ชนเผ่าม้ง - ธรรมเนียม มารยาท

ชนเผ่าม้ง - ธรรมเนียม มารยาท

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้ชม 282

[16.2581844, 98.9071054, ชนเผ่าม้ง - ธรรมเนียม มารยาท]

ชนเผ่าม้ง : มารยาททางสังคมของม้ง
       มารยาททางสังคมที่ชาวเขาเผ่าม้งพึงมีต่อกันเพื่อสร้างความเข้าใจ และความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่บ้านเดียวกัน ส่วนมากเป็นข้าปฏิบัติที่ได้รับแนวคิดมาจากค่านิยมเบื้องต้นในวัฒนธรรมประจำเผ่า มารยาทที่สำคัญ ได้แก่
       1. มารยาทในการเยี่ยมบ้าน
       แขกที่มาเยี่ยมบ้านแม้วหรือม้งนั้นจะต้องเรียนรู้วัฒนธรรมของม้งให้รู้ก่อนที่จะไปเยี่ยมบ้านแม้วหรือม้ง เพื่อจะได้ไม่เสียมารยาท แขกที่ต้องการเข้าไปเยี่ยมบ้านม้งนั้นเมื่อเข้าไปถึงบ้านที่ท่านต้องเข้าไปสนทนาด้วยนั้นจะต้องปฏิบัติ เมื่อแขกเดินไปถึงหน้า ประตูบ้านม้งนั้น ถึงแม้จะเห็นว่าประตูบ้านจะปิดหรือเปิด ก็ต้องตะโกนถามคนในบ้านก่อนว่า “ไจ๊จือไจ๊” เป็นการถามเพื่อขอ อนุญาตเข้าบ้านม้ง (คำว่า ไจ๊จือไจ๊ นั่นมีความหมายว่า ขออนุญาตให้เข้าไปได้หรือไม่) ถ้ามีเสียงตอบในบ้านมาว่า “จือไจ๊” แสดงว่าเจ้าของบ้านม้งยอมอนุญาตให้เข้าบ้านได้ (คำว่า จือไจ๊ นั้นหมายความว่า อนุญาตให้เข้าบ้านได้) แต่ถ้ามีเสียงตอบรับว่า ไจ๊ ดังนั้นแขกที่มาเยี่ยมบ้านไม่ควรเข้าไปเพราะอาจทำให้ผิดผี เพราะบ้านม้งนั้นอาจจะประกอบพิธีกรรมอยู่ก็ได้ในขณะนั้น แต่ถ้าบ้านหลังนั้นเปิดประตูไว้แต่ไม่มีเสียงตอบรับ ไม่ควรถือสิทธิ์เข้าในบ้านม้งควรจะฝากข้อความไว้กับคนบ้านใกล้เคียง ถ้าในกรณีที่แขกมาเยี่ยมบ้านนั้นแล้วเจอกัน แล้วบ้านไม่ไจ๊ ม้งจะมีการต้อนรับอย่างดีโดยถ้า เป็นแขกที่ไม่ใช่ญาติกันม้งจะมีการตอบ รับ โดยรับด้วยน้ำชา หรือเหล้า ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างแขกคนนั้นกับคนในครอบครัวนั้น ถ้าเป็นญาติกันก็จะมีการต้อนรับโดยฝิ่น มารยาทในการรับเครื่องรับรองจากเจ้าของบ้าน แขกจะต้องดื่ม หรือลงมือรับประทานอาหารหลังจากที่เจ้าของบ้านให้ พร้อมกับเจ้าของบ้านมารยาทแขกที่จะต้องค้างคืนกับเจ้าของบ้านม้ง จะต้องปฏิบัติดังนี้ แขกจะต้องนอนในที่เจ้าของบ้านจัดเตรียมให้เท่านั้น คือม้งจะมีการจัดเตรียมที่นอนให้กับแขกไว้ใกล้กับเตาไฟเล็กให้กับแค่นอนเพื่อที่จะพักผ่อนแขกที่ค้างคืน ในบ้านม้งนั้นจะต้องไม่มีเพศสัมพันธ์กันในระหว่างที่    
          - การพักค้างคืนอยู่ในบ้าน ระหว่างที่อยู่ในบ้านพักม้งนั้น แขกควรจะหลีกเลี่ยงอาหารที่ต้องห้ามดังนี้ และจะต้องไม่กระทำอะไรที่เป็นอันขัดแย้งกับความคิดเห็นของเจ้าของบ้าน เช่น ม้งกลุ่มแซ่ “ลี หรือ รี” จะไม่บริโภคม้ามของสัตว์ทุกชนิด ม้ง กลุ่มแซ่ “ย่าง” จะไม่บริโภคหัวใจของสัตว์ทุกชนิด ม้งกลุ่มแซ่ “ว่าง” จะต้องไม่นำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวที่ขึ้นเองตามธรรมชาติในป่า มารับประทานในบ้าน สิ่งเหล่านี้เป็นความเชื่อและเป็นมารยาทของม้งที่ปฏิบัติต่อกันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้    
          - ข้อควรสังเกตในการเยี่ยมบ้านม้ง หากแขกไปเยี่ยมบ้านม้งแล้วพบประตูปิดแล้วมีไม้หรือกิ่งไม้ หรือตะแหลวแขวนอยู่ชายคาหน้าบ้านแขกก็ไม่ควรเข้าไปรบกวนเรียกเจ้าของบ้าน เพราะเจ้าของบ้านม้งกำลังอยู่กรรม หรือ “ไจ๊” อยู่ การไจ๊หรืออยู่กรรมของม้งนั้น ม้งถือว่าเป็นการหลีกเลี่ยงการเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง ถ้าหากว่า เจ้าของบ้านมีบุคคลใดคนหนึ่งเกิดไม่สบายขึ้นมา ม้งถือว่า ขวัญ หรือ ปลี่ อยู่ไม่ครบ ดังนั้นจึงต้องมีการทำผี หรือ อั๊วเน้งเพื่อเป็นการรักษาคนป่วยในครอบครัวนั้น