วัดช้างรอบ
เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้ชม 9,007
[16.5080636, 99.5160231, วัดช้างรอบ]
วัดช้างรอบ เป็นวัดใหญ่ที่สุด และสำคัญที่สุดในบรรดาวัดนอกกำแพงเมือง ตั้งอยู่บนเนินสูง เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงลังกา รูประฆังกลม มีพระเจดีย์ใหญ่ตั้งอยู่กลางลาน ฐานเจดีย์กว้าง 31 เมตร สี่เหลี่ยมที่ฐานเจดีย์เป็นรูปช้างครึ่งตัวเห็นแต่ 2 ขาหน้า หันศีรษะออกจากฐานรายรอบเจดีย์ เป็นช้างทรงเครื่องจำนวน 68 เชือก ระหว่างช้างมีลายปูนปั้นเป็นรูปใบโพธิ์ กับมีรอยตั้งรูปยักษ์และนางรำติดอยู่แต่ชำรุดหัก เห็นไม่สมบูรณ์ ทางขึ้นไปบนฐานทักษิณมีบันไดสี่ด้าน ตรงเชิงบันไดมีรูปสิงห์หักอยู่ที่ฐาน ฐานเจดีย์จากพื้นดินถึงลานทักษิณชั้นบนสูงประมาณ 7 เมตร กลางลานมีเจดีย์ฐานเขียงแปดเหลี่ยมฐานกว้างประมาณ 20 เมตร
ลักษณะเป็นเจดีย์แบบลังกายอดหัก ด้านหน้าฐานเจดีย์เป็นวิหารใหญ่ กว้าง 17 เมตร ยาว 34 เมตร ฐานสูงประมาณ 1.5 เมตร วิหารเป็นเสา 4 แถว 7 ห้อง มีมุขเด็จข้างหน้าหนึ่งห้อง ต่อจากวิหารใหญ่เป็นสระซึ่งขุดลงไปในพื้นศิลาแลง กว้าง 23 เมตร สี่เหลี่ยมลึก ประมาณ 8 เมตร มีน้ำขังอยู่บางฤดู
การที่นำช้างมาประดับเช่นนี้ อาจมีความหมายเชิงสัญลักษณ์ในพุทธประวัติว่า ช้างเป็นสัตว์มงคลที่ช่วยค้ำชูพระพุทธศาสนาไว้ และอาจแสดงความหมายถึง ช้างที่ช่วยค้ำยันเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของ จักรวาลอันเปรียบได้กับเจดีย์ประธาน รูปแบบการสร้างวัดช้างล้อมนั้น มีทั้งที่วัดในอำเภอสุโขทัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และที่วัดในจังหวัดกำแพงเพชร แต่ที่จังหวัดกำแพงเพชร เรียกว่า วัดช้างรอบ ที่วิหารหน้าเจดีย์มีพระพุทธรูปปูนปั้นชำรุด โบราณสถานอื่นก็มี เจดีย์ราย กำแพงแก้วล้อมรอบชั้นหนึ่ง มีคูน้ำล้อมรอบนอก ห่างไปทางตะวันออกมีโบสถ์ที่มีน้ำล้อมรอบ เรียกว่า อุทกสีมา หรือนทีสีมา
จากการขุดแต่งที่ฐานเจดีย์วัดช้างรอบนี้ได้พบบรรดาลวดลายต่าง ๆ เป็นดินเผารูปนางรำ รูปยักษ์ รูปหงส์ รูปหน้าเทวดา และหน้ามนุษย์ ซึ่งตามลักษณะโบราณวัตถุเป็นศิลปสมัยอยุธยาตอนต้น หรือสุโขทัยตอนปลาย ทำให้ทราบลักษณะเครื่องแต่งตัว การฟ้อนรำและลักษณะอื่น ๆ ของคนสมัยสุโขทัยตอนปลาย ซึ่งเป็นประโยชน์ในการศึกษาศิลปะและโบราณคดี บรรดาโบราณวัตถุที่พบนี้ บางชิ้นเก็บรวบรวมตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร
ได้พบศิลาจารึกที่วัดช้างล้อม เขียนเล่าเหตุการณ์ในระหว่างก่อน พ.ศ. 1905 – 1933 ว่า พนมไสดำผัวแม่นมเทด เป็นขุนนางผู้จงรักภักดีต่อพระมหาธรรมราชาลิไท มีใจศรัทธาออกบวชตามพระมหาธรรมราชาลิไท และได้อุทิศที่ดินของตนสร้างวิหาร ในปี พ.ศ.1933 สร้างพระพุทธรูป หอพระไตรปิฎก ปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ อุทิศบุญกุศล ถวายแด่พระมหาธรรมราชาลิไทซึ่งเสด็จสวรรคตแล้ว และสร้างพระพุทธรูปหินอุทิศบุญกุศลถวายแด่ มหาเทวี พระขนิษฐาของพระมหาธรรมราชาลิไทผู้เคยปกครองเมืองสุโขทัย
ภาพโดย : http://www.onep.go.th/cultural_environment/administrator/myfile/1000104u.jpg
คำสำคัญ : วัดช้างรอบ
ที่มา : http://www.dekguide.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดช้างรอบ. สืบค้น 3 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=264&code_db=DB0011&code_type=F001
Google search
