วีรบุรุษพระวอ

วีรบุรุษพระวอ

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้ชม 5,090

[16.7555144, 98.5736416, วีรบุรุษพระวอ]

     ก่อนที่จะถึงอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ประมาณ 17 กิโลเมตรก็จะเป็นสถานที่สำคัญยิ่งของชาวอำเภอแม่สอด คือ ศาลเจ้าพ่อพะวอ มงคลสถานศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

     กว่าสองร้อยปีมาแล้วที่ ศาลเจ้าพ่อพะวอ ตั้งตระหง่านอยู่บนขุนเขาผาวอ เทือกเขาถนนธงชัยเป็นที่เคารพสักการะของชนทั่วไป ผู้ที่ผ่านสัญจรไปมาต้องแวะกราบไหว้เสมอ ศาลเจ้าพ่อพะวอ อนุสาวรีย์ที่สร้างขึ้น ด้วยความเคารพศรัทธาปสาทะอย่างแรงกล้า ต่อวีรบุรุษชาตินักรบชาวกะเหรี่ยงปกากะญอ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองอันเป็นที่เคารพอย่างสูงสุด ของชาวอำเภอชายแดนซีกตะวันตกสุดของจังหวัดตาก

     ดินแดนประจิมของไทยโดยเฉพาะ 5 อำเภอชายแดนตะวันตกสุดของจังหวัดตาก ผู้คนทั่วไปส่วนมากเคารพนับถือ ท่านเจ้าพ่อพะวอ และ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสมือนหนึ่งเป็นศูนย์รวมใจของผู้คนทั่วไป ที่เคารพเทิดทูน ในดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของท่านเจ้าพ่อ พะวอ และดวงวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ถึงพระวีรกรรมอันห้าวหาญและความเสียสละของท่านอย่างทรงพลัง ที่สมควรแก่การยกย่องเทิดทูนบูชา เมื่อสมัยเกือบร้อยปีมาแล้วมีการสร้างศาลเล็ก ๆ แล้วอัญเชิญดวงวิญญาณของท่านเจ้าพ่อพะวอสิงสถิต ณ เชิงเขาซึ่งอยู่ฟากฝั่งของขุนเขาซึ่งเป็นเส้นทางเดินทัพสมัยโบราณ กาล

     ต่อมาในราวปี พ.ศ. 2507 ทางหลวงสายตาก – แม่สอด กำลังก่อสร้างอยู่ พ่อค้าข้าราชการและประชาชนทั่วไปได้ร่วมกันสร้างขึ้นใหม่ เป็นศาลจตุรมุข โดยอัญเชิญดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของท่านเจ้าพ่อพะวอ และผู้กล้าหาญทั้งหลาย จากศาลเดิมเชิงเขาด้านทิศเหนือมายังเชิงเขาทางด้านทิศใต้ของขุนเขา ดังที่ทุกท่านเห็นในปัจจุบันนี้ พร้อมกันสร้างรูปจำลองของท่านขนาดเท่าองค์จริงด้วยทองสำริด อัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ณ ศาลเจ้าพ่อพะวอมาตราบเท่าทุกวันนี้

     ผาวอขุนเขางามที่สูงเสียดฟ้า เสมือนป้อมปราการและหอคอย ที่สามารถมองเห็นการเดินทัพของข้าศึกในสมัยโบราณเป็นอย่างดี เป็นปราการหินที่สูงตระหง่าน ดุจประตูเมืองที่แข็งแกร่ง บริเวณศาลเจ้าพ่อพะวอหลังเดิม คือ ที่ตั้งของด่านแม่ละเมาที่ท่านและไพล่พลจำนวนหนึ่งคอยดูแลรักษา หาข่าวแจ้งเหตุไปยังเมืองตาก และเมืองระแหงอีกทอดหนึ่ง เมื่อมีเหตุหรือข้าศึกศัตรูรุกล้ำแดนมา

