พระนางกำแพง

พระนางกำแพง

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 13,486

[16.4746251, 99.5079925, พระนางกำแพง]

        พระตระกูลนางกำแพง นั้นประกอบด้วย พระกำแพงเม็ดมะลื่น พระนางกำแพงกลีบบัว พระนางกำแพงพิมพ์ลึก พระนางกำแพงพิมพ์ตื้น พระนางกำแพงพิมพ์ลูกแป้ง (เดี่ยว-คู่) พระนางกำแพงฐานตาตาราง พระนางกำแพงเม็ดมะเคล็ด เป็นต้น กรุที่พบมักพบมากในบริเวณทุ่งเศรษฐี ตำบลนครชุม เช่น กรุวัดพิกุล กรุหนองลังกา กรุเจดีย์กลางทุ่ง กรุวัดบรมธาตุ กรุนาตาคำ กรุท่าเดื่อ ทางใต้ของทุ่งเศรษฐีก็ยังพบบริเวณเมืองตรังตรึง เช่น กรุเจดีย์เจ็ดยอด กรุวัดวังพระธาตุ ส่วนทางฝั่งจังหวัดพบที่กรุวัดพระแก้ว กรุวัดป่ามืด กรุวัดอาวาสน้อย กรุวัดอาวาสใหญ่ กรุสี่อิริยาบถ กรุวัดเซิงหวาย กรุวัดช้าง กรุวัดกโลทัย เป็นต้นกรุพระนางกำแพง มีทั้งเนื้อดินเผา เนื้อว่าน เนื้อชินเงิน และเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง เนื้อที่นิยมที่สุดก็เป็นเนื้อดินเผา เนื้อที่หายากก็คือเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง และเนื้อว่าน ส่วนกรุที่เป็นที่นิยมมากที่สุดก็คือกรุวัดพิกุล และกรุวัดบรมธาตุ เนื่องจากมีเนื้อหนึกนุ่มสวยงามมาก พระนางกำแพงเม็ดมะลื่นจะนิยมมากกว่าพระนางกำแพงอื่นๆ สนนราคาก็สูงมากเช่นกัน ต้องว่ากันที่หลักแสนแทบทั้งสิ้น ลดหย่อนตามความสมบูรณ์เป็นหลัก พระนางกำแพงพิมพ์ตื้นแม้ว่าจะพบมากกว่าพระพิมพ์อื่นๆ ในจังหวัดกำแพงเพชร แต่ก็มีสนนราคาสูงพอสมควร ถ้าสวยมีหน้ามีตาก็ต้องอยู่ในหลักแสนต้นๆ เช่นกันครับ สภาพทั่วๆ ไปก็ต้องมีหลักหมื่นครับ ในวันนี้ผมได้นำรูปพระนางกำแพงพิมพ์ตื้น และนางกำแพงกลีบบัว กรุทุ่งเศรษฐี ของคุณเต้ สระบุรี            
        พุทธลักษณะ เป็นพระปางมารวิชัย และปางสมาธิสถิตย์อยู่บนพื้นฐานรูปสามเหลี่ยมทรงเรขาคณิต เช่นเดียวกับพระนางพญาของจังหวัดพิษณุโลก จึงมีผู้เรียกกันว่า “กำแพงนางพญา” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “นางกำแพง” เป็นกรุไหน ก็เรียกตามชื่อกรุนั้น เช่น นางวัดพระบรมธาตุ นางวัดพิกุล นางวัดป่ามืด ฯลฯ เป็นต้น มีทั้งเนื้อชิน ดิน ว่าน และสัมฤทธิ์ก็มีบ้าง แต่มีน้อยมากมีหลายแบบ เช่น
        1.แบบนางเสน่ห์จันทร์ องค์พระคล้ายนางเสน่ห์จันทร์ แต่พระพักตร์ใหญ่อ่อนช้อยและชัดเจนกว่า พระเนตรพระกรรชัดเจน พุทธลักษณะเหมือนพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย เนื้อจัดว่านละเอียดมาก
        2.แบบบัลลังก์แก้ว หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า “นางตาตาราง” คือเป็นรูปอาสนบัลลังก์ก็เป็นรูปตาตาราง จึงเรียกกันว่า “นางตาตาราง”
        3.แบบนางอู่ทอง แบบนี้ก็มีที่เหมือน พระพุทธลักษณะรูปทรงเทริดและแบบที่มีพุทธลักษณะ คางยืดๆ เหมือนพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ก็เรียกกันว่า “นางอู่ทอง”
        4.แบบสกุลนางพญาพิษณุโลก พุทธลักษณะทั่วไปคล้ายกับพระนางพญาพิษณุโลก ผิดกันที่พระพักตร์ และพระเศียร ซึ่งคล้ายไปทางพระพุทธรูป ของสุโขทัยเป็นส่วนมาก
        5.แบบฐานบัว พุทธลักษณะคล้ายกับพระซุ้มยอมีฐานเป็นบัวสองชั้น จึงเรียกกันว่า “นางฐานบัวคู่” หรือ “นางฐานบัวสองชั้น”
        6.แบบหูตุ้ม หรือหูบายศรี พระกรรณเป็นปีกคล้ายกับหูพระพิฆเนศ บางท่านจึงเรียกว่า “หูช้าง” หรือ “หูฤาษี” ตามความเข้าใจ ขนาดแต่ละพิมพ์แต่ละแบบมีขนาดแตกต่างกันไป เช่น นางวัดพิกุล จะสูงประมาณ 2.5 ซม. กว้างประมาณ 1.5 ซม. นางเสน่ห์จันทร์ก็มีขนาดใกล้เคียงกับเสน่ห์จันทร์ของสุโขทัย พุทธคุณ ดีทางเมตตามหานิยม ความเป็นสิริมงคลตลอดจนแคล้วคลาด ก็นับเป็นที่ปรากฏมาแล้ว