ดังนั้นเมื่อหมอผีจะอั๊วเน้งหรือทำผีเรียบร้อยแล้ว หมอผีจะเป็นคนที่บอกว่าควรจะ อยู่กรรม หรือ ไจ๊ จะกำหนดระยะเวลาของการอยู่กรรม หรือ ไจ๊ เลือกวันที่ควรจะอยู่กรรมด้วย เมื่อบ้านนั้นอยู่กรรมบ้านนั้นจะมีไม้ หรือกิ่งไม้แขวนไว้ที่หน้าประตูเพื่อเป็นการเตือนหรือบอกให้ผู้อื่นรับรู้ หากว่าแขกที่มาเยี่ยมบ้านนั้นไม่ทราบ เกิดไปตะโกนถามคนในบ้านนั้นจะทำให้ผีเอาขวัญของคนป่วยในบ้านนั้นไป และจะต้องมีการทำผีหรืออั๊วเน้งใหม่อีกครั้ง โดยจะปรับแขกที่มาเรียกนั้นเป็นค่าปรับหรือเป็นสัตว์ที่จะต้องมาทำผีหรืออั๊วเน้งอีกครั้ง
       2. มารยาทในการร่วมพิธีกรรม
       ม้งมีข้อกำหนดในเรื่องการประกอบพิธีกรรมที่แตกต่างกันตามความเชื่อของแต่ละแซ่สกุลย่อย พิธีกรรมหนึ่งๆที่มีชื่อเหมือนกันและมีจุดประสงค์อย่างเดียวกัน อาจจะมีรูปแบบการประกอบพิธีกรรมแตกต่างกันในสกุล ฉะนั้นถ้ามีการเข้าร่วมในพิธีกรรมใดๆ ก็ตาม ถ้าเป็นพิธีกรรมต่างแซ่ต่างสกุลต่างกันคนที่เป็นเจ้าของงาน หรือเจ้าของพฺธีกรรมนั้นจะต้องอธิบายถึงการวางตัวที่เหมาะสมให้กับแขกที่มาร่วมพิธีกรรมนั้นให้ทราบโดยทั่วกัน             
           - มารยาทในการร่วมงานพิธีศพ เป็นพิธีกรรมที่ม้งให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ หากว่าเจ้าของบ้านมีงานศพขึ้น ม้งที่เป็นเครือญาติจะต้องมีการแบ่งหน้าที่ในการประกอบพิธีกรรมให้สมบูรณ์ เรียบร้อยดังนั้นแขกที่จะมาร่วมพิธีกรรมในงานศพนั้นจะต้องปฏิบัติดังนี้ จะต้องไม่แสดงพฤติกรมรังเกียจสภาพศพที่เห็น เพราะม้งจะนิยมไม่นำศพใส่ในโลงศพ ทำให้แขกที่มาร่วมงานจะเห็นสภาพศพที่ขึ้นอืดจนน่าเกลียดมาก ศพบางศพจะเน่า และลิ้นจะโผล่ออกมาให้เห็นเลย ดังนั้นแขกที่มาร่วมจะต้องไม่แสดงพฤติกรรม เหล่านี้ออกไป             
           - มารยาทในการร่วมงานปีใหม่ งานปีใหม่เป็นเทศกาลอย่างหนึ่งของชนเผ่าม้งที่จัดขึ้นในทุกๆรอบปี ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่าง ขึ้น 1 ค่ำเดือน หนึ่งของทุกปี ซึ่งตรงกับเดือนธันวาคมของทุกปีม้งทุกหลังคาเรือนจะต้องมี การฆ่าหมูเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองงานปีใหม่ร่วมกัน การฆ่าหมูนั้นเป็นการสรรสันต์ร่วมกัน และเป็นการเซ่นไหว้บรรพบุรุษด้วย ดังนั้นแขกที่มาเยี่ยมบ้านม้งนั้นม้งจะมีการต้อนรับเป็น อย่างดีและม้งจะมีการต้อนรับโดยเอาเหล้ามารับแขก ซึ่งแก้วที่นำมาใส่เหล้านั้นจะเรียกว่า แก้วแม่วัว กับแก้วลูกวัว ดังนั้นหากว่าเจ้าของบ้านเอาแก้วแม้วัวให้กับแขกดังนั้นแขกจะ ต้องดื่มก่อนและต้องดื่มให้หมด ถ้าไม่หมดม้งถือว่าเป็นการรังเกียจกัน ดังนั้นถ้าแขก ดื่มไม่หมดม้งถือว่าแขกคนนั้นไม่อยากมีความสัมพันธ์กับตน หรือไม่ให้เกียรติกับเจ้าของบ้านดังนั้นจึงถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างแขกกับเจ้าของบ้านขาดจากกัน แต่ถ้าเจ้าของบ้านเอาแก้วลูกวัวให้แขก แขกได้รับแก้วลูกวัวแล้วจะต้องดื่มแก้วเหล้าให้หมด แต่ถ้าไม่ สามารถที่จะดื่มหมดก็สามารถที่จะให้คนอื่นมาช่วยดื่มแก้วเหล้าลูกวัวนี้แทนตัวเองได้ และความสัมพันธ์ระหว่างแขกกับเจ้าของบ้านยังคงเหมือนเดิมหรือแน่นเฟ้นยิ่งขึ้นมารยาท ระหว่างผู้น้อยกับผู้ใหญ่
       มารยาทเป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยสร้างการยอมรับซึ่งกันและกันระหว่างผู้น้อยกับผู้ใหญ่ ม้งมีรูปแบบหรือพื้นฐานของมารยาทที่สำคัญคือ
       1. ผู้น้อยจะต้องยอมรับฟังความคิดเห็น คำชี้แนะและแสดงความเคารพต่อผู้ใหญ่
       2. ผู้น้อยหรือสมาชิกในหมู่บ้านจะได้รับการดูแล หรืออุปถัมภ์จากผู้อาวุโสหรือผู้ใหญ่
       3. ให้สิทธิ์ในการตัดสินเด็ดขาดแก่ผู้ใหญ่เท่านั้น

