ชนเผ่าม้ง : บ้าน
เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้ชม 907
[16.2581844, 98.9071054, ชนเผ่าม้ง : บ้าน]
หมู่บ้าน
ม้งจะชอบตั้งบ้านอยู่บนดอยสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งม้งบางกลุ่มจะมีการปลูกฝิ่นเป็นพืชหลัก แต่ในปัจจุบันนี้ ม้งได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ให้อพยพมาตั้งรกรากอยู่ในพื้นราบลุ่มเขา และยังมีม้งบางกลุ่มก็ยังคงตั้งรกรากอยู่บนดอย แต่ไม่ลึก เข้าไปเท่าไร การคมนาคมพอที่จะเข้าไปถึงได้ หมู่บ้านม้งจะประกอบด้วยกลุ่มเรือนหลายๆหย่อมแต่ละหย่อมจะมีบ้านราวๆ 7-8 หลังคาเรือน โดยที่มีเรือนใหญ่ของคนสำคัญอยู่ตรงกลาง ส่วนเรือนที่เป็นเรือนเล็กจะเป็นลูกบ้านหรือลูกหลาน ส่วนแต่ละหย่อมนั้นจะหมายถึงตระกูลเดียวกัน หรือเป็นญาติพี่น้องกันนั่นเอง ม้งจะมีการย้ายบ้านเมื่อมีโรคระบาด หรือมีเหตุการณ์ที่ร้ายแรงเกิดกับหมู่บ้าน หรือขัดแย้งกับราชการจนต้องมีการ ต่อสู้เกิดขึ้น ในการย้ายแต่ละครั้งจะมีการย้ายแบบระมัดระวังที่สุด เมื่อใกล้จะย้ายแล้วม้งมีการขุดหลุมเพื่อที่จะฝังสัมภาระที่เป็นหม้อข้าว-หม้อแกง ที่ไม่จำเป็นมาก และจะทำเครื่องหมายบางอย่างที่สามารถที่จะจำได้ไว้ เพื่อย้อนกลับมาเอาเมื่อเหตุการณ์สงบเรียบร้อย เมื่อเริ่มย้ายม้งจะนำม้า เป็นพาหนะในการบรรทุกของ โดยให้ผู้ชายนำขบวนเดินทางพร้อมกับแผ้วถางทางเดินให้กับผู้หญิง และลูกเดินตามกับม้าที่บรรทุกของด้วย และจะไว้ผู้ชายที่มีอาวุธอยู่ท้ายขบวนคอยป้องกันดูแล เมื่อการเดินทางไปถึงบริเวณที่ต้องการที่จะตั้งรกรากแล้ว การที่จะอยู่ในบริเวณนั่นได้นั้น จะต้องให้คนที่เป็นหมอผีหรือคนทรงเจ้าจะเป็นคนเสี่ยงทายพี้นที่นั้นก่อน เพื่อความอยู่รอดของม้ง
ลักษณะตัวบ้าน
ตัวบ้านปลูกคล่อมอยู่บนพื้นดินที่ทุบแน่น วัสดุส่วนใหญ่ใช้ไม่เนื้ออ่อน ผนังกั้นระหว่างห้องหรือบ้านทำใช้ลำไม้ไผ่ ผ่าคลี่เป็นแผ่น หลังคามุง ด้วยหญ้าคา หรือใบจาก แต่เสาจะเป็นไม้เนื้อแข็ง แปลนเป็นแบบง่าย ๆ ตัวบ้านไม่มีหน้าต่าง เนื่องจากอยู่ในที่อากาศหนาวเย็น ใกล้กับประตูหลัก จะมีเตาไฟเล็ก และแคร่ไม่ไผ่สำหรับนั่ง หรือนอน เอาไว้รับแขก กลางบ้านจะเป็นที่ทำงานบ้าน เข้าไปในสุด ด้านซ้ายจะเป็นเตาไฟใหญ่สำหรับ ทำอาหารเลี้ยงแขกจำนวนมาก และเอาไว้ต้มอาหารหมู บางบ้านจะมีครกไม้ใหญ่สำหรับตำข้าวเปลือก มีลูกโม่หินสำหรับบดข้าวโพด แป้ง ถั่วเหลือง ใกล้กับที่ทำงานจะมีกระบอกไม้ใผ่รองน้ำตั้งอยู่ สำหรับมุมบ้านฝั่งซ้ายมักจะกั้นเป็นห้องนอนของพ่อแม่กับลูก
ภายในบ้านจะมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่ 4 แห่ง คือ
1. ประตูทางเข้าหลัก
2. เสากลางบ้าน
3. ผนังบ้านที่ตรงข้ามกับประตูหลัก (เป็นสถานประกอบพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ของม้ง จะประกอบด้วยกระดาษที่ตัดมาติดเป็นแผ่นใหญ่ และยาวเป็นรูปสี่เหลี่ยม และมี การตั้งโต๊ะหมู่บูชาจะมีการนะกระป๋องหรือ กระบอกไม้ไผ่ใส่ข้าวเปลือก หรือ ขึ้เถ้า หรือข้าวโพดก็ได้ จะนำธูปจำนวน 7 ดอกมาปักข้าง ๆ กระบอกธูป จะมีกระบอกสุรา และกระบอกน้ำไว้เซ่นไหว้)