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=&pages=2&code_db=DB0003&code_type=

คำสำคัญ : พระเครื่องเมืองกำแพง

ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระนางกำแพง. สืบค้น 20 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=197&code_db=DB0008&code_type=A003

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=197&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด 2 จังหวัด

พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด 2 จังหวัด

เป็นพระพิมพ์แบบเทหล่อแบบครึ่งซีก สัณฐานรูปสี่เหลี่ยมยาว ด้านบนโค้งมน ยอดแหลม ส่วนด้านล่างตัดตรง พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับยืน แสดงปางลีลา เหนืออาสนะเส้นตรง 2 ชั้น ภายในซุ้มเรือนแก้ว รอบซุ้มและฐานประดับด้วยเม็ดไข่ปลา พระเกศเป็นมุ่นเมาลี 2 ชั้น บนสุดมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม พระศกเป็นเม็ดงายาวรีโดยรอบ พระพักตร์เอียงไปด้านซ้าย กลมกลืนกับพระอิริยาบถก้าวย่างพระบาท ปรากฏพระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ชัดเจน ลำพระศอไม่เด่นชัด แต่สร้อยพระศอปรากฏชัดเจน พระอังสากว้าง พระอุระอวบอูมล่ำสัน แต่แฝงความอ่อนช้อยงามสง่าในที ลำพระองค์วาดเว้ากลมกลืนอย่างมีทรงและทอดต่อลงมาจนถึงพระบาท เส้นพระอังสะและชายจีวรอ่อนช้อยแลดูไหวพลิ้ว พระกรข้างซ้ายขององค์พระยกพาดเหนือพระอังสา พระกรข้างขวาทอดแอ่นไปตามลำพระองค์ ส่วนด้านหลังเป็นหลังแบนเรียบปรากฏลายผ้าหยาบๆ

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 2,650

พระสามพี่น้อง

พระสามพี่น้อง

ถ้ากล่าวถึงพระสามพี่น้องนั้น มีอยู่มากมายหลายองค์ด้วยกันพระพุทธรูปบางองค์ได้ชื่อว่าเป็นพระสามพี่น้อง เพราะเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ในจังหวัดเดียวกัน บ้างก็เรียกเพราะสร้างขึ้นมาพร้อมๆ กันเช่นพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศาสดา แต่พระสามพี่น้องที่กล่าวถึงนี้ เชื่อว่าสร้างโดยชายพี่น้องสามคน คนหนึ่งเกิดวันพุธ จึงสร้างพระปางอุ้มบาตร ที่เรารู้จักกันดีในนามหลวงพ่อบ้านแหลม อีกคนเกิดวันพฤหัสจึงสร้างพระปางสมาธิ คือหลวงพ่อโสธร แต่อีกคนไม่ได้สร้างพระประจำวันเกิดแต่สร้างพระเกตุ หรือพระปางมารวิชัย ซึ่งพระปางมารวิชัยองค์นี้แหละที่มีถึงสามวัดที่อ้างว่าเป็นพระพุทธรูปประจำวัดของตนเอง คือหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน หลวงพ่อวัดไร่ขิง และหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา ซึ่งบางคนก็เลยรวมเรียกแบบถนอมน้ำใจเหมารวมหมดเลยว่าพระห้าพี่น้อง

