ประเพณีตานก๋วยสลาก

ประเพณีตานก๋วยสลาก

เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้ชม 1,290

[16.7557014, 98.4335232, ประเพณีตานก๋วยสลาก]

       ประเพณีตานก๋วยสลาก เป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลได้มีการปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนาน เรื่องมีอยู่ว่ามีนางยักษิณีตนหนึ่งมักจะเบียดเบียน ผู้คนอยู่เสมอ ครั้นได้ฟังธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว นางก็บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธานิสัยใจคอที่โหดร้ายก็กลับเป็นผู้เอื้ออารีแก่คนทั่วไปจนผู้คนต่างพากันซาบซึ้งในมิตรไมตรีของนางยักษิณีตนนั้น ถึงกับนำสิ่งของมาแบ่งปันให้ แต่เนื่องจากสิ่งของที่ได้รับมีจำนวนมาก นางยักษิณีจึงนำสิ่งของเหล่านั้นมาทำเป็นสลากภัต แล้วให้พระสงฆ์/สามเณร จับสลากด้วยหลักอุปโลกนกรรม คือสิ่งของที่ถวาย มีทั้งของของมีราคามากและมีราคาน้อยแตกต่างกันไปตามแต่โชคของผู้ได้รับ การถวายแบบจับสลากของนางยักษิณีจึงนับเป็นครั้งแรกของประเพณีทำบุญสลากภัตในพุทธศาสนา
       ประเพณีตานก๋วยสลาก เป็นการถวายทานโดยไม่เจาะจงผู้รับ จะทำกันตั้งแต่วันเพ็ญเดือน 12 เหนือ(ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ใต้) จนถึงเกี๋ยงดับ (แรม 15 ค่ำ เดือน 11 ใต้)

ความสำคัญ
ประเพณีตานก๋วยสลากเป็นประเพณีในพุทธศาสนาที่สำคัญอย่างหนึ่งในล้านนาไทย ซึ่งสืบเนื่องมาจากค่านิยมที่สืบทอดมาช้านานคือ   
       1. ประชาชนว่างจากภารกิจการทำนา
       2. ประชาชนหยุดพักไม่เดินทางไกลเพราะเป็นฤดูฝน      
       3. พระสงฆ์จำพรรษาอยู่อย่างพรักพร้อม       
       4. ผลไม้มากและกำลังสุก เช่นส้มโอ ส้มเกลี้ยง กล้วย อ้อยฯลฯ    
       5. ได้โอกาสสงเคราะห์คนยากจน เป็นสังฆทาน    
       6. ถือว่ามีอานิสงส์แรง คนทำบุญจะมีโชคลาภ         
       7. มีโอกาสหาเงินและวัสดุบำรุงวัดก๋วยสลากแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ    
           7.1 สลากน้อย หรือก๋วยเล็ก ใช้อุทิศแด่ผู้ตาย หรือเป็นกุศลมากขึ้น             
           7.2 สลากก๋วยใหญ่ หรือสลากโชค หรือเป็นสลากที่บรรจุในก๋วยใหญ่ใช้เป็นมหากุศลสำหรับบุคคลที่มีกำลังศรัทธา และมีเงินทองมาก ทำถวายเพื่อเป็นปัจจัยภายหน้า ให้มีบุญกุศลมากขึ้น

