บันทึกประวัติศาสตร์ไฟไหม้เมืองกำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุด
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้ชม 1,693
[16.3937891, 98.9529695, บันทึกประวัติศาสตร์ไฟไหม้เมืองกำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุด]
เมื่อวันศุกร์ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2506 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ ค.ศ. 1963 เวลาประมาณ 10.00 นาฬิกา เกิดไฟไหม้กำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ไหม้บ้านเรือนบนถนนเทศาทั้งสายประมาณร้อยหลังคาเรือนทั้งสองข้างถนน เริ่มจากบ้านของคนจีนท่านหนึ่ง (ขอสงวนนาม) ขายสิ่งของก่อสร้าง และของนานาชนิดใต้ถุนบ้าน เป็นที่เก็บถังน้ำมันยางจำนวนมากอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ในสมัยนั้นบ้านเรือนเป็นไม้ทั้งสิ้น บ้านต้นเพลิงอยู่บริเวณสวนสิริจิตอุทยานปัจจุบัน เมื่อเด็กซนคนหนึ่ง ได้จุดไฟขึ้นไฟไปถูกน้ำมันยางใต้ถุนบ้านไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว ไปทางเหนือ ไปทางใต้ ข้ามมายังฝั่ง โรงภาพยนตร์เกียรติดำรง (บริเวณตั้งแต่ธนาคารกรุงเทพฯ-ร้านชัยเบเกอรี่-ร้านขายเสื้อผ้า) ทางใต้ไหม้ไปสิ้นสุดบริเวณตลาดสดเย็น เรียกกันว่าตลาดสดไฟไหม้ ทางเหนือริมฝั่งน้ำปิงไหม้ไปถึงบ้านนายระไว ร้านซ่อมจักยานหน้าวัดเสด็จ ส่วนฝั่งเดียวกับบ้านต้นเพลิง คือด้านริมแม่น้ำปิง ทางใต้ไฟไหม้จากบ้านต้นเพลิงถึงร้านขายก๋วยเตี๋ยวยายพยุง (ร้านก๋วยเตี๋ยวถั่วฝักยาวด้านใต้ตลาดไนท์ปัจจุบัน) ซึ่งไม่มีบ้านผู้คนมาก (ปัจจุบันคงเหลือร้านตัดผมห้องแถวไม้ไว้เป็นที่ระลึก) เพราะเป็นริมฝั่งแม่น้ำปิง ทางทิศเหนือ ไฟไหม้จากบ้านฝั่งตรงข้ามต้นเพลิงขึ้นไปจนถึงรั้ววัดเสด็จ ประชาชนอลหม่านมาก ส่วนใหญ่ขนของลงไปหาดทราย บางรายลูกไฟตามไปไหม้อีก
ริมถนนฝั่งแม่น้ำปิงด้านใต้ ที่ถูกไฟไหม้ ได้แก่ ร้านยายพยุง ขายก๋วยเตี๋ยว บ้านครูคะนึง ไทยประสิทธิ์ (ลูกแม่นางจำนง ชูพินิจ ร้านเจ็กหงัง เจ๊ไฮ ขายของจิปาถะ ของกินของใช้ ถัดมาเป็นท่าเรือวัดบาง มีเขื่อนปูนติดถนน เสาบ้านอยู่น้ำ ถัดไปเป็นร้านคุณนายบุญเลื่อน ขายเครื่องเขียน บ้านครูศรีสวัสดิ์ ม่วงผล ร้านเจ๊กฮ้อ ขายบะหมี่ มีซอยท่าน้ำใหม่ ถัดไปเป็นห้องแถวยาว บ้านแม่ม่วย ห้องแถวสองชั้นขนาดใหญ่ขายผ้า (สกุลศุภอรรถพานิช) ร้านขายยาเจ๊กลี้ (ลูกสาวชื่อพริกขี้หนู) ต่อไปเป็นบ้านเจ๊กลี้เผ่ากับยายเชย สกุล สุวรรณวัฒนา ต่อมาเป็นบ้านยายลำดวน ทำหน้าที่รับจำนกของใช้ปีบใส่ของที่รับจำนำ บ้านยายแก่ขายกล้วยไข่สุก ใช้ตอกมักกล้วยเป็นมัด ๆ ยายเหงี่ยม เมียตาน้อย ขายเมี่ยง อมละ 10 สตางค์ และกล้วยมัน (ประมาณปี 2490) ถัดไปบ้านแม่ม่วย เจ๊กปอ ขายทอง บ้านป้าจั่นดี (ลูกแม่นาคกับเจ๊กพง) ต่อมาเป็นโรงแรม (เดิมเป็นบ้านยายตุ่น ตาไล้ มีลูกชื่อตาลวุ้น) ขายห้องแถวเป็นโรงแรมของอาโต้เจ๊กพง (คุณตาและคุณยายหมอโดมทำฟัน) บ้านยายแลง บ้านยายมะลิ เมียเจ็กจือ ทำบัญชีโรงสีพรานกระต่าย เจ้พ้ง เมียเจ๊กเต็ง