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 6,151

กรุตาพุ่ม

กรุตาพุ่ม

ที่ตั้งกรุพระตาพุ่ม อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดพระบรมธาตุ ไปประมาณ 800 เมตร ประเภทพบที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอมีกนก พิมพ์ใหญ่ พระเทิดขนนก พระเม็ดมะลื่น พระนางพญากำแพงสนิมแดง พระอู่ทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระซุ้มกอดำไม่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระเปิดโลกพิมพ์ใหญ่ พระกลีบบัว พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญาตราตาราง และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 3,543

ประวัติที่มาของพระเครื่อง

ประวัติที่มาของพระเครื่อง

วันศุกร์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 8 พ.ศ. 1900 กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย พระมหาธรรมราชาลิไท พระองค์ทรงเสด็จมาสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุ และทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ (วัดพระบรมธาตุปัจจุบัน) การสถาปนาพระธาตุครั้งนั้นมีพระฤาษี (พระธรรมยุทธิ์ปัจจุบัน) มาร่วมในมหาพิธี 11 ตน ฤาษีทั้งปวงซึ่งมีวิชาอาคมแก่กล้าทั้งสิ้น ในจำนวนฤาษี ซึ่งมีฤาษีตาไฟ ฤาษีตาวัว (หลวงตาไฟหลวงตาวัว) เป็นใหญ่จึงปรึกษากันสร้างเครื่องประดิษฐ์ด้วยฤทธิ์ให้มีอนุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลายเพื่อสร้างถวายมหากษัตรย์ฯ ทรงเสด็จสถาปนาพระธาตุในมหาพิธี พระฤาษีตาไฟจึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวง

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 4,719

กรุวัดหนองลังกา

กรุวัดหนองลังกา

จากบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองกำแพงเพชร ใช้ทางหลวงหมายเลข 101 มุ่งหน้าทางทิศตะวันตกสู่ตำบลนครชุม ประมาณ 850 เมตร จะพบทางแยกเข้าซอยทางด้านซ้ายมือบริเวณตรงข้ามสถานีขนส่งจังหวัดกำแพงเพชร วัดหนองลังกาอยู่ลึกเข้าไปในซอยประมาณ 540 เมตร ที่ตั้งกรุพระวัดหนองลังกา อยู่ทิศตะวันออกของกรุวัดหนองพิกุล ประมาณ 200 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพง พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 2,822

พระลูกแป้งเดี่ยว

พระลูกแป้งเดี่ยว

พระนางกำแพงลูกแป้ง เป็นพระเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ เป็นพระอีกพิมพ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในบรรดาพระเครื่องของเมืองกำแพงเพชร เป็นพระในตระกูลพระนางพญากำแพงเพชรพิมพ์เล็กนั่นเอง พุทธลักษณะเป็นพระปางมารวิชัย ประทับนั่งสมาธิราบบนฐานหนึ่งชั้นและมีเส้นกรอบเป็นเส้นซุ้มรอบรูปสามเหลี่ยม และไม่มีการตัดขอบซึ่งจะต้องมีเส้นซุ้มรอบแบบนี้ทุกองค์ พบขึ้นจากกรุทั้งฝั่งนครชุมและลานทุ่งเศรษฐี ตลอดจนบริเวณที่ใกล้เคียง เช่นที่กรุวัดพิกุล กรุวัดอาวาสน้อย กรุวัดป่ามืด กรุวัดพระบรมธาตุ และกรุวัดพระแก้ว เป็นต้น พระนางกำแพงลูกแป้ง มีหลายพิมพ์ตามจำนวนองค์พระที่ปรากฎรวมกันอยู่ เช่น พระนางกำแพงลูกแป้งเดี่ยว พระนางกำแพงลูกแป้งคู่ พระนางกำแพงลูกแป้งสาม พระนางกำแพงลูกแป้งห้า เป็นต้น ส่วนทางด้านพุทธคุณนั้น เป็นที่ยอมรับการมาอย่างช้านานด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภ

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 9,158

พระเม็ดขนุน

พระเม็ดขนุน

พระลีลาเม็ดขนุนนั้น เป็นพระดินเผา เหมือนพระซุ้มกอ พระนางกำแพง พระพลูจีบ พระกลีบจำปา และพิมพ์อื่นๆ เป็นหลายสิบพิมพ์ เป็นพระดินเผาที่เป็นดินบริสุทธิ์ไม่มีกรวดทรายผสม มีแต่ทรายเงินทรายทองผสมเป็นบางส่วนเท่านั้น เนื้อดินเผาจึงดูนุ่มมีเอกลักษณ์ของพระดินเผา จังหวัดกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 26,429

