การละเล่นผีนางกวัก ในชุมชนคลองลานพัฒนา จังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้ชม 64
[16.1039408, 99.1556046, การละเล่นผีนางกวัก ในชุมชนคลองลานพัฒนา จังหวัดกำแพงเพชร]
บทนำ
ประเทศไทยประกอบไปด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ อาศัยกระจัดกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เช่น กลุ่มชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ม้ง เมียน อาข่า มูเซอ ลีซู ซึ่งอาศัยกันอยู่อย่างหนาแน่นในแถบภาคเหนือตอนบน ในภาคอีสานมีกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มอาศัยกระจัดกระจายอยู่ในหลายพื้นที่เช่นกัน (ศรัณย์ นักรบ, 2549) และยังพบกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ อีกมาก เช่น ภาคใต้มีชาวซาไกด์ มอแกน อูรักละโว้ย ภาคอีสานมีชาวลาวเชื้อสายต่าง ๆ ลาวภูไท ไทดํา ไทลื้อ ชาวกูย ภาคกลางมีชาวจีน มอญ เขมร ลาวซัง ลาวครั่ง เป็นต้น ชาวลาวครั่ง ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเดิมมีภูมิลําเนาอยู่แถบเมืองเวียงจันทน์และหลวงพระบางได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีเป็นต้นมาด้วยเหตุนี้ประเทศไทยจึงมีวัฒนธรรมที่หลากหลายมีประเพณีที่ เป็นอัตลักษณ์ของแต่ละกลุ่มเป็นของตนเองซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปตามบริบทของสังคมนั้น ๆ ชาวลาวครั่ง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่ปัจจุบันประกอบอาชีพที่หลากหลาย นับถือศาสนาพุทธ แต่ยังคงมีความเชื่อในเรื่องสิ่งลี้ลับ ภูตผี วิญญาณ ตลอดจนสิ่งเหนือธรรมชาติต่าง ๆ กล่าวอีกนัยหนึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เปรียบเสมือนเป็นแรงผลักดันให้เกิดกิจกรรมทางศาสนาของมนุษย์แบบดั้งเดิม (ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย, ม.ป.ป.) การละเล่นนางกวักเป็นการละเล่นพื้นบ้านตามประเพณีอย่างหนึ่งที่สําคัญของชาวไทย
เชื้อสายลาวครั่งที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติหรือภูตผีเทวดาในอดีตมีอิทธิพลมากต่อการดํารงชีวิต ซึ่งมีการนับถือผี เป็นความเชื่อที่สืบทอดกันมาอย่างช้านานตามแต่บรรพบุรุษ ซึ่งคําว่า “ผี” ของ ชาวลาวครั่งไม่ใช่ผีที่ชั่วร้ายหรือผีที่ทุกคนต้องกลัวหรือผีในทางลบแต่เป็นผี ปู่ ย่า ตา ยาย ผีป่า ที่มาช่วยปกป้องตนหรือไร่สวนของตน (ตุ๊ ทาทํานุก, การสัมภาษณ์, 26 พฤศจิกายน 2565) ซึ่งเป็นการละเล่นตามประเพณีดั้งเดิมที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของตนเองได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านความเชื่อระบบความเชื่อเรื่องผีถือเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สําคัญที่มีบทบาทและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องผูกพันมิใช่เฉพาะแค่การแสดงออกในรูปแบบของประเพณีพิธีกรรมเพียงเท่านั้นแต่ระบบความเชื่อเรื่องผียังถือเป็นสิ่งที่ฝังลึกอยู่ในมโนทัศน์ของผู้คนกลุ่มต่าง ๆ อย่างมีนัยสําคัญที่เกี่ยวข้องกับระบบความสัมพันธ์เชิงอํานาจระหว่างคนกับอํานาจ
นอกเหนือธรรมชาติที่ทําหน้าที่ในการควบคุมพฤติกรรมและรูปแบบวิถีการดําเนินชีวิตของผู้คน (เชาวน์มนัส ประภักดี, 2558) กล่าวคือ ชาวลาวครั่งมีความเชื่อว่าในช่วงเทศกาลสงกรานต์เทวดาจะปล่อยผีบรรพบุรุษให้ลงมารับส่วนบุญส่วนกุศลและมาเที่ยวหาเยี่ยมเยียนลูกหลานจึงได้มีการเชิญดวงวิญญาณผีบรรพบุรุษหรืออาจจะเป็นผีเร่ร่อนก็ได้ขึ้นอยู่ว่าผีตนใดจะเข้ามาสิงสถิตในตัวนางกวัก ซึ่งนางกวักนั้นเป็นการเรียกตามอุปกรณ์ที่ใช้ในการ เชิญดวงวิญญาณหรือผีให้เข้าสิ่งนั่นเองกล่าวคือ ผีนางกวักมีเครื่องเซ่นประกอบการละเล่นเอกลักษณ์ที่สําคัญของการละเล่นคือการร้องเพลงเพื่อเชิญผีให้เข้ามาสิงยังหุ่นนางกวัก ซึ่งมีลักษณะคล้ายหุ่นไล่กา การร้องเพลง จะร้องวนไปเรื่อย ๆ จนกว่าผีจะมาเข้ายังนางกวัก เมื่อดวงวิญญาณหรือผีเข้าสิงแล้วก็จะเริ่มการซักถามเรื่องราว ต่าง ๆ ทั่วไปไม่ว่าจะเป็นเรื่องหน้าที่การงาน การศึกษา การเงิน ความรัก คู่ครอง หรือ เรื่องอื่น ๆ ตามความต้องการของผู้ซักถาม การละเล่นจะดําเนินไปจนกว่าจะหมดคําถาม ผู้เล่นก็จะเชิญดวงวิญญาณหรือผีที่เข้าสิง ออกจากนางกวักโดยการเหวี่ยงตัวหุ่นนางกวักออกไปด้านข้างของผู้เล่นหรือผู้เชิญถือเป็นอันจบ