4. เตาไฟใหญ่
ชาวม้งจะไม่ค่อยย้ายที่อยู่บ่อยนักเมื่อเทียบกับเผ่าอื่น บางทีอยู่นาน 15-20 ปี จึงย้ายไปอยู่ที่ใหม่ และอาจย้ายกลับมาที่เดิมอีก ม้งมีระบบเครือญาติที่มั่นคงมาก จึงเป็นการยากที่จะถูกกลืนโดยชนชาติอื่น ๆ ในปัจจุบันนี้ยังมีการสร้างบ้านเรือนเช่นนี้อยู่ แต่พบน้อยมาก ส่วนใหญ่ม้ง จะรับวัฒนธรรมของสังคมอื่น ๆ มา จึงทำให้การสร้างบ้านเรือนเปลี่ยนแปลงไป โดยสร้างบ้านเรือนเหมือนกับคนไทยมากขึ้น
ความเชื่อก่อนที่จะปลูกบ้านเรือน
ม้งจะมีการเสี่ยงทายพื้นที่ที่จะมีการปลูกบ้านเรือนก่อน เพื่อครอบครัวจะได้มีความสุข และร่ำรวย โดยกระทำดังนี้ เมื่อเลือกสถานที่ได้แล้ว จะขุดหลุมหนึ่งหลุมแล้วนำเม็ดข้าวสารจำนวนเท่ากับสมาชิกในครอบครัวโรยลงในหลุม แล้วโรยข้าวสารอีกสามเม็ดแทนสัตว์เลี้ยงเสร็จแล้ว จะจุดธูปบูชาผีเจ้าที่เจ้าทาง เพื่อขออนุญาต และเอาชามมาครอบก่อนเอาดินกลบ รุ่งขึ้นจึงเปิดดู หากเมล็ดข้าวยังอยู่เรียบ ก็หมายความว่า ที่ดังกล่าวสามารถทำการ ปลูกสร้างบ้านเรือนได้รอบ ๆ ตัวบ้านมักจะมีโรงม้า คอกหมู เล้าไก่ ยุ้งฉางใส่ข้าวเปลือก ถั่ว และ ข้าวโพด ในปัจจุบันนี้ม้งยังมีความเชื่อนี้อยู่ และปฏิบัติอยู่
ที่มา : มูลนิธิกระจกเงา. (2559). โครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขาออนไลน์. https://www.openbase.in.th/node/966
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2567). ชนเผ่าม้ง : บ้าน. สืบค้น 23 มิถุนายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2243&code_db=610004&code_type=05
Google search
ลีซอ หมายถึง ผู้ใฝ่รู้แห่งชีวิต มีภาษาพูดในกลุ่มหยี (โลโล) ตระกูลธิเบต-พม่า 30% เป็นภาษาจีนฮ่อ ต้นกำเนิดของลีซูอยู่ที่ต้นน้ำสาละวิน และแม่น้ำโขงทางตอนเหนือของธิเบต และทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของมณฑลยูนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ชาวลีซูได้อพยพเข้าสู่เขตประเทศไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2464 กลุ่มแรกมี 4 ครอบครัว มาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนครั้งแรกอยู่ที่บ้านห้วยส้าน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ต่อมามีอีก 15 ครอบครัวอพยพตามมาด้วยในปีเดียวกัน ลีซูไม่มีภาษาเขียนของตนเอง แต่สำหรับลีซูที่นับถือเป็นคริสเตียน กลุ่มมิชชั่นนารีได้ใช้อักษรโรมันมาดัดแปลงเป็นภาษาเขียนของชนเผ่าลีซู อยู่ได้โดยประมาณ 5-6 ปี ก็มีการแยกกลุ่มไปอยู่หมู่บ้านดอยช้าง ทำมาหากินอยู่แถบ ตำบลวาวี ออำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 19,235
