ชนเผ่าม้ง : ไสยศาสตร์ การรักษาโรค

ชนเผ่าม้ง : ไสยศาสตร์ การรักษาโรค

เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้ชม 203

[16.2581844, 98.9071054, ชนเผ่าม้ง : ไสยศาสตร์ การรักษาโรค]

การรักษาโรคด้วยความเชื่อไสยศาสตร์
        ม้งมีความเชื่อว่าพิธีไสยศาสตร์เหล่านี้จะช่วยให้วินิจฉัยโรคได้ถูกต้องและทำการรักษาได้ผล เพราะความเจ็บป่วยทั้งหลาย ล้วนแต่เป็นผลมาจากการผิดผี ทำให้ผีเดือดดาลมาแก้แค้นลงโทษให้เจ็บป่วย จึงต้องใช้วิธีจัดการกับผีให้คนไข้หายจากโรค หากว่าคนทรงเจ้ารายงานว่าคนไข้ที่ล้มป่วยเพราะขวัญหนี ก็จะต้องทำพิธีเรียกขวัญกลับเข้าสู่ร่างของบุคคลนั้น แต่การที่จะเรียกขวัญกลับมานั้น จะต้องมีพิธีกรรมในการปฎิบัติมากมาย บางครั้งบางพิธีกรรมก็มีความยุ่งยากในการปฎิบัติ แต่ม้งก็ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคเหล่านั้น ม้งเชื่อว่าการที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง โดยไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียน นั่นคือความสุขอันยิ่งใหญ่ของม้ง ฉะนั้นม้งจึงต้องทำทุกอย่างเพื่อเป็นการรักษาให้หายจากโรคเหล่านั้น ซึ่งพิธีกรรมในการรักษาโรคของม้งนั้นมีอยู่หลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็รักษาโรคแต่ละโรค แตกต่างกันออกไป การที่จะทำพิธีกรรมการรักษาได้นั้นต้องดูอาการของผู้ป่วยว่าอาการเป็นเช่นไร แล้วจึงจะเลือกวิธีการรักษาโดยวิธีใดถึงจะถูกต้อง
        1. การทำผี หรือการลงผี (การอั๊วเน้ง)
        เป็นการรักษาอีกประเภทหนึ่งของม้ง การอั๊วเน้ง (การทำผีหรือลงผี) การอั๊วเน้งนั้นมีอยู่ 3 ประเภท คือ การอั๊วเน้งข่อยชั๊วะ การอั๊วเน้งเกร่ทั่ง การอั๊วเน้งไซใย่ ซึ่งการอั๊วเน้งแตกต่างกันออกไป การรักษาก็แตกต่างกันไปด้วย การจะอั๊วเน้งได้เมื่อมีคนในครอบครัวเจ็บป่วยโดยไม่รู้สาเหตุเป็นการรักษาอีกประเภทหนึ่ง ดังนั้นม้งมักจะนิยมอั๊วเน้งเพื่อการเรียก ขวัญที่หายไปหรือมีผีพาไปให้กลับคืนมาเท่านั้น ซึ่งม้งเชื่อว่าการเจ็บป่วยเกิดจากขวัญที่อยู่ในตัวหายไป
