ชนเผ่าม้ง : การหมั้น การแต่งงาน
เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้ชม 1,173
[16.2581844, 98.9071054, ชนเผ่าม้ง : การหมั้น การแต่งงาน]
ชนเผ่าม้ง : การหมั้น การแต่งงาน
ในอดีตการหมั้นของม้ง จะนิยมหมั้นระหว่างญาติลูกพี่ลูกน้องต่างแซ่กัน กล่าวคือ ลูกของพี่ หรือน้องชาย กับลูกของพี่ หรือน้องสาว การหมั้นจะกระทำตั้งแต่บุตรของทั้งสองฝ่ายมีอายุประมาณ 1 เดือน ทางฝ่ายชายเป็นผู้ไปหมั้น โดยนำสิ่งของตาม ธรรมเนียมไปมอบให้บิดามารดาของฝ่ายหญิง โดยทั้งสองฝ่ายให้คำมั่นสัญญาต่อกันว่า ถ้าบุตรโตเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้วจะให้แต่งงานกัน ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิด สัญญาจะต้องเสียค่าปรับให้คู่สัญญาตามธรรมเนียมการหมั้น ปัจจุบันม้งยังคงยืดถือปฏิบัติกันอยู่ แต่พบน้อยมาก
ชนเผ่าม้ง : การสู่ขอ
ในอดีตม้งจะหาภรรยาให้กับบุตรชายของตน เมื่อมีอายุประมาณ 14-16 ปี หากรู้ว่าบุตรชายไปชอบหญิงสาวลูกของใคร ถึงกับต้องการไว้เป็นภรรยา บิดาจะไหว้ผีด้วยธูป 7 ดอก และต้มไก่เซ่นผี โดยอธิษฐานว่าหากบุตรของตนแต่งงานกับ หญิงสาวแล้ว จะอยู่เย็นเป็นสุขร่ำรวยมีเงินมีทองหรือไม่ ขอให้ผีตอบโดยดูลักษณะดี หรือไม่ดีที่ลิ้นไก่ และกระดูกขาไก่ที่ตนเซ่นไหว้
หากมีลักษณะไม่เป็นมงคล บิดาจะบอกให้บุตรเลิกติดต่อกับหญิงสาวคนนั้น และฆ่าไก่อีกเพื่อเซ่นผี เพื่อทราบคำทำนายของผีเกี่ยวกับหญิงคนนั้น ถ้าได้ลักษณะเป็นมงคลก็จะจัดเถ้าแก่ 2 คนไปสู่ขอหญิงสาว ซึ่งในการไปสู่ขอนั้น จะให้บุตรชายที่จะไปแต่งงานไปกับเพื่อนพร้อมกับเถ้าแก่ เพื่อให้ชายหนุ่ม และหญิงสาวซึ่งจะแต่งงานได้พบปะซึ่งกันและกัน เพื่อตกลงใจขั้นสุดท้ายขณะเดินทางไปสู่ขอ ถ้ามีสัตว์ป่า เช่น งู หรือกวางเดินตัดหน้า หรือมีคนตายในหมู่บ้านที่เดินผ่าน ม้งถือว่าเป็นลางร้ายมักเลิกล้มความตั้งใจที่จะไปสู่ขอ เพราะถ้าแต่งงานไปแล้วอาจอยู่ด้วยกันไม่นาน อาจตายจากกัน หรือทำมาค้าขายไม่ขึ้น อย่างไรก็ตามหากมีสัตว์ป่าเดินตัดหน้าถึง 2 ครั้งหรือมากกว่านั้น ก็ไม่ถือว่าเป็นลางร้าย เพราะม้งเชื่อว่าสัตว์ป่าออกมาหากินโดยปกติวิสัย ม้งนิยมไปสู่ขอในเวลาเย็นหลังจากเลิกทำงาน เมื่อไปถึงบ้านหญิงสาว และได้รับเชิญเข้าไปในบ้าน เถ้าแก่ฝ่ายชายจะหยิบยาเส้นขนาดโตประมาณเท่านิ้วหัวแม่มือ มอบให้บิดามารดาของหญิงสาว แล้วแจ้งให้รู้ว่าลูกชายของใครต้องการอยากจะมาเป็นลูกชายของท่าน
