ประวัติน้ำมันลานกระบือ
เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้ชม 19,790
[16.6172991, 99.7389869, ประวัติน้ำมันลานกระบือ]
หากจะพูดถึงน้ำมันดิบในไทยแล้วละก็ ยุคแรกก็ต้องน้ำมันดิบฝาง แต่ถ้าเป็นของเอกชนทีรัฐบาลให้สัมปทาน ที่ดังก่อนใครก็ต้อง น้ำมันดิบเพชร ของอำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร
อำเภอลานกระบือ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร มีชื่อเสียงโดดเด่นหลายด้าน โดยเฉพาะการค้นพบแหล่งน้ำมันดิบ คือ "แหล่งน้ำมันสิริกิติ์" บ่อน้ำมันสิริกิติ์ ตั้งอยู่ที่บ้านเด่นพระ หมู่ที่ 4 บ้านหนองตาสังข์ ตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร อยู่ห่างจากที่ว่าการ อำเภอลานกระบือ ไปตามเส้นทางถนนสายลานกระบือ-พิษณุโลก ประมาณ 7 กิโลเมตร
กำแพงเพชร มีทรัพยากร ที่ล้ำค่าอยู่ภายใต้พื้นดินคือน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งมีการ ขุดเจาะ ตั้งแต่ วันที่ 11 กันยายน ปีพุทธศักราช 2524 จึงเป็นจุดเริ่มต้น ของแหล่งน้ำมันสิริกิติ์ นามพระราชทาน น้ำมันดิบที่ขุดได้ที่อำเภอลานกระบือเรียกว่าน้ำมันดิบเพชร
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดแหล่งน้ำมันสิริกิติ์ เมื่อวันวันที่ 12 มกราคม 2526 น้ำมันลานกระบือ ได้รับสัมปทานจากบริษัทไทยเชลล์เอ็กซพลอเรชั่นแอนโปรดักชั่น มาตั้งแต่พุทธศักราช 2522 – 2546 ผลิตน้ำมันได้ครบ 150 ล้านบาร์เรล ในปัจจุบัน บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตเลียม จำกัด (มหาชน)ได้ซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัทไทยเชลล์
ใต้แผ่นดินลานกระบือ ยังมีน้ำมันดิบจำนวนมาก สามารถผลิตได้ อีกนาน โดยมีฐานผลิตทั้งหมด 58 ฐาน จำนวนหลุมขุดเจาะ 340 หลุม ( เดือนพฤศจิกายน 2548 ) มีความยาวท่อส่งน้ำมันทั้งสิ้น 270 กิโลเมตร….แต่ละหลุมต้องเจาะลึก ประมาณ 2,000 เมตร หรือ 2 กิโลเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางหลุม 20 เซนติเมตร สามารถหักเห ในการขุดเจาะจากศูนย์กลาง ได้ 50 – 1,000 เมตรจากจุดศูนย์กลาง โดยใช้เวลาขุดเจาะ ประมาณ 7 วัน ต่อหลุม
ปริมาณการผลิต ณ เดือนพฤศจิกายน 2548 แหล่งน้ำมันลานกระบือของเราผลิตได้แล้ว 162 ล้าน บาร์เรล ปัจจุบัน เราสามารถผลิต น้ำมันดิบ ได้ 19,000 – 20,000 บาร์เรล ต่อวัน ผลิตก๊าซธรรมชาติ ได้ 40 –50 ล้านลูกบาศก์ฟุต ต่อวัน ผลิตก๊าซหุงต้ม (แอล พี จี) 280-300 ตัน ต่อวันถึงแม้ว่า ผลผลิตของบ่อน้ำมันลานกระบือ จะได้เพียง ร้อยละ3 ของการใช้ทั้งหมดภายในประเทศ แต่ก็ยังทำให้ เงินตราของเราไม่ไหลไปต่างประเทศมากนัก นับว่าลานกระบือของเรามีส่วนช่วย บ้านเมืองได้ไม่น้อยเลยทีเดียว……เมื่อคิดเป็นค่าของเงิน…
อำเภอลานกระบือ ซึ่งเมื่อ 22 ล้านปีมาแล้ว บริเวณนั้นเป็นทะเลสาบน้ำจืด ขนาดใหญ่ คลุมไปถึงกำแพงเพชร จึงทำให้เกิดแหล่งทรัพยากรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย เป็นความภูมิใจ ….ของชาวกำแพงเพชร และชาวไทยร่วมกัน