        มีวิธีการรักษาดังนี้ เวลาอั๊วเน้งหรือทำผีนั้น คนที่เป็นพ่อหมอจะเริ่มไปนั่งบนเก้าอี้ แล้วร่ายเวทมนต์คาถาต่าง ๆ พร้อมกับติดต่อ สื่อสารกับผีแล้วไปคลี่คลายเรื่องราวต่าง ๆ กับผี ถ้าคลี่คลายได้แล้วจะมีการฆ่าหมู แต่ก่อนจะฆ่าหมูนั้น จะต้องให้คนไข้ไปนั่งอยู่ข้างหลังพ่อหมอ แล้วผูกข้อมือ จากนั้นนำหมูมาไว้ข้างหลังคนไข้ แล้วพ่อหมอจะสั่งให้ฆ่าหมู การที่จะฆ่าหมูได้นั้นจะต้องมีคนหนึ่งซึ่งเป็นตัวแทนของพ่อหมอ และสามารถฟังเรื่องราวของการอั๊วเน้งได้ รู้ว่าตอนนี้พ่อหมอต้องการอะไร หรือสั่งให้ทำอะไร เมื่อพ่อหมอสั่งลงมา คนที่เป็นตัวแทนต้องบอกกับคนในครอบครัว ให้ทำตามคำบอกกล่าวของพ่อหมอ เมื่อสั่งให้ห่าหมูก็ต้องนำหมูมาฆ่าแล้วจะนำกัวะมาจุมกับเลือดหมู พร้อมกับมาปะที่หลังคนไข้ แล้วพ่อ หมอจะเป่าเวทมนต์ให้ จากนั้นจะนำกัวะไปจุมเลือดหมู เพื่อไปเซ่นไหว้ที่ผนังที่เป็นที่รวมของของบูชาเหล่านั้น
        2. การรักษาคนตกใจ (การไซ่เจง)
        เป็นการรักษาอีกประเภทหนึ่งของม้ง การไซ่เจงจะกระทำเมื่อมีคนป่วยที่ตัวเย็น เท้าเย็น ใบหูเย็น มือเย็น ซึ่งม้งเชื่อว่าการที่เท้าเย็น มือเย็นหรือตัวเย็น เกิดจากขวัญในตัวคนได้หล่นหายไป หรือไปทำให้ผีกลัว แล้วผีก็แกล้งทำให้บุคคลนั้นไม่สบาย
        มีวิธีการรักษาดังนี้ พ่อหมอจะนำเอาขิงมานวดตามเส้นประสาท ได้แก่ บริเวณปลายจมูกตรงไปที่หน้าผาก นวดแล้วย้อนกลับไปที่ใบหู แล้วนวดบริเวณหน้าผากไปที่ใบหูซ้ำ 3 ครั้ง จากนั้นเปลี่ยนเป็นการนวดที่เส้นประสาทมือ คือจะนวดที่ ปลายนิ้วมือไล่ไปที่ข้อมือทำซ้ำทุกนิ้วมือ แล้วรวมกันที่ข้อมือนวดและหมุนรอบที่ข้อมือ ซึ่งขณะนวดต้องเป่าคาถาด้วย และบริเวณฝ่าเท้าให้นวดเหมือนกัน ต้องทำซ้ำกัน 3 ครั้ง ซึ่งการรักษาไซ่เจงนี้จะทำการรักษา 3 วัน เมื่อเสร็จจากการรักษาแล้ว ถ้าอาการไม่ดีขึ้นก็หาวิธีอื่น ๆ มารักษาต่อ เช่น อั๊วเน้งหรือการฮูปรี เป็นต้น
        3. การรักษาด้วยการเป่าด้วยน้ำ (การเช้อแด้ะ)
        เป็นการรักษาอีกประเภทหนึ่งของม้ง การเช้อแด้ะจะเป็นการกระทำเมื่อมีคนในครอบครัวที่ป่วยร้องไห้ไม่หยุด และตกใจมากเป็นพิเศษ โดยไม่รู้สาเหตุ หรือเหมือนว่าคนป่วยเห็นอะไรสักอย่างที่ทำให้เขากลัวมาก
        มีวิธีการรักษาดังนี้ คนที่เป็นพ่อหมอหรือแม่หมอจะให้คนป่วยอาการดังกล่าวไปนั่งใกล้กับกองไฟหรือเตาไฟ แล้วเอาถ้วยหนึ่งใบใส่น้ำให้เรียบร้อยมาตั้งไว้ข้าง ๆ พ่อหมอหรือแม่หมอ คือ ผู้ที่จะทำการรักษาจะใช้ตะเกียบคู่หนึ่งหนีบก้อนถ่านที่กำลังรุกไหม้เป็นสีแดงขึ้นมาแล้วเป่าก้อนถ่าน จากนั้นเริ่มท่องคาถา แล้วนำก้อนถ่านก้อนนั้นไปวนบนหัวของคนป่วย ขณะวนนั้นก็สวดคาถาด้วย เมื่อวนเสร็จก็จะเอาก้อนถ่านก้อนนั้นไปใส่ในถ้วยที่เตรียมไว้ พร้อมกับปิดฝาด้วย ให้ทำซ้ำกันแบบนี้สามรอบเมื่อ เสร็จแล้วจับมือคนป่วยขึ้นมาเป่าพร้อมท่องคาถา เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว จะเอามือชุบน้ำที่อยู่ในถ้วยขึ้นมาลูบหน้าของคนป่วย หรือลูบแขนคนป่วย เมื่อทำเสร็จแล้วอาการของคนป่วยจะทุเลาลง ม้งจะนำวิธีรักษานี้มาใช้ในการรักษาคนไข้ที่ตกใจมาก และปัจจุบันนี้ม้งก็ยังคงยึดถือและปฏิบัติกันอยู่ แต่ก็มีบ้างที่อาการหนักมากจนไม่สามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้ แล้วจึงจะนำไปรักษาที่โรงพยาบาลต่อไป
         4. การปัดกวาดสิ่งที่ไม่ดีออกไป (การหรือซู้) เป็นการรักษาอีกวิธีหนึ่งของม้งที่จะปฏิบัติในช่วงขึ้นปีใหม่เท่านั้น คือในหนึ่งรอบปีที่ผ่านมาครอบครัวจะเจอสิ่งที่ไม่ดี ดังนั้นจึงมีการหรือซู้เพื่อปัดเป่า หรือกวาดสิ่งที่ไม่ดีให้ออกไปจากบ้าน และตัวบุคคล หรือเป็นการปัดเป่า กวาดโรคภัยไข้เจ็บออกจากตัวบุคคล หรือออกจากบ้านให้หมด เพื่อที่จะรับปีใหม่ที่เข้ามา และต้อนรับสิ่งดี ๆ ที่กำลังจะมาในปีถัดไป พิธีกรรมนี้ม้งจะทำทุกปี และคนในครอบครัวต้องอยู่ให้ครบทุกคน ไม่ให้ขาดคนใดคนหนึ่ง (แต่หากว่าคนในครอบครัวนั้น เกิดไปทำงานต่างจังหวัดและไม่สามารถที่จะกลับมาร่วมพิธีกรรมนี้ได้ ผู้ปกครองของครอบครัวต้องนำเสื้อผ้าของคน ที่ไม่อยู่มาร่วมพิธีกรรมให้ได้ หากไม่ได้เข้าร่วมพิธีกรรมนี้ ม้งเชื่อว่าสิ่งที่ไม่ดีจะติดตัวไปยังปีถัด ๆ ไป และทำอะไรก็ไม่เจริญ)
         5.หมูประตูผี (อัวะบั๊วจ๋อง) เป็นพิธีกรรมที่ม้งกระทำเพื่อรักษาคนทั้งหมดในบ้านหลังนั้นให้ ปราศจากโรคภัยโดยมีวิธีการรักษา ดังนี้ ซึ่งการประกอบพิธีกรรมหมูประตูนั้นจะทำในตอนกลางคืนเท่านั้น อันดับแรกคือจะมีการกล่าวปิด และกล่าวเปิดประตู จากนั้นจะมีการฆ่าหมูแล้วต้มให้สุก จากนั้นก็กล่าวปิดประตู แล้วนำ หมูที่ต้มสุกนั้นมาหั่นให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ จัดไว้ตามจานที่วางไว้ 9 จาน ซึ่งแต่ละจานจะใส่ชิ้นเนื้อไม่เหมือนกัน โดย
             จานที่ 1 ใส่มือซ้ายหมูและหัวข้างซ้าย
             จานที่ 2 จะใส่ขาขวาหมูกับหัวข้างขวา
             จานที่ 3 จะใส่ขาซ้ายหมูกับคางซ้ายหม
             จานที่ 4 ใส่มือขวาหมูกับคางขวาหมู
             จานที่ 5 ใส่มือซ้ายหมู
             จานที่ 6 ใส่ขาขวาหมู
             จานที่ 7 ใส่ขาขวาหมูกับใบหู 5 ชิ้น
             จานที่ 8 ใส่มือขวาหมู
             จานที่ 9 ใส่จมูกและหางหมู