ตามประเพณีของม้ง บิดามารดาของฝ่ายหญิง-ชายตกลงเพียง 2 คนไม่ได้ จะต้องเรียกบรรดาญาติพี่น้องมาช่วยพิจารณาตกลงใจด้วย แม้คณะญาติจะเห็นชอบด้วยแล้ว ฝ่ายบิดามารดาของหญิงสาวจะกล่าวอ้างเหตุผลเป็นทำนอง ไม่รับในการสู่ขออีกครั้งหนึ่งก็ได้ เพื่อเป็นการยืนยันว่าฝ่ายชายมีความตั้งใจอย่างแรงกล้าในการสู่ขอหญิงสาว ทางฝ่าย หญิงสาวจะตั้งเถ่าแก่ของตนขึ้น 2 คน เพื่อตกลงกับเถ้าแก่ฝ่ายชายในเรื่องเงินสินสอด โดยเถ้าแก่ทางฝ่ายหญิงสาว จะนำเหล้า 1 ขวด และจอกดื่มเหล้า 4 ใบ ไปวางไว้บนโต๊ะเหล้า ซึ่งอยู่ใกล้กับประตูบ้านด้านใน เถ้าแก่ทั้งสองฝ่าย จะมาร่วมนั่งดื่มเหล้า และเจรจากันในเรื่องการสู่ขอ เมื่อเป็นที่ตกลงกันได้ เถ้าแก่ฝ่ายหญิงจะกล่าวว่านั่งดื่มเหล้าที่ปากประตูเป็นการกีดขวางทางเดิน จึงควรย้ายไปที่อื่นจะดีกว่า จากนั้นคณะทั้งสองฝ่ายจะย้ายโต๊ะไปนั่งข้างในบ้านแล้ว เจรจาตกลงกันเรื่องสินสอด และกำหนดวันแต่งงานในคืนนั้น เถ้าแก่ฝ่ายชายจะนอนค้างแรมที่บ้านหญิงสาว 1 คืน รุ่งขึ้นจึงเดินทางกลับ
ในทางตรงกันข้ามหากฝ่ายหญิงสาวปฏิเสธการสู่ขอในครั้งนี้ เถ้าแก่ฝ่ายหญิงสาวจะย้ายโต๊ะไปดื่มเหล้ากันข้างนอกบ้าน เมื่อเหล้าหมดขวดฝ่ายชายก็จะลากลับบ้าน หากฝ่ายชายมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะสมรสกับหญิงสาว แม้จะถูกปฏิเสธการสู่ขอไปแล้ว 1 ครั้ง ก็จะพยายามไปสู่ขออีกถึง 2 ครั้ง หากไม่สำเร็จก็เลิกรากันไปเอง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้ม้งบางหมู่บ้าน ไม่นิยมการสู่ขอแต่นิยมการฉุด หรือหนีตามกัน เมื่อทำมาหากินมีเงินทองแล้วจึงไปสู่ขอ และจัดพิธีแต่งงานในคราวเดียวกัน
คำสำคัญ : การหมั้น การแต่งงาน
ที่มา :
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2567). ชนเผ่าม้ง : การหมั้น การแต่งงาน. สืบค้น 20 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2237&code_db=610004&code_type=05
Google search
การละเล่นนางกวักถือเป็นการละเล่นที่ใช้เพื่อความบันเทิงเท่านั้น ปัจจุบันการละเล่นนางกวักได้ ปรากฏอยู่ในวิถีชีวิตของชาวลาวครั่งในพื้นที่ต่าง ๆ จนกลายเป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มชนแต่อาจมีรูปแบบการละเล่น ที่มีความแตกต่างกันไปในรายละเอียด ทั้งนี้จากการ สํารวจข้อมูลเบื้องต้น พบว่าบ้านตําบลคลองลาน อําเภอคลองลาน จังหวัดกําแพงเพชร เป็นชุมชนเล็ก ๆ ที่ได้มีการปฏิบัติและสืบทอดการละเล่นนางด้งและนางกวักมาอย่างยาวนานตามรูปแบบดั้งเดิมมากที่สุดแห่งหนึ่ง อย่างไรก็ตามบทเพลงประกอบการละเล่นนางกวักของชาวบ้านในพื้นที่อําเภอคลองลาน จังหวัดกําแพงเพชรที่สืบทอดต่อกันมาในลักษณะปากเปล่า มิได้มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทําให้ไม่สามารถสืบทราบได้ว่ามีที่มาอย่างไร หรือใครเป็นผู้ริเริ่ม การละเล่นนางกวักนี้ เพียงแต่ทราบว่าได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่า ตายาย
เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้เช้าชม 210
