ตำนานเขานางทอง

ตำนานเขานางทอง

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2018 ผู้ชม 2,170

[16.7217067, 99.2478327, ตำนานเขานางทอง]

       ตำนานเล่าว่า นางทองเป็นผู้หญิงสาวชาวบ้านเมืองพานที่สวยงามมาก ต่อมาถูกพญานาค กลืนเข้าไปในท้อง พระร่วงเจ้าผู้ครองนครเมืองพานได้พบเห็นจึงได้เข้าช่วยโดยใช้อิทธิฤทธิ์ของตน ล้วงนางทองออกมาจากคอของพญานาค เนื่องจากนางทองเป็นคนที่มีสิริโฉมงดงามจึงเป็นที่สบพระทัยของพระร่วง ต่อมาจึงได้อภิเษกเป็นพระมเหสี (เมียหลวง) และยังได้นางคำหญิงชาวบ้านอีกคนหนึ่งเป็นพระสนมเอก (เมียน้อย) อีกองค์หนึ่งด้วย อยู่มาวันหนึ่งพระร่วงได้เสด็จไปเที่ยวในกรุงสุโขทัย พระมเหสีทองซึ่งเป็นคนที่มีความมานะอดทนขยันหมั่นเพียรในการทอผ้าด้วยกี่ทอผ้า ได้ไปซักผ้าอ้อมที่สระน้ำซึ่งพระร่วงได้สร้างพระตำหนักแพหน้าพระราชวังในคลองใหญ่ไว้เป็นที่พักผ่อนพระอิริยาบทและซักผ้า ในวันนั้นขณะที่ซักผ้าอ้อมเสร็จและจะนำไปตาก (บริเวณที่ตากผ้าอ้อมนั้น ไม่มีต้นไม้ขึ้นเลย จะโล่งเตียนไปหมด เพราะ พระร่วงสาปไว้สำหรับตากผ้าอ้อม) ระหว่างที่ตากผ้าอ้อมพระมเหษี ทองก็กลัวว่าผ้าอ้อมจะไม่แห้งจึงทรงอุทานขึ้นเป็นทำนองบทเพลงเก่าว่า "ตะวันเอยอย่ารีบจร นกเอยอย่ารีบนอน หักไม้ค้ำตะวันไว้ก่อน กลัวผ้าอ้อมจะไม่แห้ง"          
       ผลปรากฏว่าตะวัน หรือดวงอาทิตย์ไม่ยอมเคลื่อน จนกระทั่งผ้าอ้อมแห้ง จึงได้โคจรต่อไปและที่ คลองใหญ่หน้าพระราชวังแห่งนั้น พระร่วงได้เลี้ยงจระเข้ไว้ด้วย แล้วพอดีจระเข้ตัวนั้นเกิดหิวขึ้นมาจึงคาบพระมเหสีทองไป เพื่อเอาไปกินแต่ขณะนั้นเป็นเวลาที่พระร่วงกลับจากสุโขทัยพอดี พอกลับมาพระร่วงไม่เห็นนางทองจึงถามพวกนก พวกกวาง (สมัยนั้นเชื่อกันว่าสัตว์ทุกตัวพูดได้) ว่าพระมเหสีทองหายไปไหน พวกสัตว์ต่างๆ ก็บอกว่าพระมเหสีทองได้ถูกจระเข้คาบไปแล้ว พระร่วงได้ยินดังนั้นก็รีบตามไปทันที พระร่วงเดินทางไปทางไหนต้องการให้เป็นทางเดินก็ปรากฏเป็นทางเดิน ทางเกวียนตลอดทาง พระร่วงได้เดินทางผ่านนาป่าแดง คลองวัว และได้ขอน้ำกินแถวๆ หมู่บ้าน (หมู่บ้านนาป่าแดงปัจจุบัน) พระร่วงพูดว่า "ข้าหิวน้ำจังเลย ขอน้ำกินหน่อยได้ไหม" คนในหมู่บ้านไม่ให้กินจึงพูดว่า "น้ำข้าไม่มี" พระร่วงเป็นคนที่วาจาศักดิ์สิทธิ์อยู่แล้ว พระร่วงจึงพูดว่า "เออ อย่างนั้นพวกมึงก็ไม่ต้องมีน้ำกินตลอดไป" จนป่านนี้นาป่าแดงจึงไม่ค่อยมีน้ำกินน้ำใช้กัน          
