ประเพณีสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพง

ประเพณีสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพง

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้ชม 4,276

[16.4830586, 99.5229604, ประเพณีสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพง]

ประวัติความเป็นมา 
         จังหวัดกำแพงเพชรเป็นจังหวัดที่นิยมปลูกกล้วยไข่กันมาก จนกลายเป็นพืชผลเศรษฐกิจทำรายได้เข้าจังหวัดปีหนึ่งๆ ประมาณ 100 ล้านบาท ทำให้ "กล้วยไข่” ที่ชาวสวนทั่วไป มองเป็นผลไม้พื้นๆ กลายเป็นของมีราคาขึ้นมาทันที และทำให้กำแพงเพชรเป็นเมืองที่มีฉายาว่า "เมืองกล้วยไข่” โด่งดังไปทั่วประเทศ แรกเริ่มทีเดียวนั้นเล่ากันว่าเมื่อ 60 ปีมาแล้ว ได้มีการปลูกสวนกล้วยไข่กันก่อนที่บ้านเกาะตาล ตำบลแสนตอง อำเภอขาณุลักษบุรี โดยชาวจีนชื่อนายหะคึ้ง แซ่เล้า นำพันธุ์กล้วยไข่จากนครสวรรค์มาปลูก ต่อมาได้มีการขยายพันธุ์ออกไปตามท้องที่อำเภอต่างๆ ในที่สุด ไปปลูกมากในเขตอำเภอเมือง เนื่องจากมีสภาพดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวยในการเพาะปลูกถึงขั้นนี้ จึงได้มีการรวมกลุ่มเพื่อขยายตลาดให้กว้างเพียงพอต่อผลผลิตทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศได้ให้ความสนใจในกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร วิธีการส่งเสริมทางด้านการตลาดกล้วยไข่ที่หน่วยราชการ และผู้ประกอบการทำสวนกล้วยไข่ช่วยกันจนประสบความสำเร็จมากทางหนึ่ง นั่นคือการจัดกิจกรรมของงานให้เกี่ยวข้องกับกล้วยไข่
         ในช่วงวันสารทไทย ประมาณเดือนกันยายนของทุกปี จะมีผลผลิตของกล้วยไข่ออกมามาก ดังนั้นทางจังหวัดกำแพงเพชรจึงจัดงานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชรขึ้น เพื่อเผยแพร่กล้วยไข่ซึ่งเป็นผลไม้พื้นเมืองของจังหวัด และเป็นการส่งเสริมการขายกล้วยไข่ ของดี ของเด่น ประจำจังหวัดกำแพงเพชร ภายในงานมีกิจกรรมให้ร่วมสนุก มากมาย เช่น การประกวดกล้วยไข่ดิบ-สุก ชมขบวนแห่รถที่ประดับตกแต่งด้วยกล้วยไข่อย่างประณีต สวยงาม ชมการแสดงต่างๆ และร่วมพิธีกวนกระยาสารทกระทะหลวง นอกจากนี้ยังจัดให้มีการประกวดและจำหน่ายกล้วยไข่ การแข่งขันกวนกระยาสารท กวนข้าวกระยาทิพย์ งานนิทรรศการทางการเกษตร การออกร้านจำหน่ายสินค้าและการแสดงมหรสพต่างๆ การออกร้านจำหน่วยสินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ ณ บริเวณลานโพธิ์ หน้าที่ว่าการอำเภอเมือง จ.