พิธีกรรม 
       พิธีกรรมในประเพณีตานก๋วยสลากมี 2 วัน คือ            
       1. ก่อนทำพิธี"ตานก๋วยสลาก" 1 วัน เรียกว่าวันดาเป็นวันจัดเตรียมสิ่งของเพื่อใส่ในก๋วยสลาก ผู้ชายจะตัดไม้มาจักตอกสลากก๋วย (ชะลอม) ไว้หลายๆ ใบตามศรัทธาและกำลังทรัพย์ ฝ่ายหญิงจะจัดเตรียมสิ่งของที่จะนำมาบรรจุในก๋วย เช่นข้าวสาร พริกแห้ง หอม กระเทียม เกลือ กะปิ น้ำปลา ขนม เมี่ยง บุหรี่ ไม้ขีดไฟ เทียนไข สีย้อมผ้า ผลไม้ รวมทั้งเครื่องใช้ต่าง ๆ แล้วบรรจุลงในก๋วยสลากที่กรุด้วยใบตอง ใบหมากผู้หมากเมีย"ใส่ยอด" คือธนบัตร ผูกติดไม้ เสียบไว้ในก๋วยให้ส่วนยอดหรือธนบัตรโผล่มาแล้วรวบปากก๋วยสลากตกแต่งด้วยดอกไม้ "ยอด" หรือธนบัตรที่ใส่นั้นไม่จำกัดว่าเป็นจำนวนเท่าใด ส่วนสลากโชคหรือสลากก๋วยใหญ่ ของที่นำบรรจุในก๋วยเช่นเดียวกับสลากน้อยแต่ปริมาณมากกว่าหรือพิเศษกว่า สมัยก่อนจะทำเป็นรูปเรือหลังเล็กมีข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น หม้อข้าว หม้อแกง ถ้วยแกงถ้วยชาม เครื่องนอน เครื่องนุ่งห่ม อาหารสำเร็จรูปใส่ไว้ด้วย มีต้นกล้วย ต้นอ้อยผูกติดไว้ "ยอด" หรือธนบัตรจะใส่มากกว่าสลากน้อย ก๋วยสลากทุกอันต้องมี "เส้นสลาก" ซึ่งทำจากใบลานหรือปัจจุบันใช้กระดาษมาตัดเป็นแผ่นยาวๆ เขียนชื่อเจ้าของไว้ และยังบอกอีกว่าจะอุทิศไปให้ใคร เช่น " สลากข้างซองนี้ หมายมีผู้ข้า นาย... นาง ขอทานไปถึงกับตนภายหน้า " หมายถึงถวายทานเพื่อเป็นกุศลแก่ตนเองเมื่อล่วงลับไป และอีกแบบหนึ่ง คือ"สลากข้าวซองนี้ หมายมีผู้ข้านาย.....นาง.....ขอทานไปถึงยังนาย/นาง....(ชื่อผู้ตาย) ผู้เป็น.......(ความเกี่ยวข้องกับผู้ให้ทาน) ที่ล่วงลับ ขอให้ไปรอดไปถึงจิมเต่อ" หมายถึงอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ในวันดาสลาก จะมีญาติพี่น้องเพื่อนฝูงจากหมู่บ้านต่าง ๆ ที่รู้จักมาร่วมทำบุญ โดยนำเงินหรือผลไม้เช่น กล้วย อ้อย ฯลฯ มาร่วมด้วยและช่วยจัดเตรียมสิ่งของใส่ก๋วยสลาก เจ้าภาพต้องเลี้ยงดูอาหาร เหล้ายาและขนม
        2. วันทานสลาก ชาวบ้านนำก๋วยสลากที่จัดทำแล้วไปวัด และเอา"เส้นสลาก" ทั้งหมดไปรวมกันที่หน้าพระประธานในวิหาร จะมีการฟังเทศน์อย่างน้อย 1 กัณฑ์ ผู้รวบรวมสลากมักจะเป็นมัคทายก (แก่วัด) นำเส้นสลากทั้งหมดมารวมกันแล้วแบ่งเส้นสลากทั้งหมด เป็น 3 ส่วน(กอง) ส่วนหนึ่งเป็นของพระเจ้า (คือของวัด) อีก 2 ส่วนเฉลี่ยไปตามจำนวนพระภิกษุสามเณรที่นิมนต์มาร่วมในงานทำบุญ หากมีเศษเหลือมักเป็นของพระเจ้า (วัด) ทั้งหมดพระภิกษุสามเณรเมื่อได้ส่วนแบ่งแล้ว จะยึดเอาชัยภูมิแห่งหนึ่งในวัดและออกสลากคือ อ่านชื่อเส้นสลากดังๆ หรือให้ลูกศิษย์(ขะโยม) ที่ได้ตะโกนตามข้อความที่เขียนไว้ในเส้นสลาก หรือเปลี่ยนเป็นคำสั้น ๆ เช่น ศรัทธา นายแก้ว นามวงศ์ มีนี่เน้อ " บางรายจะหิ้ว "ก๋วย" ไปตามหาเส้นสลากของตนตามลานวัดเมื่อพบสลากของตนแล้วจะเอาสลากของตนถวายพระ พระจะอ่านข้อความในเส้นสลากและอนุโมทนาให้พรแล้วคืนเส้นสลากนั้นให้เจ้าของสลากไป เจ้าของสลากจะนำเส้นสลากไปรวมในวิหาร เมื่อเสร็จแล้วมัคทายกหรือแก่วัด จะนำเอาเส้นสลากนั้นไปเผาหรือทิ้งเสีย

