พิธีห่มผ้าพระธาตุเจดีย์
เผยแพร่เมื่อ 12-12-2024 ผู้ชม 57
[16.8895739, 99.105954, พิธีห่มผ้าพระธาตุเจดีย์]
พิธีห่มผ้าพระธาตุเจดีย์ เป็นการนำผ้าผืนยาวที่คนในชุมชนร่วมใจกันถวายขึ้นไปห่มองค์พระธาตุเจดีย์ โดยให้คนในชุมชนร่วมใจกันถือผ้าที่จะใช้ห่มองค์พระธาตุเจดีย์ เดินเวียนเทียนรอบพระธาตุเจดีย์ จำนวน ๓ รอบ โดยจะต้องตั้งฐานจิตเพื่อสืบทอดพระศาสนา เจริญบุญกุศลในธรรม จรรโลงคุณงามความดี ก่อนจะนำผ้าขึ้นไปห่มรอบองค์พระธาตุเจดีย์
ผ้าห่มพระธาตุเป็นสื่อนำจิตของเราให้ตั้งปณิธานเพื่อที่จะทำตามเจตนารมณ์ที่ตั้งฐานจิตไว้ ซึ่งการห่มผ้าพระธาตุเจดีย์ถูกจัดว่าเป็นมหาบุญกุศลที่ใหญ่ ด้วยเหตุผลดังนี้
1. พระธาตุเจดีย์เป็นตัวแทนสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้า
2. พระธาตุเจดีย์เป็นสัญลักษณ์แห่งคุณงามความดี เป็นนิมิตหมายเครื่องเตือนใจ ละชั่วทำดี
การห่มผ้าพระธาตุเจดีย์ จะมีใจความของการห่มอยู่ 3 ประการ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของพระธาตุเจดีย์ โดยมีที่มาจาก
1. ในพระธาตุเจดีย์ก็มีพระบรมสารีริกธาตุ (กระดูก) ของพระพุทธเจ้าอยู่ ก็ถือว่าเป็นพระพุทธ
2. ในพระธาตุเจดีย์ก็มีพระธรรมอยู่ในพระธาตุ ถ้าไม่มีพระธรรมพระธาตุเจดีย์ก็ดำรงอยู่ไม่ได้ และ
3. พระธาตุเจดีย์ก็มีพระสงฆ์เป็นผู้นำการก่อสร้าง เป็นผู้ดูแล
เมื่อมีการนำผ้าห่มพระธาตุมาถวายห่มพระเจดีย์ ถือเป็นการรักษาให้พระเจดีย์ยังคงอยู่สืบทอดต่อไป และเพื่อแสดงปณิธานเจตนารมณ์ ที่จะยึดมั่นในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เท่ากับยังพระศาสนาให้ยั่งยืนตลอดกาล ก็เปรียบเสมือนเราได้ทำบุญกับพระพุทธเจ้าและเหล่าผู้คน ได้ทำความดี ละเว้นความชั่ว ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ทำให้โลกนี้เกิดปลอดภัย พบสันติสุข
โดยพระธาตุเจดีย์ที่ตั้งอยู่ที่วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง เป็นพระธาตุเจดีย์ทรงมอญสีทอง มีวิหารแบบไทยอยู่ด้านหน้าติดกับพระเจดีย์ ด้านในวิหารประดิษฐานหลวงพ่อพุทธมนต์ พระพุทธรูปปางมารวิชัยเนื้อสำริด ศิลปะสมัยสุโขทัย แต่เดิมนั้น พระธาตุเจดีย์ทรงมอญเป็นสีขาว ภายหลังบูรณะเป็นสีทองสวยงาม เหตุที่สร้างเคียงกันกับวิหาร ซึ่งเป็นวิหารแบบไทยนั้น คาดว่าน่าจะมาจาก เรื่องราวในประวัติศาสตร์เพื่อยืนยันถึงความสัมพันธ์ในสมัยก่อนของคนไทย และคนมอญที่มีการติดต่อไปมาหาสู่กัน เป็นไปตามประวัติได้บันทึกไว้ เมื่อครั้ง “มะกะโท” ชาวมอญแห่งเมืองเมาตะมะ เมืองพม่าได้เข้ามารับราชการอยู่ในกรุงสุโขทัยสมัยราชวงศ์พระร่วง ราวปี พ.ศ.1800 หรือราวกว่า 700 ปีมาแล้ว มะกะโทได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์มอญนามว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว เมื่อปี พ.