พระนาคปรกยืน ศิลปะทวาราวดี

พระนาคปรกยืน ศิลปะทวาราวดี

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 3,696

[16.4746251, 99.5079925, พระนาคปรกยืน ศิลปะทวาราวดี]

        ปรกติพระนาคปรกที่มีชื่อเสียง และมีมากกรุต้องยกให้จังหวัดลพบุรี เช่น พระนาคปรก กรุวัดปืน และวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ส่วนพระนาคปรกที่ทุกๆ ท่านเห็นอยู่นี้ เป็นพระนาคปรกศิลปะทวาราวดี และที่สำคัญเป็นพระนาคปรกยืนซึ่งปรกติพระนาคปรกนั่งศิลปะทวาราวดีก็หายากมากอยู่แล้ว ส่วนพระนาคปรกยืน ศิลปะทวาราวดีก็ยิ่งหายากเข้าไปใหญ่พระนาคปรกยืนศิลปะทวาราวดีองค์นี้ เป็นพระเนื้อตะกั่วสนิมแดงแซมไขขาว ขนาดความสูง 4.5 เซนติเมตร พระนาคปรกองค์นี้ เจ้าของเดิมขุดได้ที่จังหวัดนครปฐม ผู้เขียนสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นศิลปะทวาราวดียุคแรกๆ เพราะพระศิลปะทวาราวดียุคแรกๆ จะแกะแม่พิมพ์ไม่ว่าจะเป็นพระบูชาหรือพระเครื่องจะแกะแม่พิมพ์ไม่ได้สัดส่วน เช่น มือและเท้าจะใหญ่โตเกินความเป็นจริง จึงทำให้ศิลปะดูแข็งกระด้างไปสภาพพิมพ์โดยทั่วไปเป็นพระนาคปรกแบบ 7 เศียร ใบหน้าพระจะติดชัดเจน มือสองข้างจะใหญ่มากอยู่บริเวณหน้าอก หงายฝ่ามือออก จีบนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ทั้งสองข้าง แต่เนื่องจากเป็นพระขนาดเล็ก จึงหล่อออกมาติดกันเป็นพรืด ปางยืนองค์นี้ถ้าไม่มีนาคปรกด้านหลัง จะเรียกว่า “ปางเสด็จจากดาวดึงส์” ส่วนเท้าก็ใหญ่มากทั้งสองข้าง พื้นผิวทั่วไปเป็นผิวสนิมสีน้ำตาลมีจุดแดงบ้างบางแห่ง ปกคลุมผิวบนด้วยไขขาว มีผิวทองเก่าตามซอกเล็กน้อยสรุปพระนาคปรกยืนศิลปะทวาราวดีองค์นี้ เป็นพระสวย สภาพสมบูรณ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จัดเป็นพระที่หายากมากๆ องค์หนึ่งในปัจจุบัน

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=147&code_db=DB0003&code_type=P003

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระนาคปรกยืน ศิลปะทวาราวดี. สืบค้น 20 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=196&code_db=DB0014&code_type=F002

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=196&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

พระกำแพงกลีบจำปา ว่านหน้าทอง

พระกำแพงกลีบจำปา ว่านหน้าทอง

พระกำแพงพลูจีบองค์นี้เป็นพระที่พบจากกรุวัดกระแก้ว ในบริเวณอุทธยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ในคราวบูรณะเมื่อ ปี พ.ศ. 2520 เป็นที่ทราบกันว่า พระว่านหน้าทองที่พบจากวัดพระแก้ว เป็นพระที่ลงกรุโดยบรรจุอยู่ในภาชนะอีกทีหนึ่งจึงยังคงสภาพสวยงามสมบูรณ์ อ.สันติ อภัยราช วัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร เขียนเล่าในคราวที่พบกรุพระว่านหน้าทองครั้งนี้ ว่า “ มีพระเครื่องที่เรียกกันว่าพระว่านหน้าทองจำนวนมาก และพระว่านหน้าทองทั้งหมด ได้หายไปจากกำแพงเพชรเกือบทั้งสิ้น เพียงไม่ข้ามวัน สนนราคาเช่ากันขณะร้อนๆ เพียงเลข ห้าหลัก ปัจจุบันบางส่วนอยู่ในมือคหบดี พ่อค้า ที่หักคอผู้พบไป... ปัจจุบันราคาอยู่ที่ เลขหกหลัก “

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 5,588

กรุวัดดงหวาย

กรุวัดดงหวาย

ที่ตั้งกรุพระวัดดงหวาย ดูริมถนนกำแพงพรานกระต่าย จากศาลเจ้าพ่อหลักเมืองไปประมาณ 500 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระเปิดโลก พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพงพิมพ์กลาง พระนางพญากำแพงเพชรพิมพ์เล็ก พระซุ้มยอพิมพ์ใหญ่-เล็ก พระเชตุพนบัวสองชั้น พระนางพญากำแพงเศียรโตพิมพ์ใหญ่ พระกำแพงคืบ และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 3,024

