เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย
เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้ชม 2,405
[16.378346, 99.5340804, เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย]
เมืองคณฑี ตั้งอยู่ในเขตตำบลคณฑี ริมฝั่งแม่น้ำปิงทางด้านตะวันออก เยื้องตรงข้ามกับวัดวังพระธาตุลงมาทางใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร แม้ไม่มีการตรวจพบร่องรอยของคูน้ำและคันดิน แต่เหนือบ้านโคนขึ้นไปมีร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโดยรอบ มีผุ้พบซากเจดีย์ร้าง และเศษโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากในป่าก่อนจะถูกปรับไถให้โล่งเตียน โดยเฉพาะบริเวณวัดกาทิ้งได้ปรากฏร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโอบล้อม มีซากโบราณสถานและเศษโบราณวัตถุ โคกเนินต่าง ๆ แม้จะถูกชาวบ้านปรับไถที่ดินทำไร่ ทำนา จนหมดสิ้น แต่ยังมีคำบอกเล่าของคนเก่าคนแก่ว่า เคยมีร่องรอยของถนนโบราณที่ตัดมาจากเมืองกำแพงเพชรถึงเมืองคณฑี ทำให้สันนิษฐานได้ว่าบริเวณนี้อาจเป็นที่ตั้งของเมืองคณฑีในสมัยโบราณ
แม้จะไม่มีร่องรอยของคูน้ำและคันดินในเขตตำบลคณฑีเป็นหลักฐานว่าเป็นที่ตั้งของเมืองคณฑีอย่างแท้จริง แต่ก็พบว่ายังมีซากโบราณอีกหลายแห่งในท้องถิ่นนี้ มีการพบซากโบราณสถานทั้งแบบกำแพงเพชรและสุโขทัย เช่น ที่วัดกาทิ้งยังมีฐานวิหารเหลืออยู่ และที่วัดปราสาทซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงในปัจจุบันยังมีซากเจดีย์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ และจากการสำรวจของนักประวัติศาสตร์ ได้แก่ อาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม ได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า ใต้จากบริเวณบ้านโคนลงไปยังไม่ปรากฏพบร่องรอยของเมืองโบราณในสมัยสุโขทัยจนถึงเมืองพระบางที่นครสวรรค์ หลักฐานและข้อมูลเหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นเด่นชัดว่าบริเวณดังกล่าวในเขตตำบลคณฑีเป็นเขตของเมืองโบราณคณฑีทั้งสิ้น
เมืองคณฑี คงเป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่งในแว่นแคว้นสุโขทัย แต่พอมาถึงสมัยอยุธยาคงได้รับภัยสงครามหรือเกิดการร้างเมือง ทำให้เมืองใหญ่ลดฐานะลงมาเป็นชุมชน
หลักฐานสำคัญที่กล่าวมาถึงเมืองคณฑี คือศิลาจารึก ซึ่งกล่าวถึงเมืองคณฑี คือศิลาจารึกหลักที่ 1 (พ่อขุนรามคำแหง) และจารึกหลักที่ 3 (นครชุม) ซึ่งถือเป็นหลักฐานสำคัญและแสดงให้เห็นว่าเมืองคณฑีมีพัฒนาการมาตั้งแต่ครั้งโบราณ และมาเจริญรุ่งเรืองในสมัยกรุงสุโขทัย
ศิลาจารึกหลักที่ 1 (พ่อขุนรามคำแหง) พ.ศ. 1835 ด้านที่ 4 กล่าวถึงอาณาเขตของบ้านเมืองในสสมัยสุโขทัย บ้านเมืองอยู่รวมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุข เจริญรุ่งเรือง ในน้ำมีปลาในนามีข้าว มีป่าหมากป่าพลูอยู่ทั่วทุกหนแห่ง มีอาณาเขตกว้างขวาง โดยเฉพาะในบรรทัดที่ 19-20 กล่าวถึงอาณาเขตทางทิศใต้ไว้ว่า “เบื้องหัวนอนรอดคณฑีพระบาง แพรกสุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช ฝั่งทะเลสมุทเป็นที่แล้ว” ขยายความจากจารึกนี้ได้ความว่า อาณาเขตทางด้านทิศใต้ของกรุงสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนั้น กินอาณาเขตตั้งแต่เมืองคณฑี (กำแพงเพชร) พระบาง (นครสวรรค์) แพรก (สวรรค์บุรี) สุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรี) ราชบุรี เพชรบุรี ลงไปถึงนครศรีธรรมราช ตลอดจนแหลมมาลายู