ศ. 1836 ครั้งนั้นมอญอยู่ในอำนาจการปกครองของกรุงสุโขทัย พระเจ้าแสนเมืองมิ่ง กษัตริย์มอญองค์ต่อมาก็ยังขึ้นตรงต่อสุโขทัย จนกระทั้งสิ้นรัชกาล พ่อขุนรามคำแหง มอญจึงแยกตัวเป็นอิสระ บันทึกประวัติศาสตร์ไทยกล่าวถึงชาวมอญ เคยมีอำนาจรุ่งเรืองปกครองภาคใต้ของพม่าเคยประกาศเอกราชที่เมืองหงสาวดี รวมไปถึงพุทธสถานสำคัญที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศพม่า คือ เจดีย์ชเวดากองที่เมืองย่างกุ้ง ก็เป็นผลงานการก่อสร้างของชาวมอญ ทั้งนี้ เจดีย์ขาวบริสุทธิ์แห่งวัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง เป็นอิทธิพลแห่งศิลปกรรม วัฒนธรรม ที่สืบสานต่อมาและยืนยันความสัมพันธ์แห่งเผ่าพันธ์เชื้อชาติ ของคนไทย และคนมอญที่มีการติดต่อไปมาหาสู่กัน
ประวัติวัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.2400 ผู้สร้างคือ พระยาวิชิตรักษา (แก้ว เจ้าเมืองตาก) อุโบสถสร้างเมื่อ พ.ศ.2410 แต่เดิมนั้นมีอยู่ 2 วัด ติดต่อกันคือ วัดโบสถ์มณีราษฎร์ กับวัดศรีบุญเรือง โดยมีกำแพงกั้นอยู่ด้านหลังอุโบสถของวัดโบสถ์มณีราษฎร์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2456 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จตรวจการพระสงฆ์ จังหวัดตาก ได้เสด็จเยี่ยมวัดโบสถ์มณีราษฎร์วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2456 พระองค์ทรงปรารภว่า ถ้าได้รวมวัดศรีบุญเรืองกับวัดโบสถ์มณีราษฎร์เป็นวัดเดียว โดยให้ชื่อว่า “วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง” จะเป็นการดียิ่ง หลังจากนั้นจึงได้มีการรวมวัดทั้งสองดังกล่าวเป็นวัดเดียว ต่อมาได้มีการเปลี่ยนนามวัดเสียใหม่ให้มีนามว่า “วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง” เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2497 นับเป็นวัดชนิดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้วประมาณ พ.ศ.2410
สถานที่ตั้ง
ที่ตั้งเลขที่ 231 บ้านรมณีย์ ถนนตากสิน ตำบลหนองหลวง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก
คำสำคัญ : พิธีห่มผ้าพระธาตุเจดีย์
ที่มา : https://tak.m-culture.go.th/th/db-95-tak-72/240072
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2567). พิธีห่มผ้าพระธาตุเจดีย์. สืบค้น 17 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2281&code_db=610004&code_type=TK001
Google search
มวยคาดเชือก เป็นการชกมวยไทยในสมัยโบราณที่ใช้ เชือกพันที่หมัดทั้ง 2 ข้าง เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่มีการพัฒนาสืบทอดกันมา โดยใช้หลายส่วนของร่างกาย คือ หมัด เข่า ศอก พิษสงของมวยคาดเชือกถือการพันหมัดด้วยเชือก ชุบแป้ง ให้แห้งแข็ง เชือกชุบเมื่อสัมผัสผิวคู่ต่อสู้เพียงเฉียดๆ ก็อาจทำให้เลือดตกยางออกได้ บางครั้งอาจผูกเครื่องรางของขลังตามความเชื่อของแต่ละคน
เผยแพร่เมื่อ 27-11-2024 ผู้เช้าชม 30
