ชนเผ่าม้ง : หนุ่มม้งกับกลางคืน

ชนเผ่าม้ง : หนุ่มม้งกับกลางคืน

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้ชม 196

[16.2581844, 98.9071054, ชนเผ่าม้ง : หนุ่มม้งกับกลางคืน]

 

ชนเผ่าม้ง : หนุ่มม้งกับกลางคืน

       กาลเวลาแปรเปลี่ยนไปพร้อมกับการหมุนของโลกที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งฤดูกาลเริ่มหมุนเวียนไปเรื่อยๆ อย่างไม่สามารถหยุดยั้งได้ฤดูใบไม้ผลิเริ่มแวะเวียนมาอีกครั้ง วันเวลานำพาใบไม้ร่วงโรยไปตามฤดูกาล ..แต่ดูเหมือนบางสิ่งบางอย่างคงเดิมอยู่ตลอดเวลานั่นคือ ขบวนการจีบสาว ของชายม้ง ไม่ว่ากาลเวลาจะแปรเปลี่ยนไปพร้อมกับกระแสของสังคมก็ตามที แต่ขบวนการจีบสาวๆ ยังคงยืนยงคงกระพันอยู่ ไม่มีแนวทางแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้เลย เพราะผู้หลักผู้ใหญ่ต่างคิดว่า นั่นคือ ค่านิยม หรือ ประเพณี ไปแล้ว
       จึงทำให้ไม่สามารถมีทางแก้ไขตรงจุดนี้ได้ ผู้หลักผู้ใหญ่ม้งที่เป็นผู้ชาย มักจะสอนกลวิธีการจีบสาวให้ลูกหลานที่เป็นผู้ชายเสมอ กลวิธีต่างๆ เหล่านี้ เป็นสาเหตุหนึ่งที่เยาวชนม้ง ในสมัยก่อนมักจะแต่งงานตอนอายุยังน้อยมาก บางคู่แต่งงานอายุเพียง11-15 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่น้อยมากและยังอยู่ในวัยที่ี่กำลังจะเจริญเติบโตทางด้าน ร่างกายเท่านั้น ส่วนพัฒนาการทางสมองหรือความมั่นคงด้านจิตใจยังไม่เจริญเติบโตบริบูรณ์ เขาเหล่านี้ต้องมาเรียน รู้ภาระหน้าที่ต่างๆ ที่ต้องรับผิดชอบ ทั้งๆ ที่ยังไม่สามารถดูแลตัวเองได้ ซึ่งเยาวชนม้งบางคู่จะถูกบิดามารดา จับแต่งงานกันตั้งแต่เด็ก และต้องมารับภาระหน้าที่ในครอบครัว คือต้้องออกไปทำไร่ ปลูกข้าว ปลูกข้าวโพด ปลูกฝิ่นเท่านั้น ซึ่งมีหลายต่อหลายครอบครัวม้งที่ต้องทนตรากตรำทำงานหนักในไร่เท่านั้น เพื่อที่จะ นำพืชภัณฑ์ธัญญาหารเหล่านี้มาเลี้ยงครอบครัว เป็นสาเหตุของความยากจนมาก แต่มังก็ยังคงทนอยู่ในสภาพ เช่นนี้เรื่อยๆ มา แต่สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตของเยาวชนม้งแทบทุกคน แม้ว่าปัจจุบันนี้กาลเวลา ได้แปรเปลี่ยนไปพร้อมกับสังคมเปลี่ยนแปลง และความเจริญทางเทคโนโลยีได้คืบคลานเข้ามาแล้วก็ตาม