การละเล่นนางกวัก
ซึ่งการละเล่นนางกวักถือเป็นการละเล่นที่ใช้เพื่อความบันเทิงเท่านั้น ปัจจุบันการละเล่นนางกวักได้ ปรากฏอยู่ในวิถีชีวิตของชาวลาวครั่งในพื้นที่ต่าง ๆ จนกลายเป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มชนแต่อาจมีรูปแบบการละเล่น ที่มีความแตกต่างกันไปในรายละเอียด ทั้งนี้จากการสํารวจข้อมูลเบื้องต้นผู้วิจัยพบว่าบ้านตําบลคลองลาน อําเภอคลองลาน จังหวัดกําแพงเพชร เป็นชุมชนเล็ก ๆ ที่ได้มีการปฏิบัติและสืบทอดการละเล่นนางด้งและ นางกวักมาอย่างยาวนานตามรูปแบบดั้งเดิมมากที่สุดแห่งหนึ่งอย่างไรก็ตามบทเพลงประกอบการละเล่นนางกวักของชาวบ้านในพื้นที่อําเภอคลองลาน จังหวัดกําแพงเพชรที่สืบทอดต่อกันมาในลักษณะปากเปล่า มิได้มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทําให้ไม่สามารถสืบทราบได้ว่ามีที่มาอย่างไร หรือใครเป็นผู้ริเริ่ม การละเล่น นางกวักนี้ เพียงแต่ทราบว่าได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่รุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย ถึงแม้ว่าชุมชนชาวลาวครั่งยังคงมีการ การละนางกวักอยู่ในปัจจุบัน แต่กระแสความนิยมในวัฒนธรรมเมืองได้เข้ามามีอิทธิพลเพิ่มมากขึ้นต่อวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่อําเภอคลองลาน จังหวัดกําแพงเพชร ในทุกบริบทอย่างเด่นชัด และอาจส่งผลให้ การละเล่นผี นางกวักได้รับความนิยมน้อยลง และอาจสูญสิ้นไปได้ในอนาคต ผู้วิจัยได้ตระหนักถึงประเด็นดังกล่าว จึงมีความสนใจอย่างยิ่งที่จะทําวิจัยในครั้งนี้
ความหมายของผีนางกวัก ความหมายของผี
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้อธิบายว่า “ผี” คือ สิ่งที่มนุษย์เชื่อว่าเป็นสภาพ ลึกลับ มองไม่เห็นตัว แต่อาจจะปรากฏเหมือนมีตัวตนได้ อาจให้คุณหรือให้โทษได้ มีทั้งดีและร้าย เช่น ผีปู่ย่า ตายาย ผีเรือน ผีฟ้า เรียกคนที่ตายไปแล้ว (สํานักงานราชบัณฑิตยสภา, ม.ป.ป.)
ตามความเชื่อและ แต่โบราณ ผี (อังกฤษ: ghost) เป็นวิญญาณ (Soul) หรือสปิริต (spirit) ของคน หรือสัตว์ที่ตาย ซึ่งสามารถปรากฏให้คนเป็นเห็นได้ ไม่ว่าจะในรูปที่มองเห็นได้หรือสําแดงออกมาใน รูปอื่น รายละเอียดการปรากฏตัวของผีมีหลากหลายมากตั้งแต่การแสดงตนแบบมองไม่เห็น ปรากฏเป็นรูปร่าง บอบบางที่โปร่งแสงหรือแทบมองไม่เห็น ไปจนถึงการเห็นภาพสมจริงดุจมีชีวิต (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, 2565)
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ผี คือสิ่งที่มนุษย์เชื่อว่าเป็นสภาพลึกลับ มองไม่เห็นตัว ที่สําแดงร่างกายหลอก หลอนหรือขอส่วนบุญ อาจสิงอยู่หรือท่องเที่ยวไปในที่ต่าง ๆ ได้
ความหมายของนางกวัก
เมื่อได้ยินคําว่า “นางกวัก” คนส่วนใหญ่จะนึกถึงตุ๊กตานางกวักนําโชคที่ตั้งอยู่บนหิ้งตามร้านค้าต่าง ๆ แต่สําหรับชาวไทยพวน นางกวัก หมายถึง การละเล่นพื้นบ้าน เป็นการเข้าทรง สอดคล้องกับความเชื่อเรื่องผีที่ มีมาแต่โบราณ เช่นเดียวกับกลุ่มชาติพันธุ์ อื่น ๆ (สมคิด จูมทอง, 2561)
ความเชื่อเรื่องผีนางกวักในจังหวัดกําแพงเพชร
การละเล่น "ผีนางกวัก" ซึ่งเป็นประเพณีการละเล่นของคนอีสาน "ลาวครั่ง" ที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่โบราณ และนิยมเล่นกันในช่วงสงกรานต์เดือนเมษายนทุกปี หรือในโอกาสที่ต้องการสื่อสารกับ สิ่งเล้นลับต่าง ๆ โดยมีความเชื่อว่าการละเล่น "ผีนางกวัก" จะสามารถสื่อสารกับดวงวิญญาณของผู้ตายไปแล้ว และสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ ได้ จะนิยมเล่นกันในช่วงกลางคืน บริเวณทางสามแพร่ง โดยมีอุปกรณ์สําหรับการละเล่น คือ เครื่องมือสําหรับพันด้ายหรือฝ้ายที่ใช้ทอผ้า, เสื้อยืด, ไม้คานหาบน้ํา, สากตําข้าว, ขันธ์ 5 (ดอกไม้ธูปเทียน) ซึ่งต้องเป็นของแม่หม้ายที่สามีตายไปแล้วเท่านั้น โดยนําทั้งหมดมาแต่งมัดรวมกัน สมมติเป็นแขน ตกแต่งด้วยเสื้อและผ้าให้เหมือนกับหุ่นหรือตุ๊กตา ชาวบ้านเชื่อว่าการละเล่น "ผีนางกวัก" จะเป็นการเชิญผีหรือดวงวิญาณ ให้เข้าสิงในกวัก (อุปกรณ์ที่เตรียมไว้) โดยจะเล่นกันเพียง 2 คน จับอุปกรณ์ที่เรียกว่า "กวัก" เมื่อผู้นําได้ยกขันธ์ 5 ขึ้น พร้อมกล่าวเชิญวิญญาณให้เข้าสิงแล้ว เป็นภาษาลาวครั่ง คนอื่น ๆ ก็จะนั่งล้อมวงรอบ ๆ เคาะสากตําข้าว และปรบมือตามจังหวะ จากนั้นก็จะถามว่า "วิญญาณ" ที่เข้าสิงในกวักนี้เป็นใคร กวักก็จะโยกไปโยกมาโดย ปลายของไม้จะเขียนอักษรลงพื้นดินเพื่อให้คนอื่น ๆ เห็นว่าเป็นใคร มาจากไหน ซึ่งหากใครอยากสื่อสารกับคนที่ตายไปแล้ว หรือญาติมิตรสหายคนในครอบครัวก็สามารถเชิญเข้ามาสิงในกวักได้ หรือจะให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ต่าง ๆ ที่คนในหมู่บ้านนับถือเข้ามาสิงเพื่อที่จะสอบถามในเรื่องการทํามาหากิน เนื้อคู่ หรือบางครั้งก็จะถามเรื่องโชคลาภ หรือเรื่องส่วนตัวอื่น ๆ ของตนเองก็ได้เช่นกัน (ไทยรัฐออนไลน์, 2564) ความเชื่อเรื่องผีนางกวักในจังหวัดลําพูน
