ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง”  ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้ชม 2,223

[16.4264988, 99.2157188, ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)]

          เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จตรวจตราโบราณสถานในเขตเมืองและนอกเมืองของเมืองกำแพงเพชรจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้วได้เสด็จต่อไปเพื่อสำรวจร่องรอยตามเส้นทางถนนพระร่วง วันที่ 18 มกราคม 2450 เสด็จออกจากเมืองกำแพงเพชรทางประตูสะพานโคม แล้วเสด็จไปตามแนวถนนพระร่วง ผ่านเมืองพลับพลา เขานางทอง ประทับพักแรมที่เมืองบางพาน จากเมืองกำแพงเพชร สุโขทัย ศรีสัชนาลัย มีเส้นทางที่ใช้เชื่อมต่อกันเรื่อยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ แต่เดิมอาจเป็นเส้นทางธรรมดา ภายหลังมีการยกคันดินขึ้นเป็นถนนแล้วเรียกชื่อว่า “ถนนพระร่วง” มี 2 สาย คือ สายเหนือจากเมืองสุโขทัยถึงเมืองศรีสัชนาลัย สายใต้จากเมืองสุโขทัยถึงเมืองกำแพงเพชร รวม ระยะทางทั้งสิ้น 123 กิโลเมตร ถือเป็นโบราณสถานอันทรงคุณค่าอีกแห่งหนึ่งที่ผู้คนทั้ง 3 เมืองต่างภูมิใจ เพราะถือเป็นทางหลวงแผ่นดินสายแรกของประเทศไทย ถนนพระร่วงเริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อใด ไม่มีใครทราบได้ แต่ถ้าสอบถามชาวบ้านที่อยู่ในเขตเมืองกำแพงเพชร สุโขทัย ศรีสัชนาลัย มักได้คำตอบว่า ถนนสายนี้มีมานานแล้วเห็นกันมาตั้งแต่ปู่ย่าตายายยังเด็ก พร้อมกับมีเรื่องเล่าปรัมปราถึงพระร่วงเจ้าทรงชอบเล่นว่าว เลยสร้างถนนขึ้นมาเพื่อใช้เป็นที่เล่นว่าว หรือบ้างก็ว่าพระร่วงเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์เสด็จไปยังเมืองศรีสัชนาลัย ระหว่าวที่อยู่ในขบวนได้ใช้พระบาทข้างซ้าย ข้างขวาเกลี่ยดินเล่นพูนขึ้นเป็นถนน ส่วนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าสร้างขึ้นมาในสมัยพ่อขุนรามคำแหงหรือพระยาลิไทกันแน่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นพระบรมโอรสาธิราชเป็น พระองค์แรกที่ได้สำรวจถนนพระร่วงโดยออกเดินทางตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม – 2 กมุภาพันธ์ พ.ศ 2450 แล้วทรงบันทึกเส้นทางเอาไว้ในหนังสือ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ซึ่งเป็นหนังสือแนะนำการท่องเที่ยวที่ดีเล่มหนึ่งของประเทศไทย เพราะนอกจากจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวแล้วยังมีสาระทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ สามารถนำไปศศึกษาค้นคว้าได้หลายเรื่องราว  การสำรวจถนนพระร่วงในช่วงหลังได้มีการสำรวจกันกหลายครั้งค จากกรมศิลปากร นักวิชาการมหาวิทยาลัยหลายสถาบัน และล่าสุดคณะนักเรียนและครูมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษาของจังหวัดสุโขทัยและกำแพงเพชร ได้ร่วมกันถนนพระร่วงเมื่อปี พ.ศ. 2539 เป็นการตามรอยพระยุคลบาทของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่ทรงสำรวจไว้เป็นครั้งแรก การสำรวจในครั้งหลังนี้ใช้บุคลากรในท้องถิ่น และอยู่ใกล้กลับแห่งประวัติศาสตร์มากที่สุด