คำสำคัญ : ชนเผ่าม้ง ธรรมเนียม มารยาท

ที่มา : มูลนิธิกระจกเงา. (2559). โครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขาออนไลน์. https://www.openbase.in.th/node/762

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2567). ชนเผ่าม้ง - ธรรมเนียม มารยาท. สืบค้น 17 มีนาคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2242&code_db=610004&code_type=05

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2242&code_db=610004&code_type=05

Google search

Mic

ประเพณีกินข้าวใหม่ของม้ง

ประเพณีกินข้าวใหม่ของม้ง

เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยรุ่นทวด-รุ่นปู่ ซึ่งม้งจะมีความเชื่อว่าจะต้องเลี้ยง ผีปู่-ผีย่า เพราะช่วงเวลาในหนึ่งรอบปีหรือในหนึ่งปีที่ผ่านมานั้นผีปู่-ผีย่า ได้ดูแลครอบครัวของแต่ละครอบครัวเป็นอย่างดี ดังนั้นจึงมีการปลูกข้าวใหม่เพื่อจะเซ่นบูชา คุณผีปู-ผีย่ากับเจ้าที่ทุกตน ซึ่งการกินข้าวใหม่จะทำกันในเดือน ตุลาคมของทุกปี ข้าวใหม่คือข้าวที่ปลูกขึ้นมาเพื่อที่จะเซ่นถวายให้กับผีปู่-ผีย่า