เป็นวัดที่สำคัญอีกวัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งชื่อตามชื่อต้นไม้ในบริเวณวัดคือต้นมะคอก เป็นวัดขนาดกลางที่ยังมิได้ขุดแต่ง วัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ไม่พบกำแพงด้านนอกวัดทั้งสี่ด้าน อาจเป็นเพราะวัดมะคอก อาจสร้างก่อนวัดอื่นๆในบริเวณเดียวกัน
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,358
หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ จัดเป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสน ที่มีพุทธลักษณะงดงามหาใดเปรียบ และมีขนาดใหญ่ที่สุดในกำแพงเพชร โดยมีหน้าตักกว้าง 2 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร ถือเป็นหลักฐานสำคัญยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างกำแพงเพชรและหัวเมืองฝ่ายเหนือ เป็นวัดตั้งอยู่ที่ตำบลนครชุมภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงและเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองกำแพงเพชร คือหลวงพ่ออุโมงค์ เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน มีพุทธลักษณะงดงามเชื่อกันว่าพบหลวงพ่ออยู่ในดินลักษณะคล้ายจอมปลวก จากการขุดคล้ายหลวงพ่ออยู่ภายในอุโมงค์จึงเรียกกันว่าหลวงพ่ออุโมงค์ นอกจากนี้โดรอบวัดมีบรรยากาศที่ไม่แออัด จอแจ ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปยืน “หลวงพ่อประทานพร” ประดิษฐานอยู่บริเวณด้านหน้าหอระฆัง หลังคาของหอระฆังได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมทางเหนือ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของกำแพงเพชร ในฐานะหัวเมืองฝ่ายเหนือ
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 3,925
เป็นโบราณสถานมีเจดีย์กลมแบบลังกา ด้านหน้าเป็นฐานเจดีย์ราย 4-5 แห่ง มีกำแพงล้อมรอบต่อจากกำแพงด้านหน้าเป็นโบราณสถานอีกหมู่หนึ่ง มีฐานเจดีย์และฐานวิหารและเจดีย์รอบอีก 7 ฐาน มีกำแพงรอบเช่นเดียวกัน ตัววิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นแบบโถงไม่มีผนัง พระประธานสร้างจากศิลาแลง
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 877
อยู่ถัดจากวัดพระสี่อิริยาบถไปทางทิศเหนือประมาณ 100 เมตร สันนิษฐานว่าใช้เวลาสร้างถึง 2 สมัย คือสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา ผังรวมของวัดแบ่งเขตพุทธาวาสให้อยู่ในกลุ่มกลางล้อมรอบด้วยเขตสังฆาวาสหรือกุฏิสงฆ์ โดยมีพระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม มีซุ้มทั้ง 4 ด้านเป็นประธาน ด้านหน้าเป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ ยกฐานประทักษิณสูง บนฐานประทักษิณนี้ ประดิษฐานพัทธสีมาไว้ทั้งแปดทิศ มุขด้านหน้าของฐานประทักษิณ มีรูปสิงห์ นาค ประดับ
เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 2,769
อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสำคัญมากแห่งหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยวัดตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของวัดพระแก้ว มีพระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมเป็นประธาน ล้อมรอบด้วยระเบียบคด ที่เชื่อมต่อกับวิหารด้านทิศตะวันออก ที่สองข้างวิหารมีเจดีย์รายอยู่ข้างละ 1 องค์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบ
เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 1,785