มารยาททางสังคมที่ชาวเขาเผ่าม้งพึงมีต่อกันเพื่อสร้างความเข้าใจ และความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่บ้านเดียวกัน ส่วนมากเป็นข้าปฏิบัติที่ได้รับแนวคิดมาจากค่านิยมเบื้องต้นในวัฒนธรรมประจำเผ่า มารยาทที่สำคัญได้แก่ มารยาทการเยี่ยมบ้าน แขกที่มาเยี่ยมบ้านแม้วหรือม้งนั้นจะต้องเรียนรู้วัฒนธรรมของม้งให้รู้ก่อนที่จะไปเยี่ยมบ้านแม้วหรือม้ง เพื่อจะได้ไม่เสียมารยาท แขกที่ต้องการเข้าไปเยี่ยมบ้านม้งนั้นเมื่อเข้าไปถึงบ้านที่ท่านต้องเข้าไปสนทนาด้วยนั้นจะต้องปฏิบัติ เมื่อแขกเดินไปถึงหน้า ประตูบ้านม้งนั้น ถึงแม้จะเห็นว่าประตูบ้านจะปิดหรือเปิด ก็ต้องตะโกนถามคนในบ้านก่อนว่า “ไจ๊จือไจ๊” เป็นการถามเพื่อขอ อนุญาตเข้าบ้านม้ง (คำว่า ไจ๊จือไจ๊ นั่นมีความหมายว่า ขออนุญาตให้เข้าไปได้หรือไม่) ถ้ามีเสียงตอบในบ้านมาว่า “จือไจ๊” แสดงว่าเจ้าของบ้านม้งยอมอนุญาตให้เข้าบ้านได้
เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 496
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,458
ชาวม้งมีบรรพบุรุษโบราณอาศัยอยู่ในดินแดนอันหนาวเย็น หิมะตกหนัก มีกลางคืนและฤดูหนาวที่ยาวนาน อาจอพยพมาจากที่ราบสูงทิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย ประเทศจีน ชาวม้งอพยพหนีการปกครองของจีน ในเขตที่ราบสูงของหลวงพระบาง ราวพุทธศักราช 2443 กลุ่มม้งอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ในจังหวัดกำแพงเพชร ที่อำเภอคลองลาน มีแม่เฒ่าชาวม้งท่านหนึ่งชื่อว่า นางจื่อ แซ่กือ อายุ 64 ปี อาศัยอยู่ หมู่ 1 ตำบลคลองลานพัฒนา ซึ่งเดิมอยู่บนเขาน้ำตกคลองลาน อพยพมาอยู่พื้นราบมาประมาณ 20 ปี งานที่สำคัญและภูมิใจที่สุดของนางจื่อ แซ่กือ คือ การทำผ้าลายขี้ผึ้ง (โอโต๊ะจ๊ะ) เพื่อนำมาตัดเย็บชุดชาวเขาเผ่าม้งของแม่เฒ่า
เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 2,234
ม้งเชื่อ ว่าพิธีศพที่ครบถ้วนถูกต้อง จึงจะส่งวิญญาณผู้ตายไปสู่สุคติ และควรที่จะตายในบ้านของตน หรือบ้านญาติก็ยังดี เมื่อทราบแน่ชัดว่าบุคคลนั้นใกล้สียชีวิตแล้ว บรรดาญาติสนิทจะมาชุมนุมพร้อมเพียงกัน เพื่อที่จะได้มาดูแลคนที่ใกล้จะเสียชีวิต ม้งมีความเชื่อว่าการตายในบ้านของตนเองนั้น เป็นผู้มีบุญมาก เพราะได้เห็นลูกหลานของตนเองก่อนตาย ผู้ตายจะได้นอนตายตาหลับพร้อมกับหมด ห่วงทุกอย่าง เมื่อแน่ใจว่าสิ้นลมหายใจแล้ว ญาติจะยิงปืนขึ้นไปบนฟ้า 3 นัด เป็นสัญญาณบอกว่ามีการตายเกิดขึ้นในบ้านหลังนั้น
เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 888
การละเล่นนางกวักถือเป็นการละเล่นที่ใช้เพื่อความบันเทิงเท่านั้น ปัจจุบันการละเล่นนางกวักได้ ปรากฏอยู่ในวิถีชีวิตของชาวลาวครั่งในพื้นที่ต่าง ๆ จนกลายเป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มชนแต่อาจมีรูปแบบการละเล่น ที่มีความแตกต่างกันไปในรายละเอียด ทั้งนี้จากการ สํารวจข้อมูลเบื้องต้น พบว่าบ้านตําบลคลองลาน อําเภอคลองลาน จังหวัดกําแพงเพชร เป็นชุมชนเล็ก ๆ ที่ได้มีการปฏิบัติและสืบทอดการละเล่นนางด้งและนางกวักมาอย่างยาวนานตามรูปแบบดั้งเดิมมากที่สุดแห่งหนึ่ง อย่างไรก็ตามบทเพลงประกอบการละเล่นนางกวักของชาวบ้านในพื้นที่อําเภอคลองลาน จังหวัดกําแพงเพชรที่สืบทอดต่อกันมาในลักษณะปากเปล่า มิได้มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทําให้ไม่สามารถสืบทราบได้ว่ามีที่มาอย่างไร หรือใครเป็นผู้ริเริ่ม การละเล่นนางกวักนี้ เพียงแต่ทราบว่าได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่า ตายาย
เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้เช้าชม 256
จะมีการจัดขึ้นทุกๆ ปี ประมาณปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน ซึ่งจะตรงกับช่วงที่ผลผลิตกำลังงอกงาม และพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวในอีกไม่กี่วัน ในระหว่างนี้อาข่าจะดายหญ้าในไร่ข้าวเป็นครั้งสุดท้าย หลังจากดายหญ้าแล้วก็รอการเก็บเกี่ยว ตรงกับเดือนของอาข่าคือ “ฉ่อลาบาลา”
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,389
อุปกรณ์ เครื่องใช้ของม้งโดยปกติแล้วม้งจะมีการทำงานหนักในไร่หรือในสวนต่าง ๆ ม้งจึงมีการตีมีดให้เหมาะสมกับงานที่ทำเช่น การตัดไม้จะต้องใช้ มีดด้ามยาว (เม้าะจั๊วะ) หรืออาจจะใช้ขวานก็ได้ ส่วนการทำอาหารต่างจะใช้มีดด้ามสั้นหรือมีดปลายแหลม ส่วนงานที่หนักจะต้องใช้มีดที่มีขนาดใหญ่ เหมาะกับการใช้งาน
เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 974
กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมประเพณีและภาษาพูดเป็นของตนเอง อาศัยอยู่บนภูเขา มีอาชีพและรายได้จากการเกษตรเป็นหลัก ลักษณะด้านครอบครัว เครือญาติและชุมชนระดับหมู่บ้านของแต่ละเผ่า มีเอกลักษณ์ของตน ซึ่งแตกต่างกันทุกเผ่ายังคงนับถือผีที่สืบทอดมาจาก การที่ชาวไทยภูเขาอาศัยอยู่ร่วมกับคนไทยบนผืนแผ่นดินไทยได้ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายบ้านเมือง
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 3,739
ภาพสวยงามในอดีตที่ยังคงตรึงอยู่ในหัวใจม้งทุกคน นั่นคือชุดม้งที่ยายชราสวมใส่อยู่ เป็นชุดม้งที่ม้งทุกคนต้องสวมใส่ตลอด แต่ปัจจุบันภาพสวย ๆ งาม ๆ เหล่านี้เริ่มสูญหายไปจากสังคมม้ง ส่วนใหญ่จะพบภาพที่สวยในแบบฉบับปัจจุบันนี้ คือ ภาพสองตายาย แต่งชุดทันสมัยใหม่ แม้ว่าจะเป็นชุดลำลองอยู่บ้านเท่านั้น แต่เมื่อสวมใส่แล้วรู้สึกสบายมากขึ้น ไม่ต้องลำบากในเวลาทำความสะอาดเสื้อผ้า เป็นเหตุผลประการหนึ่งที่ม้งต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง ให้มานุ่งเสื้อผ้าสมัยใหม่ เนื่องจากเสื้อผ้าชุดม้งนั้นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อมากกว่า และต้องนำมาตัดเย็บเป็นชุดใหม่ กว่าที่จะตัดเย็บเรียบร้อยใช้เวลานาน และเสื้อผ้าม้งนั้นมีความหนามาก ดังนั้นเวลาสวมใส่หน้าร้อนจะยิ่งเพิ่มความร้อนมากยิ่งขึ้น จึงเป็นเหตุผลในการปรับเปลี่ยนตัวเอง และอีกเหตุผลหนึ่ง คือเวลาเข้าสังคมกับคนอื่นแล้ว ไม่ได้รับการยอมรับ ดังนั้นม้งจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนตัวเอง เพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อมมากขึ้น
เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้เช้าชม 908