       พระร่วงได้ตามจระเข้ที่คาบพระมเหสีทองทันที่คลองทองแดง (ใกล้ ๆ ศาลากลางจังหวัดในปัจจุบัน) พอเจอกันก็สายเสียแล้ว จระเข้ได้กินพระมเหสีทองไปแล้ว พระร่วงจึงสาปจระเข้ให้เป็นหินอยู่ตรงนั้นมาถึงทุกวันนี้ พระร่วงเสด็จกลับเข้าวังด้วยความสลดใจและไม่อาจลืมความรักความอาลัยในตัวพระมเหสีทองได้จึงอพยพราษฎรลงไปทางใต้เพื่อไปตั้งเมืองใหม่ขึ้นที่เมืองสังขบุรีแขวงเมืองอยุธยา เมืองพานจึงกลายเป็นเมืองร้างในยุคหนึ่ง ในปัจจุบันนี้มีราษฎรจากอำเภอพรานกระต่าย มาตั้งถิ่นฐานกันอยู่หลายสิบหลังคาเรือน     
       เขานางทอง ตั้งอยู่ในเขต ตำบลเขาคีริต อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเขาที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองบางพานและเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ที่สันนิฐานกันว่าพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไทย) ทรงสร้างไว้บนยอดเขา ตามหลักฐานในหลักศิลาจารึกหลักที่ 3 ศิลาจารึกนครชุม ด้านที่ 2 บรรทัดที่ 52-57 ปรากฎข้อความดังต่อไปนี้ "พระยาธรรมมิกราช ให้ไปพิมพ์เอารอยตีน…พระเป็นเจ็งเถิงสิงหล อันเหยียบเหนือจอมเขาสุมนกูฎบรรพต ประมาณเท่าใดเอามาพิมพ์ไว้ จุ่งคนทั้งหลายแท้…อันหนึ่งประดิษฐสถานไว้ในเมืองศรีสัชนา เหนือจอมเขา…อันหนึ่งประดิษฐสถานไว้ในเมืองสุโขทัยเหนือเขาสุมนกูฎ อันหนึ่งประดิษฐสถานไว้ในเมืองบางพานเหนือจอมเขานางทอง " บนเขานางทองมีการวางผังของโบราณสถานจะวางตามแนวยาวมีบันไดทางขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านบนสูงสุดเป็นเจดีย์ใหญ่ทรงดอกบัวตูมหรือพุ่มข้าวบิณฑ์ ฐานเจดีย์กว้าง 12 เมตร ก่อด้วยอิฐปนแลง ส่วนบนเป็นศิลาแลง ถัดมาเป็นเจดีย์รายเล็ก 3 องค์ กว้าง 2 เมตรเท่ากันทุกองค์ ถัดมาเป็นวิหาร 4 ตอน ตอนแรกยาว 13 เมตร กว้าง 6 เมตร ตอนที่สองกว้าง 10 เมตรยาว 21 เมตร (ปัจจุบันโบราณสถานเหล่านี้ทรุดโทรมมากแทบจะดูไม่ออกว่าเป็นอะไร) ส่วนด้านท้ายสุดคล้ายที่ตั้งบุษบก เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท (ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ )
       เมื่อไม่นานมานี้บริเวณคลองวังพาน (อยู่ใกล้กับวัดพานทองศิริมงคล) ได้มีการขุดลอกคลองโดยเครื่องจักรกลของทางราชการ ได้ขุดพบ พระเครื่องปั้นดินเผา เศษกระเบื้องตลอดจนเครื่องใช้ไม้สอยภายในครัวเรือนของชาวเมืองโบราณเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญได้พบเสาไม้ตะเคียนซึ่งสันนิษฐานว่าหน้าจะเป็นศาลาที่ประทับของเจ้าผู้ครองนครในอดีต เป็นหลักฐานที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งของเมืองพาน เขานางทองในปัจจุบัน กำลังจะได้รับการบูรณะจากหน่วยงานของทางราชการให้เป็นแหล่งประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยว

ภาพโดย : http://oknation.nationtv.tv/blog/guidepong/2010/05/23/entry-10

คำสำคัญ : นิทาน

ที่มา : http://oknation.nationtv.tv/blog/guidepong/2010/05/23/entry-10

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ตำนานเขานางทอง. สืบค้น 20 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=313&code_db=610006&code_type=07

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=313&code_db=610006&code_type=07

Google search

Mic

ตำนานพระร่วงเล่นว่าว

ตำนานพระร่วงเล่นว่าว

บนเส้นทางถนนพระร่วง มีเรื่องเล่าขานมากมายชาวบ้านได้เล่าถึง พระร่วงซึ่งเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ มีวาจาสิทธิ์ได้ทรงสร้างถนนสายนี้ว่า พระร่วงได้ใช้เท้าเกลี่ยดินเพียงสามครั้งก็ได้ถนนสายนี้ขึ้นมา พระร่วงเป็นกษัตริย์ที่ทรงโปรดการเล่นว่าวมาก ตลอดเส้นทางถนนสายนี้ ชาวบ้านได้เล่าถึงการเล่นว่าวของพระร่วงคล้าย ๆ กันหลายหมู่บ้าน จะต่างกันสถานที่เล่นว่าวเท่านั้น  จะขอยกตัวอย่างที่อำเภอพรานกระต่ายดังนี้  ในช่วงที่พระร่วงได้ตรองราชย์อยู่ที่กรุงสุโขทัย วันหนึ่งพระองค์คิดถึงนางทองซึ่งเป็นพระมเหสีอยู่ที่เมืองพาน จึงเสด็จมาหา ซึ่งขณะนั้นพระมเหสีทองได้ตั้งครรภ์อ่อน ๆ อยากเสวยมะดัน (ผลไม้ชนิดหนึ่ง) พระร่วงจึงเสด็จ

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 1,679

ภาษาถิ่นพรานกระต่าย

ภาษาถิ่นพรานกระต่าย

ภาษาถิ่นพรานกระต่ายเป็นภาษาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนในปัจจุบันนอกจากชาวอำเภอพรานกระต่ายแล้วยังมีผู้ใช้ ภาษาถิ่นพรานกระต่าย ในเขตอำเภอเมือง อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร รวมถึงจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ จังหวัดตากและ จังหวัดสุโขทัย จากผลงานวิจัย พบว่า ภาษาถิ่นพรานกระต่าย มี 5 วรรณยุกต์ เหมือนกับภาษาไทยกลางนั่นคือ วรรณยุกต์ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา แต่มีความแตกต่างกันตรงที่ คำที่ออกเสียงในวรรณยุกต์จัตวาในภาษาไทยกลาง จะออกเสียงในวรรณยุกต์เอก ในภาษาถิ่นพรานกระต่าย และคำที่ออกเสียงในวรรณยุกต์ เอกและโทในภาษาไทยกลาง จะออกเสียงในวรรณยุกต์จัตวา