พระกำแพงกลีบจำปา

พระกำแพงกลีบจำปา

เมื่อได้พูดถึงพระกำแพงพลูจีบไปแล้ว ทำให้นึกถึงพระกำแพงลีลาชั้นนำอีกองค์หนึ่ง ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นพระเครื่องในระดับตำนานที่หาชมของแท้ได้ยากยิ่งนัก พระที่ว่านี คือกำแพงกลีบจำปา พระพิมพ์นี้เป็นปางลีลา ศิลปะสุโขทัยตามแบบฉบับของพระลีลาของกำแพงเพชรสกุลทุ่งเศรษฐี มีฐานรองรับด้วยบัวเล็บช้างสามกลีบ พุทธลักษณะใกล้เคียงกับพระกำแพงเม็ดขนุนมาก ที่ต่างกับพระกำแพงเม็ดขนุนและสามารถแยกแยะง่ายๆ ก็คือ พระกำแพงเม็ดขนุนฐานเรียบ ไม่มีลักษณะเป็นบัว พระกำแพงกลีบจำปาด้านหลังจะเป็นแบบปาดเรียบ ไม่ใช่อูมนูนขึ้นแบบพระกำแพงเม็ดขนุน และขอบข้างจะเป็นลักษณะแบบขอบตัดส่วนพระเม็ดขนุนไม่มีลักษณะที่ว่า หรือถ้าจะว่ากันสั้นๆ ก็คือ ถ้ามีลักษณะบางคือ กำแพงกลีบจำปา ถ้าอูมหนาก็คือกำแพงเม็ดขนุน มีหลักฐานว่าพระกำแพงกลีบจำปาพบครั้งแรกที่วัดพระบรมธาตุ เมื่อ พ.ศ. 2392 พร้อม ๆ กับการพบพระกำแพงเม็ดขนุน แต่พบน้อยมาก ที่นักนิยมพระในยุคเก่าท่านพากันเรียกว่าพระกำแพงกลีบจำปาเพราะมีสัณฐานบาง เรียวแบน ปลายแหลมเรียวมน และมีสีเหลืองเข้มคล้ายดอกจำปา

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 12,252

กรุอาวาสน้อย

กรุอาวาสน้อย

ที่ตั้งกรุพระวัดอาวาสน้อย เข้าทางตรงข้ามกรุอาวาสใหญ่ไปประมาณ 800 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระฝักดาบ พระลีลากำแพง พระเชยคางข้างเม็ดพิมพ์กลาง พระประธานพร พระท่ามะปราง พระนางพญาพิมพ์ใหญ่ พระเปิดโลก พระกำแพงขาโต๊ะ พระกำแพงฐานสำเภา พระกำแพงคืบ พระลีลากำแพง พระลีลาพิมพ์ใหญ่-กลาง พระประธานพร พระกำแพงขาวพิมพ์กลาง พระยอดขุนพล พระนางพญาพิมพ์สดุ้งมาร พระซุ้มยอ พระกำแพงขาโต๊ะ พระกำแพงพิมพ์รัศมี พระกำแพงห้าร้อย และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 4,108

พระกำแพงซุ้มกอ ว่านหน้าทอง

พระกำแพงซุ้มกอ ว่านหน้าทอง

พระกำแพงซุ้มกอ ถือกันว่า เป็นพระเครื่องชั้นสูง อันเป็นที่นิยมสูงสุดของพระกำแพงทั้งหลายและได้ถูกจัดเข้าอยู่ในชุดพระเครื่องที่เรียกกันว่า เบญจภาคี มีหลักฐานปรากฏว่าเป็นพระที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์ พระกำแพงซุ้มกอ พบทั้งแบบที่เป็นเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ เนื้อชิน เนื้อที่ถือว่าเป็นพระสำคัญชั้นสูง คือ เนื้อ ที่ทำด้วยว่าน มีแผ่นทองคำ ประกบไว้ด้านหน้าซึ่งคนเฒ่าคนแก่และนักนิยมพระกำแพงในยุคเก่าเรียกกันว่า พระว่านหน้าทอง พระว่านหน้าทอง สร้างขี้นน้อยมาก นอกจากจะน้อยมากแล้วพระที่พบมักจะชำรุดเป็นส่วนใหญ่ หาพระที่สมบูรณ์ยากมาก ในยุคเก่าถือกันว่าเป็นพระชั้นสูงสร้างขึ้นสำหรับท้าวพระยา และแม่ทัพ นายกอง

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 11,829