ผีที่มาลงส่วนมากจะเป็นผีผู้ชายและเป็นผีดี ไม่ดุร้าย เมื่อผีลงมาในกวักแล้ว ก็จะแสดงอาการทําให้ ตัวบ่ากวักเหมือนมีชีวิต เคลื่อนไหวได้ด้วยการโยกแกว่งไกวเหมือนกับว่าผู้ที่ถือไม่ได้ออกแรงทําเอง เมื่อผีมาลง แล้วก็จะหยุดร้อง จากนั้นผู้เล่นจะตั้งคําถามเพื่อต้องการรู้ว่าผีที่มานี้เป็นใคร โดยจะตั้งคําถามว่า “เป็นน้อย หรือเป็นหนาน” (น้อยหมายถึงผู้ชายที่เคยบวชเณร ส่วนคนที่บวชพระแล้วลาสิกขาเรียกว่าหนาน) จากนั้นก็จะ เชิญผีบ่ากวักดื่มน้ําหรือเหล้าตามแต่ผีต้องการ ถือเป็นการต้อนรับ วิธีการดื่มน้ําผีบ่ากวักจะใช้ปลายแขนจุ่มลง ในแก้วน้ําแทนปากหรือนําน้ําไปเทรดลงบนหัวของบ่ากวัก ตําแหน่งใกล้เคียงกับปาก จากนั้นคนจับกวักจะเชิญ ผีฟ้อนหรือเต้นรําเพื่อความสนุกสนานก่อนเหมือนเป็นการสร้างความคุ้นเคยกันก่อน จากนั้นคนจับกวักก็จะ ชวนคุย ซักถามตามแต่ที่มีคนต้องการถาม เช่น เรื่องการเรียน การงาน เหตุการณ์บ้านเมือง เนื้อคู่ เป็นต้น ผีจะตอบด้วยการโยกตัว โขกพื้นและเขียนบนพื้นดิน คําตอบจะมีแค่ใช่หรือไม่ใช่ เมื่อผู้เข้าร่วมพิธีไม่มีคําถามแล้ว ผู้จับบ่ากวักจะกล่าวคําขอบคุณและขออภัยแทนผู้ถามคําถามทุกคน ที่อาจใช้คําพูดหรือกริยาไม่เหมาะสมหรือ ลบหลู่โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จากนั้นจะนําน้ําขมิ้นส้มป่อยไปปะพรมที่ตัวบ่ากวัก เมื่อผีบ่ากวักออกไปแล้ว บ่ากวักจะนิ่ง ผู้ถือจะรู้สึกได้ว่าบ่ากวักจะเบา ไม่หนักเหมือนตอนที่ผีเข้าประทับ การละเล่นผีบ่ากวักมักจะใช้ เวลาเล่นราว 1-3 ชั่วโมงต่อครั้ง ปัจจุบันผู้สนใจการละเล่นผีบ่ากวักน้อยลง แม่สายคํา เขื่อนควบ ผู้เล่นผีบ่ากวัก ของบ้านโฮ่ง ที่ความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ว่า “เมื่อก่อนเวลาเล่นผีบ่ากวักจะมีคนมาดู มีทั้งคนบ้านเรา และหนุ่มๆ ต่างบ้าน เขาจะมาทุกคืนเลย มาคุยด้วย เวลาเล่นก็สนุกดี มีเพื่อนมาหลายคนมาช่วยกันเล่น หนุ่มสาวมาเยอะ จะสนุก มันจะล้อกัน แซวกัน บางทีก็ถามว่าแฟนคนนี้มาไหม ถ้ามาก็ให้โขกแรงๆ สาวก็อาย เดี๋ยวนี้มันเลือน รางหายไป ไม่ค่อยมีใครสืบสาน มันคงจะหมดสิ้นกับแม่นี่แหละ เด็ก ๆ มันไปร่ําไปเรียนกันหมด เดี๋ยวนี้คนดูก็มี แต่เด็ก ๆ พวกหนุ่ม ๆ ไม่ค่อยมาดูแล้ว เดี๋ยวนี้เขาไม่ค่อยเชื่อกันแล้วเรื่องผี เสียดายอยู่เหมือนกัน เราทําสืบทอด มาแต่เด็ก ๆ ก็คงจะไม่เอาแล้ว ไปไหนกันหมดแล้ว ยุคนี้มันยุคโทรศัพท์ ยุคก้มหน้า ไม่ดูผีแล้ว” (ปณิตา สระวาสี,2561)
ความเชื่อเรื่องผีนางกวักในจังหวัดนครปฐม
การละเล่นผีนางกวักจะนิยมเล่นในช่วงสงกรานต์ ใครมีทุกข์ มีสุข ถามเรื่องงาน เรื่องความรัก เรื่องโรคภัย ไข้เจ็บ สามารถถามได้ทุกเรื่องผีนางกวักจะบอกด้วยการเคาะสากตําข้าว และเขียนลงบนทรายที่ ได้เตรียมไว้ทําให้ชาวบ้านได้มีขวัญและกําลังใจในการดําเนินชีวิตต่อไปอย่างมีความสุข การละเล่นผีนางกวัก นิยมเล่นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของลาวครั่งประมาณเดือนเมษายน ของทุกปี การละเล่นผีนางกวักจะเป็น การเชิญผีให้สิ่งในกวัก (เครื่องมือสําหรับพันด้ายหรือฝ้าย) ในการทอผ้า จากนั้นก็จะมีการถามผีนางกวักให้ ทักทายในเรื่องต่าง ๆ มักเล่นในเวลากลางคืน หลักจากเลิกเล่นก็จะเชิญผีออกจากกวัก วันรุ่งขึ้นจึงจะเชิญมา เล่นใหม่ การละเล่นนี้จะเล่นจนถึงวันสุดท้ายของสงกรานต์ คือก่อนวันสรงน้ําพระ 1 วัน เงินที่ได้จากการละเล่น ก็จะนําไปเข้าพุ่มผ้าป่าถวายวัดในการแห่ธงสงกรานต์ เริ่มต้นด้วยการเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมเมื่อได้เวลาพลบค่ํา ผู้นําการละเล่นก็ชักชวนเพื่อนบ้าน นําอุปกรณ์ทั้งหมดไปที่ทางสามแพร่ง ผู้เล่นผู้หญิงสองคนจะทําหน้าที่ถือ กวักคนละด้าน ผู้นําจุดธูปเชิญผีให้มาสิง ในกวัก