คำสำคัญ : ชนเผ่าม้ง ไสยศาสตร์ การรักษาโรค

ที่มา : มูลนิธิกระจกเงา. (2559). โครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขาออนไลน์. https://www.openbase.in.th/node/999

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2567). ชนเผ่าม้ง : ไสยศาสตร์ การรักษาโรค. สืบค้น 17 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2245&code_db=610004&code_type=05

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2245&code_db=610004&code_type=05

Google search

Mic

กะเหรี่ยง (KAREN)

กะเหรี่ยง (KAREN)

นามของชาวเขาเผ่าใหญ่ที่สุดในไทยนั้นเรียกขานกันว่า "กระเหรี่ยง" ในภาคกลาง ส่วนทางเหนือ (คำเมือง) เรียกว่า "ยาง" กะเหรี่ยงในไทยจำแนกออกเป็นพวกใหญ่ๆ ได้สองพวกคือสะกอ และโปว และพวกเล็กๆซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่แถบแม่ฮ่องสอนคือ ป่าโอ และค่ายา ซึ่งเราจะไม่กล่าวถึง ณ ที่นี้ เพราะมีจำนวนเพียงประมาณร้อย ละหนึ่งของประชากรกะเหรี่ยงทั้งหมดในไทย พลเมืองกะเหรี่ยวตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่าและไทย ส่วนใหญ่คือ ร่วมสี่ล้านคนอยู่ในพม่าในไทยสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อปี ๒๕๒๖

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 6,320

ชนเผ่าม้ง : การฉุด

ชนเผ่าม้ง : การฉุด

ในอดีตนั้นม้งนิยมการแต่งงานโดยการฉุดเป็นส่วนมาก การฉุดจะกระทำเมื่อหญิงสาวไม่เต็มใจรับรักชายหนุ่ม จะใช้วิธีการฉุด ซึ่งนำไปสู่การแต่งงานในภายหลัง บิดาทางฝ่ายชายจะหาวิธีในการฉุด และจัดหาคนไปช่วยบุตรชายของตนด้วย การฉุดจะกระทำกันนอกบ้านโดยลวงหญิงรักออกจากบ้านพัก เพราะถ้าฉุดในบ้านถือว่าเป็นการผิดผี จะต้องเสียค่าปรับไหม ฝ่ายหญิงสาวจะไม่ยอมให้ความร่วมมือ และกระทำทุกวิธีทางที่จะให้ญาติช่วยเหลือตนเอง ขณะแย่งชิงกันญาติผู้ใหญ่ทาง ฝ่ายชายจะอ้อนวอนญาติทางฝ่ายหญิงให้ปล่อยหญิงสาวไปกับตนเมื่อตัวหญิงสาวไปถึงบ้านฝ่ายชายแล้วจะถูกจัดให้อยู่ในห้องเดียวกับชายหนุ่มที่ต้องการแต่งงานด้วย 