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,412

วัฒนธรรมการทำผ้าลายขี้ผึ้ง (โอโต๊ะจ๊ะ) ของชนเผ่าม้ง

วัฒนธรรมการทำผ้าลายขี้ผึ้ง (โอโต๊ะจ๊ะ) ของชนเผ่าม้ง

ชาวม้งมีบรรพบุรุษโบราณอาศัยอยู่ในดินแดนอันหนาวเย็น หิมะตกหนัก มีกลางคืนและฤดูหนาวที่ยาวนาน อาจอพยพมาจากที่ราบสูงทิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย ประเทศจีน ชาวม้งอพยพหนีการปกครองของจีน ในเขตที่ราบสูงของหลวงพระบาง ราวพุทธศักราช 2443 กลุ่มม้งอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ในจังหวัดกำแพงเพชร ที่อำเภอคลองลาน มีแม่เฒ่าชาวม้งท่านหนึ่งชื่อว่า นางจื่อ แซ่กือ อายุ 64 ปี อาศัยอยู่ หมู่ 1 ตำบลคลองลานพัฒนา ซึ่งเดิมอยู่บนเขาน้ำตกคลองลาน อพยพมาอยู่พื้นราบมาประมาณ 20 ปี งานที่สำคัญและภูมิใจที่สุดของนางจื่อ แซ่กือ คือ การทำผ้าลายขี้ผึ้ง (โอโต๊ะจ๊ะ) เพื่อนำมาตัดเย็บชุดชาวเขาเผ่าม้งของแม่เฒ่า

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 2,131

ชนเผ่าม้ง : ของใช้ในชีวิตประจำวัน

ชนเผ่าม้ง : ของใช้ในชีวิตประจำวัน

อุปกรณ์ เครื่องใช้ของม้งโดยปกติแล้วม้งจะมีการทำงานหนักในไร่หรือในสวนต่าง ๆ ม้งจึงมีการตีมีดให้เหมาะสมกับงานที่ทำเช่น การตัดไม้จะต้องใช้ มีดด้ามยาว (เม้าะจั๊วะ) หรืออาจจะใช้ขวานก็ได้ ส่วนการทำอาหารต่างจะใช้มีดด้ามสั้นหรือมีดปลายแหลม ส่วนงานที่หนักจะต้องใช้มีดที่มีขนาดใหญ่ เหมาะกับการใช้งาน

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 670

ชนเผ่าม้ง : ไสยศาสตร์ การรักษาโรค

ชนเผ่าม้ง : ไสยศาสตร์ การรักษาโรค

ม้งมีความเชื่อว่าพิธีไสยศาสตร์เหล่านี้จะช่วยให้วินิจฉัยโรคได้ถูกต้องและทำการรักษาได้ผล เพราะความเจ็บป่วยทั้งหลาย ล้วนแต่เป็นผลมาจากการผิดผี ทำให้ผีเดือดดาลมาแก้แค้นลงโทษให้เจ็บป่วย จึงต้องใช้วิธีจัดการกับผีให้คนไข้หายจากโรค หากว่าคนทรงเจ้ารายงานว่าคนไข้ที่ล้มป่วยเพราะขวัญหนี ก็จะต้องทำพิธีเรียกขวัญกลับเข้าสู่ร่างของบุคคลนั้น แต่การที่จะเรียกขวัญกลับมานั้น จะต้องมีพิธีกรรมในการปฎิบัติมากมาย บางครั้งบางพิธีกรรมก็มีความยุ่งยากในการปฎิบัติ แต่ม้งก็ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคเหล่านั้น ม้งเชื่อว่าการที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง โดยไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียน นั่นคือความสุขอันยิ่งใหญ่ของม้ง 

เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้เช้าชม 341

ชนเผ่าม้ง (HMONG)

ชนเผ่าม้ง (HMONG)

ยังไม่มีผู้ใดสามารถสรุปได้ว่าชนชาติม้งมาจากที่ไหน แต่สันนิษฐานกันว่าม้งคงจะอพยพมาจากที่ราบสูงธิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย เข้าสู่ประเทศจีน และตั้งหลักแหล่งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเหลือง (แม่น้ำฮวงโห) เมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว ซึ่งชาวเขาเผ่าม้งจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในมณฑลไกวเจา ฮุนหนำ กวางสี และมณฑลยูนาน ม้งอาศัยอยู่ในประเทศจีนมาหลายศตรรษ จนกระทั่ง ประมาณคริสตศตวรรษที่ 17 ราชวงค์แมนจู (เหม็ง) มีอำนาจในประเทศจีน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 35,170

กะเหรี่ยง (KAREN)

กะเหรี่ยง (KAREN)

