสามแสน” และตรงด้านหน้าเจดีย์ประธานด้านทิศเหนือ มีบ่อศิลาแลงขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีฐานวิหารทั้งใหญ่และเล็กรวม 10 วิหาร ฐานเจดีย์รวม 9 ฐาน วัดนี้อยู่ริมถนนสะดวกในการเข้าชม

เผยแพร่เมื่อ 06-02-2017 ผู้เช้าชม 3,070

วัดมะคอก

วัดมะคอก

เป็นวัดที่สำคัญอีกวัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งชื่อตามชื่อต้นไม้ในบริเวณวัดคือต้นมะคอก เป็นวัดขนาดกลางที่ยังมิได้ขุดแต่ง วัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ไม่พบกำแพงด้านนอกวัดทั้งสี่ด้าน อาจเป็นเพราะวัดมะคอก อาจสร้างก่อนวัดอื่นๆในบริเวณเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,502

วัดอมฤต

วัดอมฤต

เป็นวัดสำคัญ ที่สุดของบ้านร้านดอกไม้ ซึ่งปัจจุบัน เรียนขานกันว่าบ้านลานดอกไม้ ซึ่งมีที่มาว่าเมื่อเจ้าดารารัศมี พระวรชายา ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครา เสด็จ กลับชียงใหม่ ได้ประทับที่ บ้านร้านดอกไม้ ซึ่งประชาชนได้ เตรียมร้านดอกไม้เพื่อเตรียมการรับเสด็จเจ้าดารารัศมี ชาวบ้านกล่าวขานกันว่า เจ้าดารารัศมี เรียกชุมชนแห่งนี้ว่าบ้านร้าน ดอกไม้ ต่อมา เลือนไปกลายเป็นบ้านลานดอกไม้ ในที่สุด

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,464

วัดพระกรุสี่ห้อง

วัดพระกรุสี่ห้อง

วัดกรุสี่ห้อง โบราณสถานวัดกรุสี่ห้อง เป็นโบราณสถานอยู่ที่ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร ปรากฏโบราณสถานอยู่ทั่วไป รวมถึงสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 2,048