       ***แต่การจีบกันของเยาวชนม้งยังคงอยู่ในสภาพเดิม โดยที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งที่การศึกษาได้เข้าทั่วถึงแล้ว แต่ค่านิยมเหล่านี้ไม่สามารถที่จะแปรเปลี่ยนไปได้ จะสังเกตเห็นว่า ตอนดึกประมาณสองทุ่มถึงตีหนี่งหรือตีสอง บ้านม้งหลังไหนมีสาว จะมีหนุ่มอยู่นอกบ้านหลังนั้น เหมือนทำหน้าที่เป็นยามในบ้านหลังนั้น หากว่าใครที่ไม่เคยรับรู้ข้อมูลมาก่อน แล้วมาเห็นภาพนี้คงจะนึกว่า ม้งค่อยข้างจะมีฐานะ ต้องมียามประจำบ้านด้วย แต่ความจริงแล้วคือ หนุ่มม้งนิยมการจีบสาวแบบเฝ้าบ้านให้
       โดยที่สามารถได้ไปคุยกับสาวม้งที่ตัวเองชอบ แต่ดูเหมือนว่าผู้หลักผู้ใหญ่จะเห็นพ้องต้องกัน และไม่มีผู้หลักผู้ใหญ่คนไหน ที่จะนำความรู้ใหม่ๆ หรือแม้แต่นำแนวความคิดที่จะพัฒนาเยาวชนให้มีค่ามากขึ้น ให้เยาวชนได้รับการศึกษามากขึ้น โดยลดปัญหาความยากจนของม้งลง ซึ่งดูเหมือน ว่าสังคมของม้งมีมุมมองที่แคบเกินไป เยาวชนอาจจะมีความสุขในการใช้ชีวิตช่วงวัยรุ่นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่พวกเขายังไม่ได้เข้าไปเผชิญกับความเจริญของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอด เวลา ดังนั้นจึงมีกลุ่มเยาวชนบางกลุ่มที่ด้อยโอกาส และไม่สามารถที่จะก้าวทันกระแสของโลกได้
       ฉะนั้นเยาวชนม้งรุ่นใหม่ควรที่จะก้าวออกจากกะลา เพื่อมาเรียนรู้โลกใบกว้างที่รอการเข้าไปสัมผัสกับมันอย่างแท้จริง เพราะโลกสีเขียวใบนี้ ยังมีสิ่งที่มีค่าแก่การเก็บเกี่ยวรออยู่ เราต้องเรียนรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้วยตัวเอง แล้วเราก็จะได้เก็บสิ่งดีๆไป ส่วนสิ่งที่ไม่ดีก็เก็บเอาไว้เป็นประสบการณ์ชีวิต ชีวิตจึงจะีมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น
       แต่อย่างไรก็ตามหากว่าเราไม่เปลี่ยนแปลงตัวเอง แล้วสิ่งแวดล้อมรอบข้างจะเปลี่ยนแปลงตัวเราเอง โดยที่เราไม่สามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ ฉันใดก็ฉันนั้น การจีบสาวม้ง ถึงเวลาแล้วที่เราต้องเปลี่ยนแปลง แต่หากว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเปลี่ยนไปในทางที่ไม่ดี เราก็ไม่ควรเปลี่ยนแปลงมัน แต่หากว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเปลี่ยนแปลงไปทางที่ดีขึ้น ทรงคุณค่ามากขึ้น เราฐานะเยาวชนม้งจำเป็นต้องเปลี่ยน เนื่องจากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป ฐานะทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป วิถีชีวิตความเป็นอยู่ก็เปลี่ยนแปลงไปแล้ว เราจึงควรต้องเปลี่ยนแปลงไปตาม กาลเวลา และยอมรับกับสภาพความเป็นจริงในโลกใบนี้