          หลักฐานสำคัญที่ยืนยันว่า ถนนพระร่วงเป็นถนนโบราณใช้เป็นเส้นทางคมนาคมทางบกคือจารึกบนฐานพระอิศวรสัมฤทธิ์ที่เคยประดิษฐานอยู่ที่เทวสถานในเมืองกำแพงเพชร กล่าวถึง พ.ศ. 2053 พระยาศรีธรรมาโศกราช ได้ประดิษฐานพระอิศวรไว้ให้คุ้มครองผู้คนและสัตว์ในเมืองกำแพงเพชร พร้อมทั้งซ่อมแปลงพระมหาธาตุ วัดต่าง ๆ ทั้งในเมืองนอกเมือง และมีการซ่อมแซมถนนใหญ่ (ถนนถลา) ซึ่งชำรุดลบเลือนไปแล้วถึงเมืองบางพาน ด้วยความสนใจในสภาพของถนนพระร่วงโบราณสถานสำคัญที่อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร จึงออกสำรวจร่องรอยที่เหลืออยู่ โดยเริ่มต้นที่ป้อมวัดช้าง พร้อมแผนที่ซึ่งคัดลอกมาจากหนังสือเที่ยวเมืองพระร่วง เพื่อหาร่องรอยของถนนพระร่วงสายใต้จากเมืองกำแพงเพชรสู่เมืองบางพานถึงเมืองสุโขทัยจากวัดช้าง เดินเท้าผ่านทุ่งนา ไร่กล้วยไข่ ยังไม่มีร่องรอยของถนนพระร่วงปรากฏให้เห็น เพราะถูกร้อถอนทำลายจนสิ้นสภาพไปหมดแล้ว ย่ำต่อไปด้วยด้วยความเหน็ดเหนื่อยและท้อใจกลับจะไม่พบแนวคันดินถนนโบราณที่อุตส่าห์ ดั้นด้นออกค้นหา เดินจากวัดช้างไปได้ประมาณ 5 กิโลเมตร พบวัดเก่ารกร้างไม่ได้บูรณตกแต่ง มีป้ายชื่อบอกให้รู้ว่าเป็นวัดอาวาสน้อย จึงเข้าไปสำรวจเที่ยวชมได้พบร่องรอยของโบราณสถานอันยิ่งใหญ่ จากนั้นมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกของวัดได้พบคันดินถมสูงขึ้นจากพื้นราบ 1 เมตร กว้าง 5-6 เมตร มีระยะยาวเพียง 50 เมตร ชาวบ้านแถวนั้นยืนยันว่าเป็นคันดินของถนนพระร่วงอย่างแท้จริง ณ ที่บริเวณนี้เมื่อปี พ.ศ. 2535 ดร.ไพฑูรย์  มีกุศล เคยมาสำรวจแล้วบันทึกเอาไว้พบวา่มีคันดินเป็นแนวถนนประมาณ 200เมตร แต่เพียงไม่กี่ปีต่อมาถูกทำลายไปจนเกือบหมดแล้ว
           แนวของถนนพระร่วงจากเมืองกำแพงเพชรไปยังเมืองสุโขทัย ถ้ายึดตามแผนที่ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเริ่มต้นจากป้อมวัดช้างที่อยู่นอกเมืองกำแพงเพชรขึ้นไปทางเหนือผ่านวัดช้าง วัดอาวาสน้อย บ้านบ่อสามแสน เมืองบางพาน เชิงเขานางทอง บ้านพรานกระต่ายใต้ (วัดไตรภูมิ) บ้านพรานกระต่ายเหนือ เข้าสู่บ้านเหมืองหาดทราย เมืองคีรีมาศ ไปจนถึงเมืองสุโขทัย รวมระยะทางประมาณ 73 กิโลเมตร ระหว่างทางที่ได้สำรวจพบแท่งศิลาแลงปักอยู่บนเนินดิน มีเศษกระเบื้องมุงหลังคาหักพังถมอยู่ นักวิชาการทางโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นศาลาที่พักริมทาง ถัดไปไม่ไกลมองเห็นซากโบราณสถานอยู่กลางบ่อลูกรังขนาดใหญ่ที่ถูกขุดลงไปจนลึกมาก อยากที่จะเข้าไปดู เห็นแล้วรู้สึกเสียดายเพราะคงไม่สามารถบูรณะซ่อมแซมได้ ทำให้ไม่ทราบถึงความสัมพันธ์ของถนนพระร่วงกับโบราณสถานแห่งนี้เกี่ยวข้องกันอย่างไร ถือเป็นตัวอย่างอันสำคัญของความเห็นแก่ได้ของคนในยุนี้ที่กล้าทำลายความยิ่งใหญ่ของบรรพบุรุษลงได้อย่างไร้จิตสำนึก