     ด่านแม่ละเมา เป็นด่านแรกของไทย เป็นเส้นทางเดินทัพ และเส้นทางการค้าในสมัยโบราณนับพัน ๆ ปีมาแล้ว การที่พม่าจะยกทัพมาตีไทย จะเดินทัพมาได้เพียงสองทางเท่านั้นคือ เมื่อเคลื่อนทัพจากกรุงหงสาวดีมาแล้ว จะมาตั้งชุมนุมจัดกระบวนทัพที่เมืองเมาะตะมะ แล้วเดินเลาะเลียบเชิงเขาตะนาวศรีผ่านด่านแม่ละเมา ทางหนึ่ง กับยกทัพข้ามช่องแคบที่แม่น้ำกษัตริย์ หรือที่เรียกกันว่า ด่านเจดีย์สามองค์ อีกทางหนึ่ง ด่านเจดีย์สามองค์เป็นทางตรง พม่าจะใช้เวลาเดินทัพเพียง 15 วัน สามารถโจมตีกรุงศรีอยุธยาได้เลย แต่ทัพของพม่าเห็นว่าจะไม่ค่อยปลอดภัย เพราะกลัวทัพไทยจากหัวเมืองฝ่ายเหนือยกลงมาตีกระหนาบได้ การที่ยกทัพผ่านด่านแม่ละเมาก็เพื่อตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ เพื่อตัดกำลังฝ่ายเหนือเสียก่อนแล้วค่อยยกทัพไปตีกรุงศรีอยุธยา

    เจ้าพ่อพะวอเป็นชายชาตินักรบชาวกะเหรี่ยง ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงแต่งตั้งให้มีศักดิ์ฐานะเป็นนายด่านแม่ละเมา เมืองหน้าด่านของไทย ในรัชสมัยของพระองค์ท่าน คอยดูแลรักษาหาข่าวแจ้งเหตุ เมื่อมีเหตุหรือข้าศึกศัตรูรุกล้ำแดนมาลุถึง..ปีมะแมสัปตศกพุทธศักราช 2318 (31 ตุลาคม) กองทัพข้าศึกเคลื่อนทัพมายังไทยเพื่อเข้าตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ ท่านเจ้าพ่อพะวอนำกำลังไพร่พลที่มีเพียงหยิบมือเดียว เข้าหาญปะทะกับข้าศึกศัตรูอย่างกล้าหาญ และเด็ดเดี่ยว ทุกท่านได้ต่อสู้กับข้าศึกศัตรูจนถึงแก่ชีวิต ทุกคน ณ ยุทธภูมิด่านแม่ละเมา กลายเป็นตำนานเล่าขานถึงวีรกรรม ความเสียสละชีพเพื่อปกป้องอธิปไตยของไทย และปกปักรักษาผืนแผ่นดินไทยไว้อย่างหวงแหน วิญญาณของท่านได้วนเวียนสถิต เป็นเทพยดารักษาเมืองมาตราบเท่าทุกวันนี้ ความศักดิ์สิทธิ์และอำนาจบารมีของท่าน ผู้คนจากทุกสารทิศต่างหลั่งไหล แวะเวียนมากราบไหว้บูชามิได้ขาด กล่าวกันว่าท่านเจ้าพ่อพะวอ สามารถดลบันดาลความสุข ความสำเร็จ ความนิรันตรายทั้งปวงได้อย่างปาฏิหาริย์ และอัศจรรย์ที่สุด มีเรื่องเล่าว่า ในสมัยที่บ้านเมืองยังไม่พัฒนาและเจริญเหมือนทุกวันนี้ หากมีเหตุอันตราย หรือ มีภัยพิบัติกับราษฎรแถบถิ่นนี้ มักจะได้ยินเสียงแผดคำรามของ อาม๊อก หรือที่ชาวบ้านเชื่อว่าเป็น ปืนหิน ที่อยู่บนชะง่อนผาขุนเขาผาวอเป็นอัศจรรย์ ทำนองเดียวกันของวันนั้นในยามค่ำคืน จะได้ยินเสียงฝีเท้าม้าวิ่งรอบ ๆ ตัวเมืองและหมู่บ้านต่าง ๆ ผสานกับเสียงพรวนที่ผูกติดด้วย

