ประเพณีวันออกพรรษา
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้ชม 68
[16.4799383, 99.5106351, ประเพณีวันออกพรรษา]
การออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะจัดเป็นญัตติกรรมวาจาสังฆกรรมประเภทหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดยพระวินัยบัญญัติให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอด เมื่อถึง วันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้ และวันถัดจาก วันออกพรรษา 1 วัน (แรม 1 ค่ำ เดือน 11) พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยยังนิยมไปทำบุญตักบาตรครั้งใหญ่ เรียกว่า ตักบาตรเทโว หรือ ตักบาตรเทโวโรหนะ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติที่กล่าวว่า ในวันถัด วันออกพรรษา หนึ่งวัน พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงจากเทวโลกกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในพรรษาที่ 7 เพื่อลงมายังเมืองสังกัสสนคร พร้อมกับทรงแสดงโลกวิวรณปาฏิหาริย์เปิดโลกทั้งสามด้วย
กิจกรรมวันออกพรรษา ออกพรรษานี้พุทธศาสนิกชนถือว่าเป็นโอกาศอันดีที่จะกระทำ การบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร จัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระที่วัดและฟังพระธรรมเทศนา ของที่ชาวพุทธนิยมนำไปใส่บาตรในวันนี้ก็คือ ข้าวต้มมัดไต้ และข้าวต้มลูกโยน และการร่วมกุศล “ตักบาตรเทโว” ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11
1. ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ
2. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
3. ร่วมกิจกรรม “ตักบาตรเทโว” (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11)
4. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการและประดับธงชาติ และธงธรรมจักร ตามวัดและสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
5. ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือ บรรยายธรรม เกี่ยวกับ วันออกพรรษา เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องในวันออกพรรษากับครอบครัว
1. วันออกพรรษา ครอบครัวจะช่วยกันทำความสะอาดบ้าน และประดับธงชาติ ธงธรรมจักร จัดแต่งโต๊ะหมู่บูชาพระประจำบ้าน
2. ศึกษาเอกสารและ สนทนาเกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษา และแนวทางปฏิบัติในครอบครัว
3. ครอบครัวจะร่วมกับบำเพ็ญบุญกุศล ทำบุญตักบาตร บริจาคทานร่วมกันในวันออกพรรษา
4. ปฏิบัติธรรมที่วัด รักษาศีล ไวห้พระสวดมนต์ร่วมกัน เนื่องในวันออกพรรษา
แหล่งที่มาของข้อมูล
http://scoop.mthai.com/specialdays/3163.html
คำสำคัญ : วันออกพรรษา
ที่มา : วัดพระบรมธาตุ
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : นางสาวอัจฉราภรณ์ สียา
https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=169&code_db=DB0008&code_type=A001
ประเพณีไหลเรือไฟ
ประเพณีไหลเรือไฟ เป็นประเพณีของชาวอีสาน ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “เฮือไฟ” จัดขึ้นในช่วงเทศกาลออกพรรษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทของพระเจ้า ณ ริมฝั่งแม่น้ำนัมนที โดยมีประวัติความเป็นมาดังนี้ กล่าวคือพระพุทธเจ้าเสด็จไปฝั่งแม่น้ำนัมนที ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของพญานาค
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 93
พิธีเรียกขวัญของชาวเขา
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 71
งานประเพณีบุญบั้งไฟ
การจัดการละเล่นในประเพณี บุญบั้งไฟ ในวันสุกดิบชาวบ้านจะจัดขบวนแห่บั้งไฟ ไปยังศาลปู่ตา ของ หมู่บ้าน ทำพิธีเซ่นสรวง มีการจุดบั้งไฟในการเสี่ยงทาย เพื่อเสี่ยงทาย ดูความอุดมสมบูรณ์ และความสำเร็จในการทำนาในปีนั้น จากนั้นก็จะดื่มเหล้ากัน ฟ้อนรำรอบศาลปู่ตา อย่างสนุกสนาน จากนั้นก็พากันแห่บั้งไฟ เพื่อจุดแข่งกัน ประกวดประชันกัน มีขบวนเซิ้งบั้งไฟนำขวนแห่บั้งไฟ อย่างตระการ
เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 102
ประเพณีบุญข้าวจี่
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 198
ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว
ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว หมายถึง การที่เจ้าของนาจะบอกเพื่อนบ้านให่รู้ว่าจะเกี่ยวข้าวเมื่อใด และเมื่อถึงวันที่กำหนดเจ้าของนาก็จะต้องปักธงที่ที่นาของตนเพื่อให้เพื่อนบ้านหรือแขกที่รู้จะได้มาช่วยเกี่ยวได้ถูกต้องทั้งนี้เจ้าของนาจะต้องจัดเตรียมอาหาร คาวหวาน สุรา บุหรี่ น้ำดื่ม ไว้รองรับด้วย และในการขณะเกี่ยวข้าวก็จะมีการละเล่นร้องเพลงเกี่ยวข้องระหว่างหนุ่มสาวเป็นที่สนุกสนานและเพลิดเพลินเพื่อคลายความเหน็ดเหนื่อยได้
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 100
วันเข้าพรรษา
การเข้าพรรษา เป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งพระภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม หมายถึง การอธิษฐานอยู่ประจำที่ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็นจริง ๆช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝนคือแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ดังนั้น วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำในวัด หรือเสนาสนะที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่งไม่ไปค้างแรมในที่อื่น ตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 70
ประเพณีกินข้าวใหม่ของม้ง
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 89
การแต่งงานของชาวเขา
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 78
ตลาดชาวบ้าน
ในงานเฉลิมฉลองครบรอบร้อยปี การเสด็จประพาสต้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 18 – 27 สิงหาคม พ.ศ .2449 จังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการสนับสนุน จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดตลาดชาวบ้านและตลาดชาววังขึ้น ในส่วนของตลาดชาวบ้านนั้น ได้รับความอนุเคราะห์จากเทศบาลตำบลนครชุม ซึ่งชาวบ้านได้รักษาวิถีชีวิตของชุมชนไว้ได้อย่างไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ในวันที่ 20 –21 สิงหาคม 2549 จึงเกิดตลาดชาวบ้านขึ้นผู้แสดงล้วนมาจากตำบลนครชุมทั้งสิ้น
เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 73
ประเพณีวันออกพรรษา
การออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะจัดเป็นญัตติกรรมวาจาสังฆกรรมประเภทหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดยพระวินัยบัญญัติให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอด เมื่อถึง วันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 68