มะพลับ

มะพลับ

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้ชม 4,341

[16.4258401, 99.2157273, มะพลับ]

มะพลับ ชื่อสามัญ Bo tree, Sacred fig tree, Pipal tree, Peepul tree

มะพลับ ชื่อวิทยาศาสตร์ Diospyros malabarica var. siamensis (Hochr.) Phengklai (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Diospyros siamensis Hochr.) จัดอยู่ในวงศ์มะพลับ (EBENACEAE)

สมุนไพรมะพลับ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขะนิง ถะยิง (นครราชสีมา), มะเขื่อเถื่อน (สกลนคร), ตะโกสวน ปลาบ (เพชรบุรี), ตะโกไทย (ภาคกลาง), ตะโกสวน พลับ มะพลับใหญ่ (ทั่วไปเรียก), มะสุลัวะ (ลำปาง-กะเหรี่ยง) เป็นต้น

ข้อควรรู้ : ต้นมะพลับเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดอ่างทอง

ลักษณะของมะพลับ

  • ต้นมะพลับ มีถิ่นกำเนิดในป่าดงดิบของประเทศไทย อินเดีย และในชวาเกาะเซลีเบส โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 8-15 เมตร ทรงพุ่มกลมทึบ เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทาปนดำ หรือบางทีแตกเป็นร่องเล็ก ๆ ตามยาว ส่วนเนื้อไม้เป็นสีขาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย มีน้ำและความชื้นปานกลาง และชอบแสงแดดจัด มะพลับเป็นไม้ป่าดงดิบ พบขึ้นในป่าที่ลุ่มต่ำบริเวณกันชนระหว่างป่าบกและป่าชายเลน ชายป่าพรุ บริเวณชายคลอง ป่าดิบใกล้แหล่งน้ำ ป่าละเมาะริมทะเล และตามเรือกสวนทั่วไป ที่ระดับความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 2-30 เมตร (ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าประมาณ 50-400 เมตร) ในประเทศไทยพบได้ทางภาคใต้ ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่มาเลเซีย
  • ใบมะพลับ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปหอกกลับ ปลายใบแหลมทู่ โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร เนื้อใบหนา หลังใบเรียบเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบแต่มีสีอ่อนกว่า หรือมีขนประปรายบ้างตามเส้นกลางใบด้านล่าง โดยมีเส้นใบประมาณ 6-12 คู่ แต่ละเส้นมีลักษณะคดงอไปมา พอมองเห็นได้ทั้งสองด้าน ส่วนก้านใบยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และมีขนประปราย
  • ดอกมะพลับ ดอกเป็นแบบแยกเพศและอยู่กันคนละต้น ดอกเพศผู้จะออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ โดยจะออกตามซอกใบ ก้านดอกยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร และมีขนอยู่หนาแน่น มีกลีบดอก 4-5 กลีบ ยาวประมาณ 7-15 มิลลิเมตร ส่วนดอกเพศเมียจะออกดอกเดี่ยว สีเหลือง ก้านดอกยาวประมาณ 5-10 มิลลิเมตร และมีขนคลุมแน่น ที่โคนเชื่อมติดกัน ส่วนปลายแยกเป็นแฉกแบบตื้น ๆ[1],[5] โดยจะออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน
  • ผลมะพลับ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ที่โคนและปลายผลบุ๋ม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ที่ขั้วผลมีกลีบเลี้ยงมีขนสีน้ำตาลแผ่กว้างแนบกับส่วนล่างของผล ขอบกลีบเป็นคลื่น ๆ กลีบไม่พับกลับ ผลเมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้มเหลือง ผลสุกหรือผลแก่จะค่อนข้างนุ่ม ผิวมีเกล็ดสีน้ำตาลแดงคลุม เกล็ดเหล่านี้จะหลุดได้ง่าย ภายในมีเมล็ด 8 เมล็ด เป็นสีน้ำตาลดำทรงรีแป้น มีขนาดกว้างประมาณ 1 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2 เซนติเมตร[1],[2],[5] โดยจะติดผลในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม

สรรพคุณของมะพลับ

  1. เปลือกต้นมีรสฝาดใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงธาตุ (เปลือกต้น, เนื้อไม้)
  2. ใช้เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มช่วยทำให้เจริญอาหาร (เปลือกต้น, เนื้อไม้)
  3. เปลือกต้นเป็นยาลดไข้ (เปลือกต้น)
  4. เปลือกและผลอ่อนใช้เป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย (เปลือกและผลอ่อน)
  5. เปลือกและผลแก่มีรสฝาดหวาน ใช้เป็นยารักษาแผลในปาก แก้คออักเสบ ด้วยการใช้เปลือกและผลแก่นำมาต้มเป็นยาอม กลั้วคอ (เปลือกและผลแก่)
  6. ช่วยขับผายลม (เปลือกต้น, เนื้อไม้)
  7. เปลือกต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้บิด แก้ท้องร่วง (เปลือกต้น, เนื้อไม้) ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าการใช้เป็นยาแก้บิด แก้ท้องร่วงให้ใช้เปลือกและผลอ่อนนำมาต้มกับน้ำรับประทาน (เปลือกและผลอ่อน, ผลดิบ, เมล็ด)
  8. เปลือกต้นนำมาย่างให้กรอบชงกับน้ำดื่ม เป็นยาแก้กามตายด้าน แก้ความกำหนัด บำรุงความกำหนัด (เปลือกต้น, เนื้อไม้)
  9. เปลือกต้นใช้เป็นยาทาสมานบาดแผลและช่วยห้ามเลือด (เปลือกต้น, เนื้อไม้) ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าให้ใช้ผลดิบเป็นยาห้ามเลือด และใช้เปลือกและผลอ่อนนำมาต้มเอาน้ำใช้ชะล้างบริเวณบาดแผล สมานแผล (เปลือกและผลอ่อน, เปลือกต้น, ผลดิบ)

ประโยชน์ของมะพลับ

  1. ผลมะพลับแก่สามารถใช้รับประทานได้
  2. เนื้อไม้มะพลับสามารถนำมาใช้ทำเครื่องมือทางการเกษตร เครื่องกลึง และใช้ในงานแกะสลักได้
  3. เปลือกต้นให้น้ำฝาดที่นำมาใช้สำหรับการฟอกหนัง
  4. ยางของลูกมะพลับจะให้สีน้ำตาล เมื่อนำมาละลายกับน้ำจะใช้ย้อมผ้า แห และอวนเพื่อให้มีความทนทานเช่นเดียวกับตะโก แต่ยางจากลูกมะพลับจะมีคุณภาพที่ดีกว่า เพราะไม่ทำให้เส้นด้ายแข็งกรอบเหมือนลูกตะโก จึงทำให้ยางของลูกมะพลับมีราคาดีกว่าลูกตะโกมาก จึงมีพ่อค้าหัวใสนำยางของลูกตะโกมาปลอมขายเป็นยางมะพลับ จึงเกิดคำพังเพยที่ว่า "ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก"
  5. สำหรับการปลูกต้นมะพลับเพื่อใช้งานด้านภูมิทัศน์นั้น สามารถปลูกได้ตามริมน้ำ เพื่อให้ร่มเงาได้ดี เพราะเป็นไม้ไม่ผลัดใบ
  6. ในด้านของความเชื่อ คนไทยเชื่อว่าต้นมะพลับเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง ด้วยเชื่อว่าการปลูกต้นมะพลับไว้ในบริเวณบ้านจะทำให้ร่ำรวยยิ่งขึ้น โดยกำหนดให้ปลูกไว้ทางทิศใต้
  7. บางตำราก็ว่ามะพลับเป็นไม้ที่ควรปลูกไว้ทางทิศใต้ แต่ยังหาหลักฐานยืนยันไม่ได้แน่ชัด คาดว่าคงเป็นเพราะต้นมะพลับเป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุยืน ทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี หากนำมาปลูกไว้ในบริเวณบ้าน เชื่อว่าจะทำให้มีความอดทนต่อสิ่งแวดล้อมเหมือนดังต้นมะพลับ

คำสำคัญ : มะพลับ

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะพลับ. สืบค้น 24 มีนาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1735&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1735&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