เมื่อท่านชมโบราณสถานฝั่งตะวันออกแม่น้ำปิงตามสมควรแล้ว ถ้ามีเวลาพอก็ข้ามสะพานกำแพงเพชรไปยังเมืองนครชุมฝั่งตะวันตก ท่านจะพบเจดีย์มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์กโลทัยอยู่ทางซ้ายมือ ไม่ห่างจากถนนมากนัก วัดนี้ชื่อวัดเจดีย์กลางทุ่ง ฐานสีเหลี่ยมกว้างด้านละ 17 เมตร มีฐานเชียงซ้อนกัน 3 ชั้น แล้วถึงหน้ากระดานย่อเหลี่ยม 4 มุม ๆ ละ 5 เหลี่ยม ตอนบนเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์หรือดอกบัวตูม วัดนี้ยังไม่ได้ขุดแต่งบูรณะ
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,629
ที่ท้ายเมืองเก่าของกำแพงเพชร มีวัดอยู่ทางทิศตะวันออก นอกกำแพงเมือง พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐเรียกว่า วัดยม เป็นวัดขนาดใหญ่ เป็นที่พักทัพ ของ กษัตริย์ อยุธยาที่ยกมาเมืองกำแพงเพชร หรือไปตีเมืองเหนือ ลักษณะของวัดที่ปรากฏ มีเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือเจดีย์ทรงดอกบัวตูม ขนาดใหญ่ที่งดงามและสมบูรณ์ ที่สุด และเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ องค์เดียว ทางฝั่งกำแพงเพชร วัดนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดกะโลทัย เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย ในยุคเดียวกับการสร้างเมืองนครชุม มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ คือเป็นวัดที่ได้เคยใช้เป็นที่ประทับแรมของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งยกทัพไปตีเมืองเหนือ วัดกะโลทัยมีโบราณสถานที่ โดดเด่น คือเจดีย์ทรงดอกบัวตูม หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เช่นเดียวกับวัดเจดีย์กลางทุ่ง และ วัดวังพระธาตุ
เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 2,601
วัดป่าแลง ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มีวัดร้างที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างมากมายนับร้อยวัด วัดป่าแลงเป็นวัดหนึ่งที่อยู่หน้าวัดหมาผี ได้รับการบูรณะและตกแต่งอย่างงดงามถูกต้องตามหลักการและนับว่าสมบูรณ์ที่สุดโดยมีข้อมูลอย่างครบถ้วน นับว่าน่าศึกษายิ่งนัก วัดป่าแลง เป็นวัดขนาดกลางมีเนื้อที่ 21,700 ตารางเมตร มีบ่อแลงโดยรอบ จึงเรียกกันตามชื่อสามัญว่าวัดป่าแลง
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,292
เดิมชื่อวัดใดไม่ปรากฏชัดเจนชาวบ้านเมืองนครชุมเรียกตามภูมินามที่พบเห็น โดยสันนิษฐานว่า บริเวณที่ค้นพบวัด อยู่ในที่จับจองของชาวพม่า ที่ชื่อหม่องกาเล ซึ่งสืบหาลูกหลานของท่านไม่ได้ รู้แต่ว่าหลังจากหม่องกาเล ที่บริเวณนั้น เป็นที่ครอบครองของตาหมอหร่อง ตาหมอหร่อง มีลูกเขยชื่อนายจันทร์ ได้ครอบครองที่ดินบริเวณนี้ต่อมา และได้ขายที่ดินทั้งหมดให้ผู้อื่น
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,574
เป็นวัดสำคัญ ที่สุดของบ้านร้านดอกไม้ ซึ่งปัจจุบัน เรียนขานกันว่าบ้านลานดอกไม้ ซึ่งมีที่มาว่าเมื่อเจ้าดารารัศมี พระวรชายา ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครา เสด็จ กลับชียงใหม่ ได้ประทับที่ บ้านร้านดอกไม้ ซึ่งประชาชนได้ เตรียมร้านดอกไม้เพื่อเตรียมการรับเสด็จเจ้าดารารัศมี ชาวบ้านกล่าวขานกันว่า เจ้าดารารัศมี เรียกชุมชนแห่งนี้ว่าบ้านร้าน ดอกไม้ ต่อมา เลือนไปกลายเป็นบ้านลานดอกไม้ ในที่สุด
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,101