คำสำคัญ : ตานก๋วยสลาก

ที่มา : https://www.m-culture.go.th/tak/ewt_news.php?nid=797&filename=index#:~:text

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ประเพณีตานก๋วยสลาก. สืบค้น 26 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2029&code_db=610004&code_type=TK007

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2029&code_db=610004&code_type=TK007

Google search

Mic

ประเพณีแล้อุปั๊ดตะก่า

ประเพณีแล้อุปั๊ดตะก่า

ประเพณีแล้อุปั๊ดตะก่า หรือ แล้อุ๊๊ดตะก่า เป็นประเพณีแห่รับข้าวพระพุทธของคนเชื้อสายไทยใหญ่ในแม่สอด คำว่า “แล้อุปั๊ดตะก่า” เป็นภาษาไทยใหญ่ หมายถึง คณะอุบาสกแห่รับข้าวพระพุทธจากผู้มีจิตศรัทธาถวายพระพุทธเจ้า ซึ่งจะจัดขึ้นในหนึ่งวันก่อนวันเข้าพรรษาของทุกปีประเพณีนี้เป็นประเพณีของคนท้องถิ่นคนไทยใหญ่ (คนไต) กล่าวคือ คนไทยใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างเดียวและยึดเหนี่ยวจิตใจ ในทุกบ้านทุกหลังคาเรือนจะมีหิ้งพระพุทธรูปไว้ในบ้าน บูชาด้วยดอกไม้สด ธูป เทียน เป็นเครื่องสักการะ และในทุกๆเช้าจะถวายข้าวพระพุทธก่อนอื่นเป็นประจำ โดยถือเป็นกิจวัตรและจะสอนให้ลูกหลานได้ถือประพฤติปฏิบัติตามและสืบทอดจนมาถึงทุกวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 1,154

ประเพณีกินข้าวใหม่ม้ง

ประเพณีกินข้าวใหม่ม้ง

ชาวไทยภูเขาเผ่าม้งปลูกข้าวในช่วงฤดูฝน ได้ออกผลผลิตและทำการเก็บเกี่ยวแล้ว และจะต้องมีการเชิญผู้ที่ชาวม้งเคารพรักนับถือไปร่วมการสืบสานประเพณี “กินข้าวใหม่ ดื่มเหล้าเขาวัว” ในช่วงข้าวใหม่ออกผลผลิต ในช่วงที่เรียกว่า ปลายฝน ต้นหนาว ปลายเดือนตุลาคม-ต้นเดือนพฤศจิกายนของทุก ๆ ปี โดยผู้นำชาวม้งจะมีการนำข้าวใหม่ไปเชิญผู้ที่เคารพนับถือในท้องถิ่นหลายๆท่านเพื่อให้ไปร่วมงานประเพณีดังกล่าว

เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 1,348

ประเพณีกวนข้าวหย่ากุ๊

ประเพณีกวนข้าวหย่ากุ๊

ประเพณีกวนข้าวหย่ากุ๊ หรือประเพณีกวนข้าวหย่าฮู้ เป็นประเพณีท้องถิ่นที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี มีความผู้กพันกับชุมชนและชาวบ้าน ผู้ที่ทำการเกษตรมาเป็นเวลาช้านาน โดยเชื่อว่าหลังจากทำนาหรือหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าเสร็จ จะต้องมีการระลึกถึงบุญคุณของข้าวหรือพระแม่โพสพ ที่ได้คุ้มครองไร่นาของชาวบ้านให้มีข้าวไว้หล่อเลี้ยงชีวิตและเมื่อได้ข้ามาก็จะนำไปถวายวัดเพื่อความเป็นสิริมงคล และข้างนั้นจะต้องเป็นข้างใหม่ ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ชาวไทยใหญ่จึงจัดประเพณีถวายข้าว สืบต่อกันจนถึงปจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 633

งานประเพณีลอยกระทงสองแผ่นดินที่ริมแม่น้ำเมย

งานประเพณีลอยกระทงสองแผ่นดินที่ริมแม่น้ำเมย

เทศบาลตำบลท่าสายลวด จะจัดงานประเพณีลอยกระทงมิตรภาพสองฝั่งเมยไทย-พม่า เป็นประจำทุกปี โดยใช้สถานที่บริเวณหน้าเชิงสะพานมิตรภาพไทย-พม่า ศูนย์การค้าแม่เมยซิตี้ หมู่ 2 ตำบลท่าสายลวด ซึ่งภายในงานชมการแสดงซื้อสินค้า OTOP นานาชนิดและสินค้าราคาถูกต้อนรับฤดูหนาว ชมการแสดงการประกวดร้องเพลงลูกทุ่งไทยเทิดองค์ราชันย์พร้อมหางเครื่อง การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย 4 ภาค ชมมวยไทยปะทะมวยพม่า ตระการตาและตื่นใจกับไฟกระทงไหลขึ้นเหนือ การประกวดนางนพมาศ ไทย-พม่า การแสดงวงโปงลางต่าง ๆ

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 378

งานประเพณีลอยกระทงสองแผ่นดินที่ริมแม่น้ำเมย  เชิงสะพานมิตรภาพไทย- พม่า

งานประเพณีลอยกระทงสองแผ่นดินที่ริมแม่น้ำเมย เชิงสะพานมิตรภาพไทย- พม่า

งานประเพณีลอยกระทงสองแผ่นดินที่ริมแม่น้ำเมย เชิงสะพานมิตรภาพไทย- พม่า ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก สำหรับประเพณีลอยกระทงมิตรภาพสองฝั่งเมยไทย-พม่า เทศบาลตำบลท่าสายลวด จะลอยกระทงแปลกกว่าจังหวัดอื่นๆ โดยจะลอยกระทงจากทิศใต้ไหลขึ้นไปทางทิศเหนือซึ่งเป็นขนบประเพณียาวนานของสองฝั่งเมยของชาวไทยและชาวพม่า

 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2018 ผู้เช้าชม 1,103

ประเพณีกาดสวรรค์

ประเพณีกาดสวรรค์

ประเพณีกาดสวรรค์หรือ ประเพณีตลาดสวรรค์ จัดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ณ วัดแม่ซอดน่าด่าน (วัดหลวง) ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นประเพณีที่มีมาช้านานแล้ว จากแนวคิดและความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่เล่าต่อกันมาว่า หลังจากออกพรรษาแล้ว พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงมาจากสรวงสวรรค์ โดยเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสอง ซึ่งตรงกับวันลอยกระทง ชาวไทยใหญ่จะจัดทำอาหารหวานคาวแห่ไปรอบๆ หมู่บ้านเพื่อให้ทุกคนมาร่วมงาน แล้วจึงทำทำพิธีถวายอาหารแด่พระพุทธในตอนกลางวัน