จากนั้นก็จะร้องเพลงเชิญนางกวัก มีการซักถามนางกวักให้ ทายทักเรื่องราวต่าง ๆ เช่นการทํามาหากิน เนื้อคู่ หรือบางครั้งก็จะถามเรื่องหวย ใครประสงค์ที่จะถามก็จะต้อง นําเงินใส่ลงไปในพานขันธุ์ห้าเป็นค่ากํานัล ตัวอย่างคําถาม “มื้ออื่นน้อยจะได้พบรักบ่ ถ้าพบให้นางกวักเคาะ สากเด้อ” “ขอหวยสองโต เขียนลงบนดิน ให้เพิ่ง” เป็นต้น หากนางกวักจะตอบ ก็จะใช้แขนเคาะลงบนสากตําข้าว การละเล่นก็จะดําเนินไปเรื่อย ๆ บางครั้งก็จะมีการร้องเพลงหรือเป่าแคนให้นางกวัก ได้สนุกสนาน เต้นไปตามจังหวะ จนกว่าจะได้เวลาดึกมากแล้ว จึงเลิกเล่น ก็จะเชิญผีออกจากกวัก ด้วยการใช้นิ้วมือแหย่ลงไป ในตาของกวัก ผีก็จะออกไปเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งหมดนี้ บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ไว้เพื่อให้เกิดความรักความ สามัคคี การรวมกลุ่มกันของชาวบ้านให้ได้มีกิจกรรมร่วมกัน เป็นการสร้างพลัง สร้างขวัญและกําลังใจให้กับ ชาวบ้าน ในการดํารงชีวิตให้มีความเข้มแข็ง ก่อให้เกิดกําลังใจในการประกอบสัมมาอาชีพ เพื่อเป็นหลักของครอบครัว ชุมชน และสังคมต่อไป (ปนิทัศน์ มามีสุข, 2560)
การละเล่นผีนางกวักอาจจะสามารถพบได้ในหลายๆพื้นที่ แต่ในแต่ละพื้นที่จะมีเอกลักษณ์หรือลักษณะการละเล่นผีนางกวักที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าการละเล่นผีนางกวักในอําเภอคลองลาน จังหวัดกําแพงเพชร มีความเชื่อว่าการละเล่นผีนางกวักจะสามารถสื่อสารกับวิญญาณ และขอโชคลาภได้ ส่วนการละเล่นผีนางกวักในอําเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลําพูน มีความเชื่อว่าการละเล่นผีนางกวักจะสามารถช่วยในเรื่องการทํามาหากินให้ดีขึ้น สุดท้ายคือการละเล่นผีนางกวักในอําเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม มีความเชื่อว่าการละเล่นผีนางกวักเป็นการขอบคุณเครื่องมือทํามาหากิน และเป็นการเสี่ยงทายในชีวิตเรื่องการเจ็บไข้ได้ป่วย และความเป็นไปในเรื่องของธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นในหมู่บ้าน
การละเล่นของไทย
ความหมายของการละเล่น
การละเล่น หมายถึง มหรสพการแสดงต่าง ๆ เพื่อความสนุกสนานรื่นเริง
เล่น หมายถึง ทําเพื่อสนุกหรือผ่อนคลายอารมณ์ เช่น เล่นเรือ เล่นดนตรี การแสดง เช่น เล่นโขน เล่นละคร เล่นงานเหมา สาละวน หรือหมกมุ่นอยู่กับสิ่งใด ๆ ด้วยความเพลิดเพลิน เป็นต้น เช่น เล่นกล้วยไม้ (Siamsporttalk, ม.ป.ป.)
ความหมายการละเล่นของไทย
การละเล่นของไทย หมายถึง การละเล่นดั้ง เดิมของเด็กและผู้ใหญ่ เพื่อความบันเทิงใจ ทั้งที่เป็น การละเล่นที่มีกติกา หรือไม่มีกติกา ไม่มีบทร้องประกอบ หรือมีบทร้องประกอบให้จังหวะ บางทีก็มีท่าเต้น ท่ารําประกอบ เพื่อให้งดงาม และสนุกสนานยิ่งขึ้น ทั้งผู้เล่น และผู้ชมมีส่วนร่วมสนุก (ไม่ครอบคลุมไปถึง การละเล่นที่เป็นการแสดงให้ชม โดยแยกผู้เล่น และผู้ดูออกจากกัน ด้วยการจํากัดเขตผู้ดู หรือการสร้างเวที สําหรับผู้เล่น เป็นต้น) (Plookpedia, 2560)
วัตถุประสงค์ของการละเล่น
1. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในวัฒนธรรมการละเล่น
2. เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความสุขสนุกสนานในขณะเล่น
3. เพื่อส่งเสริมผนึกกําลังในการอนุรักษ์การละเล่นท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป
4. เพื่อให้ผู้เรียนได้เปลี่ยนบรรยากาศในการเรียนรู้ด้วยตนเองจากประสบการณ์จริง
รูปแบบของการละเล่น มีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
เนื่องจากการละเล่นของไทยเรานั้นมีมากมายจนนึกไม่ถึง (กรมพลศึกษารวบรวมไว้ได้ถึง 1,200 ชนิด) แต่พอจะแบ่งคร่าวๆ ได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การละเล่นกลางแจ้งและการละเล่นในร่ม และในแต่ละ ประเภทก็ยังแบ่งย่อยอีกเป็นการละเล่นที่มีบทร้องประกอบกับที่ไม่มีบทร้องประกอบ
การละเล่นผีนางกวัก
ความหมายของการละเล่นผีนางกวัก