     พะวอ เป็นชื่อของชนชาติกะเหรี่ยง คำนำหน้าว่า พะ ก็คือ นาย คำว่า วอ อาจจะแผลงมาจาก วา แปลว่า ขาว หรือ นายขาว พะวา อาจจะเพี้ยนเสียงมาเป็น พะวอ เมา เป็นขุนเขาที่มีรูโหว่เป็นโพลง รูปจำลองของท่านเจ้าพ่อพะวอ บ่งบอกถึงลักษณะของชายชาตินักรบ ชุดแต่งกายที่สมเกียรติศักดิ์ศรี จากบุคลิกภาพของท่าน แสดงถึงเอกลักษณ์ของนักรบโบราณ ใบหน้าเครียดขึงขังดุดัน เรือนกายกำยำสูงใหญ่ ถือง้าวเป็นอาวุธคู่กาย แต่แววตาแฝงด้วยความเมตตาปรานี ด้วยเหตุที่ท่านเป็นนักรบโบราณ จึงชอบเสียงปืนและประทัดมาก จึงมีผู้ยิงปืนและจุดประทัดถวายทุกครั้ง หรือไม่ก็จะบีบแตร แสดงความคารวะเมื่อสัญจรผ่านไปมา แม้จะล่วงลับไปนานกว่าสองร้อยปี แต่วีรกรรมอันห้าวหาญของท่าน เป็นการประกาศศักดิ์ศรี ให้อนุชนทั่วไปได้รับรู้ และจะเป็นตำนานเล่าขานสืบต่อไปยังอนุชนรุ่นหลัง ให้ยึดถือเป็นแบบอย่าง สักขีพยานที่บ่งบอกถึงความศรัทธาอย่างแรงกล้า ของอนุชนทั่วไป ก็คือ ความเคารพศรัทธาอย่างแนบแน่น ที่ไม่มีวันเสื่อมคลายนั่นเอง

คำสำคัญ : วีรบุรุษพระวอ, บุคคลสำคัญ

ที่มา : http://historicallanna01.blogspot.com.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). วีรบุรุษพระวอ. สืบค้น 29 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1830&code_db=610001&code_type=TK007

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1830&code_db=610001&code_type=TK007

Google search

Mic

วีรบุรุษพระวอ

วีรบุรุษพระวอ

พะวอ เป็นชื่อของชนชาติกะเหรี่ยง คำนำหน้าว่า พะ ก็คือ นาย คำว่า วอ อาจจะแผลงมาจาก วา แปลว่า ขาว หรือ นายขาว พะวา อาจจะเพี้ยนเสียงมาเป็น พะวอ เมา เป็นขุนเขาที่มีรูโหว่เป็นโพลง รูปจำลองของท่านเจ้าพ่อพะวอ บ่งบอกถึงลักษณะของชายชาตินักรบ ชุดแต่งกายที่สมเกียรติศักดิ์ศรี จากบุคลิกภาพของท่าน แสดงถึงเอกลักษณ์ของนักรบโบราณ ใบหน้าเครียดขึงขังดุดัน เรือนกายกำยำสูงใหญ่ ถือง้าวเป็นอาวุธคู่กาย แต่แววตาแฝงด้วยความเมตตาปรานี ด้วยเหตุที่ท่านเป็นนักรบโบราณ จึงชอบเสียงปืนและประทัดมาก จึงมีผู้ยิงปืนและจุดประทัดถวายทุกครั้ง หรือไม่ก็จะบีบแตร แสดงความคารวะเมื่อสัญจรผ่านไปมา