หากเริ่มต้นที่กำแพงเพชร เพื่อจะดูว่าแหล่งน้ำมันจะเป็นอย่างไรในไทย เพราะส่วนมากจะเห็นบ่อน้ำมันของต่างประเทศเสียมากกว่า ก็ต้องเริ่มที่ถนนสายกำแพงเพชร-พิจิตร จากกำแพงเพชรราว 40 กิโลเมตร จะพบทางเข้า เมื่อเข้าไปแล้วจะพบป้ายบอกระยะทางถึงลานกระบือประมาณ 13 กิโลเมตร เข้าไปจนผ่านตัวตลาดซึ่งเป็นที่ตั้งของอำเภอด้วย แล้วจะเริ่มพบท่อเหล็กข้างถนน นี่แหละคือท่อน้ำมันดิบ โดยจะมีป้ายบอกชื่อหลุมน้ำมันไว้ด้วย ชื่อหลุมน้ำมันจะเริ่มตั้งแต่อักษร A เรียงตามลำดับต้วอักษรภาษาอังกฤษ หลุมน้ำมันลานกระบือพบประมาณสิบกว่าหลุม ท่อน้ำมันยิ่งมากแสดงว่า ผ่านหลุมน้ำมันมามากขึ้น หลุมน้ำมันมักจะไม่อยู่ข้างถนน แต่ต้องเลี้ยวเข้าไปในถนนเล็กๆจึงจะพบหลุมน้ำมัน สภาพหลุมน้ำมันจะล้อมรั้วกันบุกรุก และมีอุปกรณ์ตั้งอยู่บนหลุม วิทยากรจากบริษัท เชลล์ ได้บรรยายว่า เมื่อพบน้ำมันดิบใหม่ๆน้ำมันดิบไหลขึ้นมาด้วยความดันตัวเองแล้วไหลผ่านท่อเหล็ก โดยเวลากลางวันอุณหภูมิสูงน้ำมันดิบจะไหลได้เอง แต่เวลากลางคืนอุณหภูมิต่ำ น้ำมันจะหนืดจนไม่สามารถไหลได้ ตอนนี้น้ำมันดิบเหลือน้อยแล้วไม่รู้ว่าไหลขึ้นมาอย่างไร ผลพลอยได้จากน้ำมันดิบ คือก๊าซธรรมชาติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้ซื้อก๊าซจาก ปตท มาผลิตไฟฟ้า โดยตั้งโรงไฟฟ้าพลังก๊าซ ใกล้กับแหล่งน้ำมัน ทั้งหมดเป็นสภาพของแหล่งน้ำมันในไทย คือ น้ำมันลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร
ที่มา : https://sites.google.com/site/oillankrabue/prawati-phu-cad-tha/prawati-b-xna-man
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ประวัติน้ำมันลานกระบือ. สืบค้น 18 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1281&code_db=610001&code_type=01
Google search
ในสมัยกรุงธนบุรีพบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเมืองไตรตรึงษ์เพียงเล็กน้อย โดยเป็นจดหมายเหตุความทรงจำกรมหลวงนรินทรเทวี กล่าวถึงสมัยกรุงธนบุรี เมื่อพ.ศ. 2315 พระเจ้ามังระให้อะแซหวุ่นกี้เป็นแม่ทัพยกยกพลมาทางด่านแม่ละเมา เข้ายึดเมืองสุโขทัย สวรรคโลก แล้วข้าล้อมเมืองพิษณุโลกไว้ โดยการรบที่เมืองพิษณุโลก ดำเนินไปถึง 3 ปี ก็เสียเมืองแก่พม่า ฝ่ายไทยขุดอุโมงค์และทลายกำแพงลง ตั้งล้อมจับพม่ากลางแปลงจับได้แม่ทัพพม่าและทหารเป็นจำนวนมาก
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 3,201
เมืองคณฑี เป็นเมืองโบราณเก่าแก่เมืองหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงทางฝั่งตะวันออก ตัวกำแพงเมืองหรือร่องรอยของเมืองเกือบไม่เหลือร่องรอยให้เห็นในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาอย่างน้อยในช่วง พ.ศ. 1176-1204 เมื่อครั้งพระนางจามเทวี พระราชธิดาของกษัตริย์ละโว้ (พระยากาฬวรรณดิส) ซึ่งเสด็จโดยทางชลมารคจากนครละโว้ (ลพบุรี) ขึ้นไปสร้างเมืองที่นครหริภุญชัย (ลำพูน) ระหว่างทางที่เสด็จพระนางจามเทวีได้เสด็จขึ้นมาประทับที่เมืองคณฑี แล้วจึงไปพักที่เมืองกำแพงเพชร ผ่านเมืองตากไปจนถึงลำพูน
เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,691
มีเนื้อความในต้านานสิงหนวัติกุมารเล่าว่ากาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีโอรสของพระเจ้าพีล่อโก๊ะองค์หนึ่ง ชื่อพระเจ้าสิงหนวัติ ได้มาสร้างเมืองใหม่ขึ้นทางใต้ ชื่อเมืองโยนกนาคนคร เมืองดังกล่าวนี้อยู่ในเขตละว้า หรือในแคว้นโยนก เมื่อประมาณปี พ.ศ.1111 เป็นเมืองที่สง่างามของย่านนั้น ในเวลาต่อมาก็ได้รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ที่อ่อนน้อมให้มาเป็นเมืองขึ้นแล้วตั้งชื่อเป็นแคว้นชื่อว่าโยนกเชียงแสน มีอาณาเขตทางทิศเหนือตลอดสิบสองปันนา ทางใต้จดแคว้นหริภุญชัย มีกษัตริย์สืบเชื้อสาย ต่อเนื่องกันมา จนถึงสมัยพระเจ้าพังคราชจึงได้ เสียเมืองให้แก่ขอมดำ
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 4,463
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินเมืองกำแพงเพชร เป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2514 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิริธร ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้ากฐินส่วนพระองค์ ณ วัดคูยาง อำเภอเมืองกำแพงเพชร และทรงถวายพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อเป็นทุนเริ่มต้นในการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่
เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,796
คำกล่าวถึงพะโป้ ในวรรณกรรมทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ ดูแต่วัดพระธาตุที่ทอดทิ้งกันชำรุดทรุดโทรมมาแต่สมัยปู่ย่าตายาย ใครล่ะทำนุบำรุง ใครล่ะปฏิสังขรณ์รื้อสร้างรวมเป็นองค์เดียว แล้วยกช่อฟ้าใบระกาใหม่? ใคร? นอกจากพญาตะก่ากับพะโป้ อย่าลืมว่านั่นเป็นกะเหรี่ยงสองพี่น้อง ไม่ใช่คนไทย ไม่ใช่คนพื้นเพปากคลอง ...นี่เองพะโป้ผู้ยิ่งใหญ่ พะโป้ผู้มีคุณแก่ขาวกำแพงเพชรโดยทั่วไป และคลองสวนหมากโดยเฉพาะ พะโป้ผู้นำฉัตรทองแต่ตะโก้ง (เมืองย่างกุ้ง)มาประดิษฐาน ณ ยอดพระบรมธาตุเป็นสัญลักษณ์แห่งบวรพระพุทธศาสนา
เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,793
เมืองกำแพงเพชรในประวัติศาสตร์ขึ้นชื่อว่า เป็นเมืองหน้าด่านที่มีการก่อสงครามอยู่ไม่ขาดสาย และมีป้อมปราการรายล้อมพร้อมคูเมือง เนื่องจากมีสงครามและเพื่อปกป้องบ้านเมือง จึงจำเป็นต้องมีศาสตราวุธคู่กายเพื่อนำมาป้องกันตัวและต่อสู้ ในขณะเดียวกันก็เป็นยุคสมัยที่ดาบสามารถนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากวัตถุดิบที่หาได้ง่าย ทั้งนี้ดาบที่ผู้ถือครองนั้นก็มีความแตกต่างออกไปตามบทบาทและหน้าที่ อาทิ ทหารศึกที่มีไว้เพื่อรบศึกสงครามโดยเฉพาะ หรือชาวบ้านที่มีไว้เพื่อป้องกันตัว แต่ยังมีดาบอีกประเภทที่สามารถบ่งบอกถึงชนชั้น ความสามารถ ไปจนถึงความยิ่งใหญ่ซึ่งถือได้ว่าการจะได้ดาบเล่มนี้มาย่อมจะต้องมีความ สามารถสูงและแลกมากับความพยายามอย่างสุดความสามารถดังเช่นความเป็นมาของดาบโบราณของจังหวัดกำแพงเพชรที่มีประวัติที่แสนวิเศษโดยมีเรื่องราวกล่าวกันว่าดาบเล่มนี้เคยเป็นดาบประจำตระกูลของพระยากำแพงผู้ปกครองเมืองกำแพงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 3,700