บ้านพี่ยีวิรัตน์ บ้านยายเหลิม ขายขนมหวาน บ้านชังฮ้อ ขายทอง ถัดไปเป็นท่าน้ำ ถัดไปเป็นห้องแถวเจ๊กเฮง ขายของทุกอย่างถัดไปเป็นร้านตัดผม ผู้ชาย ร้านเจ๊กหยี่ ตัดเสื้อผ้า ถัดไปเป็นบ้านตารอดยายก้าน ขายใบเมี่ยง ของโชห่วย หัดให้แม่ถุงเงิน (คุณแม่เครือมาส จารุวัฒน์) ขี่จักรยาน ต่อไปบ้านยายช่วย 2 ชั้น เมียมหาขายยาสมุนไพรโบราณ บ้านยายนกแก้ว ขายตุ๊กตา ศาลพระภูมิ และเครื่องศาลพระภูมิ บ้านเจ๊กเล้ง 2 ชั้น ขายของจิปาถะ บ้านยายพลอยตาอุ่น สกุลเขียวแก้ว ศึกษาอำเภอพรานกระต่าย จบที่บ้านนายระไว ซ่อมจักรยาน และถึงท่าน้ำวัดเสด็จ หมดเขตไฟไหม้
ทางฝั่งวัดเสด็จ เริ่มจากบ้านแม่รอด (แม่ ส.ส.เรืองวิทย์) ห้องแถวไม้ชั้นเดียว เป็นบ้านยายหยุดเจ๊กกัง ขายของชำ ถัดไปเป็นบ้านยายเงินขายผักขายเมี่ยง บ้านเจ๊กท้งขายมะหมี่ เป็นซอยโรงแรมราชดำเนิน ถัดไปเป็นบ้านนายท้ายเกษม ยายทองดา สกุลกล้าตลุมบอน ถัดไปถึงบ้านปู่ชื่น (บ้านแม่ถุงเงิน) ถัดไปเป็นบ้านนายวงค์ บ้านแถงสองชั้น บ้านเจ๊กเอง บ้านเจ๊กกวาง บ้านยายเพิ่ม ตาปานทำงานบัญชีเทศบาล (ครูสุพรรณลูกเขย ลูกสาว ครูเพ็ญพักตร์) ซอยยายหาด บ้านแม่ยี่นายเทียม พวกสกุลกุลสุ (นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองกำแพงเพชร) ถัดไปเป็นตาเชิญ ยายเซีย สกุลชาญเชี่ยว ค้าไม้ ถัดไปเป็นบ้านตาอ๋อ ยายอยู่ ลูกหลวงภักดี บ้านแถวไม้ บ้านเสี่ยโต (คุณสุรชัย ธัชยพงษ์ ปัจจุบันเป็นโรงแรมชากังราวริเวอร์วิว) ร้านตัดเสื้อผ้าโกวั้น ร้านเจ็กบุ่น ขายข้าวหมูแดง หมูกรอบ ถัดไปเป็นซอยวัดบางตรงข้ามกับท่าเรือ ถัดไปเป็นห้องแถวยายจู เจ๊กย้ง เจ้ส่ึง เป็นโรงแรมมีร้านอาหารอยู่ชั้นล่าง โรงภาพยนตร์เกียรติดำรง โรงยาฝิ่น ถัดไปเป็นโรงเหล้ากำแพงเพชร มาหยุดที่บ้านยายมดแดง ที่ปรากฎให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน
ไฟไหม้ทั้งหมด เหตุการณ์ผ่านมา กว่า 50 ปี ความทรงจำเหล่านี้ สมควรได้รับการบันทึกไว้อย่างเป็นทางการ เพราะผู้คนที่เกิดทันพากันเลือนรางภาพเหล่านี้สิ้น วันที่ 26 เมษายน 2506 ผู้เขียนอายุ 15 ปี กำลังขึ้น ม.ศ.3 ที่โรงเรียนกำแพงเพชรวัชรราษฎร์วิทยาลัย บ้านอยู่ห่างจากไฟไหม้ เล็กน้อย (เยื้องโรงพยาบาลแพทย์บัณฑิตในปัจจุบัน) ความร้อนจากเปลวไฟมาถึงที่บ้านด้วย และได้อพยพผู้คน ข้าวของลงไปหาดทราย เช่นกัน มีโอกาสได้ขี่จักรยานไปดูไฟไหม้อย่างละเอียด ไหม้อยู่ทั้งวันทั้งคืน จนมอดสนิท ในวันที่ 28 เมษายน นับเป็นหายนะครั้งใหญ่สุดในเมืองกำแพงเพชร บริเวณไฟไหม้ริมฝั่งแม่น้ำปิง ทางราชการห้ามมิให้ปลูกอาคารบ้านเรือน ต่อมามีการฟ้องร้องกัน ศาลตัดสินให้เจ้าของเดิมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงเริ่มปลูกอาคารบ้านเรือนกันอีกครั้ง (ความจริง เมื่อขยายถนนเทศาออกมานั้นทับที่ดินบ้านเรือนไฟไหม้ไปหมดแล้ว เพราะใต้ถุนบ้านทุกหลัง เสาแช่อยู่ในแม่น้ำปิง ดูแนวเดิมของถนนเทศาได้บริเวณบ้านที่ไม่ถูกไฟไหม้)
คำสำคัญ : กำแพงเพชร, ไฟไหม้
ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). บันทึกประวัติศาสตร์ไฟไหม้เมืองกำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุด. สืบค้น 14 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1298&code_db=610001&code_type=01
Google search
ตำนานพระแก้วมรกต จากพงศาวดารเหนือ ความว่า พระเจ้าอาทิตย์ราชก็ทรงปิติโสมนัสพระทัยหาที่สุดมิได้ ก็เข้าถวายบูชาพระแก้วมรกตทุกวันมิได้ขาด ด้วยอานุภาพของพระแก้วมรกต พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองมากในกรุงศรีอโยธยา สืบกษัตริย์ต่อมาได้หลายชั่วกษัตริย์ อยู่ต่อมาข้างหน้า เจ้าพระยากำแพงเพชรก็ยกกองทัพเรือมาทูลขอพระแก้วเจ้าขึ้นไปไว้เมืองกำแพงเพชร ต่อมามินานท่านก็มีพระราชบุตรพระองค์หนึ่ง เมื่อเจริญเติบโตขึ้นพระองค์ตั้งให้ขึ้นไปครองเมืองละโว้ ครั้นนั้นพระราชบุตรมีความระลึกถึงพระแก้วมรกตเป็นที่สุด ด้วยมีน้ำพระทัยอยากได้พระแก้วมรกตไว้ปฏิบัติบูชารักษา
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 3,415
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาแม้ความสำคัญของการเป็นเมืองร่วมสมัยกับกรุงสุโขทัยอาจลดลงไป แต่ก็ยังเป็นชุมชนสืบเนื่องต่อกัน ดังหลักฐานในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ กล่าวไว้ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถได้ยกทัพไปตีเมืองเถิน ระหว่างที่เดินทางขึ้นมาได้นำทัพหลวงไปตั้งพักทัพที่ตำบลบ้านโคน ดังข้อความในประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 3 กล่าวไว้ว่า “ศักราช 804 ปีจอจัตวาศก (พ.ศ.1985) แต่ทัพไปเอาเมืองศรีสพเถิน ครั้งนั้นเสด็จหนุนทัพขึ้นไปตั้งทัพหลวงตำบลบ้านโคน” ข้อความนี้ในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐกล่าวว่าเป็น ศักราช 818 ชวดศก (พ.ศ. 1999)
เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,724
มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า พญาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย เมื่อขึ้นครองราชย์ ณ กรุงสุโขทัย บรรดาหัวเมืองต่างๆ พากันแข็งเมือง ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจของพญาลิไท เช่น เมืองบางพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม พญาลิไท จึงเสด็จมาด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงนำพระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ มาจากประเทศศรีลังกา มาแสดงความเป็นไมตรี เมื่อเมืองนครชุมรับไมตรี พญาลิไท จึงนำพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,257
พวกฮ่อนี้เดิมทีเป็นจีนแท้ ทำการขบถขึ้นในเมืองจีน เรียกว่าพวกขบถ “ไต้เผง” จะช่วงชิงอำนาจกับพวก “เม่งจู” ในที่สุดพวกไต้เผงสู้พวกเม่งจูไม่ได้ ต้องแตกฉานซ่านเซ็นหลบหนีไปซุ่มซ่อนตัวตามป่าเขา จีนขบถไต้เผงพวกหนึ่งมีกำลังหลายพันคน หัวหน้ากลุ่มชื่อ “จ่ออาจง” อพยพเข้ามาอยู่ในเขตแดน ญวน ทางเมืองตั้งเกี๋ยเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๐๐ ฝ่ายพวกญวนเห็นว่าพวกขบถไต้เผงอพยพเข้ามในเขตของตน เกรงว่าจะเป็นอันตราต่อญวนในภายภาคหน้า จึงแต่งฑูตเข้าไปในประเทศจีน ขอกองทัพจากกษัตริย์เม่งจู มาสมทบกับกองทัพของญวน ช่วยกันขับไล่พวกขบถ พวกกบถก็แตกทัพลงมาในดินแดนของพวกแม้ว คือชายแดนจีนติดต่อกับดินแดนสิบสองจุไทย พวกขบถได้รวบรวมกันและตั้งมั่นอยู่ และได้เรียกชื่อใหม่ว่าเป็น “พวกฮ่อ”