คำสำคัญ : ชนเผ่าม้ง กลางคืน

ที่มา : มูลนิธิกระจกเงา. (2559). โครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขาออนไลน์. https://www.openbase.in.th/node/1010

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2567). ชนเผ่าม้ง : หนุ่มม้งกับกลางคืน. สืบค้น 17 มีนาคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2244&code_db=610004&code_type=05

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2244&code_db=610004&code_type=05

Google search

Mic

พิธีกรรมซ้อนขวัญ บ้านคลองไพร ต.โป่งน้ำร้อน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร

พิธีกรรมซ้อนขวัญ บ้านคลองไพร ต.โป่งน้ำร้อน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร

พิธีกรรมซ้อนขวัญบ้านคลองไพร ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มี 12 หมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายทางภาคเหนือที่อพยพมาตั้งถิ่นฐาน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนไทยภาคเหนือที่อพยพมาจากอำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง จึงได้นำพิธีกรรมซ้อนขวัญนี้มาใช้ที่บ้านคลองไพรด้วย ซึ่งพิธีกรรมซ้อนขวัญนี้เป็นพิธีกรรมที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ปู่ย่า โดยจะเป็นพิธีกรรมที่ใช้เฉพาะผู้หญิงเป็นผู้ประกอบพิธีกรรม ซึ่งจะใช้ในกรณีที่คนในครอบครัวประสบอุบัติเหตุ เมื่อคนในครอบครัวประสบอุบัติเหตุ เช่น รถล้ม รถชน แม่หรือ ย่ายาย จะเป็นผู้ไปซ้อนขวัญ ถ้าหากคนในครอบครัวไม่สามารถทำได้ ก็จะให้ผู้หญิงผู้เฒ่าผู้แก่ท่านอื่นที่เคารพและสามารถประกอบพิธีกรรมได้เป็นผู้กระทำให้

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 1,055

ชนเผ่าม้ง : หนุ่มม้งกับกลางคืน

ชนเผ่าม้ง : หนุ่มม้งกับกลางคืน

กาลเวลาแปรเปลี่ยนไปพร้อมกับการหมุนของโลกที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งฤดูกาลเริ่มหมุนเวียน ไปเรื่อยๆ อย่างไม่สามารถหยุดยั้งได้ฤดูใบไม้ผลิเริ่มแวะเวียนมาอีกครั้ง วันเวลานำพาใบไม้ร่วงโรยไปตามฤดูกาล แต่ดูเหมือนบางสิ่งบางอย่างคงเดิมอยู่ตลอดเวลานั่นคือ ขบวนการจีบสาวของชายม้ง ไม่ว่ากาลเวลาจะแปรเปลี่ยนไปพร้อมกับกระแสของสังคมก็ตามที แต่ขบวนการจีบสาวๆ ยังคงยืนยงคงกระพันอยู่ ไม่มีแนวทางแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้เลย เพราะผู้หลักผู้ใหญ่ต่างคิดว่านั่นคือ ค่านิยม หรือ ประเพณี ไปแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 196

ชนเผ่าม้ง : วิถีชีวิตม้งในปัจจุบัน

ชนเผ่าม้ง : วิถีชีวิตม้งในปัจจุบัน

ภาพสวยงามในอดีตที่ยังคงตรึงอยู่ในหัวใจม้งทุกคน นั่นคือชุดม้งที่ยายชราสวมใส่อยู่ เป็นชุดม้งที่ม้งทุกคนต้องสวมใส่ตลอด แต่ปัจจุบันภาพสวย ๆ งาม ๆ เหล่านี้เริ่มสูญหายไปจากสังคมม้ง ส่วนใหญ่จะพบภาพที่สวยในแบบฉบับปัจจุบันนี้ คือ ภาพสองตายาย แต่งชุดทันสมัยใหม่ แม้ว่าจะเป็นชุดลำลองอยู่บ้านเท่านั้น แต่เมื่อสวมใส่แล้วรู้สึกสบายมากขึ้น ไม่ต้องลำบากในเวลาทำความสะอาดเสื้อผ้า เป็นเหตุผลประการหนึ่งที่ม้งต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง ให้มานุ่งเสื้อผ้าสมัยใหม่ เนื่องจากเสื้อผ้าชุดม้งนั้นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อมากกว่า และต้องนำมาตัดเย็บเป็นชุดใหม่ กว่าที่จะตัดเย็บเรียบร้อยใช้เวลานาน และเสื้อผ้าม้งนั้นมีความหนามาก ดังนั้นเวลาสวมใส่หน้าร้อนจะยิ่งเพิ่มความร้อนมากยิ่งขึ้น จึงเป็นเหตุผลในการปรับเปลี่ยนตัวเอง และอีกเหตุผลหนึ่ง คือเวลาเข้าสังคมกับคนอื่นแล้ว ไม่ได้รับการยอมรับ ดังนั้นม้งจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนตัวเอง เพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อมมากขึ้น  

เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้เช้าชม 542

ชนเผ่าลีซู (LISU)

ชนเผ่าลีซู (LISU)

ตำนานของลีซู มีตำนานเล่าคล้ายๆ กับชนเผ่าหลายๆ เผ่าในเอเชียอาคเนย์ถึงน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ ซึ่งมีผู้รอดชีวิตอยู่เพียงหญิงหนึ่งชายหนึ่งซึ่งเป็นพี่น้องกัน เพราะได้อาศัยโดยสารอยู่ในน้ำเต้าใบมหึมา พอน้ำแห้งออกมาตามหาใครก็ไม่พบ จึงประจักษ์ใจว่าตนเป็นหญิงชายคู่สุดท้ายในโลก ซึ่งถ้าไม่สืบเผ่ามนุษยชาติก็ต้องเป็นอันสูญพันธุ์สิ้นอนาคต แต่ก็ตะขิดตะขวางใจในการเป็นพี่น้อง เป็นกำลังจึงต้องเสี่ยงทายฟังความเห็นของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เห็นมีโม่อยู่บนยอดเขาจึงจับตัวครกกับลูกโม่แยกกันเข็นให้กลิ้งลงจากเขาคนละฟาก

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 8,008

ชนเผ่าม้ง (HMONG)

ชนเผ่าม้ง (HMONG)

ยังไม่มีผู้ใดสามารถสรุปได้ว่าชนชาติม้งมาจากที่ไหน แต่สันนิษฐานกันว่าม้งคงจะอพยพมาจากที่ราบสูงธิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย เข้าสู่ประเทศจีน และตั้งหลักแหล่งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเหลือง (แม่น้ำฮวงโห) เมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว ซึ่งชาวเขาเผ่าม้งจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในมณฑลไกวเจา ฮุนหนำ กวางสี และมณฑลยูนาน ม้งอาศัยอยู่ในประเทศจีนมาหลายศตรรษ จนกระทั่ง ประมาณคริสตศตวรรษที่ 17 ราชวงค์แมนจู (เหม็ง) มีอำนาจในประเทศจีน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 35,170

ชนเผ่าม้ง : การจีบ

ชนเผ่าม้ง : การจีบ

หลังจากว่างงานหลังฤดูเก็บเกี่ยว หนุ่มสาวม้งจะหาโอกาสเกี้ยวพาราสีในเวลาค่ำคืน หนุ่มสาวม้งมีข้อห้ามที่จะไม่ไม่เกี้ยวพาราสีกับคนแซ่เดียวกัน หรือตระกูลเดียวกัน เพราะถือว่าเป็นพี่น้องกัน สำหรับโอกาสที่ดีที่สุด คือเทศกาลปีใหม่ ม้งทั้งชายหนุ่ม และหญิงสาวจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสวยสดงดงามที่ได้รับการจัดเตรียมมาตลอดทั้งปี ชายหนุ่มและหญิงสาวจะจับคู่โยนลูกบอล หญิงสาวที่ยังไม่มีคู่จะเป็นคนเข้าไปทักชายหนุ่มที่ตนรู้จัก หรือชอบพอ และยื่นลูกบอลให้เป็นการขอเล่นโยนลูกบอลด้วย หากชายหนุ่มคนใดไม่ชอบพอหญิงสาวคู่โยนของตน ก็จะหาทางปลีกตัวออกไปโดยมิให้เสียมารยาท ระหว่างเล่นโยนลูกบอลไปมาจะสนทนาไปด้วย หรืออาจเล่นเกม โดยตกลงกันว่าใครรับลูกบอลไม่ได้ต้องเสียค่าปรับเป็นสิ่งของ หรือเครื่องประดับให้กับฝ่ายตรงข้าม