กำแพงเพชร ในงานนี้ทุกท่านจะได้ชิมกระ ยาสารทแสนอร่อยจากยอดฝีมือที่ชนะเลิศการประกวดจากปีก่อนๆ รวมถึงกิจกรรมผ้าป่าแถว กิจกรรมทางพุทธศาสนา ที่เป็นประเพณีดั้งเดิมตั้งแต่พุทธกาล  สารท เป็นคำของอินเดีย หมายถึง ฤดู ตรงกับฤดูในภาษาอังกฤษว่า Autumn แปลว่าฤดูใบไม้ร่วง อยู่ในระหว่างฤดูฝนกับหนาว สำหรับคนไทย สารทเป็นการทำบุญกลางปีซึ่งตรงกับวันสิ้นเดือน 10 หรือวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 ในอดีตพิธีนี้เป็นของพราหมณ์มาก่อน กล่าวคือเมื่อถึงเดือน 10 เป็นฤดูที่ข้าวสาลีในนาออกรวงอ่อนเป็นน้ำนม ผู้คนพากันเก็บเกี่ยวรวงข้าวสาลีอันเป็นผลแรกได้มาทำมธุปายาสและยาคูเลี้ยงพราหมณ์ เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนา อีกประการหนึ่งคือทำเพื่อเซ่นไหว้บุรพชน คือ ปู่ ย่า ตา ยาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อมาผู้ที่เคยนับถือศาสนาพราหมณ์แล้วกลับมานับถือพระพุทธศาสนา เมื่อถึงคราวที่เคยทำบุญตามฤดูกาลให้แก่พราหมณ์ ก็จัดทำถวายพระสงฆ์เหมือนที่เคยทำแก่พราหมณ์ ถือกันว่าการทำบุญด้วยของแรกได้เป็นผลานิสงส์อย่างยิ่ง และเมื่อทำบุญแล้ว มักจะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว การทำพิธีอุทิศให้แก่ผู้ตายของชาวฮินดูเรียกว่า "ศราทธ์" ออกเสียงเหมือนกับคำว่า "สารท" ในภาษาไทย ซึ่งเป็นชื่อฤดู สำหรับอาหารที่ทำในเทศกาลสารทถวายพระสงฆ์นี้ เรียกว่า "กระยาสารท" แปลว่า "อาหารที่ทำให้ฤดูสารท" โดยส่วนผสมของกระยาสารทไทยนี้จะประกอบไปด้วยข้าวตอก ข้าวเม่า ถั่วลิสง งา นำมาคั่วให้สุกเสียก่อน แล้วจึงนำมากวนกับน้ำอ้อยกวนให้เหนียวกรอบเกาะกันเป็นปึกจะทำกรอบเป็นก้อนหรือตัดเป็นชิ้นๆ ห่อด้วยใบตองแห้งใส่ไว้ในโหลหรือปีบ ซึ่งหลังจากจัดทำถวายพระสงฆ์แล้วมักจะนำไปแจกจ่ายเพื่อนบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล    
         ประเพณีสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเป็นประเพณีที่จัดขึ้นในช่วงวันสารท เดือน 10 ประมาณปลายเดือนกันยายน หรือ ต้นเดือนตุลาคมของทุกปี ซึ่งจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลิตผลทางการเกษตรที่นำชื่อเสียงและทำรายได้ให้แก่จังหวัดเป็นอย่างมาก คือ กล้วยไข่ ในงานจะมีการประกวดกล้วยไข่ประกวดพืชผลทางเกษตร พิธีกวนข้าวกระยาทิพย์ ซึ่งเป็นพิธีเก่าแก่ตั้งแต่ครั้งพุทธกาล การกวนกระยาสารท การแสดงสินค้าพื้นเมือง ประกวดการตกแต่งรถขบวนแห่อย่างวิจิตรตระการตาด้วยส่วนประกอบต่างๆ ของต้นกล้วยไข่ นับเป็นงานประเพณีสำคัญที่จังหวัดจัดเป็นประจำทุกปี