พระนาคปรกยืน ศิลปะทวาราวดี

พระนาคปรกยืน ศิลปะทวาราวดี

พระนาคปรกที่มีชื่อเสียง และมีมากกรุต้องยกให้จังหวัดลพบุรี เช่น พระนาคปรก กรุวัดปืน และวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ส่วนพระนาคปรกที่ทุก ๆ ท่านเห็นอยู่นี้ เป็นพระนาคปรกศิลปะทวาราวดี และที่สำคัญเป็นพระนาคปรกยืนซึ่งปรกติพระนาคปรกนั่งศิลปะทวาราวดีก็หายากมากอยู่แล้ว ส่วนพระนาคปรกยืน ศิลปะทวาราวดีก็ยิ่งหายากเข้าไปใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 3,696

พระกำแพงขาว

พระกำแพงขาว

พระกำแพงขาว เป็นพระปางลีลา ศิลปะสุโขทัย สกุลช่างกำแพงเพชร สาเหตุที่เรียกว่า พระกำแพงขาว เพราะว่าตอนขึ้นจากกรุใหม่ ๆ มีคราบฝ้าของกรุและปรอทจับตามองค์พระ คนรุ่นเก่าจึงเรียกว่า พระกำแพงขาวพระกำแพงขาว จัดว่าเป็นพระเอกลักษณ์ของเมืองกำแพงเพชรทีเดียว เพราะนอกจากเป็นฝีมือของช่างสกุลกำแพงเพชรแล้ว ในด้านพุทธคุณ พระกำแพงเพชรมีชื่อเสียงกระฉ่อนและโด่งดัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแคล้วคลาด เมตตา และด้านโภคทรัพย์

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 6,239

พระปิดตา “สี่ทิศ”

พระปิดตา “สี่ทิศ”

พระปิดตาสี่ทิศ กรุวัดคูยาง จังหวัดกำแพงเพชร สร้างเมื่อปี พ.ศ.2445-2448 โดยพระครูธรรมาธิมุติมุนี (สมภารกลึง) เจ้าอาวาสวัดคูยาง สร้างแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งถวาย รัชกาลที่ 5 ครั้งเมื่อเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร และอีกส่วนหนึ่งบรรจุพระเจดีย์ยอดปรางค์ เป็นเนื้อดินละเอียดมีคราบรารัก มีว่านดอกมะขามใกล้เคียงพระกรุทุ่งเศรษฐี รูปทรงกลม หลังอูม มีรูปพระปิดตาสี่องค์ (ประจำสี่ทิศ) พระที่ขึ้นกรุนี้มีมากกว่า 30 พิมพ์ ส่วนใหญ่ใช้พระกรุเก่าทุ่งเศรษฐีกดพิมพ์ เช่น พิมพ์ซุ้มกอ นางแขนอ่อน ลีลาเขย่ง ซุ้มยอ เปิดโลกฯลฯ

เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 10,079

ประวัติและตำนานการเปิดกรุ

ประวัติและตำนานการเปิดกรุ

พระเครื่องสกุลพระกำแพงทุ่งเศรษฐีมีตำนานชัดเจนกรุและปีที่สร้าง ได้พบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุมเหตุการณ์ที่ค้นพบพระเครื่องเป็นจำนวนมากนี้ มีบันทึกประวัติไว้ว่า เมื่อปีระกา จุลศักราช 1211 (ตรงกับพ.ศ. 2392) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังฯ ได้ขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณมีอยู่ที่วัดเสด็จฝั่งเมืองกำแพงเพชร ได้ความว่ามีพระเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า อยู่ริมลำน้ำปิงฝั่งตะวันตก 3 องค์ชำรุดทั้งหมด พระยากำแพง (น้อย) เป็นเจ้าเมืองในขณะนั้น ได้ทำการค้นหาจนพบพระเจดีย์ทั้ง 3 องค์ ตามที่ปรากฏในศิลาจารึก พระเจดีย์องค์กลางใหญ่สุด ซึ่งบรรจุพระบรมธาตุ ขณะรื้อพระเจดีย์ทั้ง 3 องค์นั้น ได้พบกรุพระพิมพ์สกุลทุ่งเศรษฐีแบบต่างๆ จำนวนมาก 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 6,254

พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร

พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร

พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนเมื่อ พ.ศ. 2449 ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ประมาณ พ.ศ. 1279 จากหลักฐานการศึกษา เทียบเคียงทั้งหลายมีข้อสันนิษฐาน ที่น่าเชื่อถือได้โดยสรุปว่า พระซุ้มกอกำแพงเพชรนั้น สร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งดำรงพระยศผู้ครองเมืองชากังราว ในฐานะเมืองหน้าด่านสำคัญของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนที่จะทรงได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัยและปลุกเสกโดยพระฤๅษี ดังนั้นอายุการสร้างของพระซุ้มกอกำแพงเพชรจนถึงปัจจุบันจึงมีประมาณ 700-800 ปี สถานที่ขุดค้นพบบริเวณฝั่งตะวันตกของลำแม่น้ำปิง จ.กำแพงเพชร เป็นบริเวณทุ่งกว้างที่มีชื่อว่า “ลานทุ่งเศรษฐี” หรือโบราณเรียกว่า “เมืองนครชุมเก่า” บริเวณลานทุ่งเศรษฐีอันกว้างใหญ่นี้ ปรากฏซากโบราณสถานอยู่มากมาย เป็นชื่อวัดนับสิบกว่าวัดด้วยกัน พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนก 

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 6,840

กรุวัดพระสิงห์

กรุวัดพระสิงห์

วัดพระสิงห์ เป็นวัดขนาดย่อมยังไม่ได้ขุดแต่งและบูรณะ สันนิษฐานว่าใช้เวลาสร้างถึง 2 สมัย คือ สมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา กำแพงเป็นศิลาแลงโดยรอบ ภายในเป็นฐานเจดีย์มีซุ้มพระ 4 ทิศ ฐานเจดีย์กว้าง 11 เมตรสี่เหลี่ยม มีเจดีย์ราย 4 มุม ด้านหน้าเจดีย์ใหญ่มีฐานโบสถ์กว้าง 15 เมตร ยาว 30 เมตร ตั้งอยู่บนฐานอีกชั้นหนึ่งซึ่งกว้าง 23 เมตร ยาว 42 เมตร ด้านทิศใต้มีฐานวิหารใหญ่ 1 วิหาร และขนาดย่อมอีก 1 วิหาร ภายในวัดมีบ่อน้ำ 2 บ่อ เป็นบ่อกรุ ด้วยศิลาแลง ที่ตั้งกรุพระวัดสิงห์ อยู่ทิศเหนือของกรุพระวัดป่ามืดประมาณ 500 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระนางเสน่ห์จันทร์ พระอู่ทองกำแพง พระนางพญากำแพง และพิมพ์อื่นๆ 

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,483

กรุวัดกระโลทัย

กรุวัดกระโลทัย

ที่ตั้งกรุพระวัดกระโลทัย อยู่ถนนลำมะโกรก หลังโรงเเรียนจงสวัสดิ์วิทยา จากรั้วโรงเรียนไปประมาณ 30 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระกำแพงขาวพิมพ์กลางสนิมตีนกา พระกำแพงห้าร้อย พระกำแพงคืบ พระโพธิ์บัลลังก์ พระสิบชาติ พระนางพญากำแพง พระงบน้ำอ้อย พระนารายณ์ทรงปืน พระซุ้มกระรอกกระแต พระสิบชาตินารายณ์แปรง และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 3,661

ประเภทของพระเครื่องกำแพงเพชร

ประเภทของพระเครื่องกำแพงเพชร

 พระเครื่อง พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่มีกระหนก (กระหนกหมายถึงลวดลาย) พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ไม่มีกระหนก (ซุ้มกอดำ) และพระกำแพงลีลาเม็ดขนุน พระยอดนิยมของพระเครื่องจังหวัดกำแพงเพชร พระเครื่องกำแพงเพชร มีมากมายหลายชนิดเรียกชื่อต่าง ๆ กันเช่น เรียกชื่อตามสถานที่ หรือกรุที่พระเครื่องบรรจุอยู่ เช่น กำแพงทุ่งเศรษฐีใช้เรียกชื่อพระเครื่องทุกชนิดที่ได้จากบริเวณเมืองเก่าฝั่งตะวันตกที่เรียกกันว่า “ทุ่งเศรษฐี”และวงการนักพระเครื่องทั่วไปเมื่อกล่าวถึงพระกำแพงเพชรหรือพระที่อื่นคล้ายพระกำแพงเพชร ก็เติมคำว่า“กำแพง”ลงข้างหน้า ชื่อพระนั้น ๆ เช่น เรียกพระลีลาศ(เดิน)ของจังหวัดกำแพงเพชรว่า“กำแพงเขย่ง”เรียกพระสุพรรณว่า“กำแพงเขย่งสุพรรณ”พระกำแพงเพชรที่มีลักษณะคล้ายกับพระอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงมาก่อนเรียกชื่อตามนั้น เช่น กำแพงท่ามะปราง  เรียกชื่อตามพุทธลักษณะอาการขององค์พระ เช่น กำแพงลีลาศ (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า“กำแพงเขย่ง”)เพราะดูอาการ เดินนั้นเหมือนเขย่งพระบาทข้างหนึ่ง) กำแพงประทานพร กำแพงนาคปรก เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 4,871