สะแกนา

สะแกนา

สะแกนา จัดเป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทานวล ตามกิ่งอ่อนเป็นสันสี่มุม ส่วนต่างๆ ของลำต้นมีขนเป็นเกล็ดกลม ๆ ต้นสะแกนาที่มีอายุมากบริเวณโคนต้นจะพบหนามแหลมยาวและแข็ง หรือเป็นกิ่งที่แปรสภาพไปเป็นหนามสั้นตามโคนต้น เนื้อใบหนาเป็นมัน ใบมีสีเขียวสด ผิวใบทั้งสองด้านมีเกล็ดสีเงินอยู่หนาแน่น ผิวใบด้านบนสากมือ ก้านใบสั้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นไม้กลางแจ้ง ที่ขึ้นได้ในทุกชนิด แต่เจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียว ชุ่มชื้น และควรปลูกในช่วงฤดูฝน 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 4,725

เขยตาย

เขยตาย

เขยตายเป็นพรรณไม้ที่ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ ในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ตามชายป่าและหมู่บ้าน ประโยชน์ของเขยตาย ผลสุกมีรสหวานใช้รับประทานได้ แต่มีกลิ่นฉุน ใบใช้เป็นอาหารของหนอนผีเสื้อ เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องมือทางการเกษตร ลำต้นเขยตายมีสารอัลคาลอยด์ arborinine เป็นหลัก และอัลคาลอยด์อื่นๆ ข้อควรระวัง คือ ยางจากทุกส่วนของลำต้นมีฤทธิ์ทำให้อาเจียน เพ้อคลั่งและเสียชีวิตได้

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 1,504

งิ้วแดง

งิ้วแดง

งิ้วจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกว้างถึงขนาดใหญ่ ลักษณะของต้นเป็นรูปทรงพุ่มเป็นรูปไข่ มีความสูงของลำต้นประมาณ 15-25 เมตร (บ้างว่าสูงประมาณ 25-30 เมตร) และความกว้างของทรงพุ่มประมาณ 15 เมตร ลำต้นมีลักษณะเปลาตรงและมีหนามอยู่ทั่วลำต้นและกิ่ง เห็นข้อปล้องไม่ชัดเจน ต้นอ่อนจะเป็นสีเขียวอ่อน เมื่อแก่จะเป็นสีเขียวเข้ม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด โดยจะพบขึ้นในที่ราบและตามป่าเบญจพรรณ

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 8,738

เสน่ห์จันทน์แดง

เสน่ห์จันทน์แดง

เสน่ห์จันทน์แดง หรือ ว่านเสน่ห์จันทน์แดง มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นของเอเชียและอเมริกา จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นเกิดจากหัวใต้ดิน ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ประกอบด้วยก้านใบหลายๆ ก้าน ไม่แตกกิ่งก้านสาขา มีความสูงได้ประมาณ 45-60 เซนติเมตร นอกนั้นจะเป็นก้านใบและตัวใบ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำหรือแยกหัว เป็นพรรณไม้ในที่ร่มหรือแดดรำไร เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นสูง ระบายน้ำได้ดี แต่ไม่ชอบน้ำขัง

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 4,559

โมกหลวง

โมกหลวง

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง ลำต้นสูงประมาณ 2 – 12 เมตร  ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นใบรี หรือรูปไข่ ปลายใบแหลม หรือมน ใบมี ขนาดกว้างประมาณ 2-5 นิ้วยาวประมาณ 4-10 นิ้วมีพื้นผิวใบบางใต้ท้องใบมีขนเส้นประมาณ 10-20 คู่เห็นได้ชัด  ดอกออกเป็นช่อออกบริเวณปลายยอด ช่อหนึ่งยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ลักษณะของดอกมีกลีบรองกลีบดอก  โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อเล็ก ๆ ปลายกลีบแยกเป็น 5 กลีบ ในท่อหลอดทีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมีย  ผลมีลักษณะเป็นฝักลักษณะฝักออกเป็นคู่ฝักตรง ปลายฝักแหลม ส่วนโคนแบน ฝักยาวประมาณ 6-12 นิ้ว กว้างประมาณ 6 – 7 มิลลิเมตร พื้นผิวเปลือกเรียบเกลี้ยง ฝักแก่มีสีดำ แล้วแต่อ้าออกจากกันเป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ดเรียงกันอยู่เป็นแถวหลายเมล็ดเป็นรูปขอบขนานยาวประมาณ 15 มิลลิเมตร