จากคําบอกเล่ากล่าวว่า ได้เล่นสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจําความได้ ก็เห็นพ่อแม่เล่น นิยมเล่นใน เทศกาลสงกรานต์เพราะเชื่อว่าเขาปล่อยผี ดังนั้นเวลาเชิญจะทําให้ผีลงมาสถิตในเวลา อันรวดเร็ว วัตถุประสงค์ ของการลงผีลอบ ผีนางกวัก เพื่อเป็นการนําเอาอุปกรณ์ที่ใช้ในการทํามาหากินมาเซ่นไหว้ และนํามาให้ลูกหลาน ได้รู้จัก เชื่อว่าเป็นการขอบคุณเครื่องมือทํามาหากินด้วย ผีนางกวัก ถือว่าเป็นการเสี่ยงทาย ในชีวิตเรื่องการ เจ็บไข้ไม่สบาย ให้ระมัดระวัง และความเป็นไปเรื่องของธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นในหมู่บ้าน เช่น ฝนจะตกมาก น้ําจะท่วม จะมีพายุ ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องราวต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีถัดไป จากคําบอกเล่าของพี่เลี้ยงกล่าวว่า ในอดีตการลงผีนางกวักนั้นสามารถเล่นได้ทุกเวลา ไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าเป็นเทศกาลสงกรานต์ เช่น กรณีของ หากเจ็บไข้ไม่สบายก็จะมีการลงผีนางกวักเพื่อให้ชี้แนะ ปัจจุบันการละเล่นผีนางกวักยังคงมีการละเล่นอยู่ที่ บ้านทุ่งผักกูด และเป็นการละเล่นที่ได้รับความนิยมชอบทั้ง คนในชุมชนและคนนอกชุมชน ผู้เข้าร่วมมีทั้งคน หนุ่มสาวและวัยผู้ใหญ่ สามารถส่งเสริมให้เป็นการละเล่นที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้ เช่นเดียวกับการละเล่นผีลอบ (ณภัทร ประศาสน์ศิลป์ และ ศราวุฒิ ปิ่นทอง, 2565) วัตถุประสงค์ของการละเล่นผีนางกวัก
การละเล่นนางกวัก เป็นหนึ่งในการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยพวนที่ยังมีให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน แต่เหลือเล่นไม่กี่จังหวัด ในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 5 จังหวัดที่เป็นพื้นที่ในการศึกษาครั้งนี้มีเพียงจังหวัด สระบุรีและลพบุรีเท่านั้นที่ยังมีการละเล่นนางกวัก วัตถุประสงค์ของ การละเล่นนางกวักเพื่อการเสี่ยงทาย เหมือนกับการละเล่นนางด้ง แต่การเสี่ยงทางในการละเล่น นางกวักที่นิยมคือการเสี่ยงทายเรื่องคู่ครอง “เสี่ยง” การละเล่นนางกวักเป็นการละเล่นเข้าผีแต่ แตกต่างกับการละเล่นเข้าผีชนิดอื่น ๆ ตรงที่ผีจะไม่เข้าที่ตัวคนเล่น แต่จะสิ่งที่ตัวกวักแทน ดังนั้น นางกวักจะพูดไม่ได้จะใช้วิธีการเขียนตอบในการทายโดยมีผู้ถือกวักเป็นผู้เล่นใน การจับตัวนางกวักเท่านั้น (สังวัลย์ เครือแก้ว และสมคิด จูมทอง, 2561 อ้างถึงใน อารีวรรณ หัสดิน, 2562)
ความเชื่อของการละเล่นผีนางกวัก
มนุษย์มีความเชื่อเพื่อผลทางจิตใจ การสร้างอุปนิสัยสุขภาพอนามัย ขนบธรรมเนียมประเพณีพิธีกรรม ต่าง ๆ คนไทยในท้องถิ่นต่าง ๆ มีความเชื่อที่สืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษด้วยกันทุกท้องถิ่น โดยแบ่งความเชื่อ ตามหลักเหตุผลเป็น 2 ประเภท คือ ความเชื่อที่มีเหตุผลและความเชื่อที่ไม่มีเหตุผล หากพิจารณาความเชื่อ จากบุคคลที่ยึดถือ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ ความเชื่อส่วนบุคคลและความเชื่อกลุ่ม การละเล่นผีลอบและ การละเล่นผีนางกวักนั้น มีการสืบทอดมาอย่างยาวนานเป็นแหล่งสั่งสมความคิด ภูมิปัญญา ศรัทธาและความเชื่อหลายรูปแบบ เช่น ความเชื่อเรื่องบาป-บุญ ขวัญ-วิญญาณ เทวดา-ผี และสิ่งลึกลับ ได้สืบทอดความเชื่อเรื่องผีสาง ผีลอบ ผีนางกวัก เป็นพิธีการละเล่นที่สร้างขึ้นจากความเชื่อของมนุษย์โดยใช้ อุปกรณ์ทํามาหากิน เป็นเครื่องแสดงออกถึงความเชื่อเรื่องผี โดยนําเอาการละเล่นผีลอบและการละเล่นผีนางกวักมาใช้ในพิธีเสี่ยงทาย ของหาย ทํานายทายทักเรื่องฟ้าฝนที่จะตกลงมา ชี้แนะแนวทางการรักษาโรคต่าง ๆ ความเชื่อเรื่อง การละเล่น ทั้งสองประเภทที่มีต่อชุมชนก็คือ เป็นการแสดงออกถึงความสามัคคี ความเป็นน้ําหนึ่งอันเดียวกันในชุมชน เป็นการสร้างความหวังกําลังใจในการประกอบอาชีพ ความสบายใจ ทําให้อยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข (ณภัทร ประศาสน์ศิลป์ และ ศราวุฒิ ปิ่นทอง, 2565)
รูปแบบของการละเล่นผีนางกวัก มีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
1. เล่นเพื่อขอโชคลาภ
2. เล่นเพื่อสื่อสารกับดวงวิญญาณ
3. เล่นเพื่อทํานายฝนฟ้าอากาศ
4. เล่นเพื่อเสี่ยงทายการเจ็บไข้ ไม่สบาย 5. เล่นเพื่อการทํามาค้าขาย ทํามาหากิน
บทร้องในการละเล่นผีนางกวักของแต่ละพื้นที่ บทร้องในการละเล่นผีนางกวักในจังหวัดกําแพงเพชร
“ นางกวักเอย นางกวักเจ้าแม่กวัก พ่อยักแย่ อี่แม่แย่ยอ คนยกคนยอ เจ้าสูงเพียงข้าง เจ้าอวดอ้างต่ำหูกเดือนหงาย ตกดินตกทรายเดือนแจ้ง เจ้าแอ้งแม้งนางฟ้าลงมา นางสีดาแกว่งแขนต้องแต๊ง ต๊องแก๊ง(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ม.ป.ป.)