 

คำสำคัญ : สารทไทย งานกล้วยไข่

ที่มา : http://www.sawadee.co.th/thai/kamphaengphet/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ประเพณีสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพง. สืบค้น 20 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=133&code_db=DB0001&code_type=002

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=133&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

พิธีทำบุญในไร่ข้าว

พิธีทำบุญในไร่ข้าว

พิธีนี้จะทำหลังจากทำพิธีปลูกข้าวเริ่มแรกประมาณ 1 เดือน หรือ ประมาณ 3 อาทิตย์ของอาข่า (สุ่มนองจ๊อง) ทำเพื่อให้ผลผลิตในไร่ข้าวเจริญงอกงาม ปราศจากสิ่งรบกวน เช่น ตั๊กแตน ปลวก ฯลฯ ในการทำพิธีนี้ต้องนับวันฤกษ์วันดีของครอบครัว (เป็นวันเกิดของคนในครอบครัว แต่ไม่ตรงกับวันตายโหงของคนในครอบครัว) การประกอบพิธี แบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ การประกอบพิธีแบบธรรมดาโดยใช้ไก่ และการประกอบพิธีขนาดใหญ่โดยใช้หมู

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 943

วัฒนธรรมข้ามโลก

วัฒนธรรมข้ามโลก

ความรักและบุเพสันนิวาส เป็นสิ่งที่ไม่มีคำตอบและคำถาม ว่าทำไมคนสองคนที่อยู่ห่างไกลกันคนละซีกโลก จึงมีโอกาสได้อยู่ด้วยกัน ได้รักกัน ได้ใช้ชีวิตร่วมกัน เพราะโลกไร้พรมแดนอย่างจริงจัง การที่สาวไทยไปแต่งงานกับคนต่างชาติ มีมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย พม่า กะเหรี่ยง เวียดนาม ลาว หรือชาติบ้านใกล้เรือนเคียง ปัจจุบันยุโรปและอเมริกา คนละซีกโลก แต่เพียงลัดนิ้วมือเดียว ก็ลัดฟ้ามาพบกันได้ เราจึงเรียกเขยฝรั่งเหล่านี้ว่า สานสัมพันธ์วัฒนธรรมข้ามโลก ดำเนินการโดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 893

ประเพณีการเกิด

ประเพณีการเกิด

ระยะตั้งท้องผู้เป็นแม่ต้องระมัดระวังตัวเป็นพิเศษ ทำให้เกิดความเชื่อถือหลายอย่าง เช่น ให้นำดอกบัวที่บูชาพระมาต้มกินจะทำให้เด็กในท้องแข็งแรง เวลามีสุริยคราสหรือจันทรคราสให้เอาเข็มมากลัดที่ชายผ้า จะทำให้เด็กเกิดมาอาการครบ 32 และให้นั่งถัดบันไดจะทำให้คลอดง่าย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 6,436

ตลาดชาวบ้าน

ตลาดชาวบ้าน

ในงานเฉลิมฉลองครบรอบร้อยปี การเสด็จประพาสต้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 18-27 สิงหาคม พ.ศ. 2449 จังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการสนับสนุน จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดตลาดชาวบ้านและตลาดชาววังขึ้น ในส่วนของตลาดชาวบ้านนั้น ได้รับความอนุเคราะห์จากเทศบาลตำบลนครชุม ซึ่งชาวบ้านได้รักษาวิถีชีวิตของชุมชนไว้ได้อย่างไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ในวันที่ 20-21 สิงหาคม 2549 จึงเกิดตลาดชาวบ้านขึ้นผู้แสดงล้วนมาจากตำบลนครชุมทั้งสิ้น

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,907

ความเชื่อเรื่องกล้วย

ความเชื่อเรื่องกล้วย

ชื่อกันว่า นางพรายตานี เป็นผีที่อาศัยอยู่ในต้นกล้วยตานีเป็นผีผู้หญิง หน้าตาสวยงาม ผิวขาวมักจะปรากฏให้เห็นตอนกลางคืนโดยจะออกมายืน หรือนั่งเล่นอยู่ใต้ต้นกล้วยตานี มีข้อสังเกตุว่า ต้นกล้วยที่มีนางพรายตานีสิงอยู่มักจะมีลำต้นสะอาด ไม่มีกาบแห้ง ใบของกล้วยจะเขียวสดใส และบริเวณรอบต้นกล้วยก็จะสะอาด โล่งเตียน

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 6,436

การแต่งกายของชาวกำแพงเพชร

การแต่งกายของชาวกำแพงเพชร

จุดกำเนิดของการแต่งกายต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากการพบชุมชนโบราณที่เขากะล่อน พบเครื่องประดับประเภททำด้วยหิน เช่น กำไล หินขัด ชุมชนโบราณบ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดทำจากแร่อะเกตตา เนียล และชุมชนโบราณเมืองไตรตรึงษ์ พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินทำเป็นสร้อยคอและสร้อยข้อมือ เป็นจุดกำเนิดของการแต่งกายของชาวกำแพงเพชรสมัยก่อนประวัติศาสตร์เท่าที่สืบค้นได้ในปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 5,106

ประเพณีบุญบั้งไฟ เทศบาลตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีบุญบั้งไฟ เทศบาลตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล จังหวัดกำแพงเพชร

งานประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีสำคัญของชาวอีสาน จัดขึ้นเพื่อเป็นการบวงสรวง พระอิศวร ซึ่งมีตำนานพื้นบ้าน เล่าลือกันมาว่า พญาแถน เป็นเทพยดา มีหน้าที่บันดาลให้ฝนตกในเมืองมนุษย์ พญาแถนเกิดความไม่พอใจชาวโลกจึงบันดาลไม่ให้ฝนตกตามฤดูกาล แล้งตลอด 7 ปี 7 เดือน 7วัน ทำให้พืช สัตว์ มนุษย์ ล้มตายไปเป็นจำนวนมาก ชาวเมืองทนไม่ไหว จึงคิดทำสงครามกับพญาแถน แต่สู้พญาแถนไม่ได้ จึงถูกไล่ล่าหนีมาถึงต้นไม้ใหญ่ที่พญาคางคกอาศัยอยู่ พญาคางคกนั้นคือพระโพธิสัตว์ บรรดาผู้หนีการล่าของพญาแถน ตกลงทำสงครามกับพญาแถนพญาปลวก ก่อจอมปลวกไปถึงสวรรค์ พญามอดไปทำลายด้ามอาวุธของทหารและอาวุธพญาแถนพญาผึ้ง ต่อ แตน ไปต่อยทหารพญาแถน พญาแถนกับเทวดาพ่ายแพ้

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 5,486

ประเพณีกินแกงขี้เหล็กในวันเพ็ญเดือน 12

ประเพณีกินแกงขี้เหล็กในวันเพ็ญเดือน 12

ขี้เหล็กเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง คนโบราณเอาใบอ่อนและดอกมาปรุงเป็นของกิน ในวันเพ็ญ เดือน 12 ทำแกงขี้เหล็กกันทุกครัวเรือน คนนครชุมโบราณถือว่า วันเพ็ญเดือน 12 ยอดขี้เหล็กจะเป็นยารักษาสารพัดโรค แต่ต้องเก็บตอนเช้ามืด โดยมีความเชื่อที่ว่า การปรุงแกงขี้เหล็กเพื่อเป็นยาอายุวัฒนะ ก่อนหน้าการลอยกระทงเพียง 12 ชั่วโมง ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น จะมีพิธีพลียาจากต้นขี้เหล็ก เพราะมีความเชื่อว่าต้นขี้เหล็กจะมีเทพเทวดาคอยรักษา จึงต้องทำพิธีนี้ขึ้นเพื่อขออนุญาตนำดอกขี้เหล็กและใบอ่อนไปปรุงเป็นอาหารและต้องแกงขี้เหล็กให้เสร็จภายในวันนั้น จะเก็บล่วงหน้าไม่ได้ มิฉะนั้นสรรพคุณจะไม่ขลัง 

เผยแพร่เมื่อ 04-08-2022 ผู้เช้าชม 2,683

ตานก๋วยสลาก ประเพณีโบราณของคนไทย

ตานก๋วยสลาก ประเพณีโบราณของคนไทย

ประเพณีตานก๋วยสลาก หรือประเพณีกิ๋นข้าวสลาก เป็นประเพณีทำบุญโดยมิได้เลือกเจาะจงพระภิกษุ สามเณรรูปใดรูปหนึ่งของชาวล้านนา ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับประเพณีถวายสลากภัตของชาวไทยภาคกลาง หากทางล้านนานิยมเป็นการทำบุญจตุปัจจัยถวายแด่พระสงฆ์ โดยมิต้องมีการทำบุญเป็นภัตตาหารต่าง ๆ เช่นเดียวกับภาคกลาง ประเพณีตานก๋วยสลาก “กิ๋นก๋วยสลาก” หรือประเพณีสลากภัต มักจะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี หรือจะจัดขึ้นในเดือน 11 เหนือ (คือเดือน 10 ใต้ เดือนกันยายน) และสิ้นสุดเอาในเดือนเกี๋ยงดับ (เดือน 11) ตานก๋วยสลากในกำแพงเพชรนั้นจะจัดขึ้น ณ สถานที่วัดน้ำโท้ง ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งตานก๋วยสลากจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ก๋วยน้อย และ ก๋วยใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 21,968

ประเพณีวันออกพรรษา

ประเพณีวันออกพรรษา

การออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะจัดเป็นญัตติกรรมวาจาสังฆกรรมประเภทหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดยพระวินัยบัญญัติให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอด เมื่อถึง วันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,700