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,972

ขนุน

ขนุน

ขนุน (Jackfruit) เป็นผลไม้และพืชสมุนไพรจำพวกต้นขนาดใหญ่ ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียกมะหนุน เขมรเรียกขะเนอ ภาคอีสนเรียกหมักมี้ กะเหรี่ยงเรียกนะยวยซะ จันทร์บุรีเรียกขะนู ปัตตานีเรียกนากอ และชาวเงี้ยวเรียกล้าง เป็นต้น ซึ่งขนุนนี้มีรสชาติหวานอร่อยเป็นที่ถูกอกถูกใจของหลายๆ คนเลยทีเดียว แต่ผู้เป็นเบาหวานไม่ควรรับประทานนะคะ แถมเม็ดขนุนนั้นก็สามารถนำไปต้มรับประทานได้อีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,080

กระดูกไก่

กระดูกไก่

ต้นกระดูกไก่เป็นพรรณไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 5-2.5 เมตร ลำต้นมีข้อบวมพอง ใบกระดูกไก่เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ใบมีลักษณะเป็นรูปรี หรือรูปหอก ปลายและโคนเป็นใบเรียวแหลม ขนาดของใบกว้างประมาณ 5-4 นิ้ว ยาวประมาณ 3-8 นิ้ว ริมขอบใบหยัก ผิวใบบาง ก้านใบยาวประมาณ 0.2-1.5 ซม. ดอกกระดูกไก่ออกเป็นช่อ ติดก้านช่อดอก ดอกไม่มีกลีบดอกหรือกลีบรองดอก แต่จะไม่มีใบประดับและเกสรตัวผู้เป็นสีขาว ซึ่งจะออกเรียงกันอยู่ข้างใน และมีอับเรณู 4 พู รังไข่ 1 ช่อง เชื่อมติดกันอยู่โคนใบประดับ

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 1,997

กระตังใบ (กระตังบาย)

กระตังใบ (กระตังบาย)

ต้นกระตังใบเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 1-3 เมตร แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น ลำต้นเกลี้ยง หรือปกคลุมด้วยขนสั้นๆ ใบกระตังใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 1-3 ชั้น ใบย่อยมี 3-7 ใบ ถึงจำนวนมาก ปลายใบคี่ เรียงแบบสลับ ใบย่อยออกเป็นคู่ตรงข้าม หูใบรูปไข่กลับ แผ่เป็นแผ่นกว้าง มักจะเกลี้ยง หรือมีขนประปราย หูใบร่วงง่าย ทำให้เกิดรอยแผลเป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง เกลี้ยง หรือมีขนสั้นปกคลุม ใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ถึงรูปหอกแกมรูปไข่ หรือรูปรี หรือรูปใบหอกแกมรี ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบสอบ หรือกลม หรือเว้า เล็กน้อย 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,555

ชะมวง

ชะมวง

ชะมวงเป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงกลาง สูง 15-30 เมตร ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มเป็นรูปกรวยคว่ำทรงสูง เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นสะเก็ด มีน้ำยางสีเหลือง ใบชะมวงเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปวงรีแกมใบหอกหรือรูปขอบขนาน กว้าง 2-3.5 เซนติเมตร ยาว 7-15 เซนติเมตร ปลายใบป้านหรือแหลมเล็กน้อย ฐานใบสอบแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนาและแข็งเปราะ ก้านใบสีแดงยาว 5-1 เซนติเมตร  

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 4,135

กฤษณา

กฤษณา

ต้นกฤษณาเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 18-30 เมตร ขนาดรอบลำต้นประมาณ 1.5-1.8 เมตร เปลือกต้นสีเทาอมขาว ในต้นแก่เปลือกจะแตกเป็นร่องยาวตื้นๆ และเปลือกด้านในมีสีขาวอมเหลือง พร้อมมีรูระบายอากาศกระจายอยู่ทั่วไป ใบเดี่ยวรูปทรงรีออกแบบเรียงสลับ ปลายใบเรียวแหลม โคนมน ส่วนขอบใบจะเป็นคลื่นแบบม้วนตัวลงเล็กน้อย มีดอกเล็กๆ เป็นช่อตามซอกใบ สีเขียวอมเหลือง กลีบเลี้ยงติดกัน ส่วนปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ผลรูปไข่ ผิวผลขรุขระเป็นลายสีเขียวซึ่งหนาและแน่นมีขนนุ่มสีน้ำตาลอมเหลืองละเอียดสั้นๆ ขึ้น และผลจะเริ่มแก่ในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 844