ตำลึง
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 173
[16.4534229, 99.4908215, ตำลึง]
ลักษณะของตำลึง
ต้น ตำลึงเป็นไม้เถาเลื้อยขึ้นตามหลักเสา ตามรั้วบ้านหรือพันต้นไม้อื่น อายุยืนยาวหลายปี มีมือเกาะยึดออกตรงข้ามใบ ลำต้นเล็กยาว เมื่ออายุมากลำต้นหรือเถาจะใหญ่และแข็งแรงมากขึ้น
ใบ เดี่ยวสีเขียวรูปสามเหลี่ยม กว้าง 5 ซม. ยาว 6-7 ซม. สลับข้างกัน ตำลึงตัวผู้ใบหยักเว้าลึก 3-5 หยัก ต่างจากใบของต้นตำลึงตัวเมียที่เป็นรูปสามเหลี่ยม อยู่แยกต้นออกจากกัน
ดอก สีขาวปลายกลีบ 5 แฉก ข้างในมีเกสรสีเหลืองอ่อน มองคล้ายรูประฆัง
ผล ตำลึงตัวเมียมีผลเป็นรูปไข่คล้ายผลแตงกวาแต่เล็กกว่ามาก กว้าง 1 -2 ซม. ยาว 3-4 ซม. เมื่ออ่อนจะมีสีเขียวมีลายขาว ผลสุกเต็มที่สีแดงสด ภายในมีเมล็ดมากมาย ส่วนตำลึงตัวผู้มีแต่ดอกแต่ไม่มีผล
ประโยชน์ทางยาตำลึง
ส่วนที่นำมาใช้เป็นยา คือ ใบสด ยอดอ่อน ราก เถา ผล มีรสเย็น ใช้แก้คัน แมลงสัตว์กัดต่อย ลดนํ้าตาลในเลือด
ใบ ใช้แก้คัน แมลงกัดต่อย แก้พิษสัตว์กัดต่อย หรือเมื่อไปถูกพืชมีพิษที่ทำให้คัน เช่น ตำแย หมามุ่ย ปรง โดยเอาใบตำลึงสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำละเอียดแล้วผสมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาน้ำตำลึงข้นๆ มาทาบริเวณที่คัน ทาซ้ำบ่อยๆ หรือจะตำแล้วเอามาพอกติดไว้เลยก็ได้เหมือนกัน เมื่อพอกจนแห้งแล้วก็เอาใบตำลึงอันใหม่มาตำพอกซ้ำจนกว่าจะหาย สำหรับพืชที่มีขนติดกับผิวหนังเรา เช่น หมามุ่ย ควรที่จะเอาขนออกด้วยการเอาเทียนมาคลึงผิวหนังหรือเอาข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนกลมมากลิ้งบนผิวหนัง ให้ขาหมามุ่ยติดออกไปกับข้าวเหนียว จากนั้นค่อยใช้ตำลึงมาตำพอกลดคัน
ใบ ใช้ลดน้ำตาลในเลือดการนำมากินเพื่อลดน้ำตาลในเลือดนั้น ยังไม่มีข้อแนะนำที่แน่ชัด คนที่เป็นเบาหวานจะลองกินเช้า-เย็น ดูก่อนประมาณ 7 วัน แล้วสังเกตอาการตนเองว่าดีขึ้นหรือไม่ คนที่เป็นเบาหวานจะรู้ตัวดีว่าอาการดีขึ้นหรือแย่ลง ซึ่งทราบชัดเจนขึ้นเมื่อไปเจาะเลือดดูระดับน้ำตาลในเลือดตามนัด
พืชสมุนไพรชนิดนี้ปลูกได้ทั่วๆไปเพราะเป็นพืชสมุนไพรครัวเรือน
แหล่งที่มาของข้อมูล
http://www.aroka108.com/
http://202.29.15.9/
คำสำคัญ : สมุนไพร
ที่มา : บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 1
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : วิภากานต์ แซ่จ้อง
https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=257&code_db=DB0002&code_type=W004
รากสามสิบ
สมุนไพรรากสามสิบ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า สามร้อยราก (กาญจนบุรี), ผักหนาม (นครราชสีมา), ผักชีช้าง (หนองคาย), จ๋วงเครือ (ภาคเหนือ), เตอสีเบาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), พอควายเมะ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ชีช้าง, ผักชีช้าง, จั่นดิน, ม้าสามต๋อน, สามสิบ, ว่านรากสามสิบ, ว่านสามสิบ, ว่านสามร้อยราก, สามร้อยผัว, สาวร้อยผัว, ศตาวรี เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 242
ย่านางแดง
ย่านางแดงไม้เถาเนื้อแข็ง พาดพันไปตามต้นไม้อื่น ยาวได้ถึง 5 เมตร เถาขนาดกลางๆมักแบนมีร่องตรงกลาง สีออกเทาน้ำตาล เถาแก่กลม สีน้ำตาลแดง มีมือพันสำหรับยึดเกาะ ออกเป็นคู่ ปลายม้วนงอ ใบดกหนาทึบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ผิวใบมัน สีเขียวเข้ม ปลายใบเว้าตื้น กึ่งเรียวแหลมถึงมีติ่งหนาม โคนใบกลมถึงรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบ
เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 143
ตำลึง
ลักษณะของตำลึงต้น ตำลึงเป็นไม้เถาเลื้อยขึ้นตามหลักเสา ตามรั้วบ้านหรือพันต้นไม้อื่น อายุยืนยาวหลายปี มีมือเกาะยึดออกตรงข้ามใบ ลำต้นเล็กยาว เมื่ออายุมากลำต้นหรือเถาจะใหญ่และแข็งแรงมากขึ้น ใบ เดี่ยวสีเขียวรูปสามเหลี่ยม กว้าง 5 ซม. ยาว 6-7 ซม. สลับข้างกัน ตำลึงตัวผู้ใบหยักเว้าลึก 3-5 หยัก ต่างจากใบของต้นตำลึงตัวเมียที่เป็นรูปสามเหลี่ยม อยู่แยกต้นออกจากกัน ดอก สีขาวปลายกลีบ 5 แฉก ข้างในมีเกสรสีเหลืองอ่อน มองคล้ายรูประฆัง
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 173
ย่านาง
ย่านางนับว่าเป็นผักที่มีประโยชน์อีกชนิดหนึ่ง มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ใช้ในการประกอบอาหารพื้นบ้านไทยหลายๆ ตำรับ ในใบย่านางมีวิตามินเอและซีสูง นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารอาหารสำคัญอื่นๆ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ไฟเบอร์ แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ไทอะมีน ไรโบฟลาวิน และไนอะซีน
เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 106
กวาวเครือแดง
กวาวเครือแดงเป็นไม้ที่ชอบขึ้นตามภูเขาสูง และในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ แต่ในปัจจุบันหาได้ยาก เพราะมีไม่มากเท่ากวาวเครือขาว กวาวเครือแดงเป็นสมุนไพรในตำรายาไทยมีสรรพคุณมากมาย ได้แก่ หัวช่วยบำรุงเนื้อหนังให้เต่งตึง บำรุงสุขภาพ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ทำให้หน้าอกโต บำรุงความกำหนัด ราก แก้ลมอัมพาต แก้โลหิต จัดเป็นสมุนไพรสำหรับเพศชายอย่างแท้จริง เพราะมีสรรพคุณในการบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ และที่สำคัญที่สุดยังช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 136