พระแสงราชศัสตรา มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า หนึ่งในสยาม คู่บ้านคู่เมืองกำแพงเพชร พระแสงราชศัสตราองค์นี้ เป็นดาบฝักทองลงยาที่งดงาม มีความเชื่อกันว่าเป็นดาบวิเศษ แสดงถึงพระราชอำนาจสูงสุดของพระมหากษัตริย์ในการปกครองบ้านเมือง ในสมัยนั้น รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์ในกรณีย์ที่ทรงพระราชทานสิทธิ์แก่ขุนนาง ข้าราชการที่ใช้อำนาจแทนพระองค์ ในการปฏิบัติราชการแทนพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีศึกสงคราม
เผยแพร่เมื่อ 27-06-2019 ผู้เช้าชม 6,972
ส่างหม่องเป็นชาวไทยใหญ่มาจากเมืองกุกกิก ประเทศพม่า เป็นคหบดี หรือมหาเศรษฐี ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นผู้มีการศึกษาดี มีชีวิตที่ทันสมัยเหมือนชาวตะวันตก ได้เดินทางมาอยู่คลองสวนหมากในสมัยเดียวกับพะโป้ ได้เข้ามาประกอบอาชีพการทำป่าไม้ ในราวพศ. ๒๔๒๐ และได้สมรสกับนางฝอยทอง มีบุตรธิดา ๔ คน เมื่อนางฝอยทองเสียชีวิตลง ส่างหม่องจึงได้แต่งงานใหม่กับนางเฮียงสาวชาวลาวเวียงจันทน์ที่อพยพมาอยู่คลองสวนหมาก และได้ย้ายมาปลูกบ้านเรือนไทยปั้นหยาห่างจากบ้านหลังเดิมเล็กน้อย ส่
เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 6,525
ผู้เขียนกล่าวไว้ในบทความเรื่อง “เล่าเรื่องเมืองชากังราว” มาแล้วว่า เมืองชากังราวนั้นได้ตรวจสอบเอกสารจากหลายฉบับ พบว่าเป็นชื่อของเมืองซึ่งซ้ำกัน 2 เมือง คือเมืองกำแพงเพชร และเมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) และในข้อความสุดท้ายว่า พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 หน้า 212-213 ได้กล่าวถึง “สมเด็จพระบรมราชาธิราช (พะงั่ว) ที่ 1” ได้ยกทัพมาปราบปรามเมือง “ชากังราว” ถึง 4 ครั้งนั้น ท่านปราบปราม “เมืองชากังราว” ไหนแน่ ผู้เขียนพยายามสืบค้นจากเอกสารหลายฉบับ พบว่ามีเอกสารที่สามารถจะวินิจฉัยได้ว่า “เมืองชากังราว” ที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ยกทัพมาปราบปรามนั้นหมายถึง “เมืองศรีสัชนาลัย” ตามหลักฐานจากเอกสารที่สืบค้น ได้แก่
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 5,087
เมืองไตรตรึงษ์ในสมัยสุโขทัยคงจะมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากโดยได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย เป็นเมืองขึ้นของเมืองลูกหลวงกำแพงเพชร เพราะในช่วงนั้นสุโขทัยได้ขยายอาณาจักรลงมาทางตอนใต้ยึดได้เมืองไตรตรึงษ์ เลยลงไปถึงเมืองนครพระราม (ชัยนาท) โดยส่งลุงของกษัตริย์สุโขทัยมาเป็นเจ้าเมือง หลักฐานที่ว่าเมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองสำคัญชั้นลุงของกษัตริย์กรุงสุโขทัยคือข้อความที่พบในศิลาจารึกสุโขทัย (กฎหมายลักษณะโจร)
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,196