นามของชาวเขาเผ่าใหญ่ที่สุดในไทยนั้นเรียกขานกันว่า "กระเหรี่ยง" ในภาคกลาง ส่วนทางเหนือ (คำเมือง) เรียกว่า "ยาง" กะเหรี่ยงในไทยจำแนกออกเป็นพวกใหญ่ๆ ได้สองพวกคือสะกอ และโปว และพวกเล็กๆซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่แถบแม่ฮ่องสอนคือ ป่าโอ และค่ายา ซึ่งเราจะไม่กล่าวถึง ณ ที่นี้ เพราะมีจำนวนเพียงประมาณร้อย ละหนึ่งของประชากรกะเหรี่ยงทั้งหมดในไทย พลเมืองกะเหรี่ยวตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่าและไทย ส่วนใหญ่คือ ร่วมสี่ล้านคนอยู่ในพม่าในไทยสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อปี ๒๕๒๖

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 6,517

ประเพณีโล้ชิงช้า

ประเพณีโล้ชิงช้า

จะมีการจัดขึ้นทุกๆ ปี ประมาณปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน ซึ่งจะตรงกับช่วงที่ผลผลิตกำลังงอกงาม และพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวในอีกไม่กี่วัน ในระหว่างนี้อาข่าจะดายหญ้าในไร่ข้าวเป็นครั้งสุดท้าย หลังจากดายหญ้าแล้วก็รอการเก็บเกี่ยว ตรงกับเดือนของอาข่าคือ “ฉ่อลาบาลา” 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,114

การขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชนของชาวเขา

การขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชนของชาวเขา

เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี ซึ่งจะตรงกับช่วงที่พืชพันธุ์ที่ปลูกลงไปในไร่มีผลผลิต และเริ่มที่จะเก็บเกี่ยวได้แล้ว อาทิเช่น แตงโม แตงกวา พืชผักต่างๆ เป็นต้น เทศกาลนี้จัดขึ้นมาเพื่อขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชน เช่น ภูตผีปีศาจที่มาอาศัยอยู่ในชุมชน อาข่าเรียกว่า “แหนะ” รวมไปถึงโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยมีการแกะสลักไม้เนื้ออ่อนเป็นดาบ หอก ปืน อาข่าเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ว่า “เตาะมา”

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,624

ชนเผ่าม้ง : หนุ่มม้งกับกลางคืน

ชนเผ่าม้ง : หนุ่มม้งกับกลางคืน

กาลเวลาแปรเปลี่ยนไปพร้อมกับการหมุนของโลกที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งฤดูกาลเริ่มหมุนเวียน ไปเรื่อยๆ อย่างไม่สามารถหยุดยั้งได้ฤดูใบไม้ผลิเริ่มแวะเวียนมาอีกครั้ง วันเวลานำพาใบไม้ร่วงโรยไปตามฤดูกาล แต่ดูเหมือนบางสิ่งบางอย่างคงเดิมอยู่ตลอดเวลานั่นคือ ขบวนการจีบสาวของชายม้ง ไม่ว่ากาลเวลาจะแปรเปลี่ยนไปพร้อมกับกระแสของสังคมก็ตามที แต่ขบวนการจีบสาวๆ ยังคงยืนยงคงกระพันอยู่ ไม่มีแนวทางแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้เลย เพราะผู้หลักผู้ใหญ่ต่างคิดว่านั่นคือ ค่านิยม หรือ ประเพณี ไปแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 195

ชนเผ่าลีซู (LISU)

ชนเผ่าลีซู (LISU)

ตำนานของลีซู มีตำนานเล่าคล้ายๆ กับชนเผ่าหลายๆ เผ่าในเอเชียอาคเนย์ถึงน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ ซึ่งมีผู้รอดชีวิตอยู่เพียงหญิงหนึ่งชายหนึ่งซึ่งเป็นพี่น้องกัน เพราะได้อาศัยโดยสารอยู่ในน้ำเต้าใบมหึมา พอน้ำแห้งออกมาตามหาใครก็ไม่พบ จึงประจักษ์ใจว่าตนเป็นหญิงชายคู่สุดท้ายในโลก ซึ่งถ้าไม่สืบเผ่ามนุษยชาติก็ต้องเป็นอันสูญพันธุ์สิ้นอนาคต แต่ก็ตะขิดตะขวางใจในการเป็นพี่น้อง เป็นกำลังจึงต้องเสี่ยงทายฟังความเห็นของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เห็นมีโม่อยู่บนยอดเขาจึงจับตัวครกกับลูกโม่แยกกันเข็นให้กลิ้งลงจากเขาคนละฟาก

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 8,007