"ปอยส่างลอง" เป็นงานประเพณีบวชลูกแก้วของไทยใหญ่ เป็นการบรรพชาสามเณรให้สืบทอดพระพุทธศาสนา และเพื่อเรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยมีความเชื่อว่า ถ้าได้บวชให้ลูกของตนเป็นสามเณรจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ บวชลูกคนอื่นเป็นสามเณรได้อานิสงฆ์ 4 กัลป์ หากได้อุปสมบทลูกของตนเป็นพระภิกษุสงฆ์ จะได้อานิสงฆ์ 12 กัลป์ หากได้อุปสมบทลูกคนอื่นจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ และเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีที่มีมาดั้งเดิม
เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 11,500
วัฒนธรรมจังหวัดตาก เป็นวัฒนธรรมแบบผสมผสาน หรือแบบพหุวัฒนธรรม ชนชาวตากในเขตเทศบาลและใกล้เคียงมีกลุ่มชนหลายกลุ่ม เช่น มอญ ลาว(คนเมือง) ไทย จีน เป็นต้น แต่ที่มีความเชื่อคล้ายกันคือ การไหว้ผีปู่ย่าหหรือผีบรรพบุรุษ ก่อนที่จะกระทำพิธีต่างๆ ต่อไป ตากจึงมีการแห่นาคไปสักการะบอกกล่าวพระเจ้าตากสิน ซึ่งนับถือเช่นเดียวกับผีบรรพบุรุษ นอกจากนี้ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะเข้ามาถึง บ้างพื้นที่จึงมีการไหว้ผีปู่ย่าหรือทรงผีปู่ย่า เพื่อเป็นการเลี้ยงฮ้าวหรือถึงใจ ให้เป็นการขอขมา
เผยแพร่เมื่อ 12-12-2024 ผู้เช้าชม 30
การแทงหยวก ถือว่าเป็นงานปราณีตศิลป์ชนิดหนึ่งของไทยที่ในปัจจุบันหาช่างผีมือที่ทำงานศิลปะชิ้นนี้ได้น้อยมาก เนื่องจากต้องอาศัยความชำนาญอย่างมาก การตระเตรียมอุปกรณ์ แกะสลัก(แทงหยวก) ร้อยมาลัย แกะสลักผักผลไม้ ในการประดับให้เกิดความสวยงามต่าง ๆ รวมไปถึงงานตอกกระกระดาษที่ต้องทำในช่วงตลอดคืนก่อนการทำฌาปนกิจ หรือเผาผี ในช่วงบ่าย ๆ ของวันรุ่งขึ้น
เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 998
ต๋าแหลวหรือตาเหลวเครื่องจักรสานทำจากไม้ไผ่และหญ้าคาถักเป็นรูปแฉกมีความหมายถึงตาของนกเหยี่ยว (นกแหลว) ไว้เพื่อเป็นการป้องกันสิ่งชั่วร้าย โรคภัยไข้เจ็บและสิ่งที่เป็นอวมงคลต่าง ๆ เป็นสัญลักษณ์แห่งพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ในยามที่บ้านเมืองเกิดการระบาดด้วยโรคภัย
เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 4,183
วัดในเขตอำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา และในอำเภอเมืองตาก จะมีห้องสรงน้ำพระอยู่ในบริเวณวัดแทบทุกวัด ซึ่งมีไว้เพื่อใช้สรงน้ำพระในวันพญาวัน วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา โดยจะสรงน้ำพระในช่วงบ่าย ๆ หรือเย็น ๆ ก่อนสรงน้ำพระก็จะฟังเทศน์อนิสงค์ปีใหม่ และจากนั้นก็จะโอกาดน้ำขมิ้นส้มป่อย เมื่อโอกาดเสร็จก็จะอันเชิญพระพุทธรูป เข้าไปไว้ในห้องสรงน้ำพระเป็นอันดับแรกก่อน จากนั้นผู้คนต่างก็จะนำน้ำขมิ้นส้มป่อยที่เตรียมมานั้น ไปเทที่รางริน ซึ่งรางรินนั้นจะเชื่อมต่อกับห้องสรงน้ำพระ โดยทำเป็นช่องลอดให้พอดีกับรางริน สรงน้ำพระพุทธรูปเสร็จแล้วนั้น ก็จะนิมนต์พระสงฆ์ในวัดทั้งหมดเข้ามาในห้องสรงน้ำพระต่อไป
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 1,087