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 2,917
ข้อความในจารึกหลักที่ 2 ศิลาจารึกวัดศรีชุม ในหนังสือประชุมศิลาจารึกภาคที่ 1 หน้าที่ 37-39 ในบรรทัดที่ 21-40 อธิบายโดยสรุปว่า พ่อขุนศรีนาวนาถม ได้ครอบครองเมืองสุโขทัยและ เมืองศรีสัชนาลัยมาก่อน หลังสิ้นพ่อขุนศรีนาวนาถมแล้ว พ่อขุนบางกลางหาว ได้เข้ามาครอบครอง ต่อมาถูกขอมขยายอำนาจยึดเมืองต่าง ๆ ได้ พ่อขุนบางกลางหาวจึงต้องขอความช่วยเหลือไปยังพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดซึ่งเป็นโอรสของพ่อขุนศรีนาวนาถม พ่อขุนผาเมืองได้สั่งให้พ่อขุนบางกลางหาวไปนำทหารของพระองค์ที่เมืองบางยางมาสู้รบ พ่อขุนบางกลางหาวก็ยังไม่สามารถที่จะชนะขอมสบาดโขลญลำพงได้ จนทำให้พ่อขุนผาเมืองต้องยกทัพออกมาช่วย จนในที่สุดได้เมืองบางขลัง ศรีสัชนาลัย และเมืองสุโขทัยคืน ได้และพ่อขุนผาเมืองได้อภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยทรงพระนามว่า “ศรีอินทรบดินทราทิตย์”
เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 4,841
เมืองไตรตรึงษ์ในสมัยสุโขทัยคงจะมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากโดยได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย เป็นเมืองขึ้นของเมืองลูกหลวงกำแพงเพชร เพราะในช่วงนั้นสุโขทัยได้ขยายอาณาจักรลงมาทางตอนใต้ยึดได้เมืองไตรตรึงษ์ เลยลงไปถึงเมืองนครพระราม (ชัยนาท) โดยส่งลุงของกษัตริย์สุโขทัยมาเป็นเจ้าเมือง หลักฐานที่ว่าเมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองสำคัญชั้นลุงของกษัตริย์กรุงสุโขทัยคือข้อความที่พบในศิลาจารึกสุโขทัย (กฎหมายลักษณะโจร)
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,060
กำแพงเพชร มีเทวรูปศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มครองสัตว์สองตีนสี่ตีนในเมืองกำแพงเพชรมาช้านาน สิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นคือเทวรูปพระอิศวร พระอิศวร คือเทพสูงสุดแห่งศาสนาพราหมณ์ เรียกกันว่าพระศิวะก็ได้ พระอิศวรเป็นเทพเจ้าที่มีอำนาจมากและดุร้าย จึงนับว่าเป็นเทพผู้สร้าง ผู้ทำลาย เป็นเทพที่มีลักษณะพิเศษ คือพระศอสีนิล พระองค์สีแดง มีพระเนตรที่สาม เมื่อลืมตาที่สามแล้วจะทำลายล้างโลกได้สิ้น แล้วจึงสร้างใหม่ สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของการเกิดคือ ศิวลึงค์ พระอิศวรมีพระมเหสี คือพระนางอุมาเทวี พระอิศวร มีงูเป็นสังวาล กะโหลกศีรษะมนุษย์ร้อยเป็นสร้อยพระศอ ทรงโคเผือก อุศุภราช นุ่งหนังเสือ แบบพระฤาษีทรงพระจันทร์เป็นปิ่นปักผม สถิต ณ เขาไกรลาส เป็นที่เคารพบูชาของผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์ทั่วโลก
เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 3,421
มีตำนานของแม่น้ำเจ้าพระยาที่เกี่ยวข้องอยู่กับเมืองไตรตรึงษ์อยู่ด้วย โดยได้เค้าเรื่องมาจากสมุดข่อย วัดเขื่อนแดง ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งในปัจจุบันสมุดข่อยดังกล่าวนี้ได้สูญหายและไม่ทราบว่าผู้ใดเอาไป แต่นายอ้อม ศรีรอด แห่งโรงเรียนศรีสัคควิทยา ตลาดสะพานดำ ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ได้เรียบเรียงเอาไว้ ตามตำนานกล่าวว่าเมื่อประมาณ ปีพุทธศักราช 1893 พระเจ้าอู่ทอง ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และได้ขึ้นครองราชย์สมบัติทรงพระนามว่า "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1" ในขณะที่พระองค์ทรงได้ขึ้นครองราชย์นั้นได้ให้พระราเมศวรราชบุตรไปปกครองเมืองลพบุรี
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 4,816
ต้นสีเสียดแก่น ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร เป็นต้นไม้ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชมหาราช นำมาปลูหน้าศาลากลาง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2537 ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นสูง 15 เมตร เปลือกสีเทาแตกเป็นสะเก็ดบาง แตกกิ่งต่ำ ตามกิ่งมีหนามโค้งเป็นคู่ ใบประกอบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ใบประกอบย่อยมี 10 ถึง 20 คู่ ใบเล็กมาก มีประมาณ 30 ถึง 50 คู่ ช่อดอกแบบช่อหางกระรอก ดอกขนาดเล็ก สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลเป็นฝักแบน บาง สีน้ำตาล เป็นมันวาว แห้งแล้วแตก เมล็ด 3 ถึง 10 เมล็ด รูปรีแบน ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด ประโยชน์ เนื้อไม้ แข็งเหนียว สีน้ำตาลแดง ใช้ทำสิ่งก่อสร้างที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ ทำด้ามเครื่องมือการเกษตร แก่น ให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง และให้สีน้ำตาลสำหรับย้อมผ้า ก้อนสีเสียด เป็นยาสมาน อย่างแรง แก้โรคท้องร่วง บิด แก้ไข้จับสั่น แก้ไอ รักษาแผลในลำคอ เหงือก ลิ้น และฟัน
เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 4,181
มีนิทานอันลือชื่อในท้องถิ่นของชาวไตรตรึงษ์เรื่อง “ท้าวแสนปม” ซึ่งเล่าสืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณถือเป็น นิทานฉบับท้องถิ่นโดยมีการถอดความจากการเล่าของนายสรวง ทองสีอ่อน ชาวบ้านวังพระธาตุ ตำบลวังพระ ธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งได้เล่าไว้ดังนี้ “ประวัติเรื่องท้าวแสนปม เดิมทีท้าวแสนปมไม่ใช่คนที่อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร บ้านช่องพ่อแม่อยู่ที่ระแหง อยู่เหนือจังหวัดกำแพงเพชรขึ้นไป แต่พ่อแม่ของเจ้าแสนนี้ไม่ปรากฏว่าชื่ออะไร พอมีลูกชายก็ตั้งชื่อว่าเจ้าแสน เจ้าแสนคนนี้มีรูปร่างอัปลักษณ์ คือว่าผิวเนื้อของแกมีแต่ปุ่มเป็นปมขรุขระเหมือนผิวมะกรูด
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,174