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 169

ความเชื่อ ความศรัทธาจากชาวจีนโพ้นทะเลสู่คลองลาน กำแพงเพชร

ความเชื่อ ความศรัทธาจากชาวจีนโพ้นทะเลสู่คลองลาน กำแพงเพชร

ชาวจีนโพ้นทะเล หรือชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบันนั้นได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพในประเทศไทยเป็นเวลานาน โดยมีการผสมผสานกลมกลืนระหว่างวัฒนธรรมของชนทั้งสองกลุ่ม ความเชื่อ ความศรัทธารวมถึงเอกลักษณ์กลายเป็นวัฒนธรรมผสม แต่ถึงอย่างไรก็ตามชาวจีนโพ้นทะเลยังคงรักษา ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ของตนไว้เป็นอย่างดี อย่างที่เราจะเห็นได้ในทุกพื้นที่ที่มีคนจีนอาศัยอยู่ จะมีเทศกาลปีใหม่จีน(ตรุษจีน) สารทจีน ให้อยู่ในทุกพื้นที่ เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจที่ครบถ้วนเกี่ยวกับที่มาที่ไปของความเชื่อ ความศรัทธาของชาวไทยเชื้อสายจีน ผู้ศึกษาขอพาไปรู้จักกับประเพณีในรอบ 1 ปีของชาวจีนดังในหัวข้อ “ประเพณีที่ถือปฏิบัติในรอบปี”

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 1,574

ชนเผ่าม้ง : หนุ่มม้งกับกลางคืน

ชนเผ่าม้ง : หนุ่มม้งกับกลางคืน

กาลเวลาแปรเปลี่ยนไปพร้อมกับการหมุนของโลกที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งฤดูกาลเริ่มหมุนเวียน ไปเรื่อยๆ อย่างไม่สามารถหยุดยั้งได้ฤดูใบไม้ผลิเริ่มแวะเวียนมาอีกครั้ง วันเวลานำพาใบไม้ร่วงโรยไปตามฤดูกาล แต่ดูเหมือนบางสิ่งบางอย่างคงเดิมอยู่ตลอดเวลานั่นคือ ขบวนการจีบสาวของชายม้ง ไม่ว่ากาลเวลาจะแปรเปลี่ยนไปพร้อมกับกระแสของสังคมก็ตามที แต่ขบวนการจีบสาวๆ ยังคงยืนยงคงกระพันอยู่ ไม่มีแนวทางแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้เลย เพราะผู้หลักผู้ใหญ่ต่างคิดว่านั่นคือ ค่านิยม หรือ ประเพณี ไปแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 122

ชนเผ่าม้ง : การตาย

ชนเผ่าม้ง : การตาย

ม้งเชื่อ ว่าพิธีศพที่ครบถ้วนถูกต้อง จึงจะส่งวิญญาณผู้ตายไปสู่สุคติ และควรที่จะตายในบ้านของตน หรือบ้านญาติก็ยังดี เมื่อทราบแน่ชัดว่าบุคคลนั้นใกล้สียชีวิตแล้ว บรรดาญาติสนิทจะมาชุมนุมพร้อมเพียงกัน เพื่อที่จะได้มาดูแลคนที่ใกล้จะเสียชีวิต ม้งมีความเชื่อว่าการตายในบ้านของตนเองนั้น เป็นผู้มีบุญมาก เพราะได้เห็นลูกหลานของตนเองก่อนตาย ผู้ตายจะได้นอนตายตาหลับพร้อมกับหมด ห่วงทุกอย่าง เมื่อแน่ใจว่าสิ้นลมหายใจแล้ว ญาติจะยิงปืนขึ้นไปบนฟ้า 3 นัด เป็นสัญญาณบอกว่ามีการตายเกิดขึ้นในบ้านหลังนั้น

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 294

ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง

ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง

ชาวเขาเผ่าม้งจังหวัดกำแพงเพชร สืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน จัดกิจกรรมการละเล่นลูกช่วง บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนานรื่นเริงที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร นายสุรพล วาณิชเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานในพิธีเปิดงานสืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน โดยมี พันเอกพิเศษหญิง ศินีนาถ วาณิชเสนี นายกเหล่ากาชาด จังหวัดกำแพงเพชร นายสุนทร รัตนากร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร ประชาชน นักท่องเที่ยว และชาวม้งในอำเภอคลองลาน เข้าร่วมพิธีอย่างคับคั่ง