“เครื่องราชราชกกุธภัณฑ์” หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เครื่องสูง” บางแห่งเรียกว่า “เครื่องเทียมยศ” มีบทบาทในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะ “พิธีสมโภชพระเจ้า หรือ, อบรมสมโภชพระเจ้า, บวชพระเจ้า” หมายถึง การสมโภชองค์พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่ เพื่อเป็นเครื่องแสดงสัญลักษณ์การยกย่องพระพุทธรูปให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ ให้พุทธบริษัทกราบไหว้บูชาในพระวิหาร อุโบสถ สถานที่สำคัญต่าง ๆ พิธีกรรมนี้จะนิยมทำในประเพณีปอยหลวง หรือการฉลองเสนาสนะ เช่น พระวิหาร อุโบสถ กุฎิสงฆ์ เป็นต้น “เครื่องราชราชกกุธภัณฑ์” ต้องอยู่คู่กับอาสนาหรือราชบรรจถรณ์ ลักษณะคล้ายกับเตียงนอนมีหลังคาแต่หลังเล็กกว่า จะนิยมวางไว้ข้าง ๆ กับฐานพระพุทธรูป
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 938
ขัน หรือพาน เป็นภาชนะที่ใช้บรรจุเครื่องสักการะต่าง ๆ โดยจะมีทั้งขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ทั้งนี้ขึ้นอยู่ตามวัตถุประสงค์ในการใช้ นอกจากในเรื่องของขนาดแล้วขันยังมีความหลากหลายในเรื่องวัสดุในการสร้างด้วย เรียกขันลักษณะนี้ว่า ขันแก้วทั้งสาม (อ่านขั้นแก้วตังสาม) คือพานดอกไม้ที่ไว้บูชาพระรัตนตรัยทั้งสาม คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ลักษณะของขันแก้วทั้งสาม จะเป็นขันที่มีขนาดสูง นิยมทำจากไม้สลัก ประดับกระจกเกรียบ (แก้วจีนหรือแก้วอังวะ) ตัวขันทำเป็นรูปกระบะสามเหลี่ยม มีขา 3 ขา สลักเป็นรูปพญานาค บางแห่งนิยมทำเป็นลักษณะฐานกลม
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 2,354
หลังสงกรานต์ 16 เม.ย (วันปากปี) คนตากที่มีเชื้อสายชาวล้านนาจะมีการบูชาข้าว + บูชาเคราะห์โดยเตรียมสะตวง ทำจากกาบกล้วย รองด้วยใบตองแบ่งเป็น 9 ช่อง ปักธงสีขาวทุกช่อง แต่ละช่อง รองด้วยใบขนุน ใส่ข้าวสุก กับข้าวชื่อมงคล กล้วยสุก ดอกมะลิสีขาว นำไปวางในวิหาร พร้อมเส้นฝ้ายวา และเสื้อของคนในครอบครัวเมื่อพระสวดมนต์เสร็จแล้ว จะนำเสื้อผ้าที่ผ่านพิธีมาทำการสะบัดเคราะห์หรือสิ่งชั่วร้ายออกไป จะนำสะตวงไปลอยน้ำ และนำฝ้ายวาไปเผา ถือเป็นการล้างสิ่งที่ไม่ดี และรับแต่สิ่งที่ดี ๆ เข้ามาในชีวิต”
เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 1,077
"พิษฐานเอย มือหนึ่งถือพาน พานเจ้าดอก(พุด)" เสียงเอื้อนเอย จากคุณป้าทองคำ แสนคำอ้าย ลูกหลาน บ้านเสาสูงที่เมืองตาก หนึ่งในศิลปินพื้นบ้านเมืองตากที่รับสืบทอดเพลงพื้นบ้านมาจากคณะหุ่นกระปอกแห่งเมืองตาก ส่งเสียงร้องด้วยทำนองพื้นบ้าน ผู้ฟังสัมผัสได้ถึงความรู้สึกถึงความเป็นศิลปินในตัวของท่าน นอกจากเสียงสำเนียงหวาน ๆ แล้วคุณป้ายังเล่าขานตำนานเพลงพื้นบ้านให้ฟังว่า เพลงพื้นบ้านที่เรียกว่าพิษฐานนี้ เป็นการละเล่นเพื่อร้องขอพรแด่องค์พระปฎิมาภายในอุโบสถ วิหารที่คนในสมัยก่อนของตาก นิยมร้องเล่นกันในช่วงปีใหม่ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งย่านชุมชนไทยพื้นถิ่นแถบวัดใหม่มะเขือแจ้ เป็นการแสดงพื้นบ้านที่ในปัจจุบันน้อยคนที่จะรู้จักและได้ยินการขับขานบทเพลงดังกล่าว
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 771