ชนเผ่าม้ง : วิถีชีวิตม้งในปัจจุบัน
เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้ชม 255
[16.2581844, 98.9071054, ชนเผ่าม้ง : วิถีชีวิตม้งในปัจจุบัน]
ชนเผ่าม้ง จากอดีตถึงปัจจุบัน
ภาพสวยงามในอดีตที่ยังคงตรึงอยู่ในหัวใจม้งทุกคน นั่นคือ ชุดม้งที่ยายชราสวมใส่อยู่ เป็นชุดม้งที่ม้งทุกคนต้องสวมใส่ตลอด แต่ปัจจุบันภาพสวย ๆ งาม ๆ เหล่านี้เริ่มสูญหายไปจากสังคมม้ง ส่วนใหญ่จะพบภาพที่สวยในแบบฉบับปัจจุบันนี้ คือ ภาพสองตายาย แต่งชุดทันสมัยใหม่ แม้ว่าจะเป็นชุดลำลองอยู่บ้านเท่านั้น แต่เมื่อสวมใส่แล้ว รู้สึกสบายมากขึ้น ไม่ต้องลำบากในเวลาทำความสะอาดเสื้อผ้า เป็นเหตุผลประการหนึ่งที่ม้งต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง ให้มานุ่งเสื้อผ้าสมัยใหม่ เนื่องจากเสื้อผ้าชุดม้งนั้นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อมากกว่า และต้องนำมาตัดเย็บเป็นชุดใหม่ กว่าที่จะตัดเย็บเรียบร้อย ใช้เวลานาน และเสื้อผ้าม้งนั้นมีความหนามาก ดังนั้นเวลาสวมใส่หน้าร้อน จะยิ่งเพิ่มความร้อนมากยิ่งขึ้น จึงเป็นเหตุผลในการปรับเปลี่ยนตัวเอง และอีกเหตุผลหนึ่ง คือ เวลาเข้าสังคมกับคนอื่นแล้ว ไม่ได้รับการยอมรับ ดังนั้น ม้งจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนตัวเอง เพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อมมากขึ้น
ภาพเด็กม้งที่ทุกคนถูกฝึกมา เพื่อที่จะแบ่งเบาภาระทางครอบครัวเป็นหลัก นั่นคือการทำงานในไร่ ในสวน ในอดีตเด็กม้งจะต้องตื่นแต่เช้า เพื่อที่จะได้ช่วยครอบครัวทำงาน และต้องแบกหลังด้วยกระโด่งใบใหญ่กว่าตัวเด็กเสมอ เพื่อที่จะไปแบก พืชไร่ หรือพืชสวนที่ทำไว้กลับมาไว้ที่บ้าน แต่ปัจจุบันภาพเหล่านี้เริ่มจางหายไปพร้อมกับความเจริญทางด้านเทคโนโลยี ความเจริญทางสังคมเริ่มแผ่ก่ายเข้ามาในชีวิตม้งในชนบท และสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งแปลกใหม่สำหรับชาวม้งทุกคน ดังนั้นม้งเริ่มที่จะมีความนิยมชมชอบสิ่งเหล่านี้ และในที่สุด ชาวม้งก็ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองขึ้นมา เพื่อที่จะได้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และคิดว่าสิ่งเหล่านี้ คือ สิ่งที่ดี ซึ่งปัจจุบันนี้ม้งหมดยุดการแบกชลอง (กุ่ย) ไป แล้วหันมาเล่นกีฬาตามแบบฉบับของสังคมไทย ถือได้ว่าเป็นความสำเร็จอีกประการหนึ่งของชาวม้ง
เด็กชายม้งกับความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ แม้ว่าเด็กชายม้งคนนี้ จะตัวเล็กเท่าพริกขี้หนู แต่ก็มีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อครอบครัวของเขา ต้องตื่นนอนแต่เช้าตระเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะนำไปทำไร่ เมื่อตระเตรียมเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำไปใส่ในชลอง (กุ่ย) แล้วแบกหลังพร้อมกับธนูคู่กายเด็กชายม้งทุกคน พร้อมกับจูงเจ้าเพื่อนยาก