ศิลาจารึกหลักที่ 3 (นครชุม) พ.ศ. 1900 เป็นศิลาจารึกที่พระยาลิไทเสด็จมาประดิษฐานพระธาตุและปลูกพระศรีมหาโพธิ์ที่เมืองนครชุม เมื่อ พ.ศ. 1900 พร้อมทั้งจัดทำศิลาจารึก มีข้อความสรุปได้ดังนี้
1. พระยาลิไท ได้ขึ้นเสวยราชย์ครองกรุงสุโขทัย โดยการสนับสนุนของบรรดาเจ้าเมืองและมิตรสหายต่าง ๆ
2. ได้นำพระมหาธาตุและต้นศรีมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้จากลังกาเทวีมาประดิษฐานไว้ที่เมืองนครชุม
3. การนับอายุเฉลี่ยของผู้คนจะลดถอยไปอีก 1 ปี จาก 100 ปี เหลือ 99 ปี
4. ความศรัทธาในพุทธศาสนาจะลดน้อยถอยลงไป ศีลจะเหลือน้อย การแต่งกายของพระสงฆ์จะเหลือเพียงผ้าเหลืองที่เหน็บหูไว้เท่านั้น โลกจะถูกกาลล่มสลาย บรรดาพระธาตุจะมารวมกันที่พระบรมธาตุนครชุม แล้วไฟบรรลัยกัลป์ก็จะเผาไหม้พระบรมธาตุและล้างโลกให้สิ้นสุดไปพร้อม ๆ กัน
5. ได้เล่าย้อนถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหง ว่ามีอาณาเขตกว้างขวาง เมื่อสิ้นยุคของพ่อขุนรามคำแหงแล้ว บ้านเมืองในแว่นแคว้นได้แตกเป็นเมืองต่าง ๆ ตั้งตัวเป็นอิสระ ซึ่งในบรรดาของเมืองที่ตั้งตัวเป็นอิสระนั้นมีเมืองคณฑีรวมอยู่ด้วย
จารึกหลักที่ 3 (จารึกนครชุม) ด้านที่ 2 บรรทัดที่ 19 จารึกไว้ว่า “เมืองคณฑี พระบางหาเป็นขุนหนึ่ง เมืองเชียงของหาเป็นขุนหนึ่ง... เป็นขุนหนึ่ง เมืองบางพานหาเป็นขุนหนึ่ง เมืองบางฉลังหาเป็นขุนหนึ่ง ต่างทำเนื้อทำตนเขาอยู่”
ความหมายจากจารึกหลักนี้ ได้ความว่า “เมื่อสิ้นสมัยของพ่อขุนรรามคำแหงมหาราช อาณาจักรสุโขทัยได้แตกแยกเป็นเสี่ยง ๆ บรรดาหัวเมือง ได้แก่ เมืองคณฑี (กำแพงเพชร) พระบาง (นครสวรรค์) เชียงทอง (ตาก) เมืองบางพาน (กำแพงเพชร) และเมืองบางฉลัง (สุโขทัย) เมืองต่าง ๆ เหล่านี้ต่างตั้งตัวเป็นรัฐอิสระไม่ยอมขึ้นแก่กรุงสุโขทัย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในช่วงสมัยพระยาลิไทเมืองคณฑีคงมีเจ้าเมืองที่มีความเข้มแข็งขึ้นปกครองบ้านเมือง มีความเจริญรุ่งเรืองจนกล้าที่จะตั้งตนเป็นอิสระจากการปกครองของกรุงสุโขทัยได้ จนเป็นเหตุให้พระมหาธรรมราชาลิไทต้องมาปราบปราม
หลักฐานจากศิลาจารึกทั้ง 2 หลักดังกล่าว ย่อมแสดงให้เห็นว่าเมืองคณฑีเป็นเมืองที่มีมาตั้งแต่ครั้งโบราณ เคยรุ่งเรืองในสมัยพ่อขุนรามคำแหง และเจริญรุ่งเรืองสูงสุดจนแยกตนเป็นเมืองอิสระในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท ก่อนที่จะเข้ามาสวามิภักดิ์อีกครั้งหนึ่ง และเมื่อสิ้นยุคของพระมหาธรรมราชาลิไทแล้ว เมืองคณฑีก็เสื่อมความสำคัญลง จากเมืองกลายเป็นชุมชนใหญ่ริมแม่น้ำปิง
คำสำคัญ : คณฑี
ที่มา : สันติ อภัยราช. (2549). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย. สืบค้น 14 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1374&code_db=610001&code_type=01
Google search
จากบทพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการสำรวจโบราณสถานที่บริเวณเขตพระราชวัง วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ แล้วเสด็จไปตามถนนโบราณผ่านสระแก้ว สระคำ เพื่อสำรวจวัดใหญ่ๆ อีกหลายวัด สำหรับในตอนนี้จะเป็นการนำเสนอบทบนัทกึที่ทรงเสด็จ ตรวจตราโบราณสถานในเขตอรัญญิกกำแพงเพชรกันต่อ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จตรวจตราโบราณสถานที่วัดอาวาสใหญ่และบ่อสามแสนแล้ว ได้เสด็จต่อยังวัดอื่นๆ อีก ดังบทพระราชนิพนธ์ที่ทรงบันทึกไว้ดังนี้ “ยังมีที่วัดใหญ่ และที่มีพระเจดีย์เป็นชิ้นสำคัญอยู่อีกวัดหนึ่ง คือวัดที่ราษฎรเรียกกันว่า วัดช้างรอบ