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2020 ผู้เช้าชม 4,343

พรานกระต่าย

พรานกระต่าย

กล่าวกันว่าในปี พ.ศ. 1800 เศษ พระร่วงครองสุโขทัย ทรงมีนโยบายที่จะขยายอาณาเขตให้กว้างขวางและมั่นคง จึงดำริที่จะสร้างเมืองหน้าด่านขึ้นทุกทีซึ่งได้รับสั่งให้นายพรานผู้ชำนาญเดินป่าออกสำรวจเส้นทางและชัยภูมิที่มีลักษณะดี กลุ่มนายพรานจึงได้กระจายกันออกสำรวจเส้นทางต่างๆ จนกระทั่งมาถึงบริเวณแห่งนี้ได้พบกระต่ายป่าขนสีเหลืองเปล่งปลั่งด้วยทอง สวยงามมาก นายพรานจึงกราบถวายบังคมทูลขอราชานุญาตจากพระร่วงเจ้าเสด็จไปติดตามจับกระต่ายขนสีทองตัวนี้มาถวายเป็นราชบรรณาการถวายแดพระมเหสีพระร่วง นายพรานจึงกลับไปติดตามกระต่ายป่าตัวสำคัญ ณ บริเวณที่เดิมที่พบกระต่ายได้ใช้ความพยายามดักจับหลายครั้ง แต่กระต่ายตัวนั้นสามารถหลบหนีไปได้ทุกครั้ง นายพรานมีความมุมานะที่จะจับให้ได้จึงไปชวนเพื่อนฝูงนายพรานด้วยกันมาช่วยกันจับ แต่ยังไม่ได้จึงอพยพลูกหลานพี่น้อง และกลุ่มเพื่อนฝูงต่าง มาสร้างบ้านถาวรขึ้นเพื่อผลที่จะจับกระต่ายขนสีทองให้ได้ กระต่ายก็หลบหนีเข้าไปในถ้ำซึ่งหน้าถ้ำมีขนาดเล็กนายพรานเข้าไปไม่ได้แม้พยายามหาทางเข้าเท่าไรก็ไม่พบจึงได้ตั้งหมู่บ้านขึ้นหน้าถ้ำเพื่อเฝ้าคอยจับกระต่ายขนสีทอง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ซึ่งต่อมาหมู่บ้านได้ขยายตัวเป็นชุมชนขนาดใหญ่จึงได้เรียกชุมชนนั้นว่า “บ้านพรานกระต่าย” และเป็นชื่ออำเภอในเวลาต่อมา

เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้เช้าชม 835

ตำนานวัดไตรภูมิ

ตำนานวัดไตรภูมิ

กาลครั้งหนึ่งในสมัยพระร่วงเจ้าครองเมืองสุโขทัย บริเวณที่เป็นหมู่บ้านพรานกระต่ายปัจจุบันนี้ เป็นป่าใหญ่ มีเมืองกำแพงเพชรหรือเมืองชากังราว ซึงเป็นเมืองลูกหลวงเท่านั้นท่ี่มีผุู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น พระร่วมเจ้าจึงได้สร้างถนนจากเมืองสุโขทัยถึงเมืองกำแพงเพชร เพื่อติดต่อกันได้โดยสะดวก ถนนนี้เรียกว่า "ถนนพระร่วง" (อยู่ห่างจากวัดไตรภุูมิไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 1.5 กิโลเมตร) บริเวณป่าใหญ่นี้มีนายพรานคอยดูแลรักษาป่าและ สัตว์ป่าอยู่เป็นประจำ วันหนึ่งพรานป่าได้พบช้างเชือกหนึ่งมีลักษณะงดงามมากผิดกว่าช้างอื่นๆ จึงนำเรื่องนี้เข้ากราบทูลพระร่วงให้ทรงทราบ 

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,492

ตำนานจระเข้ปูน

ตำนานจระเข้ปูน

กล่าวกันว่าในสมัยกรุงสุโขทัยเจริญรุ่งเรือง ราวประมาณ พ.ศ. 1420 มีเมืองหนึ่งชื่อ “พระมหาพุทธสาคร”  วันหนึ่งพระมหาพุทธสาครเสด็จมาที่วังแห่งนี้เพื่อพักผ่อน ขณะนั้นได้ทอดเห็นพญานาคตนหนึ่ง กำลังคาบสาวงามนางหนึ่งผ่านหน้าไป พระองค์ได้ติดตามไปจนกระทั่งถึงภูเขาลูกหนึ่ง พญานาคได้กลืนหญิงสาวเข้าไปในท้อง พระมหาพุทธสาครได้เสด็จตามมาทันพอดี จึงได้ใช้มนต์สะกดพญานาคไว้แล้วจึงได้ล้วงหญิงสาวออกมาจากคอพญานาค ทราบชื่อภายหลังว่า “นางทอง” หรือ “นางสาวทอง” (เพราะยังเป็นโสดอยู่) ส่วนเขาบริเวณนั้นมีช่อว่า “เขานางทอง”       