บทร้องในการละเล่นผีนางกวักในจังหวัดลําพูน
รําเชิญผี ชุมชนบ้านวังหลวง หมู่ 1 ต.ป่าพลู อ.บ้านโฮ่ง จ.ลําพูน คนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นคนโยน หรือ “โยนก “นางกวักเอ๋ย นางกวักเจ้าแอ๊บ แย่ะหยิ้มแย่ะ แม่เสือลาย ลงมาหลายหลาย จะฝายตาผ่อ เหน็บดอกซอมพอ ห้อยหอยะสาท นางอวดอาด สุ่มมืดสุ่มดํา หลับฝันหัน สุดเจ้าสุดค่ํา ดินทราย ทไหลดินเกียง นางลงบ่าเลี้ยง เงินนางลงมาฟ้อน บ่ากวักเจ้าแก๊บ”
รําเชิญผี บ้านเกาะทุ่งม่าน หมู่ 12 ต.ป่าพลู อ.บ้านโฮ่ง จ.ลําพูน คนในชุมชนส่วนใหญ่มีเชื้อสายยอง ความแตกต่างกันของบทร้อง “แหย่งแย่ะแหย่ง แหย่งเสือลาย ลงมาหลายหลาย จักถวายต่ำผ่อ ดอกซอมพอพอที่หอประสาท นางโอดอาดสุ่มมืดสุ่มดํา หลับฝันหันก็เจ้าก็ค่ำ ขนดินทรายถวายลงเก้ง ลงบ่เลี้ยงตามหมู่ในดง (ปณิตา สระวาสี, 2561)
ในจังหวัดนครปฐม ไม่มีบทร้องในการละเล่น แต่จะเป็นในรูปแบบของคําถาม
เครื่องเซ่นไหว้ เหมือนหรือแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่
แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เนื่องจากจังหวัดกําแพงเพชร จะใช้เป็นขันธ์ 5 จังหวัดลําพูน จะใช้ขันน้ํา ขมิ้นส้มป่อย และดอกซอมพอหรือดอกหางนกยูง จังหวัดนครปฐม จะใช้พานครู
อุปกรณ์การละเล่นผีนางกวัก เหมือนหรือแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่
จังหวัดกําแพงเพชร จะมีอุปกรณ์ที่ใช้คือ
หุ่นหรือตุ๊กตา
1. กวัก ที่มีการนําไม้ไผ่มามัดติดกับกวัก สมมุติเป็นแขน ตกแต่งด้วยเสื้อและผ้าให้เหมือนกับ
2. สากตําข้าว
3. ขันธ์ห้า
จังหวัดลําพูน จะมีอุปกรณ์ที่ใช้คือ
1. กวัก
2. ไม้ชี้ดาว
3. ขันน้ําขมิ้นส้มป่อย จังหวัดนครปฐม จะมีอุปกรณ์ที่ใช้คือ
วิธีการละเล่น
1. กวักที่ใช้ปั่นฝ้า
2. สากมือสําหรับตําข้าว 2 อัน (ต้องใช้วิธีขโมยของพ่อหม้าย)
3. ถ้วยทองเหลือง
4. เงิน 6 สลึง
เหมือนหรือแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่
จังหวัดกําแพงเพชร เริ่มต้นด้วยการเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมเมื่อได้เวลาพลบค่ํา ผู้นําการละเล่นก็ชักชวน เพื่อนบ้านนําอุปกรณ์ทั้งหมดไปที่ทางสามแพร่ง ผู้เล่นผู้หญิงสองคนจะทําหน้าที่ถือกวักคนละด้าน ผู้นําจุดธูป เชิญผีให้มาสิงในกวัก จากนั้นก็จะร้องเพลงเชิญนางกวัก จนกระทั่งกวักเริ่มเคลื่อนไหว ก็จะนํานางกวักกลับไป ยังลานบ้านทุกคนนั่งล้อมวงนางกวักมีการซักถามนางกวักให้ทายทักเรื่องราวต่าง ๆ เช่น การทํามาหากิน ดิน ฟ้า อากาศ เนื้อคู่ หรือบางครั้งก็จะถามเรื่องหวยใครประสงค์ที่จะถามก็จะต้องนําเงินใส่ลงไปในพานขันธ์ห้า เป็นค่ากํานัล ตัวอย่างคําถาม มืออื่นน้อยจะได้พบคนรักบ่ ถ้าพบให้นางกวักเคาะสากเด้อ” “อ้อยมีเนื้อคู่ ถ้ามี ให้เคาะสาก” “ขอหวยสองโต เขียนลงบนดินให้เพิ่ง” เป็นต้น หากนางกวักจะตอบ ก็จะใช้แขนเคาะลงบนสาก ตําข้าการละเล่นก็จะดําเนินไปเรื่อย ๆ บางครั้งก็จะมีการร้องเพลงหรือเป่าแคนให้นางกวักได้สนุกสนาเต้นไปตามจังหวะจนกว่าจะได้เวลาหรือดึกมากแล้วจึงเลิกเล่น ก็จะเชิญผีออกจากกวักด้วยการใช้นิ้วมือแหย่ลงไปใน ตาของกวักผีก็จะออกไป (Surangchu, 2555)
จังหวัดลําพูน ผู้เล่นหรือผู้จับกวักมี 2 คน ส่วนมากเป็นผู้หญิง เนื่องจากมีความนุ่มนวล พูดจาดี เชื่อกันว่า ผีชอบและเอ็นดู ที่สําคัญต้องเป็นคนขวัญอ่อน เพราะเชื่อว่าเมื่อทําพิธีอัญเชิญดวงวิญญาณผีเข้าประทับที่ตัวบ่ากวักวิญญาณจะเข้าได้ง่ายและเร็วเมื่อผีลงมาในกวักแล้วก็จะแสดงอาการทําให้ตัวบ่ากวักเหมือนมีชีวิต เคลื่อนไหวได้ด้วยการโยกแกว่งไกวเหมือนกับว่า ผู้ที่ถือไม่ได้ออกแรงทําเอง เมื่อผีมาลงแล้วก็จะหยุดร้อง จากนั้นผู้เล่นจะตั้งคําถามเพื่อต้องการรู้ว่าผีที่มานี้เป็นใคร โดยจะตั้งคําถามว่า “เป็นน้อยหรือเป็นหนาน” (น้อย หมายถึง ผู้ชายที่เคยบวชเณร ส่วนคนที่บวชพระแล้วลาสิกขาเรียกว่า หนาน) จากนั้นก็จะเชิญผีบ่ากวัก ดื่มน้ําหรือเหล้าตามแต่ผีต้องการ ถือเป็นการต้อนรับ วิธีการดื่มน้ําผีบ่ากวักจะใช้ปลายแขนจุ่มลงในแก้วน้ํา แทนปากหรือนําน้ําไปเทรดลงบนหัวของบ่ากวัก ตําแหน่งใกล้เคียงกับปาก จากนั้นคนจับกวักจะเชิญผีฟ้อน หรือเต้นรําเพื่อความสนุกสนานก่อนเหมือนเป็นการสร้างความคุ้นเคยกันก่อน จากนั้นคนจับกวักก็จะชวนคุย ซักถามตามแต่ที่มีคนต้องการถาม เช่น เรื่องการเรียน การงาน เหตุการณ์บ้านเมือง เนื้อคู่ เป็นต้น ผีจะตอบด้วยการโยกตัว โขกพื้นและเขียนบนพื้นดิน คําตอบจะมีแค่ใช่หรือไม่ใช่ เมื่อผู้เข้าร่วมพิธีไม่มีคําถามแล้ว ผู้จับ บ่ากวักจะกล่าวคําขอบคุณและขออภัยแทนผู้ถามคําถามทุกคนที่อาจใช้คําพูดหรือกริยาไม่เหมาะสมหรือ ลบหลู่โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จากนั้นจะนําน้ําขมิ้นส้มป่อยไปปะพรมที่ตัวบ่ากวัก เมื่อผีบ่ากวักออกไปแล้ว บ่ากวัก จะนิ่ง ผู้ถือรู้สึกได้ว่าบ่ากวักจะเบา ไม่หนักเหมือนตอนที่ผีเข้าประทับ การละเล่นผีบ่ากวักมักจะใช้เวลาเล่นราว 1-3 ชั่วโมงต่อครั้ง (ปณิตา สระวาสี, 2561)
