ประเพณีไข่แดง

ประเพณีไข่แดง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 5,911

[16.2851021, 98.9325625, ประเพณีไข่แดง]

ประเพณีไข่แดง (ขึ่มสึ ขึ่มมี๊อ่าเผ่ว)
        มีขึ้นภายหลังจากที่มีการอยู่กรรมจากการเผาไฟในไร่ช่วงกลางเดือนเมษายน ตรงกับเดือนอาข่า "ขึ่มสึ บาลา"อาข่าจะประกอบพิธี "ขึ่มสึ ขึ่มมี้ อาเผ่ว" เป็นประเพณีการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ หรือเรียกอีกอย่างว่า ประเพณีปีใหม่ชนไข่ เนื่องจากประเพณีนี้มีการนำไข่มาใช้ประกอบพิธี เด็กๆ จะมีการเล่นชนไข่ โดยการย้อมเปลือกไข่ให้เป็นสีแดง และใส่ตะกร้าห้อยไปมา เป็นประเพณีที่มีมาช้านาน
        พิธีกรรมวันแรกจะเริ่มเมื่อเห็นข้างขึ้น 1 ค่ำ ชนเผ่าอาข่าเรียกว่า “ลาเด๊ะ ถี่หยะ” ก็จะมีการเริ่มประกอบพิธีใหม่ที่เรียกว่า “ขึ่มสึ อาเผ่ว” หมายถึง พิธีต้อนรับปีใหม่ อาข่าให้ความหมายรวมถึง การต้อนรับสิ่งมีชีวิตที่เกิดใหม่ทุกชนิดบนโลกในของช่วงเดือนเมษายน เมื่อประกอบพิธีนี้เสร็จก็จะมีการทำพิธีต่ออีกที่เรียกว่า “ขึ่มมี่ อาเผ่ว” เป็นพิธีที่เกิดขึ้นเพื่อฉลองปีใหม่ และฉลองตำแหน่งผู้นำทางวัฒนธรรม และการปกครองชุมชน “โจ่วมา” โดยผู้นำมีการประกอบพิธีของตำแหน่งที่เรียกว่า “โจ่ว หละ หยะ เออ” เป็นการเสร็จสิ้นภารกิจของพิธีกรรม

ภาพโดย : https://lookaside.fbsbx.com/lookaside/crawler/media/?media_id=10159592062405085

คำสำคัญ : ประเพณีไข่แดง (ขึ่มสึ ขึ่มมี๊อ่าเผ่ว)

ที่มา : http://www.sawadee.co.th/thailand/hilltribes/akha.html#Cultural

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ประเพณีไข่แดง. สืบค้น 19 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=168&code_db=DB0008&code_type=A001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=168&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร

ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร

ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร เป็นการแสดงโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ได้สนับสนุนให้สร้างสรรค์ขึ้นให้เป็นการแสดงเพื่อสื่อความหมายของกลุ่มชนชาติพันธุ์ที่ต่างวัฒนธรรมต่างวิถีชีวิต แตกต่างด้วยเครื่องแต่งกายแต่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนของชนเผ่าที่มีความงดงามในการสร้างสรรค์ ชุดการแสดงจึงได้มีแนวคิดการนำวัฒนธรรมด้านการแต่งกายมานำเสนอในด้านการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อเผยแพร่มรดกทางภูมิปัญญาของชาติพันธุ์

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 548

สาวปากคลองที่ยังไม่ได้แต่งงานต้องสวมกำไลข้อเท้า

สาวปากคลองที่ยังไม่ได้แต่งงานต้องสวมกำไลข้อเท้า

“ข้าจะกลับมา ปากคลองจะเป็นเรือนตายของข้าต่อไป เมื่อขายของเก็บเงินที่ติดค้างอยู่เสร็จแล้ว ข้าจะมาสร้างบ้านใหม่ที่นี่เป็นเรือนหอของเรา การถอดกำไลของเอ็งจะไม่ต้องอับอายขายหน้าใคร เราจะอยู่กินด้วยกัน มีลูกเต็มบ้าน หลานเต็มเมือง เราจะทำคลองให้เจริญรุ่งเรืองกว่านี้ และบางทีนานไปวันหนึ่งปากคลองจะเป็นของเรา ปากคลองที่เต็มไปด้วยป่าไม้ ข้าว ไต้ น้ำมันยาง สีเสียด ยาสูบ หนังสัตว์” รื่นหนุ่มวังแขม อายุ 32 ปี บอกแก่สุดใจสาวสวยแห่งคลองสวนหมากวัย 16 ปี ใต้ต้นมะม่วงสายทองริมท่าน้ำคลองสวนหมาก วันสงกรานต์ปี พ.ศ. 2433 จาก ทุ่งมหาราช ของ เรียมเอง (มาลัย ชูพินิจ)

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,760

ประเพณีเทศน์มหาชาติ

ประเพณีเทศน์มหาชาติ

ประเพณีการเทศน์มหาชาติ สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานีหรืออาจตั้งแต่พระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นศาสนาประจำชาติไทย คำว่ามหาชาติ หมายถึงการเกิดที่ยิ่งใหญ่ คือการที่ได้เกิดเป็นพระเวสสันดร ทรงบำเพ็ญ ทานบารมี เป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ ที่จะได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้า