คำสำคัญ : เที่ยวเมืองพระร่วง, ถนนพระร่วง

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ). สืบค้น 28 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1311&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1311&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

คัมภีร์คาถาชินบัญชรสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พบในเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

คัมภีร์คาถาชินบัญชรสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พบในเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

คำว่า ชินบัญชร นั้นแปลว่า กรง หรือ เกราะป้องกันภัยของพระพุทธเจ้า คำว่า ชิน หมายถึง พระพุทธเจ้า คำว่า บัญชร หมายถึง กรง หรือ เกราะ โดยที่เนื้อหาในคาถาในชินบัญชรนั้นจะเป็นการอัญเชิญพระพุทธเจ้าจำนวน 28 พระองค์ เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าพระนามว่าตัณหังกร เป็นต้น เดินทางลงมาสถิตอยู่ในทุกอณูของร่างกาย เพื่อเป็นการเสริมให้ตนเองนั้นมีพลังพุทธคุณให้ยิ่งใหญ่ จากนั้นจึงอัญเชิญพระอรหันต์ที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน 80 องค์ซึ่งเป็นผู้มีบารมีธรรมที่ยิ่งใหญ่ อีกทั้งยังได้มีการอาราธนาพระสูตรอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ทรงอานุภาพในด้านต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,526

ทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร

ทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร

ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร มีเมืองโบราณตั้งอยู่มากมาย ยืนยันได้ว่ากำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณมาช้านาน ไม่ต่ำกว่าพันปี เมืองที่รู้จักกันดี คือเมืองแปบ อยู่บริเวณตีนสะพานกำแพงเพชร ฝั่งนครชุม ตั้งแต่หัวยางถึงวัดพระบรมธาตุนครชุม แต่ปัจจุบันไม่พบหลักฐาน เพราะเมืองแปบทั้งเมืองถูกน้ำกัดเซาะทำลายสิ้นทั้งเมือง แต่ประชาชน ยังเรียกขาน บริเวณนี้ว่าวังแปบอยู่ เมืองเทพนคร อยู่บริเวณตำบลเทพนครในปัจจุบันสำรวจล่าสุดปี 2556 เดิมเมื่อฝรั่งเข้าไปทำเกษตร บริเวณนั้นเคยเรียกว่า ปางหรั่ง หรือปางฝรั่ง ปัจจุบันพบเพียงคูน้ำเพียงด้านเดียว พบป้อมปราการท้ายเมืองหนึ่งป้อม เพราะเมืองเทพนคร มีอายุอยู่ในระยะสั้นมาก อาจไม่ถึงช่วงสองร้อยปี (ราวพุทธศกัราช 1600-1800)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,190

เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์

เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์

มีนิทานอันลือชื่อในท้องถิ่นของชาวไตรตรึงษ์เรื่อง “ท้าวแสนปม” ซึ่งเล่าสืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณถือเป็น นิทานฉบับท้องถิ่นโดยมีการถอดความจากการเล่าของนายสรวง ทองสีอ่อน ชาวบ้านวังพระธาตุ ตำบลวังพระ ธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งได้เล่าไว้ดังนี้ “ประวัติเรื่องท้าวแสนปม เดิมทีท้าวแสนปมไม่ใช่คนที่อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร บ้านช่องพ่อแม่อยู่ที่ระแหง อยู่เหนือจังหวัดกำแพงเพชรขึ้นไป แต่พ่อแม่ของเจ้าแสนนี้ไม่ปรากฏว่าชื่ออะไร พอมีลูกชายก็ตั้งชื่อว่าเจ้าแสน เจ้าแสนคนนี้มีรูปร่างอัปลักษณ์ คือว่าผิวเนื้อของแกมีแต่ปุ่มเป็นปมขรุขระเหมือนผิวมะกรูด

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 984

เจ้าพ่อหลักเมือง

เจ้าพ่อหลักเมือง

เจ้าพ่อหลักเมือง คือ หลักใจของคนกำแพงเพชร เป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจมาหลายชั่วอายุคน ผู้ใดลำบากเดือดร้อนก็จะไปบนบานศาลกล่าว ขอให้เจ้าพ่อช่วยเหลือเหลือคุ้มครอง เจ้าพ่อหลักเมืองก็จักช่วยเหลือคุ้มครองทุกครั้ง จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วบ้านทั่วเมืองแม้คนต่างจังหวัดก็มาขอความช่วยเหลือจากเจ้าพ่อหลักเมืองกำแพงเพชร แม้ลำบากไกลแสนไกลก็ดั้นด้นกันมาพึ่งบารมีเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งเป็นเทพคุ้มครองเมืองกำแพงเพชรมาทุกยุคทุกสมัย อันเป็นภูมิปัญญาของคนไทยในสมัยโบราณในการสร้างบ้านแปงเมือง

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 2,024

เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์

เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์

บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงในเขตท้องที่ของจังหวัดกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงความเป็นอยู่ของชุมชน เคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมืองด้วยกัน คือ เมืองแปป เมือง กำแพงเพชร เมืองชากังราว เมืองนครชุม เมืองคณฑี เมืองไตรตรึงษ์ เมืองเทพนคร ฯลฯ ซึ่งชื่อเมืองเหล่านี้พบตามจารึก ในเอกสารต่าง ๆ โดยแต่ละเมืองมี ความสำคัญแตกต่างกันไปตามยุคสมัย เหมือนอย่างเมืองไตรตรึงษ์ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมโบราณระหว่างบ้านเมืองในแถบภาคกลางอย่างละโว้ อโยธยา และเมืองในเขตล้านนาอย่างหริภุญไชย เป็นเมืองสำคัญชั้น ลุงของกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยซึ่งเคยเข้ามาเป็นเจ้าครองเมือง และเป็นเมืองที่มีตำนานปรัมปราเรื่อง “ท้าวแสนปม” อันโด่งดัง

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,350

คำขวัญเมืองนครชุม

คำขวัญเมืองนครชุม

พระบรมธาตุคู่บ้าน พระยาวชิรปราการคุ้มเมือง ป้อมทุ่งเศรษฐีลื่อเลื่อง กำแพงเพชรเมือง700ปี คลองสวนหมากเสด็จประพาส ทุ่งมหาราชบทประพันธ์ดี หลวงพ่ออุโมงค์เป็นศักดิ์ศรี คนดีศรีเมืองนครชุม

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 2,511

ประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จากใบบอกเมืองกำแพงเพชร

ประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จากใบบอกเมืองกำแพงเพชร

ในสมัยโบราณ การติดต่อระหว่างเมืองประเทศราช เมืองพระยามหานคร และเมืองต่างๆ ในพระบรมโพธิสมภาร มีการติดต่อและรายงานโดยการใช้ใบบอก มีประโยชน์ในการรายงาน เรื่องราชการ ใบบอกเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง อาจมีข้อเท็จจริงอยู่ในใบบอกประสมกันอยู่ แต่อาจเป็นต้นเค้าของหลักฐานในการสืบค้นให้ลึกลงไปในอดีตที่ยังไม่มีใครสนใจนัก ประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นประวัติศาสตร์ของเมืองหลวงของราชธานี ส่วนประวัติศาสตร์ของหัวเมืองมิใคร่มีผู้ใดใส่ใจ ใบบอกจึงเป็นหลักฐานที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ฉายภาพในอดีตของแต่ละเมืองอย่างชัดเจนในสมัยนั้นๆ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 5,860