จังหวัดนครปฐม การละเล่นพื้นถิ่นของชาวลาวครั่ง มีความเกี่ยวโยงเรื่องราวมาจากวัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ โดยนิยมนําการละเล่นมาเล่นในช่วงเทศกาลสงกรานต์เพื่อความ สนุกสนานของคนในชุมชน และมีความเชื่อว่าในช่วงเทศกาล ดังกล่าวผีต่าง ๆ ที่ชาวลาวครั่งให้ความเคารพนับถือ จะถูกปลดปล่อยให้กลับมาพบกับลูกหลาน ลูกหลานจึงมีการทำบุญอุทิศส่วนบุญไปให้ การละเล่นดังกล่าว เป็นการส่งเสริมให้ชาวลาวครั่ง มีความ กตัญญูต่อบรรพบุรุษ มีความเชื่อว่าการเสี่ยงทายจากการละเล่นต่าง ๆ มีผลต่อจิตใจให้ต่อสู้มีกําลังใจ ให้ระมัดระวังตามคําเสี่ยงทาย นอกจากนี้ยังเป็นการเชื่อมโยงให้เห็นถึงระบบความเชื่อเรื่องสิ่งเหนือธรรมชาติที่มีผลต่อสภาพจิตใจ ความเชื่อ ความศรัทธา ของกลุ่มคนหรือบุคคล การละเล่น ผีลอบและการละเล่นผีนางกวักที่สืบทอดมาในปัจจุบัน ช่วยให้เห็นวิถีการดํารงชีวิตประจําวันของคนในชุมชน เห็นวัฒนธรรมที่ดีงามมีคุณค่าของกลุ่ม (นิวส์รีพอร์ต, 2560)
บทสรุป
การละเล่นผีนางกวักจะมีลักษณะที่แตกต่างจากนางกวักที่เป็นรูปปั้น ในแต่ละพื้นที่จะมีความเชื่อในการละเล่นที่แตกต่างออกกันไป บางพื้นเล่นเพื่อขอโชคลาภ เพื่อสื่อสารกับดวงวิญญาณ เพื่อทำนายฝนฟ้า อากาศ เพื่อเสี่ยงทายการเจ็บไข้ ไม่สบาย และเล่นเพื่อการทำมาค้าขาย ทำมาหากิน ส่วนในเรื่องอุปกรณ์ เครื่องเซ่นไหว้ บทที่ใช้ร้องในการละเล่น รูปแบบ และวิธีการละเล่นที่แตกต่างออกกันไป
ที่มา : สุวลัย อินทรรัตน์ และคนอื่น ๆ. (2566). การละเล่นผีนางกวัก ในชุมชนคลองลานพัฒนา จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารกำแพงเพชรศึกษา, 6 (6). 19-28.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2567). การละเล่นผีนางกวัก ในชุมชนคลองลานพัฒนา จังหวัดกำแพงเพชร. สืบค้น 12 พฤศจิกายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2247&code_db=610004&code_type=05
Google search
มารยาททางสังคมที่ชาวเขาเผ่าม้งพึงมีต่อกันเพื่อสร้างความเข้าใจ และความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่บ้านเดียวกัน ส่วนมากเป็นข้าปฏิบัติที่ได้รับแนวคิดมาจากค่านิยมเบื้องต้นในวัฒนธรรมประจำเผ่า มารยาทที่สำคัญได้แก่ มารยาทการเยี่ยมบ้าน แขกที่มาเยี่ยมบ้านแม้วหรือม้งนั้นจะต้องเรียนรู้วัฒนธรรมของม้งให้รู้ก่อนที่จะไปเยี่ยมบ้านแม้วหรือม้ง เพื่อจะได้ไม่เสียมารยาท แขกที่ต้องการเข้าไปเยี่ยมบ้านม้งนั้นเมื่อเข้าไปถึงบ้านที่ท่านต้องเข้าไปสนทนาด้วยนั้นจะต้องปฏิบัติ เมื่อแขกเดินไปถึงหน้า ประตูบ้านม้งนั้น ถึงแม้จะเห็นว่าประตูบ้านจะปิดหรือเปิด ก็ต้องตะโกนถามคนในบ้านก่อนว่า “ไจ๊จือไจ๊” เป็นการถามเพื่อขอ อนุญาตเข้าบ้านม้ง (คำว่า ไจ๊จือไจ๊ นั่นมีความหมายว่า ขออนุญาตให้เข้าไปได้หรือไม่) ถ้ามีเสียงตอบในบ้านมาว่า “จือไจ๊” แสดงว่าเจ้าของบ้านม้งยอมอนุญาตให้เข้าบ้านได้
เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 49
วิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรมของชาวไทยกะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) ในหมู่บ้านวุ้งกะสัง ตําบลโป่งน้ําร้อน อําเภอคลองลาน จังหวัดกําแพงเพชร พบว่า ชุมชนบ้านทุ่งกะสังเป็นชุมชน ที่มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นในหลายด้าน เช่น อาหาร การแต่งกาย ภาษา ความเชื่อ ประเพณี วิถีวัฒนธรรม บ้านเรือน ชาวไทยกะเหรี่ยงในหมู่บ้านรุ้งกะสังให้ความสําคัญกับการเกิดและการแต่งงานเป็นอย่างมาก สะท้อนได้จากจํานวนวันที่ยาวนานซึ่งในบางครั้งตั้งแต่การสู่ขอไปจนถึงการออกหาอาหาร ใช้เวลายาวนานถึง 21 วัน นอกจากจํานวนวันในการจัดพิธีต่างๆ จะกินเวลายาวนานแล้วขั้นตอนพิธีการใน วันงานยังมีความละเอียดซับซ้อน
เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้เช้าชม 50
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,875
ลักษณะการแต่งกายของชาวเขา จังหวัดกำแพงเพชร จะมีตัวเสื้อจะเป็นผ้ากำมะหยี่ เสื้อแขนยาวจรดข้อมือ ชายเสื้อจะยาวคลุมเอว ด้านหน้ามีสาบเสื้อสองข้างลงมาตลอดแนว สายเสื้อลงไปยังชายเสื้อ ด้านหลัง มักจะปักลวดลายสวยงามด้วย ปัจจุบันนิยมใส่ซิปลงขอบ สาบเสื้อ เพื่อสะดวกในการใส่ ส่วนกางเกงจะสวมใส่กางเกงขาก๊วย หรือกางเกงจีนเป้าตื้นขาบาน มีลวดลายน้อย และใส่ผ้าพันเอวสีแดง คาดทับกางเกง และอาจมีเข็มขัดเงินคาดทับอีกชั้นหนึ่งด้วยเหมือนกัน
เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 13,256