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 5,090

มะหน่อ ดรุณีแห่งลุ่มน้ำสาละวิน

มะหน่อ ดรุณีแห่งลุ่มน้ำสาละวิน

จังหวัดตากมีพื้นที่ติดต่อกับประเทศพม่า ทางด้านอำเภอฝั่งตะวันตกของเมือง และมีการติดต่อสังพันธ์กันมายาวนานทั้งในด้านการค้ากองคาราวาน และเมืองตากยังตั้งอยู่ใกล้เมืองมะละแหม่ง ซึ่งเป็นเมืองท่าที่สำคัญของรัฐมอญในอดีตอีกด้วย จึงทำให้คนตากใกล้ชิดกับชาวพม่ามากทีเดียว โดยเฉพาะในช่วงหลังมานี้ ชาวพม่าทยอยอพยพเข้ามาเป็นแรงงานในตัวอำเภอแม่สอด และยังลงมายังตัวเมืองตากอีกด้วย คนตากมักเรียกสาว ๆ ดรุณีชาวเมียวดี ที่เข้ามาเป็นลูกจ้างทำงานในเมืองตาก ด้วยสรรพนามเฉพาะถิ่นว่า มะหน่อ บ้าง หน่อบ้าง ซึ่งคำสรรพนามนี้ไม่เห็นเมืองอื่นเขาใช้กันนอกจากที่บ้านเรา นี้อาจจะเป็นเอกลักษณ์ทางภาษาถิ่นก็เป็นไปได้

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 699

ประวัติอำเภอแม่สอด

ประวัติอำเภอแม่สอด

อำเภอแม่สอดเป็นอำเภออยู่ทางซีกตะวันตก (ของแม่น้ำปิง) ของจังหวัดตาก ประวัติความเป็นมามีหลักฐานว่าเมื่อประมาณ 120 ปีที่ล่วงมา (ประมาณปี พ.ศ. 2404 – 2405) บริเวณที่ตั้งอำเภอหรือชุมชนใหญ่ของอำเภอในปัจจุบันนี้ ได้มีชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงตั้งถิ่นฐานทำมาหากิจอยู่ เรียกชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านพะหน่อแก” ต่อมามีคนไทยจากถิ่นอื่นหลายท้องที่ทางภาคเหนือ พากันอพยพลงมาทำมาหากิจในบริเวณหมู่บ้านนี้เป็นจำนวนมาก และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ชาวกะเหรี่ยงเจ้าของถิ่นฐานเดิมซึ่งไม่ชอบอยู่ปะปนกับชนเผ่าอื่นต้องพากันอพยพไปอยู่ที่อื่น หมู่บ้านแห่งนี้ได้เจริญขึ้นตามลำดับ จนทางราชการได้ย้ายด่านเก็บภาษีอากรจากบ้านแม่ละเมา มาอยู่ที่หมู่บ้านพะหน่อแกแห่งนี้ จนถึงปี พ.ศ. 2441 ทางราชการจึงได้ยกฐานะหมู่บ้านขึ้นเป็นอำเภอ เรียกชื่อว่า “อำเภอแม่สอด” ให้อยู่ในเขตปกครองของมณฑลนครสวรรค์ ต่อมาเมื่อมีการมีการ ปรับปรุงแก้ไขระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค อำเภอแม่สอดจึงได้เปลี่ยนมาขึ้นกับจังหวัดตาก

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 4,757

ศาลเจ้าขุนสามชน

ศาลเจ้าขุนสามชน

ศาลเจ้าขุนสามชน กล่าวกันว่าเหตุที่สร้างศาลแห่งนี้สืบเนื่องจากคหบดีผู้หนึ่งได้เจ็บป่วยด้วยโรคอัมพาตมาช้านาน จนมีผู้มาเข้าฝันบอกให้สร้างศาลแห่งนี้ขึ้นตรงพื้นที่ในปัจจุบัน ท่านจึงได้สร้างศาลถวาย และเรียกว่าศาลเจ้าพ่อขุนสามชน นับแต่นั้นมา อาการของคหบดีผู้นั้นก็หายเป็นปลิดทิ้ง เมื่อเรื่องราวนี้ได้แพร่กระจายออกไป ชาวบ้านจึงพากันเดินทางเข้ามาสักการะ และให้ความเคารพศาลนี้กันอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง อย่างไรก็ตาม ศาลเจ้าพ่อขุนสามชนแห่งนี้ มีที่มาที่เกี่ยวพันกับตำนานพ่อขุนสามชน เจ้าเมืองฉอดในอดีตซึ่งก็คืออำเภอแม่ระมาดในปัจจุบัน 

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 1,133