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 477

ประเพณีโล้ชิงช้า

ประเพณีโล้ชิงช้า

จะมีการจัดขึ้นทุกๆ ปี ประมาณปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน ซึ่งจะตรงกับช่วงที่ผลผลิตกำลังงอกงาม และพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวในอีกไม่กี่วัน ในระหว่างนี้อาข่าจะดายหญ้าในไร่ข้าวเป็นครั้งสุดท้าย หลังจากดายหญ้าแล้วก็รอการเก็บเกี่ยว ตรงกับเดือนของอาข่าคือ “ฉ่อลาบาลา” 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,114

การอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวไทยภูเขา

การอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวไทยภูเขา

กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมประเพณีและภาษาพูดเป็นของตนเอง อาศัยอยู่บนภูเขา มีอาชีพและรายได้จากการเกษตรเป็นหลัก ลักษณะด้านครอบครัว เครือญาติและชุมชนระดับหมู่บ้านของแต่ละเผ่า มีเอกลักษณ์ของตน ซึ่งแตกต่างกันทุกเผ่ายังคงนับถือผีที่สืบทอดมาจาก การที่ชาวไทยภูเขาอาศัยอยู่ร่วมกับคนไทยบนผืนแผ่นดินไทยได้ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายบ้านเมือง

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 3,604

ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อและข้อห้ามของหมู่บ้านวุ้งกะสัง ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อและข้อห้ามของหมู่บ้านวุ้งกะสัง ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

วิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรมของชาวไทยกะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) ในหมู่บ้านวุ้งกะสัง ตําบลโป่งน้ําร้อน อําเภอคลองลาน จังหวัดกําแพงเพชร พบว่า ชุมชนบ้านทุ่งกะสังเป็นชุมชน ที่มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นในหลายด้าน เช่น อาหาร การแต่งกาย ภาษา ความเชื่อ ประเพณี วิถีวัฒนธรรม บ้านเรือน ชาวไทยกะเหรี่ยงในหมู่บ้านรุ้งกะสังให้ความสําคัญกับการเกิดและการแต่งงานเป็นอย่างมาก สะท้อนได้จากจํานวนวันที่ยาวนานซึ่งในบางครั้งตั้งแต่การสู่ขอไปจนถึงการออกหาอาหาร ใช้เวลายาวนานถึง 21 วัน นอกจากจํานวนวันในการจัดพิธีต่างๆ จะกินเวลายาวนานแล้วขั้นตอนพิธีการใน วันงานยังมีความละเอียดซับซ้อน 

เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้เช้าชม 106

ชนเผ่าม้ง : ไสยศาสตร์ การรักษาโรค

ชนเผ่าม้ง : ไสยศาสตร์ การรักษาโรค

ม้งมีความเชื่อว่าพิธีไสยศาสตร์เหล่านี้จะช่วยให้วินิจฉัยโรคได้ถูกต้องและทำการรักษาได้ผล เพราะความเจ็บป่วยทั้งหลาย ล้วนแต่เป็นผลมาจากการผิดผี ทำให้ผีเดือดดาลมาแก้แค้นลงโทษให้เจ็บป่วย จึงต้องใช้วิธีจัดการกับผีให้คนไข้หายจากโรค หากว่าคนทรงเจ้ารายงานว่าคนไข้ที่ล้มป่วยเพราะขวัญหนี ก็จะต้องทำพิธีเรียกขวัญกลับเข้าสู่ร่างของบุคคลนั้น แต่การที่จะเรียกขวัญกลับมานั้น จะต้องมีพิธีกรรมในการปฎิบัติมากมาย บางครั้งบางพิธีกรรมก็มีความยุ่งยากในการปฎิบัติ แต่ม้งก็ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคเหล่านั้น ม้งเชื่อว่าการที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง โดยไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียน นั่นคือความสุขอันยิ่งใหญ่ของม้ง 

เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้เช้าชม 341