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,598

ชนเผ่าล่าหู่ (LAHU)

ชนเผ่าล่าหู่ (LAHU)

ตามประวัติศาสตร์ของชนชาติ “ลาหู่” มีมานานไม่ต่ำกว่า 4,500 ปี โดยชาวลาหู่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในธิเบต และอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ต่อมาได้ทยอยอพยพลงมาอยู่ทางตอนใต้ของจีน โดยแบ่งออกเป็นสองสาย คือส่วนหนึ่งอพยพเข้ามาในแคว้นเชียงตุง ประเทศพม่า เมื่อพ.ศ. 2383 และราว พ.ศ. 2423 ได้เข้ามาอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย โดยตั้งรกรากที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแห่งแรก อีกส่วนหนึ่งได้อพยพเข้าไปในประเทศลาวและเวียดนาม ทั้งนี้ชนเผ่าลาหู่ได้แบ่งเป็นเผ่าย่อยอีกหลายเผ่า อาทิ ลาหู่ดำ ลาหู่แดง ลาหู่เหลือง ลาหู่ขาว ลาหู่ปะกิว ลาหู่ปะแกว ลาหู่เฮ่กะ ลาหู่ลาบา ลาหู่เชแล ลาหู่บาลา เป็นต้น 

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 24,265

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ หรือเดิมเรียกกันว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐานกระจายไปทั่วประเทศไทย และส่วนหนึ่งได้มาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งจากการสำรวจ มี 2 หมู่บ้าน คือ 1) หมู่ 3 บ้านคลองน้ำไหลใต้ ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มีจำนวนประมาณ 80 หลังคาเรือน อาชีพหลัก คือ รับจ้างทำไร่มันสำปะหลัง 2) หมู่ 18 บ้านกะเหรี่ยงน้ำตก ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มีจำนวนประมาณ 100 หลังคาเรือน อาชีพหลัก คือ ทำไร่มันสำปะหลังและหาของป่าขาย

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,719

ชนเผ่าม้ง : ข้อห้าม

ชนเผ่าม้ง : ข้อห้าม

ชาวเขาเผ่าม้งมีความยึดมั่นในข้อปฏิบัติเฉพาะประจำกลุ่ม ประจำแซ่สกุลของตนเอง ม้งแต่ละสกุลหรือแต่ละแซ่มาอยู่ร่วมกัน เป็นชุมชนหมู่บ้านม้ง ทุกคนต่างก็จะตระหนักถึงข้อปฏิบัติให้อยู่ในกรอบ ซึ่งข้อกำหนดหรือข้อปฏิบัติ อาทิ สมาชิกม้งที่มีนามสกุลเดียวกัน จะแต่งงานด้วยกันไม่ได้ ถ้าจำเป็นต้องแต่งงงานกันจริง ๆ จะต้องให้หญิงและชายคู่กรณี ทำพิธีตัดญาติก่อน แล้วจึงจะแต่งงานกันได้ ชายหญิงม้งจะต้องไม่แสดงพฤติกรรมที่แสดงถึงความรู้สึกชอบพอกันต่อหน้าพ่อ-แม่ของฝ่ายหญิงเด็ดขาด หรือในที่สาธารณะ เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 281

การขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชนของชาวเขา

การขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชนของชาวเขา

เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี ซึ่งจะตรงกับช่วงที่พืชพันธุ์ที่ปลูกลงไปในไร่มีผลผลิต และเริ่มที่จะเก็บเกี่ยวได้แล้ว อาทิเช่น แตงโม แตงกวา พืชผักต่างๆ เป็นต้น เทศกาลนี้จัดขึ้นมาเพื่อขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชน เช่น ภูตผีปีศาจที่มาอาศัยอยู่ในชุมชน อาข่าเรียกว่า “แหนะ” รวมไปถึงโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยมีการแกะสลักไม้เนื้ออ่อนเป็นดาบ หอก ปืน อาข่าเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ว่า “เตาะมา”

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,572