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 431

ค่าว วรรณศิลป์พื้นถิ่น ในย่านคนลาว(ยวน) ที่หัวเดียด

ค่าว วรรณศิลป์พื้นถิ่น ในย่านคนลาว(ยวน) ที่หัวเดียด

ค่าว คือ กลอน คำประพันธ์พื้นบ้าน ที่ต้องอาศัยความชาญฉลาดของผู้แต่งในด้านคำสัมพันธ์ เสียงเสนอะ และต้องมีความเชี่ยวชาญในด้านภาษาถิ่นด้วย ชุมชนหัวเดียด เป็นชุมชนคนลาวที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของเมืองตาก เคยเป็นย่านที่มีบริษัทค้าไม้ของฝรั่งถึงสองแห่ง จึงทำให้คนลาวย่านหัวเดียดเก่งในด้านกิจการป่าไม้ การล่องซุงไม้สัก และ ทำการทางเรือ ด้วยการนำสินค้าจากภายในย่านและชุมชนโดยรอบ ขนลงเรือชะล่าล่องลงไปขายย่านตลาดลาวที่เมืองปากน้ำโพ เราเรียกพ่อค้าที่ทำกิจการจนมีฐานะว่า "นายฮ้อยเรือ"

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 368

ประเพณีแหล่สางลอง (แห่ลูกแก้ว)

ประเพณีแหล่สางลอง (แห่ลูกแก้ว)

ประเพณีแหล่ส่างลอง หรือพิธีกรรม “แหล่” เป็นคำภาษาไทยใหญ่ แปลว่า แห่ “ส่างลอง” หมายถึง ลูกแก้ว ชาวไทยใหญ่ และชาวไทยใหญ่ผู้นับถือพระพุทธศาสนา ในเขตอำเภอแม่สอด มักจะทำการบวชเณร ซึ่งเป็นลูกแก้วหรือหลานของตนเองในช่วงปิดภาคเรียน ระหว่างเดือนมีนาคม – เดือนเมษายนของทุก ๆ ปี

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 2,841

ประเพณีตานก๋วยสลาก

ประเพณีตานก๋วยสลาก

ประเพณีตานก๋วยสลาก เป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลได้มีการปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนาน เรื่องมีอยู่ว่ามีนางยักษิณีตนหนึ่งมักจะเบียดเบียน ผู้คนอยู่เสมอ ครั้นได้ฟังธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว นางก็บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธานิสัยใจคอที่โหดร้ายก็กลับเป็นผู้เอื้ออารีแก่คนทั่วไปจนผู้คนต่างพากันซาบซึ้งในมิตรไมตรีของนางยักษิณีตนนั้น ถึงกับนำสิ่งของมาแบ่งปันให้ แต่เนื่องจากสิ่งของที่ได้รับมีจำนวนมาก นางยักษิณีจึงนำสิ่งของเหล่านั้นมาทำเป็นสลากภัต แล้วให้พระสงฆ์/สามเณร จับสลากด้วยหลักอุปโลกนกรรม คือสิ่งของที่ถวาย มีทั้งของของมีราคามากและมีราคาน้อยแตกต่างกันไปตามแต่โชคของผู้ได้รับ การถวายแบบจับสลากของนางยักษิณีจึงนับเป็นครั้งแรกของประเพณีทำบุญสลากภัตในพุทธศาสนา

เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 1,290

ประเพณีกวนข้าวทิพย์

ประเพณีกวนข้าวทิพย์

ประเพณีกวนข้าวทิพย์หรือ "ก๋วนข้าวทิพย์" ประจำปี ณ วัดสักทองวนาราม ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นประเพณีที่มีพุทธศาสนิกชนในพื้นที่เข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก เพื่อสืบสานขนบธรรมเนียมให้ประเพณีดังกล่าวอยู่คู่กับท้องถิ่นสืบทอดต่อกันไปชั่วลูกหลานบนพื้นฐานความเป็นคนไทย ซึ่งผู้ที่จะเป็นคนกวนข้าวนั้น จะต้องแต่งชุดขาวห่มขาว เพื่อให้ข้าวที่จะนำไปแจกจ่ายขาวสะอาดและบริสุทธิ์ เป็นข้าวทิพย์ที่ชาวบ้านจะนำไปแบ่งปันกินกันเพื่อความเป็นสิริมงคลประธานชุมชนสักทอง กล่าวว่า ประเพณีกวนข้าวทิพย์ หรือ ชาวบ้านเรียกว่า "ก๋วนข้าวทิพย์" 

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 948