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 5,023

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีการทอดผ้าป่าแถวของจังหวัดกำแพงเพชร มีประวัติย้อนไปถึงสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ยังไม่ได้มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับจีวรจากชาวบ้านได้ ภิกษุทั้งหลาย จึงต้องเที่ยวไปเก็บผ้าที่เจ้าของเขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) หรือผ้าห่อศพ ตามป่าช้า หรือตามป่า ทั่วไป แล้วนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยเหล่านั้น มาซักเย็บปะติดปะต่อกัน แล้วย้อมเป็นสบงจีวรสังฆาฏิตามต้องการ ด้วยเหตุนี้การทำจีวรของพระภิกษุในครั้งนั้น จึงต้องช่วยกันทำหลายรูป และการที่มีพุทธานุญาตให้คนตัดเย็บจีวรเป็นขันธ์ อย่างกระทงนาของชาวมคธ ก็เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาปะติดปะต่อกันนั่นเอง เวลาต่อมาชาวบ้านเห็นความยากลำบากของพระสงฆ์

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 3,401

ครอบครัวอนุรักษ์ไทย

ครอบครัวอนุรักษ์ไทย

ในงานสงกรานต์อนุรักษ์มรดกไทย จังหวัดกำแพงเพชร ประจำปี 2551 เมื่อวันพุธที่ 16 เมษายน พุทธศักราช 2550 ณ ลานรวมใจ เทิดไท้องค์ราชัน หน้าศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ได้จัดกิจกรรม โดยให้ครอบครัวประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอ ทั้ง 11 อำเภอ ได้แสดงออกทางวัฒนธรรม ร่วมกัน อย่างน้อย 3 คน ซึ่งต้องผูกพันเป็นเครือญาติกัน

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 850

ประเพณีการตาย

ประเพณีการตาย

เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องที่มนุษย์ทุกคนจะต้องประสบและไม่สามารถหลีกหนีจุดจบของชีวิตได้ ประเพณีไทยมีพิธีกรรมในการจัดการกับศพเพื่อแสดงถึงความรักและอาลัยให้แก่ผู้ตายและเป็นการส่งวิญญาณผู้ตายให้ไปสู่สุขคติ 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 7,111

ระบำชากังราว

ระบำชากังราว

ระบำชากังราว เป็นการแสดงนาฏศิลป์ชุดหนึ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นการแสดง ที่สื่อความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชรโดยมีการริเริ่มแนวคิดสร้างชุดระบำชากังราว เมื่อปี พ.ศ. 2535 และพัฒนามาตามลำดับทั้งท่วงทีลีลาท่ารำ เพลง เครื่องแต่งกายให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะการแสดงชุดนี้ เพื่อนำไปแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมและแสดงในโอกาสต่างๆ เช่น งานต้อนรับแขกผู้มาเยือนจังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 1,274

ประเพณีสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพง

ประเพณีสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพง

ในช่วงวันสารทไทย ประมาณเดือนกันยายนของทุกปี จะมีผลผลิตของกล้วยไข่ออกมามาก ดังนั้นทางจังหวัดกำแพงเพชรจึงจัดงานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชรขึ้น เพื่อเผยแพร่กล้วยไข่ซึ่งเป็นผลไม้พื้นเมืองของจังหวัด ภายในงานมีกิจกรรมให้ร่วมสนุกมากมาย เช่น การประกวดกล้วยไข่ดิบ-สุก ชมขบวนแห่รถที่ประดับตกแต่งด้วยกล้วยไข่อย่างประณีต สวยงาม ชมการแสดงต่างๆ และร่วมพิธีกวนกระยาสารทกระทะหลวง นอกจากนี้ยังจัดให้มีการประกวดและจำหน่ายกล้วยไข่ การแข่งขันกวนกระยาสารท กวนข้าวกระยาทิพย์ งานนิทรรศการทางการเกษตร การออกร้านจำหน่ายสินค้าและการแสดงมหรสพต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 4,275

ตลาดชาวบ้าน

ตลาดชาวบ้าน

ในงานเฉลิมฉลองครบรอบร้อยปี การเสด็จประพาสต้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 18-27 สิงหาคม พ.ศ. 2449 จังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการสนับสนุน จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดตลาดชาวบ้านและตลาดชาววังขึ้น ในส่วนของตลาดชาวบ้านนั้น ได้รับความอนุเคราะห์จากเทศบาลตำบลนครชุม ซึ่งชาวบ้านได้รักษาวิถีชีวิตของชุมชนไว้ได้อย่างไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ในวันที่ 20-21 สิงหาคม 2549 จึงเกิดตลาดชาวบ้านขึ้นผู้แสดงล้วนมาจากตำบลนครชุมทั้งสิ้น

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,906

การทำขวัญข้าว

การทำขวัญข้าว

ตามประเพณีไทย สิ่งที่มีบุญคุณกับคนไทยและมองไม่เห็นจะเรียกว่าแม่เสมอ เช่นน้ำเรียกกันว่า แม่คงคา พื้นดิน เรียกว่า แม่ธรณี ข้าวเรียกว่าแม่โพสพ ทุกสิ่งล้วนมีพระคุณต่อวิถีชีวิตของคนไทย มาตั้งแต่ตั้งเป็นชาติไทย ประเพณี การบูชาแม่โพสพ หรือข้าวนั้น คนไทยนิยมทำกันมาช้านานถือว่า แม่โพสพมีพระคุณกับคนไทยทั้งประเทศ เพราะข้าวนั้นเลี้ยงคนไทย แม่โพสพจึงมีความหมายอย่างลึกซึ้งและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนไทยมาโดยตลอด จนเกิดประเพณี บูชาแม่โพสพ และขอขมาแม่พระโพสพ หลังการเก็บเกี่ยว

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 5,248