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,632
นครชุม เป็นชื่อของเมืองโบราณในสมัยสุโขทัยต่อมาได้กลายเป็นเมืองร้างกว่า ๓๐๐ปี ในสมัยรัตนโกสินทร์ไม่มีชื่อเป็นที่รู้จัก ผู้คนทั่วไปคงเรียกบริเวณที่ตั้งบ้านเรือนของราษฎรบริเวณนี้ว่า “ปากคลองสวนหมาก” เพราะมีคลองสวนหมากไหลมาออกแม่น้ำปิง ราษฎรส่วนใหญ่เป็นชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ ที่มารู้จักว่าชื่อแต่เพียงบ้านปากคลองสวนหมาก ไม่มีใครรู้จัก เมืองนครชุม ตำบลคลองสวนหมาก เป็นชุมชนที่สร้างตัวขึ้นมาในสมัยพระพุทธเจ้าหลวงจากเหย้าเรือนฝาขัดแตะไม่กี่หลังคาเรือน แต่มีที่ทำกินในผืนดินอันอุดมสมบูรณ์เนื่องจากมีแม่น้ำปิงไหลผ่านและมีคลองสวนหมากไหลมาจากป่าโป่งน้ำร้อนให้น้ำหล่อเลี้ยงมาอย่างต่อเนื่อง
เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,816
ดอกพิกุล ดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร พิกุลเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 8–15 เมตร เป็นพุ่มทรงกลมใบออกเรียงสลับกันใบมนรูปไข่ปลายแหลม ลักษณะโคนใบมน สอบขอบใบโค้งเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเป็นมันสีเขียว ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบหรือยอด มีกลีบดอกประมาณ 8 กลีบ เรียงซ้อนกัน กลีบดอกเป็นจักรเล็กน้อย สีขาวนวลมีกลิ่นหอมมาก ผลรูปไข่หรือกลมรีผลแก่มีสีแสด เนื้อในเหลืองรสหวาน ภายในมีเมล็ดเดียว
เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 5,743
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช “ ในหลวง” ผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สดุในโลก ได้ทรงอุทิศพระวรกายพระราชหฤทัย และพระสติปัญญา บำเพ็ญพระราชกรณียกิจทั้งปวง เพื่ออาณาประชาราษฎร์ของพระองค์อย่างมากมายมหาศาล จนยากยิ่งที่จะหาพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลกมาเทียบเคียงได้ ดังนั้นในโอกาสมหามงคล จึงขอนำเรื่องราวแห่งความปลื้มปิติมาน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่มีต่อชาวกำแพงเพชรด้วยการเสด็จถึง 3 ครั้ง ตลอดระยะเวลากว่า 69 ปีที่ครองราชย์ เป็นช่วงเวลาที่พระองค์ทรงงานอย่างไม่เคยว่างเว้น และทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่พร้อมทั้งความบริสุทธิ์และบริบูรณ์ตลอด 69 ปีที่ผ่านมา
เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 2,167
กำแพงเพชร มีเทวรูปศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มครองสัตว์สองตีนสี่ตีนในเมืองกำแพงเพชรมาช้านาน สิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นคือเทวรูปพระอิศวร พระอิศวร คือเทพสูงสุดแห่งศาสนาพราหมณ์ เรียกกันว่าพระศิวะก็ได้ พระอิศวรเป็นเทพเจ้าที่มีอำนาจมากและดุร้าย จึงนับว่าเป็นเทพผู้สร้าง ผู้ทำลาย เป็นเทพที่มีลักษณะพิเศษ คือพระศอสีนิล พระองค์สีแดง มีพระเนตรที่สาม เมื่อลืมตาที่สามแล้วจะทำลายล้างโลกได้สิ้น แล้วจึงสร้างใหม่ สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของการเกิดคือ ศิวลึงค์ พระอิศวรมีพระมเหสี คือพระนางอุมาเทวี พระอิศวร มีงูเป็นสังวาล กะโหลกศีรษะมนุษย์ร้อยเป็นสร้อยพระศอ ทรงโคเผือก อุศุภราช นุ่งหนังเสือ แบบพระฤาษีทรงพระจันทร์เป็นปิ่นปักผม สถิต ณ เขาไกรลาส เป็นที่เคารพบูชาของผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์ทั่วโลก
เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 3,421
ตำนานพระแก้วมรกต จากพงศาวดารเหนือ ความว่า พระเจ้าอาทิตย์ราชก็ทรงปิติโสมนัสพระทัยหาที่สุดมิได้ ก็เข้าถวายบูชาพระแก้วมรกตทุกวันมิได้ขาด ด้วยอานุภาพของพระแก้วมรกต พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองมากในกรุงศรีอโยธยา สืบกษัตริย์ต่อมาได้หลายชั่วกษัตริย์ อยู่ต่อมาข้างหน้า เจ้าพระยากำแพงเพชรก็ยกกองทัพเรือมาทูลขอพระแก้วเจ้าขึ้นไปไว้เมืองกำแพงเพชร ต่อมามินานท่านก็มีพระราชบุตรพระองค์หนึ่ง เมื่อเจริญเติบโตขึ้นพระองค์ตั้งให้ขึ้นไปครองเมืองละโว้ ครั้นนั้นพระราชบุตรมีความระลึกถึงพระแก้วมรกตเป็นที่สุด ด้วยมีน้ำพระทัยอยากได้พระแก้วมรกตไว้ปฏิบัติบูชารักษา
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 3,415
เมืองคณฑี เป็นเมืองโบราณเก่าแก่เมืองหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงทางฝั่งตะวันออก ตัวกำแพงเมืองหรือร่องรอยของเมืองเกือบไม่เหลือร่องรอยให้เห็นในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาอย่างน้อยในช่วง พ.ศ. 1176-1204 เมื่อครั้งพระนางจามเทวี พระราชธิดาของกษัตริย์ละโว้ (พระยากาฬวรรณดิส) ซึ่งเสด็จโดยทางชลมารคจากนครละโว้ (ลพบุรี) ขึ้นไปสร้างเมืองที่นครหริภุญชัย (ลำพูน) ระหว่างทางที่เสด็จพระนางจามเทวีได้เสด็จขึ้นมาประทับที่เมืองคณฑี แล้วจึงไปพักที่เมืองกำแพงเพชร ผ่านเมืองตากไปจนถึงลำพูน
เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,519
เดิมถนนราชดำเนิน เป็นทางล้อเกวียน เส้นทางสัญจรทางบกของชาวกำแพงเพชร ยาวตั้งแต่กำแพงเมือง (หลังไปรษณีย์กำแพงเพชรเก่า) ตรงไปสิ้นสุดยังวัดบาง ผ่านด้านหลังวัดเสด็จ ตัดโดยพระวิเชียรปราการเจ้าเมืองกำแพงเพชรท่านใหม่ ที่รัชกาลที่ 5 โปรดให้มาปฏิรูปเมืองกำแพงเพชร ถนนเส้นนี้ กว้างราว 6 เมตร มีบ้านเรือน ราษฎรปลูกอยู่บ้างแล้ว ตรง กว้าง งดงามมาก พระวิเชียรปราการ ตั้งใจที่จะรับเสด็จพระพุทธเจ้าหลวงด้วย
เผยแพร่เมื่อ 14-03-2019 ผู้เช้าชม 2,777
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินเมืองกำแพงเพชร เป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2514 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิริธร ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้ากฐินส่วนพระองค์ ณ วัดคูยาง อำเภอเมืองกำแพงเพชร และทรงถวายพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อเป็นทุนเริ่มต้นในการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่
เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,612
ที่บริเวณบ้านหัวยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับตีนสะพานข้ามลำน้ำปิง ฝั่งนครชุม มีสถานที่หนึ่ง ชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านวังแปบ เล่ากันว่า เดิมเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง ที่เรียกขานกันว่าเมืองแปบ เป็นเมืองโบราณ อายุกว่าพันปี ปัจจุบันน้ำกัดเซาะจนเมืองเกือบทั้งเมืองตกลงไปในลำน้ำปิง เหลือโบราณสถานไม่กี่แห่งที่เป็นหลักฐานว่า บริเวณแห่งนี้ เคยเป็นเมืองสำคัญมาก่อน มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า
เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,658