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,499
ลักษณะการแต่งกายของชาวเขา จังหวัดกำแพงเพชร จะมีตัวเสื้อจะเป็นผ้ากำมะหยี่ เสื้อแขนยาวจรดข้อมือ ชายเสื้อจะยาวคลุมเอว ด้านหน้ามีสาบเสื้อสองข้างลงมาตลอดแนว สายเสื้อลงไปยังชายเสื้อ ด้านหลัง มักจะปักลวดลายสวยงามด้วย ปัจจุบันนิยมใส่ซิปลงขอบ สาบเสื้อ เพื่อสะดวกในการใส่ ส่วนกางเกงจะสวมใส่กางเกงขาก๊วย หรือกางเกงจีนเป้าตื้นขาบาน มีลวดลายน้อย และใส่ผ้าพันเอวสีแดง คาดทับกางเกง และอาจมีเข็มขัดเงินคาดทับอีกชั้นหนึ่งด้วยเหมือนกัน
เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 14,555
ในอดีตนั้นม้งนิยมการแต่งงานโดยการฉุดเป็นส่วนมาก การฉุดจะกระทำเมื่อหญิงสาวไม่เต็มใจรับรักชายหนุ่ม จะใช้วิธีการฉุด ซึ่งนำไปสู่การแต่งงานในภายหลัง บิดาทางฝ่ายชายจะหาวิธีในการฉุด และจัดหาคนไปช่วยบุตรชายของตนด้วย การฉุดจะกระทำกันนอกบ้านโดยลวงหญิงรักออกจากบ้านพัก เพราะถ้าฉุดในบ้านถือว่าเป็นการผิดผี จะต้องเสียค่าปรับไหม ฝ่ายหญิงสาวจะไม่ยอมให้ความร่วมมือ และกระทำทุกวิธีทางที่จะให้ญาติช่วยเหลือตนเอง ขณะแย่งชิงกันญาติผู้ใหญ่ทาง ฝ่ายชายจะอ้อนวอนญาติทางฝ่ายหญิงให้ปล่อยหญิงสาวไปกับตนเมื่อตัวหญิงสาวไปถึงบ้านฝ่ายชายแล้วจะถูกจัดให้อยู่ในห้องเดียวกับชายหนุ่มที่ต้องการแต่งงานด้วย
เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 435
ยังไม่มีผู้ใดสามารถสรุปได้ว่าชนชาติม้งมาจากที่ไหน แต่สันนิษฐานกันว่าม้งคงจะอพยพมาจากที่ราบสูงธิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย เข้าสู่ประเทศจีน และตั้งหลักแหล่งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเหลือง (แม่น้ำฮวงโห) เมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว ซึ่งชาวเขาเผ่าม้งจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในมณฑลไกวเจา ฮุนหนำ กวางสี และมณฑลยูนาน ม้งอาศัยอยู่ในประเทศจีนมาหลายศตรรษ จนกระทั่ง ประมาณคริสตศตวรรษที่ 17 ราชวงค์แมนจู (เหม็ง) มีอำนาจในประเทศจีน
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 35,560
พิธีศพที่ครบถ้วนถูกต้องส่งวิญญาณผู้ตายไปสู่สุคติ และควรที่จะตายในบ้านของตน หรือบ้านญาติก็ยังดี เมื่อทราบแน่ชัดว่าบุคคลนั้นใกล้เสียชีวิตแล้ว บรรดาญาติสนิทจะมาชุมนุมพร้อมเพียงกัน เพื่อที่จะได้มาดูแล คนที่ใกล้จะเสียชีวิต ม้งมีความเชื่อว่าการตายในบ้านของตนเองนั้น เป็นผู้มีบุญมาก เพราะได้เห็นลูกหลานของ ตนเองก่อนตาย ผู้ตายจะได้นอนตายตาหลับพร้อมกับหมดห่วงทุกอย่าง เมื่อแน่ใจว่าสิ้นลมหายใจแล้ว ญาติจะยิงปืนขึ้นไปบนฟ้า 3 นัด เป็นสัญญาณบอกว่ามีการตายเกิดขึ้นในบ้านหลังนั้น
เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้เช้าชม 168