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 1,931

ตำนานเขานางทอง

ตำนานเขานางทอง

ตำนานเล่าว่า นางทองเป็นผู้หญิงสาวชาวบ้านเมืองพานที่สวยงามมาก ต่อมาถูกพญานาค กลืนเข้าไปในท้อง พระร่วงเจ้าผู้ครองนครเมืองพานได้พบเห็นจึงได้เข้าช่วยโดยใช้อิทธิฤทธิ์ของตน ล้วงนางทองออกมาจากคอของพญานาค เนื่องจากนางทองเป็นคนที่มีสิริโฉมงดงามจึงเป็นที่สบพระทัยของพระร่วง ต่อมาจึงได้อภิเษกเป็นพระมเหสี (เมียหลวง) และยังได้นางคำหญิงชาวบ้านอีกคนหนึ่งเป็นพระสนมเอก (เมียน้อย) อีกองค์หนึ่งด้วย อยู่มาวันหนึ่งพระร่วงได้เสด็จไปเที่ยวในกรุงสุโขทัย พระมเหสีทองซึ่งเป็นคนที่มีความมานะอดทนขยันหมั่นเพียรในการทอผ้าด้วยกี่ทอผ้า ได้ไปซักผ้าอ้อมที่สระน้ำซึ่งพระร่วงได้สร้างพระตำหนักแพหน้าพระราชวังในคลองใหญ่ไว้เป็นที่พักผ่อนพระอิริยาบทและซักผ้า ในวันนั้นขณะที่ซักผ้าอ้อมเสร็จและจะนำไปตาก (บริเวณที่ตากผ้าอ้อมนั้น ไม่มีต้นไม้ขึ้นเลย จะโล่งเตียนไปหมด เพราะ พระร่วงสาปไว้สำหรับตากผ้าอ้อม) ระหว่างที่ตากผ้าอ้อมพระมเหษี ทองก็กลัวว่าผ้าอ้อมจะไม่แห้งจึงทรงอุทานขึ้นเป็นทำนองบทเพลงเก่าว่า "ตะวันเอยอย่ารีบจร นกเอยอย่ารีบนอน หักไม้ค้ำตะวันไว้ก่อน กลัวผ้าอ้อมจะไม่แห้ง"

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2018 ผู้เช้าชม 2,170

ตำนานถ้ำกระต่ายทอง

ตำนานถ้ำกระต่ายทอง

มีประวัติเล่าว่า มีนายพรานเดินทางมาสำรวจเส้นทางเพื่อไปสร้างเมืองหน้าด่านของกรุงสุโขทัย วันหนึ่งขณะที่กำลังพักแรม นายพรานได้พบกระต่ายขนสีทองสวยงามมากบริเวณหน้าถ้ำแห่งหนึ่งและได้หายเข้าไปในถ้ำ ต่อมานายพรานจึงกราบบังคมทูลพระร่วงให้รับทราบและรับอาสาจะจับกระต่ายตัวดังกล่าวและได้ใช้ความพยายามที่จะจับตั้งหลายครั้งแต่ไม่ประสบผลสำเร็จจึงได้สร้างบ้านถาวรขึ้นบริเวณหน้าถ้ำเพื่อรอจับกระต่าย หลายปีต่อมาจึงมีผู้อพยพมาอยู่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านพรานกระต่าย" ปัจจุบันสถานที่บริเวณศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง ถูกบูรณะและตกแต่งให้เป็นสถานที่สวนย่อมแลดูสวยงาม และมีการสร้างรูปปั้นนายพราน ซึงเป็นตัวแทน เจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทองให้ชาวอำเภอพรานกระต่ายได้สักการะบูชา

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 3,684