คือ ควายไปทำงานในไร่ ซึ่งในอดีตนั้นเด็กชายม้งทุกคนต้องทำเช่นนี้ เพราะเขาเหล่านั้นถูกฝึกมาเช่นนี้ แต่กาลเวลาแปรเปลี่ยนไป สิ่งใหม่ ๆ ก็เข้ามาแทนที่ โดยแทบตั้งตัวไม่ทัน ผู้ปกครองหลาย ๆ คน ต้องส่งลูกหลานของตัวเองเข้าเรียน เพื่อที่จะได้เข้าศึกษาเล่าเรียน ปัจจุบันนี้เด็กชาย-เด็กหญิงม้งส่วนใหญ่ จะได้เข้าโรงเรียนทั้งหมด ยกเว้นเฉพาะบริเวณที่อยู่ห่างไกลความเจริญมาก หรือโรงเรียนยังเข้าไปไม่ถึงเลยแต่มีส่วนน้อยมาก ส่วนใหญ่แล้วเด็กเหล่านี้จะอ่านหนังสือออกทั้งนั้น
หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน คำกล่าวนี้คงจะหนีไม่พ้นหญิง-ชายม้งหลายคู่นี้ ทุกวันหลังจากทำงานในไร่เรียบร้อยแล้ว พอจะกลับบ้านเพื่อที่จะเก็บแรงไว้พรุ่งนี้อีก วันหนึ่งชาวม้งส่วนใหญ่ต้องแบกฟืนจากไร่มาเก็บไว้ที่บ้าน เพื่อที่จะได้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงหาอาหารต่อไป ซึ่งในอดีตม้งนิยมใช้ม้าบรรทุกสัมภาระต่าง ๆ แต่ ยกเว้นฟืน ม้งจะนิยมแบกฟืนมากกว่าใช้ม้าบรรทุก ธรรมชาติแล้วม้งจะมีความอดทน ขยัน ประหยัด ดิ้นรนปากกัดตีนถีบ เพื่อที่จะได้อาหารมาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องไปวัน ๆ ใช้ตัวเองเป็นเครื่องจักร แต่ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้า และครอบคลุมความต้องการของมนุษย์ทุกคน ม้งก็เป็นคนคนหนึ่งที่ ถูกครอบงำด้วยเทคโนโลยีที่สามารถเข้าไปถึงได้เช่นกัน จะเห็นได้จากการเข็นรถเข็น การใช้โทรศัพท์มือถือต่าง ๆ การมีรถยนต์เป็นของตัวเอง การใช้เครื่องเฟอร์นิเจอร์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ เป็นต้น
คำสำคัญ : ชนเผ่าม้ง วิถีชีวิตม้ง
ที่มา : มูลนิธิกระจกเงา. (2559). โครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขาออนไลน์. https://www.openbase.in.th/node/1006
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2567). ชนเผ่าม้ง : วิถีชีวิตม้งในปัจจุบัน. สืบค้น 17 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2246&code_db=610004&code_type=05
Google search
ประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้ง เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ไม่เพียงเฉพาะชาวม้งในจังหวัดกำแพงเพชรเท่านั้นที่ยังคงรักษาประเพณีนี้ไว้ แต่ยังรวมถึงชาวม้งในจังหวัดอื่นๆ หรือประเทศอื่นๆ อีกด้วย ประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้งมักจะจัดขึ้นในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 2 ซึ่งจะตรงกับช่วงเดือนธันวาคม – มกราคมของทุกปี ในการจัดประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้งนั้นเป็นประเพณีที่สืบเนื่องหรืออยู่ในช่วงเดียวกับงานประเพณีปีใหม่ม้ง ซึ่งการจัดงานดังกล่าวเป็นงานประเพณีที่สืบทอดและแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นชาติพันธุ์ม้งเป็นอย่างดี การตำข้าวเหนียวของชาวม้งนั้นบางที่อาจจะตำเพื่อไหว้ผีป่า ผีบรรพบุรุษหรือสิ่งที่ตนเองนับถือแต่เพียงอย่างเดียว บางที่ก็นำข้าวเหนียวที่ผ่านการไหวผีมาทำเป็นอาหารคาวและอาหารหวานเพื่อยืดอายุของข้าวเหนียวอีกด้วย ประวัติความเป็นมาของประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้ง หรือแม้แต่ความเชื่อของประเพณี
เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 3,518
ม้งจะชอบตั้งบ้านอยู่บนดอยสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งม้งบางกลุ่มจะมีการปลูกฝิ่นเป็นพืชหลัก แต่ในปัจจุบันนี้ ม้งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ให้อพยพมาตั้งรกรากอยู่ในพื้นราบลุ่มเขา และยังมีม้งบางกลุ่มก็ยังคงตั้งรกรากอยู่บนดอย แต่ไม่ลึกเท่าไร การคมนาคมพอที่จะเข้าไปถึงได้ หมู่บ้านม้งจะประกอบด้วยกลุ่มเรือนหลายๆ หย่อมแต่ละหย่อมจะมีบ้านราวๆ 7-8 หลังคาเรือน โดยที่มีเรือนใหญ่ของคนสำคัญอยู่ตรงกลาง ส่วนเรือนที่เป็นเรือนเล็กจะเป็นลูกบ้านหรือลูกหลาน ส่วนแต่ละหย่อมนั้นจะหมายถึงตระกูลเดียวกัน หรือเป็นญาติพี่น้องกันนั่นเอง
เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 400
ในอดีตการหมั้นของม้ง จะนิยมหมั้นระหว่างญาติลูกพี่ลูกน้องต่างแซ่กัน กล่าวคือ ลูกของพี่ หรือน้องชาย กับลูกของพี่ หรือน้องสาว การหมั้นจะกระทำตั้งแต่บุตรของทั้งสองฝ่ายมีอายุประมาณ 1 เดือน ทางฝ่ายชายเป็นผู้ไปหมั้น โดยนำสิ่งของตาม ธรรมเนียมไปมอบให้บิดามารดาของฝ่ายหญิง โดยทั้งสองฝ่ายให้คำมั่นสัญญาต่อกันว่า ถ้าบุตรโตเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้วจะให้แต่งงานกัน ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิด สัญญาจะต้องเสียค่าปรับให้คู่สัญญาตามธรรมเนียมการหมั้น ปัจจุบันม้งยังคงยืดถือปฏิบัติกันอยู่ แต่พบน้อยมาก
เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 444
กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ หรือเดิมเรียกกันว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง สะกอ หรือยางขาว เรียกตัวเองว่า ปกากะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุดกะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่จัดได้ว่ามีหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา มีการนับถือศาสนาที่ต่างกัน แต่กะเหรี่ยงดั้งเดิมจะนับถือผี เชื่อเรื่องต้นไม้ป่าใหญ่ ภายหลังหันมานับถือพุทธ คริสต์ เป็นต้น กะเหรี่ยง มีถิ่นฐานตั้งอยู่ที่ประเทศพม่า แต่หลังจากถูกรุกรานจากสงคราม จึงมีกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ประเทศไทย กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย กะเหรี่ยงสะกอ หรือที่เรียกนามตัวเองว่า ปากะญอ หมายถึงคน หรือมนุษย์นั้นเอง กะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยมีมิชชันนารีเป็นผู้คิดค้นดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่า ผสมภาษาโรมัน
เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 9,318
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,572
ม้งเชื่อ ว่าพิธีศพที่ครบถ้วนถูกต้อง จึงจะส่งวิญญาณผู้ตายไปสู่สุคติ และควรที่จะตายในบ้านของตน หรือบ้านญาติก็ยังดี เมื่อทราบแน่ชัดว่าบุคคลนั้นใกล้สียชีวิตแล้ว บรรดาญาติสนิทจะมาชุมนุมพร้อมเพียงกัน เพื่อที่จะได้มาดูแลคนที่ใกล้จะเสียชีวิต ม้งมีความเชื่อว่าการตายในบ้านของตนเองนั้น เป็นผู้มีบุญมาก เพราะได้เห็นลูกหลานของตนเองก่อนตาย ผู้ตายจะได้นอนตายตาหลับพร้อมกับหมด ห่วงทุกอย่าง เมื่อแน่ใจว่าสิ้นลมหายใจแล้ว ญาติจะยิงปืนขึ้นไปบนฟ้า 3 นัด เป็นสัญญาณบอกว่ามีการตายเกิดขึ้นในบ้านหลังนั้น
เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 292
ชาวเขาเผ่าม้งมีความยึดมั่นในข้อปฏิบัติเฉพาะประจำกลุ่ม ประจำแซ่สกุลของตนเอง ม้งแต่ละสกุลหรือแต่ละแซ่มาอยู่ร่วมกัน เป็นชุมชนหมู่บ้านม้ง ทุกคนต่างก็จะตระหนักถึงข้อปฏิบัติให้อยู่ในกรอบ ซึ่งข้อกำหนดหรือข้อปฏิบัติ อาทิ สมาชิกม้งที่มีนามสกุลเดียวกัน จะแต่งงานด้วยกันไม่ได้ ถ้าจำเป็นต้องแต่งงงานกันจริง ๆ จะต้องให้หญิงและชายคู่กรณี ทำพิธีตัดญาติก่อน แล้วจึงจะแต่งงานกันได้ ชายหญิงม้งจะต้องไม่แสดงพฤติกรรมที่แสดงถึงความรู้สึกชอบพอกันต่อหน้าพ่อ-แม่ของฝ่ายหญิงเด็ดขาด หรือในที่สาธารณะ เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 281
อุปกรณ์ เครื่องใช้ของม้งโดยปกติแล้วม้งจะมีการทำงานหนักในไร่หรือในสวนต่าง ๆ ม้งจึงมีการตีมีดให้เหมาะสมกับงานที่ทำเช่น การตัดไม้จะต้องใช้ มีดด้ามยาว (เม้าะจั๊วะ) หรืออาจจะใช้ขวานก็ได้ ส่วนการทำอาหารต่างจะใช้มีดด้ามสั้นหรือมีดปลายแหลม ส่วนงานที่หนักจะต้องใช้มีดที่มีขนาดใหญ่ เหมาะกับการใช้งาน
เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 421
วิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรมของชาวไทยกะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) ในหมู่บ้านวุ้งกะสัง ตําบลโป่งน้ําร้อน อําเภอคลองลาน จังหวัดกําแพงเพชร พบว่า ชุมชนบ้านทุ่งกะสังเป็นชุมชน ที่มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นในหลายด้าน เช่น อาหาร การแต่งกาย ภาษา ความเชื่อ ประเพณี วิถีวัฒนธรรม บ้านเรือน ชาวไทยกะเหรี่ยงในหมู่บ้านรุ้งกะสังให้ความสําคัญกับการเกิดและการแต่งงานเป็นอย่างมาก สะท้อนได้จากจํานวนวันที่ยาวนานซึ่งในบางครั้งตั้งแต่การสู่ขอไปจนถึงการออกหาอาหาร ใช้เวลายาวนานถึง 21 วัน นอกจากจํานวนวันในการจัดพิธีต่างๆ จะกินเวลายาวนานแล้วขั้นตอนพิธีการใน วันงานยังมีความละเอียดซับซ้อน
เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้เช้าชม 82
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,252