นามของชาวเขาเผ่าใหญ่ที่สุดในไทยนั้นเรียกขานกันว่า "กระเหรี่ยง" ในภาคกลาง ส่วนทางเหนือ (คำเมือง) เรียกว่า "ยาง" กะเหรี่ยงในไทยจำแนกออกเป็นพวกใหญ่ๆ ได้สองพวกคือสะกอ และโปว และพวกเล็กๆซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่แถบแม่ฮ่องสอนคือ ป่าโอ และค่ายา ซึ่งเราจะไม่กล่าวถึง ณ ที่นี้ เพราะมีจำนวนเพียงประมาณร้อย ละหนึ่งของประชากรกะเหรี่ยงทั้งหมดในไทย พลเมืองกะเหรี่ยวตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่าและไทย ส่วนใหญ่คือ ร่วมสี่ล้านคนอยู่ในพม่าในไทยสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อปี ๒๕๒๖
เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 6,627
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,552
ชาวเขาเผ่าม้งจังหวัดกำแพงเพชร สืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน จัดกิจกรรมการละเล่นลูกช่วง บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนานรื่นเริงที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร นายสุรพล วาณิชเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานในพิธีเปิดงานสืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน โดยมี พันเอกพิเศษหญิง ศินีนาถ วาณิชเสนี นายกเหล่ากาชาด จังหวัดกำแพงเพชร นายสุนทร รัตนากร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร ประชาชน นักท่องเที่ยว และชาวม้งในอำเภอคลองลาน เข้าร่วมพิธีอย่างคับคั่ง
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,717
กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ หรือเดิมเรียกกันว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง สะกอ หรือยางขาว เรียกตัวเองว่า ปกากะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุดกะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่จัดได้ว่ามีหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา มีการนับถือศาสนาที่ต่างกัน แต่กะเหรี่ยงดั้งเดิมจะนับถือผี เชื่อเรื่องต้นไม้ป่าใหญ่ ภายหลังหันมานับถือพุทธ คริสต์ เป็นต้น กะเหรี่ยง มีถิ่นฐานตั้งอยู่ที่ประเทศพม่า แต่หลังจากถูกรุกรานจากสงคราม จึงมีกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ประเทศไทย กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย กะเหรี่ยงสะกอ หรือที่เรียกนามตัวเองว่า ปากะญอ หมายถึงคน หรือมนุษย์นั้นเอง กะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยมีมิชชันนารีเป็นผู้คิดค้นดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่า ผสมภาษาโรมัน
เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 9,835