ชาวเขาเผ่าม้งจังหวัดกำแพงเพชร สืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน จัดกิจกรรมการละเล่นลูกช่วง บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนานรื่นเริงที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร นายสุรพล วาณิชเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานในพิธีเปิดงานสืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน โดยมี พันเอกพิเศษหญิง ศินีนาถ วาณิชเสนี นายกเหล่ากาชาด จังหวัดกำแพงเพชร นายสุนทร รัตนากร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร ประชาชน นักท่องเที่ยว และชาวม้งในอำเภอคลองลาน เข้าร่วมพิธีอย่างคับคั่ง
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,487
ชาวม้งมีการนับถือวิญญาณบรรพบุรุษ สิ่งศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่อยู่บนฟ้า ในลำน้ำ ประจำต้นไม้ ภูเขา ไร่นา ฯลฯ ชาวม้งจะต้องเซ่นสังเวยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เหล่านี้ปีละครั้ง โดยเชื่อว่าพิธีไสยศาสตร์เหล่านี้จะช่วยให้วินิจฉัยโรคได้ถูกต้องและทำการรักษาได้ผล เพราะความเจ็บป่วยทั้งหลาย ล้วนแต่เป็นผลมาจากการผิดผี ทำให้ผีเดือดดาลมาแก้แค้นลงโทษให้เจ็บป่วย จึงต้องใช้วิธีจัดการกับผีให้คนไข้หายจากโรค
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 8,254
ในอดีตการหมั้นของม้ง จะนิยมหมั้นระหว่างญาติลูกพี่ลูกน้องต่างแซ่กัน กล่าวคือ ลูกของพี่ หรือน้องชาย กับลูกของพี่ หรือน้องสาว การหมั้นจะกระทำตั้งแต่บุตรของทั้งสองฝ่ายมีอายุประมาณ 1 เดือน ทางฝ่ายชายเป็นผู้ไปหมั้น โดยนำสิ่งของตาม ธรรมเนียมไปมอบให้บิดามารดาของฝ่ายหญิง โดยทั้งสองฝ่ายให้คำมั่นสัญญาต่อกันว่า ถ้าบุตรโตเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้วจะให้แต่งงานกัน ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิด สัญญาจะต้องเสียค่าปรับให้คู่สัญญาตามธรรมเนียมการหมั้น ปัจจุบันม้งยังคงยืดถือปฏิบัติกันอยู่ แต่พบน้อยมาก
เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 108
ม้งมีความเชื่อว่าพิธีไสยศาสตร์เหล่านี้จะช่วยให้วินิจฉัยโรคได้ถูกต้องและทำการรักษาได้ผล เพราะความเจ็บป่วยทั้งหลาย ล้วนแต่เป็นผลมาจากการผิดผี ทำให้ผีเดือดดาลมาแก้แค้นลงโทษให้เจ็บป่วย จึงต้องใช้วิธีจัดการกับผีให้คนไข้หายจากโรค หากว่าคนทรงเจ้ารายงานว่าคนไข้ที่ล้มป่วยเพราะขวัญหนี ก็จะต้องทำพิธีเรียกขวัญกลับเข้าสู่ร่างของบุคคลนั้น แต่การที่จะเรียกขวัญกลับมานั้น จะต้องมีพิธีกรรมในการปฎิบัติมากมาย บางครั้งบางพิธีกรรมก็มีความยุ่งยากในการปฎิบัติ แต่ม้งก็ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคเหล่านั้น ม้งเชื่อว่าการที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง โดยไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียน นั่นคือความสุขอันยิ่งใหญ่ของม้ง
เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้เช้าชม 64
ยังไม่มีผู้ใดสามารถสรุปได้ว่าชนชาติม้งมาจากที่ไหน แต่สันนิษฐานกันว่าม้งคงจะอพยพมาจากที่ราบสูงธิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย เข้าสู่ประเทศจีน และตั้งหลักแหล่งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเหลือง (แม่น้ำฮวงโห) เมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว ซึ่งชาวเขาเผ่าม้งจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในมณฑลไกวเจา ฮุนหนำ กวางสี และมณฑลยูนาน ม้งอาศัยอยู่ในประเทศจีนมาหลายศตรรษ จนกระทั่ง ประมาณคริสตศตวรรษที่ 17 ราชวงค์แมนจู (เหม็ง) มีอำนาจในประเทศจีน
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 33,226
การละเล่นนางกวักถือเป็นการละเล่นที่ใช้เพื่อความบันเทิงเท่านั้น ปัจจุบันการละเล่นนางกวักได้ ปรากฏอยู่ในวิถีชีวิตของชาวลาวครั่งในพื้นที่ต่าง ๆ จนกลายเป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มชนแต่อาจมีรูปแบบการละเล่น ที่มีความแตกต่างกันไปในรายละเอียด ทั้งนี้จากการ สํารวจข้อมูลเบื้องต้น พบว่าบ้านตําบลคลองลาน อําเภอคลองลาน จังหวัดกําแพงเพชร เป็นชุมชนเล็ก ๆ ที่ได้มีการปฏิบัติและสืบทอดการละเล่นนางด้งและนางกวักมาอย่างยาวนานตามรูปแบบดั้งเดิมมากที่สุดแห่งหนึ่ง อย่างไรก็ตามบทเพลงประกอบการละเล่นนางกวักของชาวบ้านในพื้นที่อําเภอคลองลาน จังหวัดกําแพงเพชรที่สืบทอดต่อกันมาในลักษณะปากเปล่า มิได้มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทําให้ไม่สามารถสืบทราบได้ว่ามีที่มาอย่างไร หรือใครเป็นผู้ริเริ่ม การละเล่นนางกวักนี้ เพียงแต่ทราบว่าได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่า ตายาย
เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้เช้าชม 64