พะโป้วีรบุรุษแห่งบ้านปากคลอง

พะโป้วีรบุรุษแห่งบ้านปากคลอง

คำกล่าวถึงพะโป้ ในวรรณกรรมทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ ดูแต่วัดพระธาตุที่ทอดทิ้งกันชำรุดทรุดโทรมมาแต่สมัยปู่ย่าตายาย ใครล่ะทำนุบำรุง ใครล่ะปฏิสังขรณ์รื้อสร้างรวมเป็นองค์เดียว แล้วยกช่อฟ้าใบระกาใหม่? ใคร? นอกจากพญาตะก่ากับพะโป้ อย่าลืมว่านั่นเป็นกะเหรี่ยงสองพี่น้อง ไม่ใช่คนไทย ไม่ใช่คนพื้นเพปากคลอง ...นี่เองพะโป้ผู้ยิ่งใหญ่ พะโป้ผู้มีคุณแก่ขาวกำแพงเพชรโดยทั่วไป และคลองสวนหมากโดยเฉพาะ พะโป้ผู้นำฉัตรทองแต่ตะโก้ง (เมืองย่างกุ้ง)มาประดิษฐาน ณ ยอดพระบรมธาตุเป็นสัญลักษณ์แห่งบวรพระพุทธศาสนา

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,070

พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นบ้านปากคลองสวนหมาก

พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นบ้านปากคลองสวนหมาก

วันนี้ตื่นสาย อยู่ข้างจะฟกช้ำ 4โมงเช้า จึงได้ลงเรือเหลืองข้ามฟากไปฝั่งตะวันตกยังไม่ขึ้นที่วัดพระธาตุ เลยไปคลองสวนหมาก ต้องขึ้นไปไกลอยู่หน่อย ในคลองนี้น้ำไหลเชี่ยวแต่น้ำใส เพราะเป็นลำห้วย มีคลองแยกข้างขวามือ แต่ต้นทางที่จะเข้าไปเรียกว่า แม่พล้อ ถ้าไปตามลำคลอง 3 วันจึงถึงป่าไม้แต่มีหลักตอมาก เขาเดินขึ้นไปทางวันเดียวถึง ป่าไม้นี้ พะโป้กะเหรี่ยงในบังคับอังกฤษเป็นคนทำ เมียเป็นคนไทย ชื่ออำแดงทองย้อย เป็นบุตรผู้ใหญ่บ้านวันและอำแดงไทย ตั้งบ้านเรือนอยู่ติดกันในที่นั้นไปขึ้นถ่ายรูปที่บ้านสองบ้านนี้ แล้วจึงกลับออกมาจอดเรือกินกลางวันที่หาดกลางน้ำ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,199

เมืองไตรตรึงษ์สมัยพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น

เมืองไตรตรึงษ์สมัยพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพรจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หรือพระพุทธเจ้าหลวงของปวงชนชาวไทย ได้เสด็จประพาสต้นหัวเมืองทางเหนือโดยมีจุดปลายปลายทางอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร ในการเสด็จประพาสต้นในครั้งนั้นพระองค์ได้ทรงบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ  ที่ได้ทอดพระเนตรและทรงให้บันทึกเรื่องราวเอาไว้เป็นบทพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้น ซึ่งมีเนื้อเรื่องบางตอนเกี่ยวข้องกับเมืองไตรตรึงษ์ ดังข้อความดังนี้

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,141